สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการป้องปรามอาชญากรรม : งานวิจัยเชิงประจักษ์ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

โดย ปกป้อง จันวิทย์ pokpongj@econ.tu.ac.th



งาน ศึกษาวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า การบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้น้อย หรือมีโอกาสความน่าจะเป็นในการจับกุมคนร้ายต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีอาชญากรรม รวมถึงคดีจราจรและคดีภาษี ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาในปี 1997 ชี้ว่า โอกาสการจับโจรขโมยสินค้ามาลงโทษมีเพียงร้อยละ 13.8 โจรขโมยรถยนต์ ร้อยละ 14 คนร้ายลอบวางเพลิง ร้อยละ 16.5 ส่วนงานของ Kenkel (1993) ประมาณการว่าโอกาสในการจับคนเมาแล้วขับมาลงโทษมีเพียงร้อยละ 0.003 เท่านั้น

โอกาสในการจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งมีค่าต่ำมากสะท้อนว่า หากเลือกแนวทางในการป้องปรามอาชญากรรมด้วยการลงทุนด้านทรัพยากรเพื่อเพิ่ม โอกาสในการจับกุมจักต้องใช้เงินทุนสูงมากโดยที่ไม่มีหลักประกันถึงผล สัมฤทธิ์ของเงินลงทุน จึงควรเน้นไปที่การเพิ่มบทลงโทษมากกว่า ทั้งนี้ควรกล่าวด้วยว่า การบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม (Optimal Enforcement) มีแนวโน้มที่จะมีการป้องปรามต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีแรงจูงใจในการประหยัดทรัพยากรในการบังคับใช้กฎหมาย

ผลลัพธ์

จากการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ


ต้น ทุนอีกด้านหนึ่งของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นขึ้น คือ การสูญเสียทรัพยากรของสังคม เพราะการเพิ่มโอกาสในการจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีจำเป็นต้องเพิ่มกำลังหรือ เพิ่มการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ งานศึกษาเชิงประจักษ์หลายชิ้นพยายามวัดผลกระทบจากการเพิ่มกำลังของเจ้า หน้าที่ตำรวจต่อการลดอาชญากรรม งานศึกษาเชิงประจักษ์ ในช่วงแรกไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกับอัตราการเกิด อาชญากรรม แต่งานศึกษาเชิงประจักษ์ในช่วงหลัง ซึ่งมีการพัฒนาเทคนิคทางสถิติ พบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปร ทั้ง 2 กล่าวคือ การเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งผลต่อการลดอัตราการเกิดอาชญากรรม

งาน ศึกษาชิ้นแรก ๆ ที่พยายามตอบคำถามเรื่องผลกระทบของการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกับอัตรา การเกิดอาชญากรรม คือ งานของ Kelling et.al. (1974) ซึ่งศึกษาข้อมูลของเมืองแคนซัสซิตี้ สหรัฐอเมริกาในช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยแบ่งเขตพื้นที่เป็น 3 ส่วน ส่วนแรก มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและความถี่ในการออกตรวจตราพื้นที่ในระดับมาตรฐาน

ส่วน ที่ 2 มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขึ้น และออกตรวจตราพื้นที่ถี่ขึ้น และ ส่วนที่ 3 มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจต่ำกว่ามาตรฐาน และไม่มีการออกตรวจตราพื้นที่เลยผลการศึกษาพบว่าไม่พบความแตกต่าง ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของระดับการเกิดอาชญากรรมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจแตกต่างกัน

งานศึกษาในช่วงต่อมาอย่าง งานของ Cameron (1988) ซึ่งเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกับอัตราการเกิด อาชญากรรมในพื้นที่ต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ให้ข้อสรุป คล้ายกันคือ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกับอัตราการ เกิดอาชญากรรม ข้อค้นพบ เหล่านี้คล้ายจะปฏิเสธแนวคิดทฤษฎีที่ว่า หากเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจะช่วยลดอัตราการเกิดอาชญากรรม แต่ Fisher and Nagin (1978) ชี้ว่า ผลลัพธ์เหล่านี้มีปัญหาในเชิงสถิติ ที่เรียกว่า Simultaneity Bias เนื่องจากอัตราการเกิดอาชญากรรมมีส่วนกำหนดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไป ด้วยพร้อมกัน ไม่ใช่แค่อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นตัวกำหนดอัตราการเกิดอาชญากรรม เพียงทิศทางเดียว เมื่อความสัมพันธ์ของ ทั้งสองตัวแปรมีลักษณะซับซ้อนและขึ้นต่อกันและกันเช่นนี้ จำเป็นต้องพัฒนาเทคนิคเชิงสถิติที่ก้าวหน้าขึ้นเพื่อทำให้การประมาณค่ามี ความเที่ยงตรง มากขึ้น

