สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ระดม สมอง 5 นักวิชาการ (จบ) คิดเชื่อมโยง-เปลี่ยนวิธีมองปัญหา... สู่ธุรกิจเพื่อสังคม

จากประชาชาติธุรกิจ



ฉบับที่ แล้วเวทีระดมสมองนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ได้ช่วย ฉายภาพปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทย จากนั้นการสนทนาได้เปลี่ยนโฟกัสไปที่การหาทางออก หรือทางเลือกที่เป็นไปได้ในการสลาย หรือลดปมปัญหาที่ประเทศเผชิญอยู่

จาก ประสบการณ์ในการสำรวจพื้นที่ชนบท เมื่อ 12 ปีก่อน ทำให้ดร.สมชัย จิตสุชน เป็นหนึ่งใน นักวิชาการ ที่มองปัญหาเชิงโครงสร้าง ของสังคมไทย ได้อย่างเข้าใจ และเข้าถึง โดยเฉพาะไม่ควรมองปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างผิวเผิน เพราะตัวเลขสถิติต่าง ๆ อาจให้ข้อสรุปอย่างหนึ่ง เช่น ทำให้ดูเหมือนว่า ประเทศไทยมีคนจน น้อยลง แต่ในแง่ของความรู้สึกแล้ว คนรากหญ้า กลับคิดต่าง มองว่ามีคนจนมากขึ้น และแม้แต่คนที่พอมีพอกินก็กลับลดน้อยลง จากที่เคยคิดว่า มีสัดส่วนพอ ๆ กับคนรวย ตอนนี้อาจเหลือแค่ 20%

นั่น ต้องทำให้มองปัญหาอย่าง subjective ไม่ใช่ objective "เพราะความเหลื่อมล้ำที่เขาสัมผัสได้นั้น มาจากความรู้สึก"

เมื่อมุม มองต่างของคนรากหญ้า มาจากความรู้สึก ข้อสังเกตของ ดร.สมชัย กลับสอดรับกับคำถามของ สฤณี อาชวนันทกุลนักวิชาการอิสระที่ตั้งโจทย์ให้วงเสวนาช่วยกันคิดต่อว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างที่กำลังถกกันอยู่นี้ ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับการชุมนุม ของเสื้อแดงเลยหรือ

หากตอบว่า ไม่ใช่คงไม่ถูกต้องนัก เพราะเธอมองว่าทุกอย่างพันกันหมด เพราะฉะนั้น "ต้องมองเห็นว่าต้นทุนต่าง ๆ อยู่ตรงไหนบ้าง และทุกคนต้องร่วมกันแบก" และสิ่งที่ควรมองอย่างยิ่งคือ การมองภาพอนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปี เพื่อให้สามารถย้อนกลับมาดูว่า ปัจจุบันควรทำอะไรบ้าง...

สิ่งที่สฤณีพยายามสื่อสารออกมา คือ การเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ละทิ้งวิธีมองปัญหาและแนวทางแก้ไขแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้ผล โดยเธอยกตัวอย่างว่า ที่ผ่านมาผู้เล่นสำคัญ ๆ ในสังคมจะมีรัฐ เอกชน ชุมชน และภาคประชาชน แต่ทุกอย่างจะพุ่งไปที่รัฐอย่างเดียว ทุกคนจะมองไปที่ข้างบนหมด โดยเฉพาะพอมีปัญหาอะไรมักจะเรียกร้องให้รัฐจะต้องเข้ามาจัดการ กรณีของมาบตาพุดแสดงให้เห็นว่ายังเป็นวิธีคิดแบบเก่า

จุดอ่อนของการ มองปัญหาด้วยวิธีคิดแบบเก่า คือ การพึ่งพารัฐจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ารัฐเองก็มีปัญหามากมาย จนจัดการปัญหาไม่ได้ และบางครั้งก็ไม่มีประสิทธิภาพพอ ที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ

ดัง นั้น แนวทางที่เธอคิดว่าน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง คือ ธุรกิจเพื่อสังคม การใช้ CSR เป็นกลไกในการช่วยสร้างสัมพันธ์ในระดับอื่น ๆ โดยต้องกระตุ้นให้เอกชนปรับความเข้าใจใหม่ว่า

"การเข้ามาช่วยแรงงาน ของคุณเอง ไม่ใช่แค่ให้รัฐออกกฎหมายมา แล้วทำตาม แต่มันเป็นเรื่องที่ดีทางธุรกิจ มันช่วย ลดความเสี่ยงที่เขาจะออกมาทำอะไรดังที่เกิดขึ้นแล้วในกรณีของมาบตาพุด"

