สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

SLA-TLA ชูกลยุทธ์ UNIQUE พลิกจุดอ่อน ความยืดหยุ่น เป็นจุดแข็งสู้ต่างชาติ (1)

จากประชาชาติธุรกิจ



ปัจจุบัน ธุรกิจผู้ให้บริหารโลจิสติกส์ (LSP) คนไทยประสบปัญหาในการทำธุรกิจที่แข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเค้กหรือชิ้นงานถูกบริษัทต่างชาติทั้งสายการเดินเรือ ธุรกิจค้าปลีก เข้ามาทำธุรกิจให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น หรือมีนโยบายให้บริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชาติเดียวกันรับเอาต์ซอร์ซมาก ขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้จัดเสวนา "การสร้างความได้เปรียบด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการขนส่งอย่างมืออาชีพ" ขึ้น โดยเชิญผู้บริหารบริษัท สยาม โลจิสติกส์ อัลไลแอนซ์ จำกัด (SLA) และบริษัท ไทย โลจิสติกส์ อัลไลแอนซ์ จำกัด (TLA) LSP สายพันธุ์ไทย ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าสนับสนุนการก่อตั้ง มาเผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ การดำเนินงานดังต่อไปนี้

โดย นางสาวปิยะนุช สัมฤทธิ์ ประธานบริษัท สยาม โลจิสติกส์ อัลไลแอนซ์ จำกัด (SLA) กล่าวถึงประเด็นที่บริษัทตั้งขึ้นมาทำอะไรและบริษัททำอะไรบ้างว่า SLA ตั้งขึ้นมาเพราะมีคำถามว่าเราเลือกที่จะ ต่างคนต่างตายหรือตายหมู่กันดี การรวมกันของเราก็ไม่ง่าย แต่ไม่ว่ามีเจ้าของ 1 รายหรือ 10-20 รายในบริษัท ก็ต้องมีอุปสรรคปัญหาทั้งนั้น แต่เราจะแก้กัน ด้วยวิธีไหน

เราเป็น บริษัทคนไทยที่เกิดจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 26 ราย ที่มีความแตกต่างกันพอสมควรมารวมตัวก่อตั้งเป็น SLA โดยการสนับสนุนของกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าและศูนย์โลจิสติกส์เพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คงเคยได้ยินทฤษฎีของ ดร.ไมเคิล อี. พอตเตอร์ กูรูด้านการตลาด มักพูดถึงการสร้างศักยภาพการแข่งขัน competitive ness ว่า คนใดคนหนึ่งไม่สามารถสร้างได้ การเป็น The best ไม่ใช่ผู้ชนะ เพราะจะมีคู่แข่งที่เป็น The best กับเรา เพราะฉะนั้น คนที่จะชนะได้ สร้าง competitiveness ได้ คือ คนที่มี unique ซึ่งฟังง่าย แต่หายาก

การ ตั้ง SLA ขึ้นมา จึงมีสโลแกนว่า Together to success แปลว่า อยู่ร่วมกันเพื่อประสบความสำเร็จในการแข่งขันมีภาครัฐและสถาบันการศึกษาสนับ สนุน หลักการรวมตัวของ 26 บริษัท แบ่งบริการได้เป็น 4 กลุ่ม คือ บริการขนส่งและเครื่องมืออุปกรณ์ (transport and equipment) มีบริการขนส่งภายในประเทศและมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการขนส่ง ให้เช่า ขาย ดูแลรักษาและช่วยสนับสนุนการขนส่ง มีบริการให้เช่าคลังสินค้า บริหารคลังสินค้า มีธุรกิจบริการจัดทำพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าทั้งนำเข้า-ส่งออก อีกบริการคือ บริการไอทีและที่ปรึกษา ให้การปรึกษา เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ จัดฝึกอบรมให้ลูกค้าได้ และดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศให้ด้วย

เราเชื่อ ว่า การให้บริการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เราช่วยตอบลูกค้าให้ดีขึ้นมากกว่าหนึ่งบริษัทจะตอบได้ แม้ชื่อเซอร์วิสจะเหมือนกัน แต่กลุ่มเป้าหมายต่างกัน อันนั้นคือฐาน แต่การรวมกันจะก้าวไปหาลูกค้าอื่น ๆ ได้อย่างไร เราจะทำเองไหม หรือจะให้บริษัทในกลุ่มที่มีความชำนาญ 10-20 ปีในเรื่องนั้นทำ อันนี้คือ โจทย์ของเราตอนต้นเลย จึงเหมือนกับการเอา รีซอร์ซมารวมกัน เรามากันทุกประเภทมีรถให้บริการกว่า 1,700 คัน ในแง่การสนับสนุนลูกค้า ลูกค้าพอใจแน่

เหมือนคลัสเตอร์ขนส่งเรามีให้ลูกค้าเลือกมากขึ้น วันนี้ลูกค้าต้องการรถหัวลาก หรือรถกระบะก็มีให้ ไม่ใช่มีแต่รถบรรทุกขนส่งอย่างเดียว และมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนกัน เช่น พาลเลต โฟร์กลิฟต์ แฮนด์ลิฟต์ ฯลฯ เช่ากันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จะไม่มี fix cost ที่ทำให้ต้นทุนสูง ๆ จะเป็น valuable ให้หมด แข่งคุณภาพ แข่งวันสต็อปเซอร์วิส ครบทุกอย่าง สุดท้ายคือ จบที่ต้นทุน แม้จะมีทุกอย่าง แต่ทำราคาขายให้คู่ค้าพอใจหรือแข่งขันไม่ได้ ก็สอบตก

