สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดรหัสคิดผู้นำสร้างได้ The DNA Leadership สายพันธุ์เพื่อความสำเร็จขององค์กร

จากประชาชาติธุรกิจ



พระไพศาลวิสาโล, อนุพงษ์ อัศวโภคิน

ความ เดิมจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมผ่านมา ทำให้ "เรา" คือ "หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ" และ "บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด" มีความคิดเห็นสอดรับไปในทางเดียวกันว่า ประเทศไทยจะก้าวหน้าหรือถอยหลัง

ย่ำอยู่กับที่

ล้วนเกิดขึ้น จาก "ผู้นำประเทศ" ทั้งสิ้น

เพราะภาพของประเทศที่เห็นและเป็นอยู่ขณะ นี้ ต่างเข้าไปเกี่ยวข้องกับภาพของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างแยกกันไม่ออก

จนทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศบอนไซ ที่แม้จะตกแต่งกิ่งก้านให้สวยงามอย่างไร ดีที่สุดแค่คงสภาพเป็นเพียง ไม้แคระอย่างที่เห็น

สำหรับประเทศอื่นเขาอาจเป็นพันธุ์ไม้แคระที่มี ค่า และมีคุณค่าเพิ่มในตัวเอง แต่สำหรับประเทศไทยคงยากเสียแล้วที่จะก้าวขึ้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น

เพราะ มองออกไปข้างหน้า ก็เห็นความจริงว่าภาพของประเทศไทยส่วนใหญ่มักถูกขับเคลื่อนด้วยภาคการเมือง และภาคการเมืองนี่เองที่ทำให้ประเทศไทยเป็นพันธุ์ไม้แคระ

แล้วเราจะ ฝากความหวังอะไรกับภาคการเมือง ?

"เรา" จึงมานั่งคิดต่อว่า เมื่อเราพบความจริงอย่างที่เห็น และมองออกว่า "ผู้นำ" เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทั้งต่อประเทศชาติ องค์กร หรือแม้แต่สถาบันครอบครัว

แต่ ผู้นำอย่างไหนล่ะ คือผู้นำที่เราต้องการ ?

ผู้นำอย่างไหนล่ะที่จะฝาก ความหวังได้ ?

หรือผู้นำอย่างไหนล่ะที่จะบริหารองค์กรให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ หรือรูปแบบองค์กรของธุรกิจในปัจจุบัน ?

รวมถึงจริงหรือไม่ ที่ "ผู้นำ" ต้อง born to be เท่านั้น !

หลากหลายคำถาม และหลากหลายที่ต้องการคำตอบนี่เอง เมื่อมาผนวกกับ ผลวิจัยเรื่อง Leadership DNA ที่บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด ศึกษาจากสถาบัน เอเอ็มเอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

กอปรกับหนังสือพิมพ์

ประชาชาติธุรกิจ ต้องการที่จะจัดสัมมนาคิด-มอง-ทำ เนื่องในโอกาสเทศกาลคืนกำไรผู้อ่าน "เรา" ในฐานะพันธมิตรจึงมีความคิดร่วมกันว่า "เรา" น่าจะจัดสัมมนาคิด-มอง-ทำในเรื่องเกี่ยวกับ Leadership DNA

อริญญา เถลิงศรี, ฤทธิ์ ธีระโกเมน



จน กลายเป็นหัวข้อสัมมนา ชื่อ "The DNA of Leadership สายพันธุ์เพื่อความสำเร็จขององค์กร" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น.

ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค ชั้น 7 ห้องบอลรูม กรุงเทพฯ

ที่ไม่เพียงจะมีวิทยากรรับเชิญพิเศษ คือ "พระไพศาล วิสาโล" เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ, ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มเค สุกี้ จำกัด

หากยังมี "อนุพงษ์ อัศวโภคิน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ"อริญญา เถลิงศรี" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด

สำหรับ เหตุผลในการเชิญวิทยากรรับเชิญพิเศษ "พระไพศาล วิสาโล" เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ เพราะ "พระไพศาล วิสาโล" นอกจากจะเป็นพระนักปฏิบัติ หากยังเป็นพระนักคิด นักเขียนด้วย

โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับ จริยธรรมผู้นำ เชื่อได้ว่า "พระไพศาล วิสาโล" น่าจะถ่ายทอดออกมาได้อย่างหมดจด ทั้งยังเห็นภาพในการบริหารของผู้นำในยุคปัจจุบันด้วย

ขณะที่ "ฤทธิ์" นอกจากจะเป็นผู้บริหารระดับสูงของเอ็มเค สุกี้ ที่ผ่านประสบการณ์ในการกรุยทางธุรกิจมายาวนาน หากในอีกภาพหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาถือเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่มี พนักงานให้ความนับถือเป็นอย่างมาก

ซึ่งภาพของ "ฤทธิ์" อาจเป็นได้ทั้งผู้นำแบบ "born to be" และอาจเป็นผู้นำแบบสร้างได้ เพราะกระบวนการคิดธุรกิจ กระบวนการผลิต กระบวนการตลาด และการขยายธุรกิจไปในประเทศต่าง ๆ ล้วนเกิดขึ้นจากมันสมองของเขาทั้งสิ้น

ทั้ง ๆ ที่เขามักปฏิเสธบอกว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นล้วนจาก team work ซึ่งก็คงจะจริง แต่ในกระบวนการสร้าง team work จะต้องมีอะไรซ่อนอยู่มากกว่า