งานศึกษาในช่วงหลังตั้งแต่ทศวรรษ 1990 จึงมีการพัฒนาเทคนิคทางสถิติโดยเปลี่ยนมาศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลของหลายเขต พื้นที่ในหลายช่วงเวลา ซึ่งกินเวลายาวนานนับ 2 ทศวรรษ ต่างจากงานศึกษาในช่วงแรกที่ศึกษาข้อมูลในพื้นที่เดียวในช่วงเวลาเดียว และงานศึกษาในช่วงที่ 2 ที่ศึกษาข้อมูลในหลายพื้นที่แต่อยู่ในช่วงเวลาเดียว ข้อมูลที่กว้างขวางขึ้นและการพัฒนาเทคนิคทางสถิติที่ช่วยแก้ปัญหา Simultaneity Bias ทำให้ผลการประมาณการแม่นยำใกล้เคียง ความจริงมากขึ้น

งานศึกษาในช่วงหลังโดยทั่วไปพบว่า การเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งผลต่อการป้องปรามอาชญากรรม โดยเป็นสาเหตุให้อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลงในช่วงเวลาต่อมา งานของ Marvell and Moody (1996) และงานของ Levitt (1997) ให้ผลการศึกษาที่สอดคล้องกัน โดยพบว่าการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจร้อยละ 10 ทำให้อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลง ร้อยละ 3-10 เช่นเดียวกับงานของ Corman and Mocan (2000) ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การเพิ่มกำลังตำรวจร้อยละ 10 ทำให้อัตราอาชญากรรมลดลงร้อยละ 10

นอกจากนั้น งานวิจัยในกลุ่มนี้ยังชี้ว่า การเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตเมืองก่อให้เกิดผลประโยชน์สุทธิส่วน เพิ่มแก่สังคม หรือมีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุนส่วนเพิ่มที่สูงขึ้น เช่นนี้แล้ว นโยบายการเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในระดับสังคม ส่วนรวม

ราคาค่าปรับที่เหมาะสม

ในโลกแห่งความจริง


ใน โลกแห่งความเป็นจริงพบว่า ค่าปรับที่เหมาะสมไม่ค่อยสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีที่ว่า ค่าปรับต้องสะท้อนมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากการกระทำความผิด บ้างก็สูงเกินไป บ้างก็ต่ำเกินไป ทำให้เกิดการป้องปรามอาชญากรรมที่มากเกินไปและน้อยเกินไปจากระดับสวัสดิการ สังคมสูงสุด

ในหลายกรณีบทลงโทษอยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง โดยมูลค่าของการลงโทษสูงกว่าความเสียหาย ตัวอย่างเช่น บทลงโทษโจรขโมยของมีมูลค่ามากกว่าสิ่งของที่ ขโมย บทลงโทษการจอดรถซ้อนคันมีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนจากการจราจรติดขัด เป็นต้น

กระนั้น ภาครัฐสามารถลดต้นทุนการบังคับใช้กฎหมายได้โดยการเพิ่มค่าปรับให้สูงยิ่ง ขึ้นไปอีก เพราะค่าปรับในระบบปัจจุบันยังคงต่ำมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของผู้กระทำ ความผิด เช่น ค่าปรับกรณีจ่ายภาษีไม่ครบถ้วนในสหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ไม่ได้จ่าย เงินค่าปรับในกรณีที่บริษัทละเมิดกฎกติกาว่าด้วยสุขภาพและความปลอดภัยของ พนักงานมีมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของบริษัท ในกรณีเหล่านี้ภาครัฐควรขึ้นค่าปรับให้สูงขึ้นเป็นเท่าทวี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและประหยัดทรัพยากรในการบังคับใช้กฎหมายลงได้มาก ขณะที่ยังธำรงระดับการป้องปรามให้เท่ากับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ใน หลายกรณีค่าปรับยังคงอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น งานของ Kenkel (1993) ชี้ว่า ค่าปรับคาดคะเนที่คนเมาแล้วขับต้องจ่ายมีค่าเพียง 1 ใน 4 ของความเสียหายคาดคะเนจากการเมาแล้วขับ (ค่าปรับ คาดคะเนมีค่า 12.82 เหรียญสหรัฐทียบกับค่าความเสียหายคาดคะเน 47.77 เหรียญสหรัฐ)

ใน กรณีเหล่านี้หากค่าปรับยังคงอยู่ในระดับต่ำ จำเป็นต้องลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ หรือมิเช่นนั้นต้องเพิ่มค่าปรับให้สูงขึ้นจนถึงระดับที่สอดคล้องกับความเสีย หายที่ผู้กระทำความผิดก่อขึ้น

Tags : นิติเศรษฐศาสตร์ การป้องปราม อาชญากรรม งานวิจัยเชิงประจักษ์ การบังคับใช้กฎหมาย

view