วิธี การเช่นนั้นถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ในแนวราบ ไม่ใช่ในแนวดิ่งเหมือนกับที่ในขณะนี้ต่างประเทศมีสิ่งที่เรียกว่า license to operate ซึ่งไม่ใช่การไปขอใบอนุญาตจากภาครัฐมาประกอบการ แต่ต้องให้ชุมชนนั้น ๆ เห็นชอบก่อนโครงการจึงจะเกิดขึ้นได้



ข้อ เสนอของนักวิชาการอิสระท่านนี้ คือ ความร่วมมือระหว่างเอกชนกับประชาสังคม หรือ CSR ควรทำในลักษณะเป็นกลยุทธ์หนึ่งของธุรกิจ ไม่ใช่แค่พิธีกรรม หรือการประชาสัมพันธ์องค์กรแบบผิวเผิน

"ในต่างประเทศเขาไม่ปลูกป่า ชายเลนแล้ว แต่เขาใช้เป็น strategic CSR ซึ่งในความหมายนี้ก็คือ ต้องต่อยอด มีกรณีศึกษามากมาย และอธิบายได้ว่า แม้การทำ CSR ในลักษณะนี้จะไม่ช่วยสร้างรายได้ทันที 3 ปี 5 ปี เพราะเป็นเรื่องในระยะยาว แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะในระหว่างทางอาจช่วยได้ในเรื่องบริหารความเสี่ยง หรือทำให้คนจดจำแบรนด์ได้"

หรือในขณะนี้กระแสของ green consumer กำลังมาแรง ซึ่งในเมืองไทยธุรกิจก็เริ่มรู้สึกแล้ว โดยเฉพาะผู้ส่งออกไปยุโรป เพราะทางยุโรปก็มีมาตรฐานเรื่องพวกนี้แล้ว ถ้าเราไม่ตระหนักก็ขายของไม่ได้

แนวโน้มเหล่านี้เป็นสิ่งที่มองเห็น ซึ่งเธอมองว่าภาคเอกชนของไทย ต้องฉวยโอกาสจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลก แล้วก็สร้าง value added แบบไม่มักง่าย สร้างมูลค่าเพิ่มแบบที่ต้องสร้างจริง ๆ แต่ที่ผ่านมาเป็นปัญหาเพราะเรามองแต่ quick win ในความเป็นจริงก็มี quick win ก็เป็นเรื่องดี แต่พอเราพูดเรื่องปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไรก็แล้วแต่เราไม่เคยมีการถอดบทเรียนอย่างถูกต้อง เราไม่เคยมาวิเคราะห์ สมมติว่านโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงที่ผ่านมาจริง ๆ ความปรารถนาดีก็มี อย่างสภาพัฒน์ก็เคยเขียนรายงานในลักษณะเช่นนี้ แต่ก็เหมือนทำกันมาเยอะแล้ว เพราะปัญหาคือเราขาดวัฒนธรรมของการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งการถอดบทเรียนมันต้องมีวัฒนธรรมแบบนี้ เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดการลองผิดลองถูก

ข้อเสนอในเรื่อง CSR หรือ "ธุรกิจเพื่อสังคม" เป็นทางเลือกหนึ่งที่วงเสวนาแบบไม่เป็นทางการครั้งนี้ "ซื้อ" และทุกคนเห็นพ้องว่าน่าจะช่วยลดปัญหาเชิงโครงสร้างได้ระดับหนึ่งแม้จะไม่หมด ไป

แต่ข้อเสนอของ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน การสร้างโอกาสให้กว้างขวางขึ้นอาจช่วยสลายหรือลดความรู้สึกถึงความเหลื่อม ล้ำทางสังคมได้เช่นกัน โดยยกตัวอย่างบทความชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในเฮรัลด์ ทริบูน เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

บทความชิ้นนี้พูดถึงการตก ต่ำของพวก WASP (white Anglo-Saxon protestant) ซึ่งหมายถึงพวกอเมริกันผิวขาว ซึ่งถือเป็นชนชั้นนำในสังคมในอดีต เป็นตัวสะท้อนระบบของอิลิตในอเมริกา ซึ่งเดิมชาวอเมริกันกลุ่มนี้จะอยู่ในตำแหน่งใหญ่ ๆ ในด้านการเมือง รัฐบาล หรือแม้แต่บริษัทอเมริกันขนาดใหญ่ก็จะเป็นพวกนี้

บทความตั้งข้อ สังเกตว่า อิทธิพลของพวก WASP กำลังถดถอยลง โดยเฉพาะในสภาหรือศาลสูงสุดของอเมริกาเพราะถูกแทนที่ด้วย มีแต่พวกคาทอลิก พวกคนผิวดำ พวกยิว เข้ามาหมด นำมาซึ่งคำถามว่า มันเป็นเพราะอะไร

