สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ยื่น UN เตือนไทยจ่อผิดอนุสัญญาฯ นิรโทษกรรมคนโกงชาติพ้นผิด

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ยื่น UN เตือนไทยจ่อผิดอนุสัญญาฯ นิรโทษกรรมคนโกงชาติพ้นผิด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน บุกสหประชาชาติ ยื่นหนังสือปูดไทยเตรียมนิรโทษกรรมคนโกง เตือนรัฐบาลทำผิดอนุสัญญาฯ ตามสัตยาบัน หวั่นชาติถูกภาพลักษณ์ติดลบหนัก แถมถูกประนามจากนานาชาติ เหตุเป็นประเทศเดียวในโลกที่ปล่อยผีคนคอร์รัปชั่น
      
      วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) นำโดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรฯ ได้เข้ายื่นหนังสือแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้ตระหนักถึงกรณี ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันถูกเพิกถอนไปทั้งหมด พร้อมกับร่วมส่งสัญญาณเตือนให้รัฐบาลปฏิบัติตามอนุสัญญาขององค์การสหประชา ชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption : UNCAC 2003) ที่รัฐบาลเคยให้สัตยาบันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียในสายตาของประชาคมโลก
       
       นายประมนต์เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือแถลงการณ์ต่อองค์การสหประชาชาติในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ต้องการให้สังคมนานาชาติรับรู้ว่า องค์กรฯ ให้ความสนใจอย่างมากต่อการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทย และ 2. ต้องการให้สังคมนานาชาติจับตามองท่าทีของรัฐบาลไทย กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยกำลังดำเนินการขัดต่ออนุสัญญาฯ ซึ่งจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการต่อสู้คอร์รัปชันของทุกภาคส่วน ในสังคมไทย
       
       นายประมนต์ระบุว่า การที่กรรมาธิการเสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความพยายามของสหประชาชาติในการต่อสู้กับปัญหา คอร์รัปชัน ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้เล็งเห็นถึงความ ร้ายแรงของปัญหาและการคุกคาม จนนำมาสู่การมีมติให้พิจารณากำหนดเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นที่มาของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (UNCAC 2003) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 และรัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 ซึ่งรัฐบาลไทยจะต้องจัดให้มีมาตรการที่จำเป็น รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายและทางบริหารเพื่อให้มีการปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและน่าเชื่อถือ
       
       “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ และสมาชิกองค์กรในภาคธุรกิจ การเงินและตลาดทุน จะแลกเปลี่ยนทัศนะและข้อคิดเห็นกับผู้แทนขององค์การสหประชาชาติประจำประเทศ ไทยเพิ่มเติมในประเด็นผลกระทบของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 ที่อาจจะส่งผลเชิงลบต่อถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย รวมถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมและความเชื่อมั่นของประชาคมโลกในอนาคต” นายประมนต์ระบุ
       
       ทั้งนี้ จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันที่จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2555 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 88 จาก 176 ประเทศ ด้วยคะแนนเพียง 37 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ต่ำกว่าประเทศซาอุดิอาระเบีย อันดับที่ 66 และประเทศจีน อันดับที่ 80 ชี้ให้เห็นว่า คอร์รัปชันเป็นปัญหาใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข ดังนั้น หากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ จะยิ่งซ้ำเติมให้ภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศไทยตกต่ำ ประเทศไทยอาจจะถูกประณามจากประชาคมโลก เนื่องจากได้ดำเนินการที่สุ่มเสี่ยงว่าขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ ตามอนุสัญญา และเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ฐานความผิดในคดี คอร์รัปชัน


องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ยื่นหนังสือยูเอ็น ชี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯไทย ขัดอนุสัญญาต่อต้านทุจริต

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรฯ ได้แถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้ตระหนักถึงกรณี ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 มีเจตนาและมุ่งหมายที่จะลบล้างให้คดีทุจริตคอร์รัปชันถูกเพิกถอนไปทั้งหมด พร้อมกับร่วมส่งสัญญาณเตือนให้รัฐบาลปฏิบัติตามอนุสัญญาขององค์การสหประชา ชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (United Convention against Corruption: UNCAC 2003) ที่รัฐบาลเคยให้สัตยาบันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียในสายตาของประชาคมโลก
   
