สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

TDRI แจงวิจัยจำนำข้าวเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงทุจริต

TDRI แจงวิจัยจำนำข้าวเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงทุจริต

จาก โพสต์ทูเดย์

นิพนธ์ พัวพงศกร แจงงานวิจัยทุจริตจำนำข้าวเป็นไปเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้สังคม ไม่ใช่งานสืบสวนเพื่อหาผู้กระทำผิด

เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นาย นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ทำ หนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชน กรณีเมื่อวันที่ 4 ก.ย. โฆษกสํานักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แถลงว่าคณะทํางานเรื่องคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต
นายกรัฐมนตรี เรื่องกระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการฐานละเลยไม่ดําเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจํานําข้าว มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าสํานวนคดียังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีตามข้อกล่าวหา  โดยหนึ่งในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ คือ การที่ ปปช. กล่าวอ้างถึงรายงานวิจัยเรื่องโครงการรับจํานําข้าวของทีดีอาร์ไอ ว่า “โครงการ (รับจํานําข้าว) ดังกล่าว” มีการทุจริตและมีความเสียหายจํานวนมาก แต่ในสํานวนการไต่สวนมีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยเท่านั้น

นายนิพนธ์ ชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวสร้างความสับสนและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์รายงานวิจัยโครงการนโยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไออย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดทํารายงานวิจัยฉบับดังกล่าว ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายงานวิจัยที่ตกเป็นข่าว

ประการแรก รายงานวิจัยฉบับที่อสส.อ้างถึง ไม่ใช่ รายงานวิจัยที่บ่งชี้ความผิดของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะไม่ใช่การศึกษาวิจัยโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย แต่เป็นการวิจัยนโยบายรับจํานําข้าวฤดูการผลิตปี 2548/49 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ เจ้าของผลงานวิจัย (ผู้ว่าจ้าง) คือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชื่อรายงานวิจัยคือ “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต : แสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก” ตีพิมพ์เมื่อตุลาคม 2553 ท่านผู้สนใจสามารถหาต้นฉบับได้จาก ปปช. และจากเวปไชต์ของทีดีอาร์ไอ (www.tdri.or.th/research/d2011003)

ส่วนรายงานอีกฉบับหนึ่งของผมกับเพื่อนนักวิจัย เรื่อง การทุจริตในการระบายข้าวของโครงการรับจํานําข้าวในสมัยรัฐบาล นส. ยิ่งลักษณ์ คณะกรรมการตรวจรับของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่งให้ความเห็นต่อเนื้อหาของรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 รายงานฉบับนี้ยังไม่เคยส่งให้ปปช. มีแต่การเปิดเผยบทสรุปผลวิจัยให้สื่อมวลชนบางฉบับเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557 อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้สังคมก็เลยเกิดความเข้าใจผิดว่า ปปช. นําหลักฐานจากรายงานวิจัยฉบับหลังไปกล่าวหา นส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วัตถุประสงค์หลักของรายงานฉบับแรกที่ ปปช. กล่าวถึงในสํานวนไม่ใช่การศึกษาเรื่องการทุจริตโดยตรง แต่เป็นการศึกษาเรื่องความเสียหายต่างๆที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ในสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนการคลัง ผลขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคม และผลตอบแทนพิเศษที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตอย่างกว้างขวาง ประเด็นหลักของ รายงานฉบับนี้คือ การแสวงหามาตรการช่วยเหลือชาวนาโดยไม่แทรกแซงตลาด ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต มาตรการดังกล่าวจะเป็นการป้องกันการทุจริตที่ผลมากที่สุด

กรรมการเจ้าของสํานวนคดี (นายวิชา มหาคุณ) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่มิได้ส่งรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของทีดีอาร์ไอให้อสส. เพราะ “รายงานของทีดีอาร์ไอเป็นเพียงการยกตัวอย่างว่ามีช่องทางการทุจริตในโครงการรับจํานําข้าวที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง ไม่ได้หยิบยกรายงานวิจัยดังกล่าวมาเป็นเอกสาร หลักฐานในการชี้มูลความผิด นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”

ถ้าเช่นนั้น สื่อมวลชนบางฉบับ สังคม ตลอดจนอัยการสูงสุดเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอได้อย่างไร