ตัวอย่าง ที่บทความชิ้นนี้หยิบยกมาอธิบาย คือ ในอเมริกา สิ่งที่แสดงสถานะทางสังคม คือ การศึกษา โดยไม่สนว่าปูมหลังจะมาจากไหน ดังนั้นจะถูกถามว่า จบมาจากไหน ซึ่งตัวอย่างที่ยกในบทความ คือ พรินสตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนของพวกคนขาว พอมา ยุคหนึ่งมหาวิทยาลัยนี้เปิดกว้างขึ้นสำหรับคนกลุ่มอื่น ๆ ก็เลยกลายเป็น "ตั๋ว" ให้กับพวกยิว พวกผิวสี ความที่มหาวิทยาลัยถูกเปิดกว้าง ทำให้ความรู้สึกในเรื่องของความเหลื่อมล้ำมันไม่เกิดขึ้น

ในมุมมอง ของผู้บริหารหนุ่มจากไทยพาณิชย์ยอมรับว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นเรื่องที่แก้ยากทั้งในเรื่องของโอกาสและความเหลื่อม ล้ำทางเศรษฐกิจ โดยเขาตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ประเด็น ประการแรก โครงสร้างภาคเอกชนอยู่ในลักษณะของ family control เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นต่อให้ระบบตอบแทนตามผลงาน (metitoctracy) จะดีขนาดไหน ความเหลื่อมล้ำของโอกาสยังคงมีอยู่

ประการที่ 2 ในภาพที่ใหญ่ ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย แต่ประเทศอื่น ๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ประสบเช่นกัน อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เพราะมีลักษณะ ของโครงสร้างเศรษฐกิจและการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับไทย ซึ่งแตกต่างจากโมเดลการพัฒนาของเกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งมีฐานชนชั้นกลางกว้างกว่า

หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ ดร.เศรษฐพุฒิหยิบมาสนับสนุนความคิดนี้ คือ โครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ของไทย บริษัทที่มีบทบาทสำคัญจะอยู่ในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร สื่อสารโทรคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีลักษณะของการผูกขาด ไม่ต้องไปแข่งกับโลก ที่สำคัญไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมากนัก แตกต่างจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของเกาหลีใต้หรือไต้หวัน บริษัทชั้นนำ ของตลาด อาทิ ซัมซุง และแอลจี เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรม

เมื่อคำถาม ถูกโยนกลับมาที่ บรรยง พงษ์พานิช อีกครั้งผู้บริหาร บล.ภัทร ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า สิ่งแรกสุดที่จะต้องกระทำในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ ต้องทำให้สังคมเห็นพ้อง เป็นวาระของสังคม และวิธีการคือ ทำให้คน 10% ที่ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาเกิดความกลัวจริง ๆ ว่าจะเกิดขึ้นตามมาถ้าเขาไม่ทำอะไร

"ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของราช ประสงค์หรือไม่ แต่จากตัวเลขที่เห็นยังไงก็ต้องแก้ เพราะหากมองย้อนไปในอดีตเรื่องนี้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน แทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นปฏิวัติฝรั่งเศส พอลเชวิก หรือจีน ล้วนมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้ และถ้าใครเถียงผมจะบอกให้ไปฟังเพลงเรฟูจี ของคาราบาว คือถ้าไม่รู้จักแบ่งปัน จะเหลือแค่เรือลำเดียว หรือกรณีของเขมรก็ชัด เพราะให้เกิดความเกลียดชังในระดับลึกและมากพอที่จะฆ่าคนจำนวนมากมายเช่นนั้น ได้"

เมื่อทำให้ปัญหานี้เป็นวาระของสังคมแล้ว ก็ถึงขั้นตอนว่าจะต้องทำอย่างไร "ผมนึกถึงเค้กกับการแบ่งเค้ก แต่ที่ผ่านมาแบ่งเค้กมันไม่ค่อยดี ต่อไปจะแบ่งเค้กอย่างไรให้ดีขึ้น"

แต่ ทำอย่างไรจึงจะทำให้การแบ่งเค้กเป็นธรรมมากขึ้น และ กลุ่มคน 10% ของสังคมไทย ซึ่งเป็นคนสร้างเค้กยอมแบ่งเค้กมากขึ้น

เขาเสนอว่า ควรใช้ทั้งมาตรการทางภาษี อาทิ wealth tax จัดเก็บกับทรัพย์สินและที่ดินที่เป็นมรดก และการปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณใหม่เพื่อให้เม็ดเงินกระจายไปสู่ฐาน รากหญ้ามากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการจัดสรรงบประมาณสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สามารถทำให้งบประมาณไปตกอยู่คนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจาก 15% ในอดีต เป็น 24%