นาย ประมนต์ กล่าวว่า ยื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ ผ่านสำนักงานในประเทศไทย เพื่อต้องการให้นานาชาติรับรู้ว่าองค์กรฯ และแนวร่วมให้ความสนใจต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชั่น และให้จับตามองท่าทีของรัฐบาลไทย กรณีพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่แก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 เพื่อล้างผิดคดีทุจริตทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยกำลังดำเนินการขัดต่ออนุสัญญาขององค์การสหประชา ชาติ เพื่อการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ซึ่งจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการต่อสู้คอร์รัปชั่นของทุกภาคส่วน ในสังคมไทย
   
นายประมนต์ กล่าวว่า จากนี้ จะติดตามต่อไปว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาตรา 3 จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะหากการแก้ไขแล้วไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ทุจริตคอร์รัปชั่นจะไม่ติดใจ แต่อย่างใด เพราะเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องส่วนบุคคลสามารถพิสูจน์ได้ตาม กระบวนการยุติธรรม แต่หากไม่เปลี่ยนแปลงยังคงนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่คอร์รัปชั่นจะมีแนวทางเดิน หน้าเคลื่อนไหวคัดค้านต่อไป


แบบอย่างจากประธานองค์กรต้านคอร์รัปชัน

จาก โพสต์ทูเดย์

แบบอย่างจากประธานองค์กรต้านคอร์รัปชัน

เมื่อครั้งได้รับเงินเดือนจากการทำหน้าที่สนช.คุณประมนต์ ก็ทำเรื่องถึงเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าไม่ขอรับเงินเดือน

คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ท่านนี้ ปัจจุบันเป็นประธานบริษัทโตโยต้าไทยแลนด์ และเป็นกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย

ตั้งแต่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศมาในช่วงหลายสิบปีนี้ คุณประมนต์ถูกร้องขอให้ไปแก้ไขปัญหาในหลายองค์กร นอกเหนือจากงานหลักที่ทำอยู่เช่น ถูกคัดเลือกให้เป็นกรรมการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2536-2539 เป็นกรรมการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิม แบงค์) ในปี พ.ศ. 2538-2541 ได้รับการร้องขอจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คุณชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการ ธนาคารมหานคร ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อปรับปรุงกิจการหรือควบรวมกับสถาบันการเงินอื่นที่แข็งแรงกว่า

ในปี พ.ศ. 2542 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ขอร้อง ให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการ ธนาคารไทยธนาคาร ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมธนาคารสหธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่งที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย หอการค้านานาชาติหรือ International Chamber of Commerce (ICC)

พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

น่าสนใจว่า คุณประมนต์ไม่เคยรับค่าตอบแทนจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้เลยเพราะคุณประมนต์ถือกติกาว่า “ตราบใดที่ยังทำงานประจำให้กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และใช้เวลาของบริษัทไปช่วยงานเหล่านี้” ก็ไม่ควรรับค่าตอบแทนดังกล่าว

คุณประมนต์ เล่าไว้ในคอลัมน์ กาลเวลาจารึกคน ซึ่งตีพิมพ์เป็นประจำทุกฉบับวันเสาร์ ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ว่า ผมจะไม่รับค่าจ้างประจำอื่นใดนอกเหนือจากเบี้ยประชุมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นค่าชดเชย ค่าล่วงเวลาคนรถ หรือพนักงานผู้น้อยที่มาช่วยงาน ถือเป็นหลักปฏิบัติว่าไม่ควรมีรายได้ซ้ำซ้อน และได้ยึดถือปฏิบัติตามนี้มาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อครั้งได้รับเงินเดือนจากการทำหน้าที่สนช.คุณประมนต์ ก็ทำเรื่องถึงเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าไม่ขอรับเงินเดือน

เมื่อเป็นข่าวออกไปมีผู้แนะนำว่า แทนที่จะงดรับเงินเดือน ให้นำเงินจำนวนนี้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จตามพระราชกุศลจะได้ประโยชน์มากกว่า คุณประมนต์จึงได้ทำตามคำแนะนำนั้น

ต่อมามีหลายบริษัทและหลายองค์กรได้นำวิธีที่คุณประมนต์ได้ปฏิบัติมาคล้ายกันนี้ไปใช้แล้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน UN เตือนไทย จ่อผิดอนุสัญญาฯ นิรโทษกรรมคนโกงชาติ พ้นผิด

view