สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การกำกับดูแลและควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร


บัตรเครดิตได้ เริ่มมีการใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 และได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้จำนวนบัตรเครดิตได้เพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านใบในปี 2540 มาเป็น 12.0 ล้านใบ ในปี 2550 และในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12-13 ล้านใบ และกลายเป็นปัจจัยสำคัญลำดับที่ 5 หรือ 6 แข่งกับโทรศัพท์มือถือ และหลายๆ คนโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเป็นคนงานที่มีรายได้ประจำจะมีบัตร เครดิตกัน และส่วนใหญ่แล้วจะมีบัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยมีทั้งที่เป็นธนาคาร พาณิชย์ และไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ที่เรียกว่า non-bank
 

เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตได้แข่งกันระดมหาลูกค้า จึงทำให้มีการเสนอรูปแบบการใช้จ่ายที่หลากหลายและด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรน ดังนั้นจากวัตถุประสงค์ของการถือบัตรเครดิตเพื่อใช้เป็นสื่อกลางของการชำระ เงินแทนการที่จะต้องพกพาเงินสดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือการถูกฉกชิง วิ่งราว  จึงมีการแปลงจากบัตรเครดิตที่ใช้เป็นแหล่งของสินเชื่อที่สามารถสินค้าเงิน ผ่อนได้เป็นรายงวด และบัตรเครดิตส่วนใหญ่ยังสามารถเบิกเป็นเงินสดได้ด้วย ซึ่งผู้ใช้บัตรเครดิตส่วนหนึ่งจะไม่รู้ว่าจะต้องเสียอัตราดอกเบี้ยและค่า ธรรมเนียมในอัตราที่สูง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยที่สถาบันผู้ออกบัตรเครดิตเรียกเก็บอยู่ที่ 15-20% และถึงแม้ว่าบางคนจะรู้ตัวว่าต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงก็ยินดีที่จะ จ่ายเพราะคิดว่ายังเสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการต้องไปกู้เงินนอกระบบ
 

คนอีกจำนวนหนึ่งได้ใช้บัตรเครดิตในการหมุนเงินด้วยการสมัครบัตรเครดิต หลายๆ ใบ และเบิกเงินสดจากบัตรเครดิตหนึ่งเพื่อนำไปชำระหนี้บัตรเครดิตที่ครบกำหนด ก่อนหน้าหมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ลักษณะของแชร์ลูกโซ่ และในที่สุดแล้วก็จะมีหนี้สินบัตรเครดิตที่มีปัญหา คือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ถือบัตรเครดิตยิ่งมากจำนวนก็มีโอกาสที่จะเป็นบัตร เครดิตที่มีปัญหา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็จะมีการถูกติดตามทวงหนี้ ซึ่งเป็นที่มีของการร้องเรียนให้มีการดูแลการทวงหนี้บัตรเครดิตที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นที่มาของการเสนอร่าง พ.ร.บ.กำกับดูเเลเเละควบคุมธุรกิจบัตรซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
 

พ.ร.บ. ดังกล่าว ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการขับเคลื่อนนโยบายการเเก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยขณะนี้ลูกหนี้นอกระบบ 2 เเสนราย ทางรัฐบาลได้เจรจาให้เข้าสู่กระบวนการสถาบันการเงินในระบบ สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการกำกับดูแลผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงินให้มีมาตรฐานในการให้บริการบัตรเครดิตเดียวกัน รวมถึงคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิต เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา และสร้างมาตรฐานในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่เหมาะสมและเป็น ธรรม มีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ร้านค้าสถานบริการผู้รับบัตรเครดิต ตลอดจนผู้ถือบัตรเครดิตให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมต่อไป
 

กฎหมายดังกล่าวเป็นการร่วมกันยกร่างของกระทรวงการคลังและกระทรวงยุติธรรม เครดิต และได้ผ่านการประชาพิจารณ์มาแล้ว สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว ประกอบด้วย (1) กำหนดให้การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นกิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก รัฐมนตรี โดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย (2) กำหนดให้ ธปท.กำหนดรายละเอียดในการกำกับดูแล เช่น อัตราวิธีการคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ (3) กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ เช่น รูปแบบของเอกสารชี้ชวน สัญญาบัตรเครดิตการกำหนดประเภทของบัตรเครดิต คุณสมบัติของผู้ถือบัตร การกำหนดวิธีการคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นใด เช่น กำหนดข้อปฏิบัติอื่นๆ เช่น หลักเกณฑ์การรับเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกค้า การรักษาความลับของลูกค้า (4) กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ถือบัตรและผู้รับบัตร เช่น ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ถือบัตรเกี่ยวกับการทุจริต ผู้ถือบัตรมีหน้าที่ชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายในเวลา ที่กำหนด ผู้รับบัตรมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรเครดิต เป็นต้น และ (5) กำหนดการคุ้มครองผู้ถือบัตร เช่น ห้ามผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินก่อนวันครบกำหนดชำระตามสัญญา และผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ในการป้องกันมิให้ผู้อื่นนำ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรไปใช้โดยฉ้อฉล เป็นต้น
 

การที่จะพึ่งพาอาศัยกฎหมายดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวในการแก้ไขปัญหา หนี้คงจะไม่สำเร็จ แต่จะขึ้นอยู่กับตัวเองว่าจะมีวินัยในการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตอย่างไร จึงจะให้เกิดประโยชน์

 

Tags : การกำกับดูแล ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต

view