สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวจีนควรบริโภคเพิ่มขึ้นหรือไม่ ?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ระดมสมอง โดย ไสว บุญมา

หลังฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในโลกตะวันตกปะทุเมื่อปี 2551 ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นถดถอยครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีเสียงเรียกร้องออกมาอย่างหนาแน่นให้รัฐบาลจีนออกมาตรการ กระตุ้นชาวจีนให้บริโภคเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้เพราะผู้เรียกร้องมองว่า ถ้าชาวจีนทำเช่นนั้น ความต้องการสินค้านำเข้าของชาวจีนจะเพิ่มขึ้นมหาศาล

การ นำเข้านั้นจะกระตุ้นเศรษฐกิจของ ผู้ขายสินค้า ให้ขยายตัว และก่อให้เกิด ปฏิกิริยาลูกโซ่ ต่อไป จนทำให้เศรษฐกิจโลกกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

เสียง เรียกร้องนั้นวางอยู่บนฐานของแนวคิด เศรษฐกิจกระแสหลัก ซึ่งมิได้แยกแยะการบริโภคออกไปให้ละเอียดว่าแต่ละอย่างจะมีผลเช่นไร และการบริโภคนั้นจำเป็นหรือไม่ เนื่องจากชาวจีนมีจำนวนมากที่สุดในโลก และเศรษฐกิจของจีนใหญ่เป็นอันดับสองรองลงมาจากของอเมริกาเท่านั้น

 

การบริโภคเพิ่มขึ้นของชาวจีนจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปอย่างกว้าง ขวางอย่างแน่นอน แต่ผลสุดท้ายมันอาจมิใช่เป็น ผลดี ดังที่ผู้เรียกร้องมองเห็น

คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า แม้เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวในอัตราสูงกว่าของชาวโลกโดยทั่วไปมาเป็นเวลานาน แต่ชาวจีนกว่าร้อยล้านคนยังมีรายได้ไม่สูงพอที่จะซื้อหาปัจจัยพื้นฐานสำหรับ การดำรงชีวิตได้อย่างครบถ้วน หากนโยบายสามารถทำให้คนกลุ่มนี้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อหาซื้อหาสิ่งที่จำ เป็นต่อชีวิตได้ นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ

อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องดังกล่าวมิได้มุ่งไปที่การบริโภคของคนกลุ่มนี้ หากมุ่งไปที่การบริโภคนอกเหนือจากความจำเป็นเบื้องต้นของคนจีนที่มีเงินเก็บ ออมจำนวนมาก การบริโภคเพิ่มขึ้นของคนกลุ่มนี้จะมีทั้ง ผลดี และ ผลเสีย และทั้งภายนอกและภายในประเทศจีน ภายในประเทศจีน ผลดีอาจเป็นในด้านที่มันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของผู้ที่มีรายได้ไม่พอต่อ การซื้อหา

ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนว่าเป็นอย่างไร แนวโน้มที่เป็นมาชี้บ่งอย่างแจ้งชัดว่า ผลของการเพิ่มการใช้จ่ายและการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มักไปตกอยู่ในมือ ของกลุ่มที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว ฉะนั้น หากไม่มีมาตรการอะไรที่จะทำให้แนวโน้มนี้เปลี่ยนไปในทางตรงข้าม ผลดี ที่ออกมามีโอกาสสูงที่จะต่ำกว่า ผลเสีย

ผลเสียมีมากมายหลายอย่าง แต่ถ้ามองโดยรวมจากข้อมูลที่บ่งชี้แล้วว่าตอนนี้จีนเป็นประเทศที่สิ่งแวด ล้อมเป็นพิษมากที่สุดในโลก ภาพที่ออกมาน่าจะแจ้งชัดว่าอะไรจะเกิดขึ้น หากชาวจีนบริโภคเพิ่มขึ้นตามที่ผู้เรียกร้องต้องการ

สำหรับผู้ที่มี โอกาสไปเยือนเมืองต่าง ๆ ในจีน เรื่องมลพิษในอากาศและน้ำเน่าเสียในแหล่งน้ำต่าง ๆ คงเป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดแล้ว หากชาวจีนบริโภคมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ควันพิษจากการเผาถ่านหินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและจากโรงงานอุตสาหกรรมย่อม เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลสุดท้ายชาวจีนจะตกอยู่ในสภาพตายผ่อนส่ง

