สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ลดเรียกรับสินบน 1 เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนรัฐ 1 หมื่นล้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย วิไล อักขระสมชีพ oilday@yahoo.com

คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ

1 เดือนที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารประเทศไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถูกสปอตไลต์ส่องจากทั่วทั้งในและต่างประเทศอย่างไม่วางตา

เพราะเวลา นี้ถือได้ว่าอำนาจของ คสช.สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด และสามารถเนรมิตประเทศไทยให้กลับมาเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

แต่ ท่ามกลางภาระหนักของ คสช.ที่ต้องเร่งทำเป็นมือระวิงต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่หมกหมม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หลังจากการติดหล่มการทุจริตคอร์รัปชั่นมายาวนาน

สิ่งที่ คสช.ทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในระยะสั้น จึงเริ่มที่เกี่ยวข้องปากท้องคนไทย กวาดล้างและจัดระเบียบที่ทางทำมาหากินของชาวบ้านอีก อาทิ บ่อนพนัน ตู้ม้า วินรถตู้-มอเตอร์ไซค์ เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

ขณะที่ฟากภาคเอกชนก็ รอแสงสว่างจาก คสช.จะประกาศโรดแมปด้านเศรษฐกิจหรือยุทธศาสตร์ของประเทศที่ออกมาให้ทิศทาง ชัดเจนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโครงการต่าง ๆ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม การลงทุนจากต่างประเทศหรือบีโอไอ เป็นต้น เพื่อภาคธุรกิจเอกชนจะได้วางแผนเดินต่อไปข้างหน้าให้สอดรับกันไปด้วย

ทว่า ก็ต้องถูกเงามืดอีกด้านที่เกิดขึ้นของประเทศไทยในเวลานี้ จากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ ที่ต่อต้านตั้งแต่ที่ คสช.เข้ามา ก็ประกาศระงับเงินช่วยเหลือรายปีระดับทวิภาคีและทบทวนความสัมพันธ์และความ ช่วยเหลือทางทหาร และต่อมายังกดดันประเทศไทยผ่านการออกรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ (TIP Report) ของสำนักงานติดตามและกำจัดการค้ามนุษย์ ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 57 ได้ประกาศลดอันดับของไทยจาก Tier 2 ระดับจับตาเป็นพิเศษ มาเป็น Tier 3 ระดับต่ำสุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้กับที่ประเทศไทยกำลังจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะกระทบต่อแรงงานกัมพูชาหนีกระเจิดกระเจิงกลับบ้าน

หลังจาก นั้นวันที่ 23 มิ.ย. 57 ประเทศไทยก็ถูกกลุ่มสหภาพยุโรประงับการมาเยือนประเทศไทย และจะไม่มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับ ไทย จนกว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง

แม้มีแรงเสียดทาน ของกลุ่มประเทศมหาอำนาจฝั่งหัวทองเกิดขึ้น ก็ไม่ได้ฉุดรั้งให้การทำงานของ คสช.ต้องสะดุด แต่กลับเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาทีละเปลาะ พร้อมกับเสียงประกาศเรียกความเชื่อมั่นของหัวหน้า คสช. "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ชัดเจนว่า "ถึงสหรัฐและยุโรปจะมีท่าทีคัดค้านการเข้าบริหารงานของ คสช.อยู่บ้าง แต่เราก็ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีประเทศไทย"

หาก ประเมินผลในระยะสั้นของการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. ผ่านเสียงสะท้อนของผู้บริหารภาคเอกชน ส่วนใหญ่ให้เวลาแก่ คสช.ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเข้าใจกันดีว่าต้องใช้เวลาและต้องอาศัยอำนาจเด็ดขาดเช่นนี้จริง ๆ จึงจะแก้ปัญหาหมกหมมของประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาการทุจริตหรือคอร์รัปชั่น ที่เปรียบเหมือนโรคมะเร็งร้ายที่แพร่กระจายไปทุกอณูของสังคม หากจำกันได้ถึงข่าวโพลสำรวจที่ออกมาปีก่อน ๆ ว่าคนไทยรับได้กับปัญหาคอร์รัปชั่น สะท้อนให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการตรวจสอบการคอร์รัปชั่นตกวูบจนน่ากลัวที เดียว ทั้ง ๆ ที่ปัญหานี้เป็นต้นทุนที่สร้างความสูญเปล่าให้กับสังคมไทยมหาศาล

อีก ข้อมูลที่น่าสนใจจากนายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เล่าว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยที่มีจำนวนมากถึง 500 กว่าบริษัท จะมีบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการต่อต้านการทุจริต จำนวน 277 บริษัท แต่เอาเข้าจริงกลับมีบริษัทจดทะเบียนที่ยอมเข้ากระบวนการตรวจสอบความโปร่งใส หรือการทุจริตมีเพียง 9 บริษัทเท่านั้น

สะท้อนให้เห็นว่า ถึงเวลาทำจริง เหลือเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่กล้า ส่วนที่เหลือเป็นที่คาใจของสังคมว่า ถูกปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นแทรกซึมทุกอณูหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมีข้อมูลดี ๆ อยู่บ้างในช่วงที่ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงสุญญากาศทางการเมือง เมื่อครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พบว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลดลง โดยข้อมูลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับหอการค้าไทย ได้รายงานดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยครึ่งแรกของปี 2557 นี้ อยู่ที่ระดับ 46 จาก 100 คะแนน เพิ่มขึ้นจากครึ่งหลังของปี 2556 ที่มี 39 คะแนน ถือว่าสถานการณ์ดีขึ้นในทุกหมวด

"สถานการณ์การคอร์รัปชั่นที่ดีขึ้น นี้ เป็นผลมาจากนโยบายของ คสช.ที่มีมาตรการเอาจริงในด้านการปราบปรามการทุจริต การจัดระเบียบวินมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ทำให้เกิดความกลัวในกลุ่มข้าราชการ ผู้ประกอบการ และประชาชน หาก คสช.เข้มงวดเรื่องนี้ต่อไป จะส่งผลให้สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในปีหน้าจะดีขึ้นต่อเนื่อง"

คำ กล่าวข้างต้นนี้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวและยังคาดด้วยว่า ในปี 2558 ธนาคารโลกจะพิจารณาจัดอันดับคอร์รัปชั่นประเทศไทยดีขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ อันดับ 88 จาก 177 ประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจคือ หากประเมินค่าของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น จากงบประมาณรัฐใช้ในการจัดซื้อจัดงาน พบว่า การลดเรียกรับเงินสินบนทุก 1% ส่งผลให้การคอร์รัปชั่นลดลงมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท

แต่ที่สำคัญกว่า คือ คสช.คงไม่สามารถอยู่ในอำนาจนี้ได้ยาวนาน ดังนั้น การใช้โอกาสทองนี้ในการกำหนดกำจัดคอร์รัปชั่นให้เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องทำ ต่อเนื่องระยะยาว ตั้งแต่การปลูกฝังเพื่อสร้างค่านิยมที่ถูก และกระบวนการตรวจสอบอย่างเข้มข้น รวมถึงบทลงโทษที่เด็ดขาด

หากเกิดขึ้นได้จริง ประเทศไทยเจริญพัฒนาแน่ ดัชนีความสุขยั่งยืนคงพุ่ง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ลดเรียก รับสินบน  เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนรัฐ หมื่นล้าน

view