สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

10 เรื่องของประกัน ที่คุณอาจยังไม่รู้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

70-80% คือ เปอร์เซ็นต์ของคนไทย ที่ยังไม่ได้ทำประกัน
อย่าแปลกใจ ถ้าเรื่องบางเรื่องของประกัน ที่คุณรู้และเข้าใจแล้ว  ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้เรื่อง หรือที่ว่าเข้าใจแล้ว อาจจะยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากพอ

เป็นต้นว่า หลายคนยังสงสัยว่า  ควรจ่ายเบี้ยประกันปีละเท่าไหร่ดี หรือวงเงินคุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับตัวคุณ  หรือบางคนส่งประกันไปแล้ว แต่ไม่มีเงินส่งต่อ จะทำยังไงดีไม่ให้เสียผลประโยชน์

Fundamentals ฉบับนี้จะพาไปดูกันว่า เรื่องพื้นๆ ของประกันที่คุณอาจจะยังไม่รู้มี อะไรกันบ้าง

แม้ว่ากระแสการทำประกันจะค่อยดีขึ้นเรื่อยๆ ทัศนคติของผู้คนที่มีต่อการทำประกันจะเป็นไปในทางบวกมากขึ้น แต่หลายคนก็อาจมีคำถามว่าการทำประกันชีวิตคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และทำไมเราจึงจำเป็นต้องมีการประกันชีวิตให้กับตนเองและครอบ ครัว รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เราควรจะได้รับจากการทำประกันนั้นคืออะไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้การทำประกันจะมีรูปแบบที่หลากหลายมาก ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต สุขภาพ  หรือการออมทรัพย์ โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ก่อนจะตัดสินใจทำประกัน มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรของประกันบ้างที่คุณอาจจะยังไม่รู้

O ควรทำประกันตั้งแต่อายุเท่าไร
 "ดร.เมธี  จันทวิมล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต มองว่า การทำประกันชีวิตนับเป็นการออมทรัพย์ ประเภทหนึ่ง ดังนั้น หากเริ่มทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี จะเห็นว่า บางครอบครัวก็เริ่มทำประกันชีวิตให้แก่ลูกของตน ตั้งแต่เริ่มลืมตาดูโลก ซึ่งบางคนอาจยังไม่มองถึงจุดนี้ คิดเพียงว่าประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองชีวิต เท่านั้น

"หากมองในด้านการออมทรัพย์ การทำประกันชีวิตก็สามารถตอบโจทย์ได้ เช่นกัน ดังนั้นยิ่งมีการทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ยิ่งเก็บ เงินได้เร็วขึ้น และหากเริ่มทำประกันชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเริ่มทำงาน จะทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าคนที่มีอายุมากกว่า อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีตั้งแต่เริ่มทำงาน"

ทางด้าน "นริศ อจละนันท์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต  กล่าวเสริมว่า การเริ่มทำประกันชีวิตขึ้นอยู่กับความพร้อม ทางด้านการเงินในการชำระเบี้ยประกัน ซึ่งมีแบบประกันที่หลากหลายรองรับความต้อง การของลูกค้าทุกเพศทุกวัย โดยจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้า บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต  ได้จัดทำ “เมืองไทย ไลฟ์ แมพ” เพื่อเป็นเครื่องมือให้ลูกค้ากำหนดแผนชีวิต ด้วยการวางแผนการเงินผ่านการประกันชีวิตที่สามารถรองรับความ ต้องการทางด้านความมั่นคงทางการเงิน โดยการแบ่งเป็น 5 ช่วงอายุต่างๆ ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต และความต้องการในชีวิตที่ผันแปรและเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆ ได้แก่

ส่วน "ดร.อภิสิทธิ์  อนันตนาถรัตน" ผู้อำนวยการธุรกิจลูกค้ารายย่อย  บริษัท กรุงเทพประกันภัย ให้ทัศนะว่า  การทำประกันภัยไม่ได้มีกรอบในการเริ่ม ต้นทำประกันภัย เพียงแต่มีเกณฑ์ในการกำหนดช่วงอายุของการรับประกันภัยของกรมธรรม์ในแต่ละ ประเภทซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงอายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วกรอบช่วงอายุก็มักจะใช้กับกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกายของผู้เอาประกันภัย เช่น ประกันชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ เป็นต้น ส่วนการประกันทรัพย์สินกำหนดกรอบที่ให้ มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หลักการรับประกันภัยคือหลักการรับความ เสี่ยงภัย ซึ่งความเสี่ยงภัยก็อยู่คู่กับทุกคนตั้งแต่แรกเกิด

