สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ระดมสมอง 5 ทุนมนุษย์อาเซียน เพื่อก้าวไปสู่ Asianization ในภาคแรงงาน

จากประชาชาติธุรกิจ



ทุนมนุษย์อาเซียน - ระดมสมองสัมนาทุนมนุษย์อาเซียนจาก 5 กูรูชั้นนำ เพื่อยกระดับภาคแรงงานให้ก้างไปสู่อาเซียนภิวัฒน์ในอนาคต

ใน การประชุมวิชาการนานาชาติ Mega-Trend in Human Capital and Labour Productivity Towards Global Integration ที่องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

มี หลายหัวข้อสัมมนาด้วยกัน แต่ในหัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวกับการพัฒนา ทุนมนุษย์ในกรอบของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อการเพิ่มผลิตภาพทางด้านแรงงาน หรือในชื่อภาษาอังกฤษ คือ "Asian Strategies on Human Capital : Trends Patterns and Emerging Issues" นับเป็นหัวข้อหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจฟังจำนวนมาก

ทั้งนี้เพราะหัว ข้อนี้อาจมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาทุนมนุษย์อาเซียนหลายคนมาเป็น วิทยากร อาทิ นายดักลาส เอช. บรู๊กส์ จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), ดร.โมโตฮิโร่ คูโรคาว่า จากสถาบัน UNIDO ประเทศญี่ปุ่น

นายโดมินิกัส วอน เพสคาโตร์ จากตัวแทนอาวุโสประจำกลุ่มเบเยอร์เอเชียตอนเหนือ, ดร.ดีเค บ๊ากชิ จากหอการค้าไทย-อินเดีย และ นายบีพลูฟ เชาด์ฮารี่ จาก UNDP

ซึ่งมี "บัณฑิต หลิมสกุล" ประธาน Berne Union เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดย เบื้องต้น "บัณฑิต" ได้โยนคำถามต่อความท้าทายในเรื่องทุนมนุษย์อาเซียนให้ "นายบีพลูฟ เชาด์ฮารี่" ตอบก่อนว่า ความ ท้าทายในปัจจุบันต่อเรื่องทุนมนุษย์อาเซียนน่าจะเกิดจากเศรษฐกิจความรู้ที่ รวม 2 พลังเข้าด้วยกัน

"หนึ่ง เป็นพลังของการเพิ่มขึ้นทางความรู้ และสอง เป็นพลังที่ มาจากโลกาภิวัตน์ ทางด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะทุนนิยมมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ฉะนั้นแรงงานมนุษย์จึง ค่อนข้างบูมมาก"

"แต่กระนั้นก็ต้องยอมรับว่า การสร้างคุณค่าต่อภาคแรงงานยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ มีการศึกษาในระดับก่อนชั้นประถม ประถม ค่อนข้างน้อย และคนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เข้ามาสู่ตลาดแรงงาน ทั้งยังทำให้เกิดช่องว่างในการทักษะของการพัฒนาฝีมือแรงงาน"



นอก จากนั้น "นายบีพลูฟ เชาด์ฮารี่" ยังมองมาที่ประเทศไทย ซึ่งเขามองว่าการอ่านออก เขียนได้ ของภาคทุนมนษย์ในประเทศไทย มีตัวเลขที่เติบโตขึ้น และ 10 ปีผ่านมา การเพิ่มมูลค่าทางด้านคุณค่ามีแนวโน้มที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน "นาย.ดักลาส เอช. บรู๊กส์" กลับมองว่า ภาคการศึกษาของทุนมนุษย์อาเซียน ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้คนทั้งหมดส่วนใหญ่อ่านออก เขียนได้ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงด้วย

"ผมมองว่าการ ศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมาก และ ADB จะมองเรื่องนี้เป็นเป้าหมายหลักในการทำงานสำหรับปี 2020 เพื่อต้องการให้เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องของปวงชน"

"นอกจากนี้ผมยัง มองว่า ทุนมนุษย์อาเซียนจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นมหภาค และส่วนที่เป็นปัจเจกบุคคล ในส่วนที่เป็นมหภาค นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างเป็นด้านหลักแล้ว เราจะต้องมองเรื่องผลิตภาพของแรงงาน ด้วยการส่งเสริมให้คนเหล่านี้เข้ารับการพัฒนาฝึกอบรม ทั้งในเรื่องความรู้และทักษะ"

"เพราะถ้าภาคทุนมนุษย์มีการศึกษาดี เขาก็มีรายได้ดี และเมื่อรายได้ดี เขาก็ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ ต่อสุขอนามัยของตัวเอง และเรื่องนี้ก็ยังเชื่อมโยงไปถึงองค์กร และประเทศด้วย"