แหล่ง น้ำจำนวนมากก็เป็นพิษเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น บางภาคของประเทศจีนขาดแคลนน้ำอย่างสาหัสแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงมีการลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อผันน้ำจากแหล่งต่าง ๆ ไปยังภาคที่ขาดแคลนโดยเฉพาะจากแม่น้ำแยงซีขึ้นไปให้ในย่านปักกิ่ง

นอก จากนั้นยังมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกั้นแม่น้ำโขงหลายแห่งอีกด้วย การบริโภคเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การขาดแคลนร้ายแรงยิ่งขึ้น พร้อมกับมีโอกาสทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเพิ่มขึ้น

ทางด้านภายนอกเมือง จีน การนำเข้าเพิ่มขึ้นของชาวจีนย่อมนำไปสู่การผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น การผลิตนั้นมีโอกาสสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ไม่ต่างกับที่เกิดขึ้นใน เมืองจีน ส่วนจะมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับการควบคุมของประเทศส่งออก เมื่อรวมกันแล้ว มันจะไปเสริมปัญหาด้านภาวะโลกร้อนแน่นอน

นอกจาก นั้น การที่ชาวจีนซื้อหาวัตถุดิบเข้าไปป้อนโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมของตน ย่อมนำไปสู่การทำเหมืองต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการผลิตถ่านหิน ทองแดง แร่เหล็ก หรือโพแทสเซียมนั่นเป็นตัวอย่างของผลกระทบในภาพรวม การบริโภคและการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นของชาวจีนอาจมีผลดีและผลเสียต่อบางสิ่ง บางอย่าง โดยเฉพาะซึ่งอาจจะเป็นทั้งที่ทราบและไม่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว เช่น ในช่วงที่ชาวจีนร่ำรวย

ขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับชาวจีนซื้อเหล้าองุ่นหรือไวน์ในราคาที่ไม่มีใครกล้าสู้ โดยเฉพาะไวน์ฝรั่งเศสจากย่านบอร์กโดซ์ ซึ่งขวดหนึ่งราคาอาจถึงหลักล้านบาท แต่การบริโภคไวน์ในราคานี้จะมีผลดีในด้านการกระจายรายได้ของชาวจีนออกไปสู่ โลกภายนอกโดยไม่สร้างปัญหา

ทั้งนี้ เพราะไวน์นั้นผลิตจากองุ่นที่ปลูกในพื้นดินของย่านบอร์กโดซ์โดยเฉพาะ ไม่ว่าราคาของมันจะเพิ่มขึ้นไปเท่าไร การผลิตไวน์นั้นจะไม่เพิ่มขึ้นตาม มันจึงไม่นำไปสู่การตัดต้นไม้ทำลายป่าเพื่อนำที่ดินมาปลูกองุ่น

เรื่อง การบริโภคไวน์ที่ผลิตในย่านบอร์กโดซ์ จึงต่างกับความนิยมบริโภคอาหารต่าง ๆ อีกหลายอย่างของชาวจีน เช่น หูฉลาม ซึ่งมีผลทำให้ฉลามถูกล่าจนบางสายพันธุ์กำลังจะสูญหายไปจากท้องทะเล

นอก จากฉลามแล้วยังมีสัตว์ป่าที่ถูกล่าจนประสบปัญหาเรื่องการสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นช้าง แรด หมี เสือ หรือแม้แต่นิ่มซึ่งถูกลักลอบขนผ่านเมืองไทยดังที่ถูกจับได้ทุกปีด้วยเหตุที่ กล่าวถึงนี้ การกระตุ้นให้ชาวจีนบริโภคเพิ่มขึ้นจนเกินพอดีอาจมีผลดีในแง่ที่ทำให้ เศรษฐกิจขยายตัวในระยะสั้น แต่มันจะสร้างผลเสียหายในระยะยาวให้แก่ชาวโลกอย่างแน่นอน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ชาวจีน ควรบริโภคเพิ่มขึ้น

view