สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คลัง ชี้ยาแรง อีซีบี ไม่กระทบไทย ยันบาทแข็งรอบ 7 เดือน ไม่ถึงขั้นน่าเป็นห่วง

คลัง” ชี้ยาแรง “อีซีบี” ไม่กระทบไทย ยันบาทแข็งรอบ 7 เดือน ไม่ถึงขั้นน่าเป็นห่วง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      รมว.คลัง คาดหวังธนาคารโลกจัดอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของไทยดีขึ้น หลังปรับปรุงเข้มกว่า 3 เดือน ส่วนการณีธนาคารกลางยุโรปเพิ่มคิวอี มั่นใจไม่กระทบไทย ชี้บาทแข็งในรอบ 7 เดือน ยังไม่ถึงขั้นน่าเป็นห่วง เพราะเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค
       
       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.4% และอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเป็น 80,000 ล้านยูโร โดยมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะในขณะนี้ไทยมีการดูแลในเรื่องการคลัง ทั้งการลดอัตราภาษีเพื่อให้เกิดแข่งขัน และมาตรการต่างๆ ออกมา ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ในระดับที่แข่งขันได้
       
       ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าไทยมีการดูแลเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างภาคการเงิน และการคลังได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ยังมองว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรปไม่มีผลกระทบเท่ากับของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่กว่ามาก
       
       ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่ามาที่ 35.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนนั้น นายอภิศักดิ์ มองว่า ไม่น่าเป็นห่วงเพราะอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนได้ตามปกติ และที่สำคัญ ค่าเงินบาทยังแข็งค่าในทิศทางเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
       
       รมว.คลัง ยังกล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการทำงานภาครัฐ หรือ doing business โดยระบุว่า มีความคืบหน้ากว่าครั้งก่อนมากขึ้น โดยดำเนินการตามกรอบการทำงาน 10 ด้านที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณา โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมาย และลดขั้นตอนต่างๆ ในการจัดตั้งธุรกิจของเอกชนสะดวกขึ้น โดยมุ่งหวังให้ไทยมีภาพลักษณ์เป็นประเทศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ (Friendly Business Country) ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดการลงทุนระยะยาวได้
       
       โดยสิ่งที่ได้ดำเนินการปรับปรุงมีหลายด้าน เช่น การจัดตั้งธุรกิจสามารถดำเนินการเสร็จภายใน 1 ขั้นตอน ผ่านระบบออนไลน์จากเดิมที่ต้องใช้ 3 ขั้นตอน การปรับปรุงกฎหมายกรมศุลกากร อำนวยความสะดวกการส่งออกเคลียร์สินค้าจาก 4 วัน เหลือเพียง 3 วัน พร้อมกันนี้ ยังจะมีการออก พ.ร.บ.การดำเนินธุรกิจ ทำให้เอสเอ็มอีสามารถนำสินค้าคงคลังมาเป็นตัวค้ำประกันได้ โดยจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 นี้เป็นต้นไป
       
       รมว.คลัง กล่าวว่า ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2559 นี้ ธนาคารโลกจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน เชื่อว่าสิ่งที่คณะทำงานเร่งปรับปรุงใน 3 เดือนที่ผ่านมา จะทำให้อันดับของไทยดีขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 49 จาก 189 ประเทศ โดยหวังจะกลับมาติดอันดับ 1 ใน 30 ได้
       
       ด้าน นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) ยืนยันภาคเอกชนมีความพอใจ และเป็นสิ่งที่ดีที่จะปรับปรุงการทำธุรกิจในเมืองไทยให้เกิดประโยชน์ และสะดวกมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เอกชนอยากเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นได้


“อดีตขุนคลัง” ชำแหละมาตรการ ECB ใช้ยาแรงไม่มีผลต่อ ศก.แท้จริง แต่จะทำให้ตลาดหุ้นหวือหวา

โดย MGR Online

      “อดีตขุนคลัง” มองมาตรการ ECB รอบนี้ถือเป็นการใช้ยาแรงเหนือความคาดหมายของตลาด ชี้มาตรการดังกล่าวไม่ช่วยดันเงินลงสู่ ศก.ที่แท้จริง แต่ตลาดหุ้นจะได้อานิสงส์ และความหวือหวา ทั้งที่พื้นฐานยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง
       
       นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งมีผลให้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรเข้าสู่ระดับ 0% และลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB ลงสู่ระดับ -0.4% พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สู่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จากเดิมที่ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนนั้น ถือว่าเป็นยาแรงที่เกินความคาดหมายของหลายฝ่าย ซึ่ง ECB ต้องการนำมาใช้เพื่อหวังว่าจะช่วยให้เงินเฟ้อ และเศรษฐกิจในยูโรโซนฟื้นตัวขึ้น ซึ่งตนกลับมองว่ามาตรการนี้ไม่ได้ช่วยทำให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้ จริง
       
       “คงไม่ใช่ของใหม่ แต่มันสิ้นหวังไม่รู้จะแก้อย่างไร การที่ ECB เอามาตรการเหล่านี้มาใช้ได้ เพราะเงินเฟ้อไม่มี พอเงินเฟ้อไม่มีจะฉีดยาแรงๆ ทางการเงินก็ฉีดเข้าไปจนกระทั่งเงินเฟ้อขึ้น หรือพูดง่ายๆ ปั๊มเงินใส่เข้าไป ทำอย่างไรให้เงินกลับเข้าสู่ระบบมากที่สุด แต่หัวใจคือ มันไม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง”
       
       พร้อมกันนี้ อดีตขุนคลัง ยังชี้ให้เห็นว่า การใช้มาตรการยาแรงดังกล่าวของ ECB ไม่ได้ทำให้ทุกประเทศประสบผลสำเร็จในการกระตุ้นเศรษฐกิจเสมอไป เช่น ญี่ปุ่น แม้จะอัดฉีดเงินเข้าไป แต่เม็ดเงินก็ยังไม่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนก็ยังเป็นเหมือนเดิม ในขณะที่สหรัฐฯ อาจจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจบ้าง เนื่องจากดำเนินมาตรการในลักษณะนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว
       
       นายทนง กล่าวว่า การที่เม็ดเงินไม่ได้ลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริงนั้น จึงทำให้เม็ดเงินส่วนนี้ไหลไปสู่การลงทุนในตลาดหุ้น ดังเช่นที่ผ่านมา จะเห็นว่าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น และตลาดหุ้นไทยเองก็ได้รับอานิสงส์ในส่วนนี้ ทั้งๆ ที่พื้นฐานเศรษฐกิจของไทยเองไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด
       
       “เงินพวกนี้ก็จะไปลงทุนในตลาดหุ้น จึงเห็นตลาดหุ้นทั่วโลกกระเพื่อมขึ้น ตลาดหุ้นไทยก็ได้รับผลพวงด้วย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเศรษฐกิจไม่ได้ดีขึ้นเลย มันขึ้นจากปริมาณเงินที่ทะลักอยู่ทั่วโลก เงินมันไหลไปในจุดที่ผลประกอบการดีกว่าที่อื่น ไทยยังดอกเบี้ยสูงกว่าคนอื่น ตลาดหุ้นไทย PE ก็ยังต่ำกว่าที่อื่น”
       
       ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นนักลงทุนกระจายเงินที่เหลือจากการอัดฉีดวนอยู่ ข้างบนเหมือนก้อนเมฆ ไม่เป็นฝนตกลงมาเสียที ถ้าเป็นฝนตกลงมามันก็จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ต้นไม้ก็โตได้ แต่มันไม่ตกเสียที ต้องใช้เวลานานมาก
       
       พร้อมระบุว่า สิ่งที่จะเห็นในช่วงสั้นๆ ภายในระยะเวลา 1 ปีจากนี้ คือ ตลาดการเงิน และตลาดหลักทรัพย์จะกระเตื้องขึ้น ขณะที่ทุกประเทศก็ยังพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกันอยู่ แต่สหรัฐฯ คงเริ่มไม่แน่ใจว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะแต่ละประเทศ ทั้งจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ต่างก็ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของตัวเองเช่นกัน
       
       “ยาแรงที่ ECB ออกมานี้คงช่วยประเทศที่จน ประเทศที่มีปัญหา ช่วยแบงก์ยุโรปที่เป็นเจ้าหนี้อยู่ในประเทศทั้งหลายให้มีความสามารถในการ ปล่อยกู้ ในการเจรจาลดหนี้ ในการดูแลกรีซ อิตาลี คือ ไปได้ในภาคการเงินการลงทุน แต่ไม่ใช่ภาคเศรษฐกิจแท้จริง ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่สิ่งที่ไทยจะได้ คือ ความหวือหวาของตลาดหุ้นที่เงินจะเริ่มไหลเข้ามา” นายทนง กล่าวสรุป