สาเหตุอาจมีหลายประการ ซึ่งรวมทั้งประเด็นการเมืองที่ผมไม่อยากคาดเดา แต่ผมคิดว่าสาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากคําบรรยายของ นายวิชา มหาคุณ ในการอบรมหลักสูตรนิติเศรษฐศาสตร์ระยะสั้นแก่เจ้าหน้าที่สํานักงาน ปปช. เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2557 ว่า “ถ้าไม่มีการริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้วิเคราะห์ไว้ เช่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าว และการแสวงหาคําตอบของนายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ ตนฟันธงว่า ปปช.ก็ไม่สามารถที่จะชี้มูลความผิดกับรัฐบาล นส. ยิ่ง
ลักษณ์ ชินวัตรได้ ดังนั้นมิติทางเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญมาก (ต่อการทํางานของ ปปช.)”

อันที่จริงนายวิชา มหาคุณ ควรยกความดีความชอบนี้ให้แก่ นายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการปปช. ผู้ซึ่งริเริ่มให้มีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหามาตรการป้องกันการทุจริตจากการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ในเวลานั้น ปปช. ได้ว่าจ้างนักวิชาการจากธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีดีอาร์ไอ ศึกษาเรื่องการแทรกแซงตลาดข้าว มันสําปะหลัง อ้อย ยางพารา และลําใย และเสนอแนะมาตรการป้องกันการทุจริต

ในเร็วๆนี้ ผมจะเขียนบทความสรุปผลการวิจัยเรื่องการทุจริตการระบายข้าวในโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดของรัฐบาล นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงในสื่อมวลชน แต่วันนี้ผมขออนุญาตทําความเข้าใจล่วงหน้ากับท่านผู้อ่านก่อนว่ารายงานวิจัยฉบับใหม่นี้คงไม่สามารถนําไปใช้ชี้มูลความผิดใครคนใดคนหนึ่ง เพราะเป็นเพียงงานวิชาการที่พยายามแสวงหาหลักฐานว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง รูปแบบและพฤติกรรมทุจริตเป็นอย่างไร และการทุจริตในการระบายข้าวมีมูลค่าเท่าไร สิ่งที่นักวิชาการอย่างผมทําได้ คือ การให้ความรู้และข้อเท็จจริงกับสังคมว่าโครงการรับจํานําข้าวมิได้มีแค่ประโยชน์ต่อชาวนาเท่านั้น แต่เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดต้นทุนและความเสียหายต่อสังคมใหญ่หลวงกว่าเม็ดเงินจากผู้เสียภาษีที่นักการเมืองโปรยให้ชาวนาบางส่วน ความเสียหายสําคัญ คือ การทุจริตของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีอํานาจระดับสูง ตลอดจนการนําระบบค้าขายแบบเล่นพวกเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์จากตลาดข้าว แล้วใช้ชาวนาเป็นข้ออ้าง

"งานวิจัยของนักวิชาการไม่ใช่งานสืบสวนสอบสวนเพื่อหาผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นักวิชาการมีเพียงหน้าที่ศึกษาหาต้นตอของการทุจริตเพื่อหาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติเท่านั้น โปรดกรุณาอ้างอิงและใช้ประโยชน์งานวิชาการให้ถูกที่ถูกทางด้วยครับ"นายนิพนธ์ระบุ


อัยการขอสอบสตง-tdriเพิ่มคดีจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

ปปช.เผย อัยการขอสอบพยานเพิ่มจากทีดีอาร์ไอและสตง.ในคดีทุจริตจำนำข้าว

เมื่อ 10 ก.ย. นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  กล่าวถึงการตั้งคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุดกับป.ป.ช.เพื่อพิจารณาสำนวนคดีรับจำนำข้าวที่ยังไม่สมบูรณ์ว่า ได้เซ็นลงนามตั้งตัวแทนคณะทำงานฝ่ายป.ป.ช. จำนวน 10 คน เรียบร้อยแล้ว เพื่อส่งให้ไปให้อัยการสูงสุดรับทราบ จากนั้นจะกำหนดการประชุมคณะทำงานนัดแรกโดยเร็วที่สุดต่อไป เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่า คณะทำงานจะได้ข้อสรุปเมื่อใด

