สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด กลยุทธ์บริษัทญี่ปุ่น โฟกัส ตลาดเกิดใหม่

จากประชาชาติธุรกิจ

ตลาดเกิดใหม่ช่วยต่อชีวิตของหลาย ธุรกิจในยุคปัจจุบัน รวมทั้งบริษัทญี่ปุ่นที่ได้พยายามเดินกลยุทธ์ ปรับรูปแบบสินค้าและบริการให้เข้ากับรสนิยมของคนในตลาดดังกล่าว

นิ กเกอิ ระบุว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำของญี่ปุ่น 559 บริษัท พุ่งขึ้น 46% ในช่วงไม่กี่ไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 3.8 ล้านล้านเยน หรือ 44 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 4 เท่าหากเทียบกับปีกลาย ด้วยอานิสงส์ยอดขายที่เพิ่มขึ้นในตลาดเกิดใหม่

ทั้งนี้บริษัทญี่ปุ่น หลายแห่งที่ขาดทุนเมื่อปี 2552 กลับฟื้นมาทำกำไรอีกครั้ง หลังจากบุกขายสินค้าให้กับชนชั้นกลางทั่วโลก อาทิ "โตโยต้า" และ "โซนี่"

ดิ อีโคโนมิสต์ ให้ข้อมูลว่า ประเทศนอกทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปคิดเป็น 80% ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2543-2593 และทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนการส่งออกของญี่ปุ่นไปอเมริกาลดลง 50% ส่วนการส่งออกไปยุโรปก็ลดลง 1 ใน 3 จนสุดท้ายบริษัทญี่ปุ่นต้องหันมาผลิตสินค้าเฉพาะสำหรับตลาด BRICs ซึ่งได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ตลอดจนกลุ่มตลาด MINTS ที่ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย ตุรกี และซาอุดีอาระเบีย ไปพร้อม ๆ กับจับตลาดเวียดนาม และกลุ่มคาบสมุทรบอลข่าน

เพื่อจับแนว รบใหม่ให้อยู่หมัด บริษัท ญี่ปุ่นต้องปรับตัวขนานใหญ่ "พานาโซนิค" ยกเครื่องทั้งตัวสินค้าและองค์กร แทนที่จะแยกฝ่ายบริหารตามเขตแดน กลับแบ่งสินค้าตามโซนภูมิอากาศ ทั้งยังให้ผู้บริหารจากอเมริกาใต้ พบปะกับผู้บริหารในมาเลเซียทุกไตรมาสเพื่อแลกเปลี่ยนไอเดีย

พร้อม ทั้งพึ่งพาวิศวกรท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อออกแบบสินค้าให้ถูกจริตคนท้องถิ่น ปัจจุบันมีสินค้าที่ขายในตลาดเกิดใหม่เพียง 10-20% เท่านั้นที่ออกแบบโดยทีมงานญี่ปุ่น

ส่วนใน อินโดนีเซีย บริษัทพบว่าตู้เย็นที่นี่ต้องการช่องขนาดใหญ่สำหรับเก็บขวดน้ำขนาด 2 ลิตรจำนวนมาก แต่ต้องการพื้นที่น้อยสำหรับเก็บผัก เพราะชาวอิเหนามักจะซื้อและกินผักในวันเดียวกัน

ขณะที่ อินเดีย ไฟฟ้าดับบ่อย ต้องผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานน้อย และออกแบบมอเตอร์เสียงเงียบ เพราะชาวโรตีมักจะเปิดแอร์ตลอดเวลา ด้าน จีน ที่แอร์เป็นเครื่องบอกฐานะ จึงต้องออกแบบให้มีขนาดใหญ่และมีสีสันสดใสเตะตาเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ใน ไตรมาสล่าสุด ยอดขายตลาดเกิดใหม่ช่วยดันให้พานาโซนิคมีกำไร 84 พันล้านเยน ซึ่งบริษัทคาดว่ารายได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ภายในบ้านในตลาดเกิด ใหม่ จะเพิ่มจาก 25% ในปัจจุบัน เป็น 31% ในปี 2555

ด้านค่ายรถยนต์ ก็ทำได้ดีในตลาดนี้ เช่น โตโยต้าที่ออกแบบรถรุ่นอีทีออส สำหรับขายในอินเดีย ในราคา 10,000 ดอลลาร์ ส่วนนิสสันผลิตรถยนต์มาร์ช ขายในอินเดียและไทย โดยใช้ชิ้นส่วนในท้องถิ่นถึง 87% พร้อมเริ่มผลิตในจีนปีนี้ และเม็กซิโกปีหน้า

แต่ ญี่ปุ่น ก็ยังเผชิญกับหลายอุปสรรค เช่น ค่าเงินเยน ที่แข็งค่าขึ้นถึง 14% ในปีนี้ส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่กลับทำให้การซื้อและควบรวมกิจการมีต้นทุนถูกขึ้น โดยดีลลอจิกระบุว่า ในปีนี้นับถึงปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นทุ่มเงินไปกว่า 11 พันล้านดอลลาร์ เพื่อทำดีลในประเทศยากจน ทั้งนี้การโยกฐานการผลิตไปต่างประเทศ และใช้ชิ้นส่วนท้องถิ่นจะทำให้บริษัทญี่ปุ่นรับมือกับความท้าทายได้ในระดับ หนึ่ง

อีกหนึ่งอุปสรรคคือการบริหารแรงงานทั่วโลก ที่ผู้จัดการญี่ปุ่นมักไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาแรงงานใน ต่างประเทศ อย่างเช่น โตโยต้าและฮอนด้าในจีน บริษัทญี่ปุ่นจึงหันมาจ้างชาวต่างชาติเก่ง ๆ แทน เช่น พานาโซนิควางแผนจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ 1,390 คนในปีหน้า โดยมีชาวญี่ปุ่นเพียง 290 คนเท่านั้น

บริษัทญี่ปุ่นยังต้องปรับ วัฒนธรรมองค์กร จากเดิมที่ให้อำนาจแก่พนักงาน ท้องถิ่นน้อยมาก และแทบจะไม่โปรโมตชาวต่างชาติเป็นผู้บริหารระดับสูง ทั้งยังตัดสินใจช้าแบบรอมติเอกฉันท์ หลังจากส่งรายงานจำนวนมากไปสำนักงานใหญ่แล้ว

Tags : เปิดกลยุทธ์ บริษัทญี่ปุ่น โฟกัส ตลาดเกิดใหม่

view