'ทนง'มองอีซีบีใช้ยาแรง ไม่ช่วยหนุนศก.แท้จริง

โดย :

ทนง" อดีตรมว.คลัง มอง ECB ใช้ยาแรงไม่ช่วยดันเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่ช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นทั่วโลกกระเตื้องขึ้น

นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวว่า การที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งมีผลให้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรเข้าสู่ระดับ 0% และลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB ลงสู่ระดับ -0.4% พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สู่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน จากเดิมที่ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือนนั้น ถือว่าเป็นยาแรงที่เกินความคาดหมายของหลายฝ่าย ซึ่ง ECB ต้องการนำมาใช้เพื่อหวังว่าจะช่วยให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจในยูโรโซนฟื้นตัว ขึ้น ซึ่งตนกลับมองว่ามาตรการนี้ไม่ได้ช่วยทำให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้ จริง

"ไม่ใช่ของใหม่ แต่มันสิ้นหวัง ไม่รู้จะแก้อย่างไร การที่ ECB เอามาตรการเหล่านี้มาใช้ได้ เพราะเงินเฟ้อไม่มี พอเงินเฟ้อไม่มี จะฉีดยาแรงๆ ทางการเงินก็ฉีดเข้าไป จนกระทั่งเงินเฟ้อขึ้น หรือพูดง่ายๆ ปั๊มเงินใส่เข้าไป ทำอย่างไรให้เงินกลับเข้าสู่ระบบมากที่สุด แต่หัวใจคือ มันไม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง" อดีต รมว.คลัง กล่าว

พร้อม ชี้ให้เห็นว่า การใช้มาตรการยาแรงดังกล่าวของ ECB ไม่ได้ทำให้ทุกประเทศประสบผลสำเร็จในการกระตุ้นเศรษฐกิจเสมอไป เช่น ญี่ปุ่น แม้จะอัดฉีดเงินเข้าไป แต่เม็ดเงินก็ยังไม่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนก็ยังเป็นเหมือนเดิม ในขณะที่สหรัฐฯ อาจจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจบ้าง เนื่องจากดำเนินมาตรการในลักษณะนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว

นายทนง กล่าวว่า การที่เม็ดเงินไม่ได้ลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริงนั้น จึงทำให้เม็ดเงินส่วนนี้ไหลไปสู่การลงทุนในตลาดหุ้น ดังเช่นที่ผ่านมาจะเห็นว่าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น และตลาดหุ้นไทยเองก็ได้รับอานิสงส์ในส่วนนี้ ทั้งๆ ที่พื้นฐานเศรษฐกิจของไทยเองไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด

"เงินพวกนี้ก็ จะไปลงทุนในตลาดหุ้น จึงเห็นตลาดหุ้นทั่วโลกกระเพื่อมขึ้น ตลาดหุ้นไทยก็ได้รับผลพวงด้วย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเศรษฐกิจไม่ได้ดีขึ้นเลย มันขึ้นจากปริมาณเงินที่ทะลักอยู่ทั่วโลก เงินมันไหลไปในจุดที่ผลประกอบการดีกว่าที่อื่น ไทยยังดอกเบี้ยสูงกว่าคนอื่น ตลาดหุ้นไทย PE ก็ยังต่ำกว่าที่อื่น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น นักลงทุนกระจายเงินที่เหลือจากการอัดฉีด วนอยู่ข้างบน เหมือนก้อนเมฆ ไม่เป็นฝนตกลงมาเสียที ถ้าเป็นฝนตกลงมา มันก็จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ต้นไม้ก็โตได้ แต่มันไม่ตกเสียที ต้องใช้เวลานานมาก" อดีต รมว.คลัง กล่าว

พร้อมระบุว่า สิ่งที่จะเห็นในช่วงสั้นๆ ภายในระยะเวลา 1 ปีจากนี้ คือ ตลาดการเงินและตลาดหลักทรัพย์จะกระเตื้องขึ้น ขณะที่ทุกประเทศก็ยังพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกันอยู่ แต่สหรัฐฯ คงเริ่มไม่แน่ใจว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะแต่ละประเทศทั้งจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปต่างก็ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของตัวเองเช่น กัน


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คลัง ยาแรง อีซีบี ไม่กระทบไทย บาทแข็ง รอบ 7 เดือน ไม่ถึงขั้น น่าเป็นห่วง

view