สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิกฤติพลังงาน ที่ชาวบ้านต้องรู้

วิกฤติพลังงาน ที่ชาวบ้านต้องรู้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




นอกเหนือจากที่ชาวบ้านรับรู้ว่า ราคาน้ำมันแพง แอลพีจี ปรับขึ้นราคา จนทำให้ค่าครองชีพอย่างอื่นสูงขึ้นตามไปด้วยแล้ว

สิ่งที่พวกเขาควรจะต้องรู้เกี่ยวกับภาพใหญ่ของพลังงาน ซึ่งจะมีผลต่อชีวิตของคนไทยทุกคน คือเราเป็นประเทศนำเข้าพลังงาน และจะต้องนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีก

เมื่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กำลังจะหมดไปในอีก 10-15 ปีข้างหน้านี้ จากการประเมินของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยกเว้นเสียแต่ว่า จะมีการสำรวจพบปิโตรเลียมแหล่งใหม่ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ปลัดพลังงานคนใหม่ สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ออกมาบอกกับสื่อว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2553-2573 กำลังจะมีการปรับใหม่เพื่อลดการนำเข้า ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ แอลเอ็นจีลง โดยจะเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน และการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่ม เพราะในแผนเดิม ปตท.จะต้องนำเข้าแอลเอ็นจี มากถึง 23 ล้านตันต่อปี ในปี 2573

ในขณะที่ขีดความสามารถในการรองรับแอลเอ็นจี ที่เตรียมเอาไว้ มีเพียง 10ล้านตันต่อปี

เช่นเดียวกับผู้บริหารของ ปตท. ออกมายอมรับว่า การนำเข้าแอลเอ็นจี มีต้นทุนราคาที่สูงกว่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในอนาคต หากใช้ในสัดส่วนที่มากเกินไป

และหากกระทรวงพลังงานต้องการให้ ปตท.ขยายขีดความสามารถในการรองรับแอลเอ็นจีนำเข้า เพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านตันต่อปี เป็น 15 ล้านตันต่อปี จะต้องกำหนดเป็นนโยบายล่วงหน้าประมาณ 7-8 ปี จึงจะเตรียมการได้ทัน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ.โชว์ตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด จะเพิ่มขึ้นจาก 26,355 เมกะวัตต์ ในปี 2556 เป็น 52,256 เมกะวัตต์ ในปี 2573 ในขณะที่จะมีโรงไฟฟ้าที่หมดอายุ ต้องปลดระวางออกจากระบบอีก 16,839 เมกะวัตต์ เหลือโรงไฟฟ้าอยู่ในระบบ 17,426 เมกะวัตต์

เปิดโผให้เห็นว่าจะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เติม เข้ามาอีกกว่า 34,830 เมกะวัตต์ ไม่นับรวมกำลังผลิตสำรองที่จะต้องมีไว้อีก 15% ภายในอีก 17 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

อย่างไรก็ตามโจทย์ที่เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติของ กฟผ.อยู่ขณะนี้ ก็คือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อนำร่องเป็นแห่งแรกขนาด 800 เมกะวัตต์ ได้รับการต่อต้านทั้งจากเครือข่ายเอ็นจีโอและประชาชนบางส่วนในพื้นที่

ซึ่งหาก กฟผ.ไม่สามารถปักธง โรงไฟฟ้าที่กระบี่ได้ ก็มีแนวโน้มว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินของ กฟผ.ที่เตรียมไว้อีก 3 แห่งเบื้องต้นในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะล้มไปด้วย

งานนี้ ไม่รู้ว่าจะไปเข้าทางเอกชนและนักการเมืองรายใด ที่เริ่มเตรียมพื้นที่ทั้งในประเทศเพื่อนบ้าน และการประมูลไอพีพีรอบถ่านหินเอาไว้เสียบแทนหรือไม่

เพราะคนของ กฟผ.แย้มออกมาแล้วว่า ปล่อยเอกชนทำโรงไฟฟ้าจะเคลียร์ม็อบได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องกลัว สตง.มาตรวจสอบ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วิกฤติพลังงาน ชาวบ้านต้องรู้

view