สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR และ Social Entrepreneurship (1) ช่วยบรรเทาปัญหาสังคมได้อย่างไร

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk

โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการกิตติมศักดิ์มูลนิธิรักษ์ไทย ที่ปรึกษากลุ่มบริษัททีม และที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิอนุรักษ์ พลังงานแห่งประเทศไทย



เมื่อ เดือนมีนาคม ผมได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่อง CSR (ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม) และ SE (Social Entrepreneur หรือผู้ประกอบการทางสังคม) โดยให้ชี้แจงถึงความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ รวมถึงกิจกรรมของทั้ง 2 อย่างนี้

เนื่อง จาก CSR และ SE สามารถช่วยบรรเทาปัญหาสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมด้อยโอกาส ผมขอพูดถึงปัญหาสังคมปัจจุบัน ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่อง CSR และ SE โดยเริ่ม จากเหตุการณ์ที่น่าสลดใจและปัญหาที่เจ็บปวดที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียภาพ ลักษณ์ของความเป็นประเทศที่มีความสุข เป็น ดินแดนที่มีรอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์ และมีประชาชนที่มีความจริงใจ อดทน อดกลั้น และมีความเมตตากรุณา

เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำ เล่า นับตั้งแต่ตุลาคม 2516-พฤษภาคม 2553 ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศที่เคยเป็นดินแดนแห่งความสุข ดินแดนแห่งรอยยิ้มหายไปจากความทรงจำของคนไทยและของชาวต่างประเทศอย่างน่า เสียดาย ผู้ที่เรียก ตัวเองว่าผู้แทนราษฎร นักวิชาการ นักวิจารณ์ ตลอดจนสภากาแฟ ต่างก็ชี้ไปที่ปัญหาตามความคิดเห็นของตัวเอง หรือพูดตามคนอื่นบ้าง ถูกบ้างผิดบ้าง จนทำให้คนงงไปหมด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุของความไม่สงบ เพราะคนเหล่านี้ไม่สามารถวิเคราะห์ หรือวิจารณ์ปัญหาด้วยใจเป็นกลาง

3 ประเด็นที่มักจะเห็นตรงกัน (เห็นด้วยในประเด็น แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีแก้ไขปัญหา) คือ - การมีประชาธิปไตยไม่เต็มใบของประเทศไทย

- ความยากจนในชนบทและชุมชนด้อยโอกาส

- ความเหลื่อมล้ำทางฐานะของคนในสังคมไทย จนมีการอ้างว่ามีการแบ่งชน ชั้นในสังคมเป็นไพร่กับอำมาตย์ (เนื่องจากผมจบการศึกษามาทางสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ผมจะไม่ก้าวก่าย และขอให้ชาวอักษรศาสตร์อธิบายความหมายดีกว่า)

การเรียกร้อง ประชาธิปไตย

คนที่วิจารณ์ว่าประเทศไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หรือมีประชาธิปไตยไม่เต็มใบ อาจเข้าใจว่าหากมีการเลือกตั้งและมีฝ่ายที่ได้รับการเลือกแล้วเป็นการแสดง ว่าประเทศนั้นมีประชาธิปไตย โดยไม่ สนใจหรือไม่เข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิด ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือการเลือกตั้งที่สะอาด ปราศจากการซื้อเสียง ไม่มีคนโกงการเลือกตั้ง และผู้ได้รับการเลือกตั้ง ไม่ย้ายพรรคเนื่องจากได้รับสินจ้าง

การ เคารพความเห็นของผู้อื่นซึ่งอาจไม่ตรงกับความคิดของตัวเอง แม้ว่าความคิดของเขาเป็นความคิดของคนกลุ่มน้อยก็ตาม

การมีเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็น สามารถแสดงความคิดเห็นที่ผู้นั้นมีด้วยความบริสุทธิ์ใจ

การ เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสียภาษี การเคารพกฎจราจร การไม่ละเมิดกฎหมาย กทม. การไม่เบียดเบียน หรือทำร้ายผู้อื่น