บริการกลุ่มที่ สองคือ ธุรกิจรับจัดการ ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และรับขนส่งสินค้าข้ามแดน ธุรกิจขนส่งทางเรือและ ทางอากาศ ก็ทำพิธีการศุลกากรเดินเอกสารทุกอย่าง คลังสินค้าก็มี ทำภาษีให้ด้วย

คลังสินค้าก่อนรวมตัวกัน แต่ละรายอาจมีพื้นที่จำกัด เมื่อรวมกันมีถึง 250,000 ตารางเมตร ครอบคลุมทั่วประเทศและมีระบบประกันภัย รวมตัวกันซื้อประกันภัยได้ หรือห้องเย็นใครมีระบบอะไรที่ดี ก็มาแลกเปลี่ยนกัน

คลัสเตอร์กลุ่ม สุดท้ายคือ ไอทีและธุรกิจที่ปรึกษา เพื่อใช้ในการสนับสนุนและให้ คำปรึกษาแก่ลูกค้าและเป็นระบบที่เราวางแผนเพื่อบริหารจัดการทุกคลัสเตอร์ ส่วนธุรกิจ ที่ปรึกษา ต้องบอกว่า โลกทุก วันนี้มีการแข่งขันสูง จึงต้องพัฒนาบุคลากร บริษัท จะแพ้หรือชนะก็อยู่ที่บุคลากรนี่แหละ

SLA ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลาที่ใช้ไปหมดไปกับการเคลียร์เอกสาร ในปี 2552 เวลาส่วนใหญ่จะใช้ในการทำประชาสัมพันธ์การตลาดก่อน เพื่อให้ลูกค้าได้ยิน มิเช่นนั้นจะมีคำถาม แม้จะมีชื่อ

ในปี 2553 เริ่มบุกตลาดมากขึ้น โดยวางนโยบายเอากำไรไม่มาก คือ จากเดิมก่อนการรวมตัวกันมีลูกค้า 5 ราย กำไร รายละ 1 ล้านบาท พอรวมเป็น SLA เอากำไรเหลือ 5 แสนบาทต่อรายก็พอ แต่มีลูกค้ารวมกว่า 50 ราย เป็นต้น

ปี นี้ลูกค้าให้ SLA มาเป็นที่ปรึกษา หลายราย ส่วนภาครัฐที่จัดฝึกอบรมผู้ประกอบการ SLA ก็เข้าไปจัดฝึกอบรม ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อยกระดับมาตรฐานหลายครั้ง

แต่ มีอยู่สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอร้องผู้ใช้บริการว่า ผู้ให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ (LSP) ในไทยมีมาก การประมูลหา LSP มาเอาต์ซอร์ซงานแบบปีต่อปี แทนการประมูลหา LSP ระยะยาว จะทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาบริการสูง ท่านอาจมองทางด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนในมุมมองของท่าน แต่ไม่เป็นการส่งเสริมการจัดการซัพพลายเชนในระยะยาว คือ ทุกคนควรอยู่ด้วยกันเป็น partnership

สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ของ SLA นั้น นางสาวปิยะนุชกล่าวว่า เราควรเป็น unique รวมตัวเป็นหนึ่งเดียว การมุ่งสู่การเป็นที่หนึ่งไม่ยั่งยืน การใช้กลยุทธ์ราคาถูกที่สุด บริการดีที่สุด สามารถไล่ แข่งขันกันทันตลอด จึงน่าจะหา unique โลจิสติกส์ให้คนไทย โดยดูบริการ ดูบุคลากร เราเป็นธุรกิจบริการ เป็นสยามเมืองยิ้ม มีจิตใจให้บริการและช่วยเหลือลูกค้า (service mind) จึงน่าจะจับตัวนี้ออกมาให้ได้ ความยืดหยุ่น (flexibility) ที่มักถูกกล่าวหาว่าเป็นจุดอ่อนในการทำงานของคนไทย ควรจะนำมาเป็นจุดแข็งจึงจะถูกต้อง อย่าพยายามพูดเป็นจุดอ่อน

เปรียบ เทียบกับต่างชาติ เขามีเพียงระบบไอทีและการจัดการที่ดีเท่านั้น แต่หากผิดเงื่อนไขสัญญานิดหน่อยก็ถูกปรับ ถูกตีกลับสินค้า ฉะนั้น อย่าให้ต่างชาติมาครอบทั้งหมด มิเช่นนั้นคนไทยจะไม่มีอะไรไปต่อรอง สุดท้ายตายกันหมด

"งานในประเทศจะหาจุดที่นำเสนอลูกค้าในราคาคนไทย เพราะบริษัทต่างชาติราคาบริการจะสูงกว่าเรามาก ทิศทางในอนาคตจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ไปสำรวจ เส้นทางถนน R 3 A, R 9, R 12, R 8 โดยเฉพาะเส้นทาง East-West Economics Corridor เราจะบุกแน่"

Tags : SLA-TLA ชูกลยุทธ์ UNIQUE พลิกจุดอ่อน ความยืดหยุ่น จุดแข็ง สู้ต่างชาติ

view