ส่วนมุมมองเรื่องปัจเจกบุคคลนั้น "นายดักลาส เอช. บรู๊กส์" มองว่า การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะไปเชื่อมโยงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์



"ยิ่ง การศึกษาสูงมากเท่าไหร่ เขาก็มีโอกาสได้รับการจ้างงานสูงมากขึ้นตามไปด้วย เหมือนอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ที่ปัจจุบันประชากรเริ่มมีการศึกษาสูงขึ้น โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา และจากข้อมูลในปี 1997-2003 ระบุชัดเจนว่า หากการศึกษาสูงขึ้น ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย"

ในมุมตรงข้าม "ดร.โมโตฮิโร่ คูโรคาว่า" กลับมองว่า ตอนนี้เราพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม และตอนนี้เราพยายาม ส่งเสริมให้คนในประเทศสนใจเรื่องการวิจัยค่อนข้างมาก เพราะรัฐบาล มีความชัดเจนมาก เราจะพยายามหยุดภาคการผลิตในประเทศ

"ด้วยการลงทุน ขยายฐานการผลิตในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน และด้วยเหตุนี้ แรงงานมนุษย์ของเราจึงค่อนข้างจำกัด และใช้ภาคแรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องการศึกษานั้นต้องยอมรับว่า ตอนนี้ทุนมนุษย์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ค่อนข้างให้ความสำคัญต่อระบบการศึกษา โดยเฉพาะในส่วนของปริญญาโทและปริญญาเอก"

"ยิ่งเมื่อเรียนสูงมากขึ้น เท่าไหร่ เขาเหล่านั้นจะมีโอกาสถูก จ้างงานเยอะมากขึ้นเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศญี่ปุ่นก็ไม่เหมาะสำหรับตลาดที่มีการศึกษาสูงมาก เพราะพื้นฐานประเทศยังเน้นเรื่องวัฒนธรรมดั้งเดิม และประเพณีนิยมอยู่ ใครที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญที่คิดจะมาทำงานญี่ปุ่นต้องคิดใหม่ เพราะประชากรส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษ"

เช่นเดียว กัน ในมุมมองของ "นายโดมินิกัส วอน เพสคาโตร์" กลับมองมาที่ภาคของตลาดงาน ยิ่งเฉพาะในเรื่องของกระบวนการคัดคนเข้ามาทำงานยังเบเยอร์ที่มีสาขาอยู่ทั่ว โลก ที่จะต้องรับพนักงานอย่างมีความโปร่งใส ทุกอย่างต้องยุติธรรม และต้องมีคุณภาพ

"เรามองว่าการที่ภาคทุนมนุษย์จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน องค์กร นั้น ๆ จะต้องจ่ายผลตอบแทนในระดับที่ดี มีสวัสดิการ โบนัส และโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้ต้องดู อัตราเงินเฟ้อด้วย ที่สำคัญเมื่อเขาเข้ามาสู่ภาคการทำงานแล้ว จะต้องมุ่งเน้นพัฒนา ฝึกอบรม และสร้างแรงจูงใจให้เขาประสบความสำเร็จในวิชาชีพ โดยผู้นำจะต้องทำเป็นแบบอย่าง"

ขณะที่ "นายดีเค บ๊ากชิ" มองอย่างสรุปว่า เราต้องพยายามคิดว่าเราเทน้ำออกจากถ้วย และความยากที่สุดไม่ใช่ทำให้คนยอมรับความคิดใหม่ ๆ แต่อยู่ที่ทำอย่างไรถึงจะให้เขาลืมความคิดเก่า ๆ

"ผมมองว่าการที่เรา จะประสบความสำเร็จในการสร้างทุนมนุษย์อาเซียน เราจะต้องสร้างกระบวนการวิสัยทัศน์อย่างเป็นระบบ ทั้งยังจะต้องสร้างวัฒนธรรมของโลกให้สอดรับไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้เหมือนทำยาก แต่จริง ๆ แล้วทำได้ เพราะโลกในอนาคตจะแบนราบเข้าหากัน ทั้งยังเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย ฉะนั้นการที่ทุนมนุษย์อาเซียนจะก้าวข้ามผ่านประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วขณะนี้"

ฉะนั้นทุกคนพึงต้องระวัง และพร้อมในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องของการรู้จักตัวเอง รู้เป้าหมาย หิวกระหาย ความสัมพันธ์ และต้องก้าวไปสู่ในระดับจักรวาล เพราะตอนนี้ ทุนมนุษย์ไม่ได้อยู่แค่อาเซียนแล้ว แต่จะเป็น Asianizatiion หรืออาเซียนภิวัตน์

ที่ทุกคนจะต้องเผชิญกับความจริง ?

Tags : ระดมสมอง ทุนมนุษย์ อาเซียน Asianization ภาคแรงงาน

view