"การทำประกันภัยก็ควรทำตั้งแต่แรกเกิด โดยเริ่มต้น พ่อแม่ ทำประกันสุขภาพให้ลูก พอถึงวัยทำงานลูกทำประกันภัยประเภทต่างๆ ให้ตนเองและตอบแทนให้กับพ่อแม่ โดยสรุปแล้วอายุที่ทำประกันภัยคือควรเริ่มตั้งแต่แรก เกิด  ส่วนวัยเริ่มต้นทำประกันภัย คือ วัยที่พร้อม ซึ่งความพร้อมก็มีสองความหมายคือพร้อมให้ตัวเองกับพร้อมให้คนที่เรารัก "

 O จ่ายเบี้ยปีละเท่าไรดี
 ส่วนจะจ่ายเบี้ยปีละ เท่าไร ดร.อภิสิทธิ์ มองว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาชีพ รายได้ ภาระความรับผิดชอบ แต่ปัจจัยต่างๆ เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ถ้าอาชีพมีความเสี่ยงสูง รายได้ไม่สูงมาก ภาระเยอะ  ควรทำประกันวงเงินคุ้มครองที่สูง เนื่องจากหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจะได้ไม่เป็นภาระทั้งตนเองและคนที่รัก ส่วนเบี้ยประกันภัยรายปี แนะนำให้เป็นสัดส่วนที่ 20% ของเงินเดือน  โดยกำหนดเป็นเดือนใดเดือนหนึ่งในรอบปีเพื่อที่จะบริหารจัดการกับค่าใช้จ่าย อื่นๆ ได้อย่างเป็นระบบ ส่วนวงเงินคุ้มครองอาจจะกำหนดเป็นเท่าของเงินเดือนหรือเป็นช่วงเวลาที่ไม่ อาจทำงานได้
 "เช่น เงินเดือน 10,000 บาท กำหนด 100 เท่า เท่ากับวงเงิน 1,000,000 บาท หรือ เงินเดือน 20,000 บาท ความเสี่ยงที่มิอาจทำงานได้ 5 ปี เท่ากับวงเงิน 1,200,000 บาท เป็นต้น"

นริศ แนะว่าการชำระเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับผู้เอาประกันควรชำระเบี้ยฯ 10% ของรายได้ต่อปี และวงเงินความคุ้มครองพิจารณาจากภาระค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ  โดยทุกคนสามารถคำนวณภาระ หรือความต้องการความคุ้มครองด้วยวิธีพื้นฐาน โดยคำนวณภาระค่าใช้จ่ายของคุณและครอบครัว (1) นำค่าใช้จ่ายที่คุณหรือครอบครัวต้องใช้จ่ายต่อเดือน สมมติว่าเดือนละ 15,000 บาท คูณด้วย 12 เดือน (15,000 x 12) จะได้ ค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากับ 180,000 บาท   และ (2) ดูจำนวนปี ที่คุณต้องการเตรียมไว้ให้ครอบครัว กรณีไม่แน่ใจให้ใช้ระยะเวลา 5 ปี  (180,000 x 5 ปี = 900,000 บาท)

และถัดมาคำนวณหนี้สิน  สมมติว่าค่าผ่อนบ้าน และค่าผ่อนรถยนต์ สมมติภาระหนี้สินสองรายการนี้เท่ากับ 2,000,000 บาท  รวมจำนวนเงินข้อ 1 และข้อ 2 เท่ากับ 2,900,000 บาท  จากนั้นนำค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่คำนวณไว้มาลบกับเงินที่ฝากธนาคารและเงิน ออมอื่นๆ  สมมติเงินออมเท่ากับ 500,000 บาท (2,900,000 - 500,000 = 2,400,000 บาท)  ดังนั้น จำนวน 2,400,000 บาท คือ จำนวนเงินความคุ้มครองสำหรับสร้างหลักประกันความมั่นคงของคุณและครอบ ครัว
 เรื่องนี้ ดร.เมธี มองว่าเราควรมองก่อนว่าการซื้อประกันเป็นการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึง ส่วนการทำประกันด้วยวงเงินคุ้มครองเท่า ไหร่ หรือประเภทใดที่เหมาะสมกับแต่ละคนนั้น จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ชัดเจนของผู้จ่ายเบี้ยประกัน ว่าต้องการซื้อประกันเพื่อชดเชยรายได้ที่ต้อง สูญเสียจากความเสี่ยงในด้านใด ไม่ว่าจะเป็นชีวิต สุขภาพ หรืออุบัติเหตุ และยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เราต้องการคุ้มครอง

