สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยุทธศาสตร์ลงทุนใหม่ บีโอไอ นำไทยก้าวพ้น กับดัก ประเทศรายได้ปานกลาง

จากประชาชาติธุรกิจ

การ แบ่งเขตส่งเสริมการลงทุนแบบ เขต 1-2-3 ที่ใช้กันมามากกว่า 15 ปี กำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศใช้ "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (2558-2564)" จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2558 นี้

ยุทธศาสตร์การส่ง เสริมการลงทุนฉบับใหม่ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้สิทธิประโยชน์เสียใหม่ จากการส่งเสริมตามประเภทกิจการและที่ตั้งเป็นหลัก (Activity & Zone-based Incentives) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เขต 1-2-3 ซึ่งประสบความสำเร็จเพียงแค่ก่อให้เกิด "หัวเมืองใหม่" นอกเหนือไปจากกรุงเทพฯ อาทิ ระยอง-ชลบุรี-พระนครศรีอยุธยา-ปทุมธานี-ฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ ในขณะที่เขต 3 เดิม (จังหวัดยากจน-ห่างไกล) ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยังไม่มีการกระจายตัวของการลงทุนไปถึง เนื่องจากขาดระบบสาธารณูปโภครองรับ

ประกอบ กับสถานการณ์ทางด้านการค้าและการลงทุนของโลกเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนย้ายทุนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีแรงงานราคาถูกอีกต่อไปแล้ว สภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ยังไม่สามารถก้าวพ้น "กับดัก" ประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) ไปได้

ดังนั้น ยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ของ BOI จึงเน้นการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศด้วยการส่งเสริมการ ลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ การส่งเสริม SMEs การรวมกลุ่มของการลงทุนเป็นแบบ Cluster การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนของประเทศไทยในต่างประเทศ ที่สำคัญยุทธศาสตร์ใหม่ยังตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของ "เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ" พื้นที่ชายแดน และดิจิทัลอีโคโนมิก ด้วยการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากที่ได้รับตามปกติด้วย

15 กิจการได้รับส่งเสริมพิเศษ


ยุทธศาสตร์ ใหม่ได้กำหนดประเภทกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็น กรณีพิเศษจำนวน 15 กิจการ ซึ่งจะได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดวงเงินภาษีเงินได้ที่จะได้รับการยกเว้น กิจการเหล่านี้จะได้แก่ ประเภท 1.3 กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ, ประเภท 3.9 กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์, ประเภท 4.11.1 กิจการผลิตลำตัวอากาศยาน ชิ้นส่วนลำตัวอากาศยาน, ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ใบพัด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ประเภท 5.6 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์, ประเภท 5.7 กิจการซอฟต์แวร์, ประเภท 7.1.1.1 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะหรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)

ประเภท 7.8 กิจการบริการด้านการจัดการพลังงาน (Energy Service Company หรือ ESCO), ประเภท 7.9.2 กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี, ประเภท 7.10 กิจการ Cloud Service, ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา, ประเภท 7.12 กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology), ประเภท 7.13 กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม, ประเภท 7.14 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์, ประเภท 7.15 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน และประเภท 7.19 กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ

หลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์


กำหนด ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้สิทธิประโยชน์จากการแบ่งเป็นเขต (Zone) มาเป็นการให้สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives) กับการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) ดังต่อไปนี้สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based) จะจัดลำดับตามความสำคัญของประเภทกิจการด้วยการแบ่งประเภทกิจการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A กับกลุ่ม B ในกลุ่ม A จะได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เครื่องจักร วัตถุดิบ สิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี โดยในกลุ่มนี้จะแบ่งย่อยออกเป็น กลุ่ม A1 กลุ่ม A2 กลุ่ม A3 และกลุ่ม A4 มีระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ลดหย่อนกันลงมาตั้งแต่ 8 ปีจนถึง 3 ปี การไม่จำกัดวงเงินภาษี

ในขณะที่กลุ่ม B จะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกับกลุ่ม A "ยกเว้น" สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนิติบุคคลจะไม่ได้รับการยกเว้น โดยในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม B1 กับกลุ่ม B2 โดยกลุ่ม B2 จะไม่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร

สิทธิประโยชน์ เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ ประกอบไปด้วย 1)การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา-ศูนย์ฝึกอบรม-สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์-สิทธิใน เทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ-การฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง-การพัฒนา วัตถุดิบชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้ถือหุ้นชาวไทยไม่น้อยกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน และการออกแบบผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์

2)การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อประชากรต่ำ ได้แก่ กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ, นครพนม, น่าน, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, แพร่, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ, สระแก้ว, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, อุบลราชธานี, สุรินทร์, หนองบัวลำภู, สุโขทัย และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

3)นิคม อุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม 4)กลุ่มกิจการ A และ B ที่ประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม "ยกเว้น" กลุ่ม B จะขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้เฉพาะกิจการที่พัฒนาความสามารถในการ แข่งขัน กับการลงทุนใน 20 จังหวัดยากจน และ 5)การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยและ พัฒนา-เครื่องจักรที่ใช้ป้องกัน/กำจัดมลพิษ-เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์/ชิ้นส่วนโดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะได้รับการ + บวกเพิ่มให้ อาทิ การเพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยพิจารณาเพิ่มจำนวนปีให้จากการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมกัน, การอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าประปาได้เป็น 2 เท่า, การหักค่าติดตั้ง-ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิ และการอนุญาตให้มีการนำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม

แต่ทั้งนี้การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมที่ได้รับจะต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี ตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ยุทธศาสตร์ลงทุนใหม่ บีโอไอ นำไทย ก้าวพ้น กับดัก ประเทศรายได้ปานกลาง

view