นอกเหนือจากนี้ ข้อเสนออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะสอดคล้องไปกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำ เช่น การสร้างรัฐสวัสดิการ และการกลับมาพิจารณาในเรื่องของการยกระดับขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ซึ่งมีหลายวิธีการ อาทิ การแปรรูป รัฐวิสาหกิจ หรือการจัดการเรื่องสัมปทานโครงการต่าง ๆ

การเสวนาในรอบหลัง ได้ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์เศรษฐกิจมหาภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง มาร่วมแสดงความเห็น หนึ่งในประเด็น ที่เขาเป็นห่วงค่อนข้างมาก คือ ระบบการศึกษา โดยเห็นว่า ควรมีการ "ยกเครื่อง" การศึกษาไทยใหม่ ซึ่งเคยมีแนวคิดกันว่า ควรจะเปลี่ยนจากการให้เงินสนับสนุนโรงเรียน ที่ส่วนใหญ่อาจนำไปพัฒนาครู แต่ผลเป็นอย่างไรเราไม่รู้ มาเป็นให้โรงเรียนมีการแข่งขันกันให้โอกาสคน เป็นลักษณะการให้แรงจูงใจ ซึ่งอาจแก้การศึกษาได้อีกมุมหนึ่ง

"ตอนนี้ เราเน้นไปให้เงินอุดหนุน คือ ใส่เงินเข้าไปแล้วโรงเรียนจะทำอะไรก็เรื่องของโรงเรียน ทำให้เรื่องการศึกษาน่าห่วงมาก ๆ และผมคิดว่าสิ่งที่น่าจะควรทำที่สุดตอนนี้คือ ต้องผูกกับภาคเอกชนให้ได้ เพราะระบบการศึกษาปัจจุบัน ไม่เชื่อมต่อกับเอกชน ไม่เชื่อต่อกับภาคการผลิต เช่นให้บริษัทเอกชนมาทุนการศึกษาเด็นในสถาบันที่ตอบโจทย์แรงงานของภาคเอกชน ได้ เช่น สถาบันเทคนิคต่าง ๆ เป็นต้น แรงจูงใจตรงนี้คือให้มาทำด้านดีมานด์แทนที่จะไปทำด้านซัพพลาย"

ดร.เอก นิติ มีความเห็นว่า ตอนนี้ทุกคนไปเน้นแก้ที่ระดับบน คือจะปฏิรูปอย่างไร จะปรับโครงสร้างอย่างไร ซึ่งเห็นด้วยแต่ต้องทำควบคู่กันไปกับระดับล่าง โดยปัญหาที่ทุกไม่ค่อยพูดถึงและลืมไปคือ โครงสร้างการคลังระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่น และที่ลงไปถึงชุมชน ที่ขาดจุดเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน ถือเป็นปัญหาใหญ่เพราะนโยบายทุกอย่างยังทำอยู่ที่ส่วนกลาง และทุกคนก็วิ่งเข้ามาแย่งแต่เค้กก้อนเดียวที่ส่วนกลาง ทั้งที่มีเค้กก้อนใหญ่มโหฬารที่ลงไปอยู่ส่วนท้องถิ่นถึงปีละ 4-5 แสนล้านบาท แต่ทุกคนไม่ได้มองข้างล่าง

"จุดที่สำคัญคือ ต้องมานั่งคิดว่า จะเอาเงินมาเชื่อมข้างล่างกับข้างบนอย่างไร ตอนนี้คนมาแย่งทรัพยากรกันที่ข้างบน ทั้งงบฯลงทุน งบฯสวัสดิการสังคม เป็นต้น และยังมีเรื่องการเมืองข้างบนด้วย แต่ข้างล่างก็เป็นอีกโลกหนึ่ง เพราะฉะนั้นตรงนี้ขาดจุดเชื่อมที่ต้องหากลไกมาเชื่อมต่อ" ดร.เอกนิติกล่าว

อีก ประเด็นที่ ดร.เอกนิติมองว่าประเทศไทยขาดมาก และต้องการให้มีมากที่สุด คือหน่วยงานประเมินผล นโยบายทุกนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการประเมินผลนโยบายที่แต่รัฐบาลทำว่ามีข้อดีข้อเสีย หรือได้ผลหรือไม่อย่างไร ทำให้ทุกรัฐบาล "copy" ทำนโยบายเดิม ๆ โดยไม่รู้ว่านโยบายนั้นดีหรือไม่ดี ดังนั้นควรมีหน่วยงานประเมินผลอย่างจริงจังและเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้องค์กรใหม่แต่อาจเพิ่มอำนาจให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการ

Tags : ระดมสมอง นักวิชาการ คิดเชื่อมโยง วิธีมองปัญหา ธุรกิจเพื่อสังคม

view