การจ่ายเบี้ยประกันแต่ละปี อาจจะดูจากฐานรายได้เป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะแบ่งสัดส่วน 3 - 10% ของรายได้ต่อปีมาเป็นค่าเบี้ยประกัน แล้วจึงมาดูว่าวงเงินคุ้มครองที่ได้รับจากบริษัท ปัจจุบันมีในด้านใดบ้าง วงเงินเท่าไร จากนั้น ค่อยเลือกแบบประกันและความคุ้มครองเพิ่มเติม ให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ หากบริษัทที่ทำงาน มีความคุ้มครองให้เพียงพอแล้ว อาจจะมองในเรื่องของผลตอบแทนจากประกันแบบสะสมทรัพย์แทน
 
 O รายได้ไม่มากควรทำประกันแบบไหนก่อน
 หาก เพิ่งเริ่มทำงานมีรายได้ยังไม่มาก นริศแนะว่าเริ่มการเก็บเงินด้วยการประกันชีวิตแบบการออมที่มีความ คุ้มครองระยะยาว ซึ่งเป็นแบบประกันที่มีเบี้ยประกันต่ำ เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ยังไม่มาก โดยเมืองไทยประกันชีวิตมีแบบประกันที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่ม เริ่มทำงานมีรายได้หลายแบบ

ส่วน ดร.เมธี แนะว่าหากรายได้ของคุณยังไม่มาก ควรจะมองเป็นประกันแบบสะสมทรัพย์ก่อน เพื่อใช้เก็บเงินสะสมไว้ใช้ในอนาคตก่อน เพราะในช่วงเริ่มต้นทำงานค่าเบี้ยประกันจะไม่สูงมาก และเป็นการสร้างวินัยการออมในอนาคต ซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการต่างๆ ตามช่วงอายุ พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองระหว่างที่ทำประกัน

ถ้ามีรายได้ยังไม่เยอะ ดร.อภิสิทธิ์ แนะว่าควรทำประกันให้ตัวเองก่อน โดยเริ่มต้นจากการประกันอุบัติเหตุและค่ารักษา พยาบาล หากมีงบประมาณเหลือให้พิจารณาทำประกันสุขภาพ และต้องวิเคราะห์ประกันสุขภาพในส่วนของสวัสดิการ พนักงานที่มีให้ก่อน แล้วค่อยทำในส่วนที่เพิ่มขึ้น

รวมถึงทำประกันตามวิถีชีวิตของมนุษย์เงิน เดือน หากผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ก็ให้ทำประกันรถยนต์และอัคคีภัยเพิ่ม เติม และเมื่อมีหลักประกันมั่นคงเพียงพอแล้วก็อย่า ลืมทำประกันสุขภาพให้ครอบครัวและคุณ พ่อคุณแม่ด้วย
 
 O สะสมไว้ใช้ในบั้นปลายทำประกันแบบไหนดี
 สำหรับ คนที่ต้องการสะสมเงินไว้ใช้ในบั้นปลาย  ดร.เมธี บอกว่าปัจจุบัน บริษัทประกันต่างๆ ก็มีผลิตภัณฑ์ประกันแบบสะสมทรัพย์ออกมาให้ เลือกในตลาดมากมาย และถ้าเรามีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการทั้งในด้านความคุ้มครองชีวิตและ เงินสะสมไว้ใช้ในยามเกษียณ ก็ควรเลือกแบบประกันที่มีระยะเวลายาวมากขึ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือประกันที่มีรูปแบบการจ่ายผลตอบ แทนหลังเกษียณ เช่น อาจจะเป็นการคืนก้อนเงินครั้งเดียว คล้ายๆ กับเงินบำเหน็จหรือทยอยคืนอย่างสม่ำเสมอหลังเกษียณ คล้ายๆ กับเงินบำนาญ

"หากมีเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณ ประกันชีวิตแบบนี้จะมีค่าเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก หากเริ่มซื้อตั้งแต่อายุยังน้อย ประกันระยะยาวเบี้ยจะต่ำกว่าระยะ สั้น นอกจากนี้ ถ้าเราต้องการเงินไว้ใช้ในยามเกษียณที่มากขึ้น เราอาจซื้อประกันระยะกลางหรือระยะสั้น ควบคู่ไปด้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินออมและผลตอบแทนระหว่างทางให้สูงขึ้น"

นริศ แนะว่าการวางแผนประกันชีวิตเพื่อเก็บออมไว้ สำหรับชีวิตในอนาคตหลังเกษียณอายุอย่างรอบคอบมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะว่าอายุหลังเกษียณอาจจะยาวนานกว่าระยะเวลาที่เก็บออมก่อนเกษียณ 

เขาแนะนำการคำนวณเงินออมไว้ใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุว่า เริ่มจากให้คำนวณค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็น  โดยแบ่งเป็น (1) ค่าใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุต่อปี สมมติ เดือนละ 15,000 บาท ต่อปี เท่ากับ 180,000 บาท  (2) ระยะเวลากี่ปี (นับจากวันเกษียณอายุ ถึงวันที่คาดว่าจะเสียชีวิต) สมมติว่าเกษียณอายุ 60 ปี และมีชีวิตจนถึงอายุ 80 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณเท่ากับ 20 ปี  (180,000 x 20) = 3,600,000 บาท

จากนั้นนำค่าใช้จ่ายที่คำนวณไว้มาลบกับเงินฝากธนาคารและเงินออมอื่นๆ สมมติว่ามีเงินเก็บออมไว้ 1,000,000 บาท  (3,600,000 - 1,000,000 = 2,600,000 บาท) ถ้าปัจจุบัน อายุ 40 ปี เท่ากับจะเหลือเวลาอีก 20 ปี ในการเก็บออมเงินจำนวน 1,400,000 บาท ที่ต้องการสำหรับใช้ในบั้นปลายชีวิต

แต่ถ้าอยากมีเงินสะสมไว้ใช้บั้นปลาย ดร.อภิสิทธิ์บอกว่า ทำประกันชีวิตแบบที่มีเงินคืนตอน สิ้นอายุกรมธรรม์หรือแบบเกษียณอายุก็ได้ แต่กรมธรรม์ดังกล่าวเบี้ยประกันค่อนข้างสูง

อีกหนึ่งทางเลือกที่ประหยัดกว่า คือทำประกันอุบัติเหตุ สุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลรายปีและเก็บเงินส่วนที่กันเอาไว้ไปเป็นเงินออมแทน เนื่องจากเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุ สุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลรายปีจะถูกกว่าเบี้ยของประกันชีวิตที่มีเงินออมอยู่พอ สมควร
 
 O ประกันที่เหมือนการลงทุนมีหรือ ไม่
สำหรับการซื้อประกันที่กำลังมาแรงเป็นกระแส อยู่ในขณะนี้ ดร.เมธี บอกว่าคงหนีไม่พ้นในเรื่องการทำประกันเพื่อการออมทรัพย์ หรืออาจมองว่าเป็นทางเลือกของการลงทุนแบบหนึ่ง ที่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษี รูปแบบประกันแบบออมทรัพย์จะมีตั้งแต่ ระยะสั้น 3-5 ปี ระยะกลาง 5-10 ปี และระยะยาว 10 ปีขึ้นไป แต่ละแบบได้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน ขึ้นกับระยะเวลาที่คุ้มครอง  และจำนวนครั้งที่ส่งค่าเบี้ยประกัน เช่น ระยะเวลาสั้น อัตราดอกเบี้ยจะน้อยกว่าระยะกลาง แต่จะได้ในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงิน และได้ผลตอบแทนคืนที่เร็วมากขึ้น ส่วนในระยะกลาง 5-10 ปี อาจจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และแบบระยะยาว ที่มีอายุ 10 ปี ขึ้นไป อาจจะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นกว่าระยะกลางไม่มากนัก แต่จะได้รับสิทธิในการนำมาลดหย่อนภาษี