การ กระจายอำนาจในการบริหารโดยให้ผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นปกครองกันเอง เพื่อจะได้ตอบสนองความต้องการและสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้น ๆ ตราบใดที่เขาไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

ในเรื่องนี้ทางการจะ ต้องช่วยให้การอบรมหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของ พลเมือง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นำท้องถิ่น และการลดการคอร์รัปชั่นในการบริหารท้องถิ่น การแสดงความรับผิดชอบในการกระทำการ ใด ๆ และการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือข้าราชการที่มีอำนาจในการอนุมัติหรือให้ใบอนุญาตต่าง ๆ การมีความอดทนต่อ ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างออกไป โดยไม่ถือว่าความคิดทางการเมืองของตนถูกแต่ผู้เดียว

การมีสังคมที่ เข้มแข็ง รู้จักผิดรู้จักชอบ และรู้จักการแสดงความคิดเห็นของตนโดยสันติวิธี ไม่ใช้วิธีรุนแรงในการแสดงออกเมื่อไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น

นอกจาก ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว การที่ประเทศจะมีประชาธิปไตยที่มั่นคง มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกหกมดเท็จเป็นนิจ บริหารงานด้วยความโปร่งใสและด้วยความรับผิดชอบ ผู้นำที่ดีในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีบุคลิกในการ สร้างและจรรโลงเสาหลักแห่งประชาธิปไตย เขาต้องเป็นคนที่มีความยุติธรรม มีความใจกว้าง คิดถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวม

บทบาทของ NGO และกิจกรรม CSR

ในการสร้างสังคมประชาธิปไตย


ทำไม ผมถึงยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาในบทความนี้ ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็เพราะ NGOs เช่น สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน มูลนิธิรักษ์ไทย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (CODI) มีบทบาทและการดำเนินการในการสร้างสังคมที่เข้มแข็งและจรรโลงประชาธิปไตย โดยมีการจัดการอบรมเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบในชุมชน ในบางตำบลมี NGO บางองค์กรมีโครงการ อบต.เยาวชน (อบต.เยาวชนไม่มีอำนาจในการบริหารงานในตำบลจริง ๆ)

โดยให้ อบต.เยาวชนบริหารงานในโครงการ อบต.เยาวชนที่มีความคล้ายคลึงกับงาน อบต.ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ มีการจัดการเลือกตั้ง มีการจัดทำงบประมาณ การวางแผนการดำเนินงานโครงการ โดยจัดให้มีการเลือกตั้งเหมือน อบต.จริง ๆ

ใน บางชุมชน เมื่อ อบต.เยาวชนมีอายุถึงเกณฑ์ สามารถรับสมัครเลือกตั้ง อบต.ได้ เยาวชนเหล่านี้ก็สมัครเลือกตั้งและได้รับเป็น อบต.ในตำบลนั้น ๆ อีกด้วย

NGO บางองค์กรมีการสัมมนา "ผู้นำในอนาคต" และหัวข้อสัมมนาในเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน้าที่และบทบาทของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย การเคารพกฎหมายและหน้าที่พลเมืองที่ดี เมื่อเยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ใหญ่ เขาจะเข้าใจระบอบประชาธิปไตย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม NGO อื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวนาม ก็มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างสังคมด้อยโอกาสให้เป็นสังคมที่มีความ เข้มแข็งและมีความเสมอภาคมากขึ้น

แต่บทบาทนี้จะไม่สำเร็จ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจที่สนับสนุนการทำ CSR โดยการให้การสนับสนุนทางทรัพยากร หากมีธุรกิจที่สนใจจะสนับสนุนโครงการเช่นนี้ มาก ๆ ก็จะทำให้สังคมเข้าใจความรับผิดชอบของตน และบ้านเมืองอาจมีความสุขมากขึ้น

ส่วน คราวหน้า เราจะมีการสังเคราะห์ปัญหาในอีก 2 ประเด็นที่เหลือ ก่อนที่จะให้คำตอบว่า CSR และ SE ช่วยบรรเทาปัญหาสังคมได้อย่างไรต่อไป

Tags : CSR Social Entrepreneurship ช่วยบรรเทา ปัญหา สังคม

view