นายปานเทพ กล่าวว่า สำหรับประเด็นขัดแย้งที่อัยการแจ้งมายังป.ป.ช.มีหลายประเด็น อาทิ เรื่องอำนาจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ามีอำนาจยับยั้งโครงการที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาหรือไม่ ประเด็นการทุจริตว่าเกิดขึ้นในขั้นตอนใด เพราะป.ป.ช.ไม่ได้มองเรื่องการทุจริตเป็นหลัก แต่เน้นเรื่องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นในโครงการรับจำนำข้าว เบื้องต้นทางอัยการสูงสุดขอสอบเพิ่มพยานในส่วนของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และทีดีอาร์ไอ ส่วนพยานที่ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์อยากให้สอบสวนเพิ่มเติมนั้น คงต้องมาหารือในชั้นคณะทำงานก่อน ถ้าจำเป็นก็จะสอบเพิ่มเติมให้


“นิพนธ์” แจงงานวิจัยเอาไปชี้มูลใครไม่ได้ จ่อเปิดบทสรุปโกงจำนำข้าวเร็วๆ นี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เจ้าของผลงานวิจัยจำนำข้าว ทีดีอาร์ไอ ยันรายงานฉบับแรกทำตั้งแต่สมัย “ทักษิณ” เพื่อแสวงหาทางป้องกันการทุจริต ส่วนอีกฉบับที่พาดพิงถึงรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ยังไม่ได้ส่งให้ ป.ป.ช. งงเข้าใจผิดกันได้ยังไง รับไม่อยากคิดเป็นเรื่องการเมือง แต่เชื่อคงเพราะถูก “วิชา” ยกย่อง แย้มเตรียมเขียนบทสรุปโกง วอนเข้าใจงานวิจัยไม่สามารถนำไปชี้มูลใครได้ แค่บอกได้เพียงรูปแบบการโกง ย้ำนักการเมืองอ้างชาวนาหาประโยชน์จากตลาดข้าว
       
       วันนี้ (10 ก.ย.) นายนิพนธ์ พัวพงศกร ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจรายสาขา ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เจ้าของรายงานวิจัยเรื่องนโยบายจํานําข้าว ได้ชี้แจงถึงกรณีที่อัยการสูงสุดแถลงอ้างคณะทํางานคดีที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องกระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการฐานละเลยไม่ดําเนินการระงับยับยั้ง โครงการ มีสํานวนคดียังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะรายงานวิจัยเรื่องโครงการรับจํานําข้าวของตน มีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยเท่านั้นว่า ข่าวดังกล่าวสร้างความสับสนและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์รายงานวิจัยโครงการน โยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไออย่างกว้างขวาง ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดทํารายงานวิจัยฉบับดังกล่าว ตนขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายงานวิจัยที่ตกเป็นข่าว
       
       นายนิพนธ์ ระบุว่า ประการแรก รายงานวิจัยฉบับที่ อสส. อ้างถึงไม่ใช่รายงานวิจัยที่บ่งชี้ความผิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะไม่ใช่การศึกษาวิจัยโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อไทย แต่เป็นการวิจัยนโยบายรับจํานําข้าวฤดูการผลิตปี 2548/49 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ เจ้าของผลงานวิจัย (ผู้ว่าจ้าง) คือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชื่อรายงานวิจัยคือ “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต : แสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจํานําข้าว เปลือก” ตีพิมพ์เมื่อตุลาคม 2553 ท่านผู้สนใจสามารถหาต้นฉบับได้จาก ป.ป.ช. และจากเว็บไชต์ของทีดีอาร์ไอ (www.tdri.or.th/research/d2011003)
       
       นายนิพนธ์ ชี้แจงว่า ส่วนรายงานอีกฉบับหนึ่งของตนกับเพื่อนนักวิจัย เรื่อง การทุจริตในการระบายข้าวของโครงการรับจํานําข้าวในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ คณะกรรมการตรวจรับของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่งให้ความเห็นต่อ เนื้อหาของรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 รายงานฉบับนี้ยังไม่เคยส่งให้ ป.ป.ช. มีแต่การเปิดเผยบทสรุปผลวิจัยให้สื่อมวลชนบางฉบับเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557 อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้สังคมก็เลยเกิดความเข้าใจผิดว่า ป.ป.ช. นําหลักฐานจากรายงานวิจัยฉบับหลังไปกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์
       