สำหรับ การเป็น "ผู้นำ" ของเขาในวันนี้

ในทางเดียวกัน "อนุพงษ์" ถือเป็นผู้บริหารผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แม้เจ้าตัวจะถ่อมตนว่า...ผมไม่ใช่คนประสบความสำเร็จอะไร

แต่ถ้าดู จากการสร้างองค์กรเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ในตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คงน่าจะเป็นคำตอบได้ว่าเหตุผลหนึ่งที่ผู้บริหารท่านนี้พยายามสร้างองค์กร แห่งนี้ให้เกิดความยั่งยืน เพราะเขามองเห็นแล้วว่า "คน" เป็นบุคลากรที่สำคัญที่สุด

ทั้งยังมีกระบวนการในการสร้างคน

ขณะ เดียวกัน เขาก็มีมุมมองในเชิงการบริหารองค์กรอย่างน่าสนใจ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่มุมมองในโลกตะวันตกเท่านั้น หากมุมมองในโลกตะวันออก

ใน วิถีแห่งพุทธะ เขาก็มีมุมมองการบริหารอย่างเชื่อมต่อระหว่างภาพของการบริหาร และภาพของจริยธรรม จนกลายเป็นภาพใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้อย่างสมบูรณ์

ฉะนั้น ในบริบทตรงนี้เชื่อแน่ว่าผู้เข้าร่วมรับฟังสัมมนาจะได้อรรถรสอย่างเต็ม เปี่ยม ยิ่งเมื่อได้ "อริญญา" มาฉายภาพชัดของผลวิจัยที่สถาบันเอเอ็มเอจากประเทศสหรัฐ อเมริกาเก็บข้อมูลไว้ ก็ยิ่งจะทำให้ภาพของผู้นำแบบ born to be กับผู้นำที่สร้าง ได้ตามหลัก competency มีความน่าสนใจมากขึ้น

เพราะ "อริญญา" มองว่ากระบวนการสร้างผู้นำนั้นมีหลายขั้นตอน ขณะเดียวกันผู้นำนั้นก็มีหลายแบบ หลายสไตล์ เพียงผู้ตามจะชอบผู้นำแบบไหนนั้นไม่สามารถเลือกได้

แต่เลือกที่จะนำ มาเป็นแบบอย่างได้

ถ้าผู้นำคนนั้นครบถ้วนทั้งในเรื่องของการ คิด-มอง-ทำ จนกลายเป็นบุคคลต้นแบบเหมือนอย่างที่ "อริญญา" เคยกล่าวว่า การเป็นผู้นำองค์กรจะต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้คือ

1.Transactional Leadership อันหมายถึงองค์กรที่ไม่ค่อยขับเคลื่อน และผู้นำที่ไม่ชอบขับเคลื่อน มักไม่มีความผิด เพราะเขาเคยชินกับสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง

2.Charismatic Leadership อันหมายถึงผู้นำที่มากด้วยบารมี และผู้นำประเภทนี้มักมีข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือทุกคนมีความเชื่อมั่นและปฏิบัติตาม แต่ข้อเสียคือถ้าผู้นำมีความคิดไม่สอดรับกับนโยบายขององค์กร อาจทำให้เกิดปัญหา หรือถ้าผู้นำมีการลาออกไป พนักงานที่มีความเชื่อมั่นอาจจะออกตามไปด้วย

3.Transformational Leadership อันหมายถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน ซึ่งผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่มีพลัง และสามารถหลอมรวมใจพนักงานให้เป็นหนึ่งเดียวได้

4.Facilitative Leadership อันหมายถึงองค์กรต้องมีความพร้อม มีความสมดุลของทรัพยากรทั้งหลาย ซึ่งหมายถึงทีมและความเป็นหนึ่งเดียวของผู้มีความสามารถ

5.Servant Leadership อันหมายถึงผู้นำที่เป็นผู้ฟังที่ดี พร้อมเป็นโค้ชที่พร้อมให้คำแนะนำ และไม่กลัวลูกน้องจะต่อว่า

6.Visionary Leadership อันหมายถึงผู้นำที่ชอบฝันให้ไกล ไปให้ถึง โดยความฝันนั้นจะต้องเป็นความฝันแบบคิดใหญ่ คิดไกล และคิดแตกต่างจากคนอื่น

ฉะนั้น ในองค์ประกอบ 6 แบบของการเป็นผู้นำ จึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่เคยอธิบายในกรอบของการเป็นผู้นำมาก่อนแล้ว แต่สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ "The DNA Leadership สายพันธุ์เพื่อความสำเร็จขององค์กร" จึงน่าจะเป็นการถอดรหัสผู้นำในอีกมิติหนึ่งที่ไม่เหมือนใคร

ทั้งยัง ไม่เคยปรากฏมาก่อนบนเวทีสัมมนาใด ๆ

ดังนั้น ใครที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้ฟรีที่ www.apm.co.th หรือสอบถามฝ่ายการตลาดได้ที่โทร.0-2656-9310

แล้วท่านจะทราบว่าผู้ นำนั้นสร้างได้ หรือต้องเป็นมาจากกำเนิดอย่างเดียวเท่านั้น

เชิญหา คำตอบโดยพลัน !

Tags : ถอดรหัสคิด ผู้นำสร้างได้ The DNA Leadership ความสำเร็จ องค์กร

view