"จะเห็นว่าได้ 3 ต่อ ความคุ้มครอง ดอกเบี้ยประกันและเงินคืนจากภาษี  ส่วนการประกันอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า ยูนิตลิงค์ เป็นรูปแบบที่แยกสัดส่วนระหว่างการจ่ายเบี้ยเพื่อความคุ้มครอง และเงินเพื่อการลงทุนโดยสามารถเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมตามที่กำหนด และจะได้รับผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลประกอบการกองทุนรวม"

สำหรับคนที่อยากทำประกันและลงทุนไปในตัว ดร.อภิสิทธิ์บอกว่า นั่นรวมอยู่ในส่วนของการประกันชีวิต  เนื่องจากเป็นการประกันระยะยาวซึ่งเป็นทั้งการประกันชีวิตและการออมเงินในตัว บางแผนประกันยังให้เงินคืนหรือเงินปัน ผลระหว่างอายุสัญญา อาจจะเป็นทุกๆ ปี หรือ ทุกๆ 2 ปี ส่วนจะเลือกแบบใดที่ให้ผลตอบแทนสูง ต้องวิเคราะห์และบริหารจัดการการออมเงินให้ดี  เนื่องจากเบี้ยประกันค่อนข้างสูง มีหลากหลายรูปแบบและเป็นสัญญาระยะยาว การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในช่วงต้นสัญญาจะทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิประโยชน์ได้

 O ถ้าไม่มีเงินส่งต่อควรทำยังไง
 ปัญหาที่เกิด ขึ้นกับผู้คนที่ทำประกันจำนวนไม่น้อย คือทำประกันไปแล้วเกิดปัญหาการเงินไม่ มีเงินส่งต่อ ดร.เมธีแนะนำว่าอย่างแรก  ให้ไปขอรับเงินสด กรณีนี้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะสิ้นสุดทันที  จำนวนเงินสดที่ได้รับคืนจะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางเวนคืนเงินสดที่แนบ อยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

อีกทางเลือกหนึ่งคือขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าใช้เงินสำเร็จ กรณีนี้ระยะเวลาความคุ้มครองจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลง จำนวนเงินเอาประกันภัยใหม่จะเป็นไปตามจำนวน ที่ระบุในตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย  และทางเลือกสุดท้าย ขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าขยายเวลา  กรณีนี้จำนวนเงินเอาประกันภัยจะเท่าเดิมตามที่ระบุ ไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ระยะเวลาความคุ้มครองใหม่จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางมูลค่าขยายเวลาที่ แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

นริศแนะนำสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหานี้ว่า ขอใช้สิทธิตามกรมธรรม์ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้ ตามวิธีการต่างๆ ดังนี้ 1.เปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย  2.กู้เงินตามกรมธรรม์ เพื่อนำมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย  3.ลดทุนประกันภัย หรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมบางรายการเพื่อลดจำนวนเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับสภาพทาง เศรษฐกิจของผู้ถือกรมธรรม์  4.เปลี่ยนแบบประกันให้สอดคล้องกับความสามารถ ในการชำระเบี้ยประกันภัย  หรือ 5.ขอใช้สิทธิเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์สำเร็จ หรือขยายระยะเวลาเอาประกันภัย


 O ตัวแทนขายแบบไหนที่ไม่ควรซื้อประกัน
 ปัจจุบัน การซื้อขายประกันไม่ใช่เรื่องเสี่ยงหรือน่า กลัวเหมือนในยุคแรกๆ แล้ว  เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำประกันมากขึ้น รู้ว่าประโยชน์และผลตอบแทนที่จะได้รับคืออะไร และการทำประกันก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการ ลงทุนสำหรับการออมทรัพย์เงินที่มีความเสี่ยงน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย รวมทั้งปัจจุบันยังมีหน่วยงาน คปภ. ที่ให้ความคุ้มครองและร้องเรียนสำหรับผู้ทำประกันอีกด้วย

" เราสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทประกันก่อนที่จะซื้อประกันได้จากงบการเงินที่เปิดเผย ในเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทประกัน นอกจากนั้น เราไม่ควรซื้อประกันจากตัวแทนที่ไม่มีหมายเลข ไลเซ่นส์ หรือนำเสนอเพื่อคอมมิชชั่นของตนมากกว่าความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ผู้ซื้อประกันชีวิตในแบบต่างๆ ควรถามตัวก่อนเสมอว่าต้องการซื้อประกันเพื่อเป้าหมายอะไรก่อน แล้วค่อยเลือกรูปแบบประกันที่ตอบสนองความต้องการของ เราเองไม่ใช่ผู้ขายประกัน"

นริศ เสริมว่า ตัวแทนประกันชีวิตต้องมีใบอนุญาตเป็น ตัวแทนประกันชีวิต โดยเมื่อเข้าพบลูกค้าตัวแทนฯ จะต้องแสดงใบอนุญาต หรือลูกค้าขอดูใบอนุญาตของตัวแทนทุกครั้ง ดังนั้น ไม่ควรทำประกันกับตัวแทนที่ไม่มีใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุ ส่วนจะดูว่าบริษัทไหนมั่นคงหรือไม่ เขาบอกว่า  ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2551 กำหนดให้บริษัทจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ และเงินสำรองอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งทำให้ธุรกิจประกันภัยมีความมั่นคงสูง สามารถมั่นใจบริษัทประกันภัยได้

ดร.อภิสิทธิ์ แนะว่า หากเจอตัวแทนประเภทนี้ อย่าซื้อประกันเด็ดขาด นั่นก็คือตัวแทนที่ไม่สามารถตอบคำถามและแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับสุขภาพทางการ เงินของผู้เอาประกัน  ซึ่งตัวแทนลักษณะดังกล่าวยังขาดความเข้าใจในหลักการประกันชีวิตและอาจนำไปสู่การทำประกันที่ไม่ตรงตามความต้องการ หรือจ่ายเบี้ยเสียเปล่า

"พวกตัวแทนหรือนายหน้าที่ไม่มีบัตรอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และผ่านการอบรมเรื่องประกัน  ส่วนจะเลือกบริษัทประกันแบบไหนให้แน่ใจว่าไม่เจ๊ง แน่   หลักๆ คือ ดูที่ชื่อเสียงและฐานะทางการเงินครับ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนทั้งความน่าเชื่อถือและคุณภาพการบริ การ"

 O ประกันประเภทไหนเคลมภาษีได้  
  ดร.เมธี บอกว่า ทุกวันนี้เราสามารถนำประกันไปเคลมภาษีได้  โดยจะต้องเป็นประกันที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป จึงจะสามารถนำเบี้ยที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้ทุกปีที่มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละไม่เกิน 100,000 บาท
 นริศ เสริมว่ากรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้  ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท และสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต  ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ ฉบับที่ 172  ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551  ซึ่งสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

1. กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม  ในส่วนของค่าเบี้ยประกันส่วนควบ ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

2. กรมธรรม์ที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์  ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้คือ กรณีได้รับเงินตอบแทนคืนทุกปี  จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือกรณีได้รับเงินตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์  จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม  ของแต่ละช่วงระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน  หรือ(ค) กรณีได้รับเงินตอบแทนคืน ที่ไม่ใช่ (ก) หรือ (ข)  ผลรวมของเงินตอบแทนคืนสะสม  ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน  ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วง เวลาดังกล่าว
 ทั้งนี้ เงินตอบแทนคืนทั้ง 3 ข้อ  ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันแล้ว หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

นอกจากนี้ ข้อ 3 ผู้มีเงินได้สามารถใช้หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเป็นหลักฐานในการหัก ลดหย่อนภาษีได้  โดยบริษัทต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิต  และเบี้ยประกันส่วนควบ  แยกออกจากกัน  และกรมธรรม์ที่มีการรับเงินตอบแทนคืนระหว่างอายุกรมธรรม์บริษัทต้องระบุ เงื่อนไขตามข้อ 2 ด้วย

ทั้งหมดนี้คือ 10 เรื่องของประกันที่บางทีคุณอาจจะบอกว่า พื้นๆ แต่ต้องถามว่า แล้วพื้นคุณน่ะแน่นรึยัง

Tags : 10 เรื่อง ประกัน คุณอาจยังไม่รู้

view