       นายนิพนธ์ ระบุว่า 2 วัตถุประสงค์หลักของรายงานฉบับแรกที่ ป.ป.ช. กล่าวถึงในสํานวนไม่ใช่การศึกษาเรื่องการทุจริตโดยตรง แต่เป็นการศึกษาเรื่องความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ในสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนการคลัง ผลขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคม และผลตอบแทนพิเศษที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตอย่างกว้างขวาง ประเด็นหลักของรายงานฉบับนี้ คือ การแสวงหามาตรการช่วยเหลือชาวนาโดยไม่แทรกแซงตลาด ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต มาตรการดังกล่าวจะเป็นการป้องกันการทุจริตที่ผลมากที่สุด ซึ่งนายวิชา มหาคุณ กรรมการเจ้าของสํานวนคดี ได้แถลงว่า สาเหตุที่มิได้ส่งรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของทีดีอาร์ไอให้ อสส. เพราะรายงานของทีดีอาร์ไอเป็นเพียงการยกตัวอย่างว่ามีช่องทางการทุจริตใน โครงการรับจํานําข้าวที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง ไม่ได้หยิบยกรายงานวิจัยดังกล่าวมาเป็นเอกสาร หลักฐานในการชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถ้าเช่นนั้น สื่อมวลชนบางฉบับ สังคม ตลอดจนอัยการสูงสุดเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอได้ อย่างไร
       
       นายนิพนธ์ ระบุอีกว่า สาเหตุอาจมีหลายประการ ซึ่งรวมทั้งประเด็นการเมืองที่ตนไม่อยากคาดเดา แต่ตนคิดว่าสาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากคําบรรยายของ นายวิชา ในการอบรมหลักสูตรนิติเศรษฐศาสตร์ระยะสั้นแก่เจ้าหน้าที่สํานักงาน ป.ป.ช. เมื่อ 21 ก.ค. ว่า ถ้าไม่มีการริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้วิเคราะห์ไว้ เช่น ทีดีอาร์ไอ ศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าว และการแสวงหาคําตอบของตน ฟันธงว่า ปปช.ก็ไม่สามารถที่จะชี้มูลความผิดกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ ดังนั้น มิติทางเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญมากต่อการทํางานของ ป.ป.ช. อันที่จริง นายวิชา ควรยกความดีความชอบนี้ให้แก่ นายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ซึ่งริเริ่มให้มีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหามาตรการป้องกันการทุจริต จากการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ในเวลานั้น ป.ป.ช. ได้ว่าจ้างนักวิชาการจากธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีดีอาร์ไอ ศึกษาเรื่องการแทรกแซงตลาดข้าว มันสําปะหลัง อ้อย ยางพารา และลําไย และเสนอแนะมาตรการป้องกันการทุจริต
       
       “ในเร็วๆ นี้ ผมจะเขียนบทความสรุปผลการวิจัยเรื่องการทุจริตการระบายข้าวในโครงการรับ จํานําข้าวทุกเม็ดของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลงในสื่อมวลชน แต่วันนี้ผมขออนุญาตทําความเข้าใจล่วงหน้ากับท่านผู้อ่านก่อนว่ารายงานวิจัย ฉบับใหม่นี้คงไม่สามารถนําไปใช้ชี้มูลความผิดใครคนใดคนหนึ่ง เพราะเป็นเพียงงานวิชาการที่พยายามแสวงหาหลักฐานว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง รูปแบบและพฤติกรรมทุจริตเป็นอย่างไร และการทุจริตในการระบายข้าวมีมูลค่าเท่าไร สิ่งที่นักวิชาการอย่างผมทําได้ คือ การให้ความรู้และข้อเท็จจริงกับสังคมว่าโครงการรับจํานําข้าวมิได้มีแค่ ประโยชน์ต่อชาวนาเท่านั้น แต่เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดต้นทุนและความเสียหายต่อสังคมใหญ่หลวงกว่าเม็ด เงินจากผู้เสียภาษีที่นักการเมืองโปรยให้ชาวนาบางส่วน ความเสียหายสําคัญ คือ การทุจริตของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีอํานาจระดับสูง ตลอดจนการนําระบบค้าขายแบบเล่นพวกเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผล ประโยชน์จากตลาดข้าว แล้วใช้ชาวนาเป็นข้ออ้าง งานวิจัยของนักวิชาการไม่ใช่งานสืบสวนสอบสวนเพื่อหาผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นักวิชาการมีเพียงหน้าที่ศึกษาหาต้นตอของการทุจริตเพื่อหาทางป้องกันมิให้ เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติเท่านั้น โปรดกรุณาอ้างอิงและใช้ประโยชน์งานวิชาการให้ถูกที่ถูกทางด้วย” นายนิพนธ์ กล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : TDRI วิจัยจำนำข้าว แสวงหาข้อเท็จจริงทุจริต

view