สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บนเส้นทางแห่งการพิสูจน์ผู้นำใหม่ Family Business บริหารเอง หรือจ้างมืออาชีพ

จากประชาชาติธุรกิจ



จาก ข้อมูลที่ทางบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป ทำวิจัยร่วมกับพันธมิตรต่างชาติ ในเรื่องเกี่ยวกับทำอย่างไรถึงจะสามารถพัฒนา Next Generation Leader ใน Family business ให้ประสบความสำเร็จ

ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ ท้าทายพอสมควร เพราะอย่างที่ทราบ เมื่อพูดถึงธุรกิจครอบครัว ภาพวันนี้มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากสภาวะหลายอย่างเริ่มเปลี่ยนไป จนผลวิจัยพบว่าไม่น่าจะสามารถทำธุรกิจในวิธีการเดิม ๆ ได้อีกต่อไป

เพราะ เกมที่เล่นในยุคอดีตกับยุคปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งนั้นเพราะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องของเงินทุนเพียงอย่างเดียว หากอยู่ที่ความเก่งของผู้นำในรุ่นปัจจุบันด้วยว่าจะมีความเก่งและความสามารถ ในการบริหารจัดการมากน้อยแค่ไหน

"อริญญา เถลิงศรี" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้นำในการสัมมนา Next Generation Leader ใน Family Business สะท้อนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งล้วนเป็นทายาทตระกูลดังกว่า 30 คน ถึงประเด็นต่าง ๆ ที่ทำไมธุรกิจของครอบครัว โดยเฉพาะรุ่น 1 ถึงประสบความสำเร็จ แต่ทำไมรุ่นต่อมาถึงไม่ประสบความสำเร็จ

"ดิฉัน มองว่าประเด็นแรกอาจเป็นไปได้ว่ารุ่นแรกอยากให้รุ่นต่อ ๆ มาทำธุรกิจด้วยวิธีการแบบเดียวกับรุ่นที่ 1 สอง อาจเป็นเพราะรุ่นต่อ ๆ มาไม่ได้ถูกเตรียมการ สร้างมาอย่างดี ฉะนั้นเป้าหมายหลักของการหาคนที่จะเข้ามาแทน เราจึงต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งกว่า ไม่ใช่เอาใครก็ได้ขึ้นมาทำแทน โดยไม่ต้องเตรียมคนคนนั้น"

ดังนั้นปัญหาตรงนี้จึงต้องเข้าใจก่อนว่า คนที่จะคิดทำธุรกิจในวันนี้ ภาพไม่เหมือนเดิม ฉะนั้นจะต้องทำอย่างไร ถึงจะพัฒนารุ่นที่จะมาทำต่อจากรุ่นแรก ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งยังจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการด้วย

ซึ่ง "อริญญา" มองว่าน่าจะประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ

1.ความสามารถในการจัดการ คนที่จะมาแทนนั้นเข้าใจหรือเปล่าว่าต้องเล่นบทบาทอย่างไรให้ครอบครัว

โดย เฉพาะอย่างยิ่งว่าเมื่ออยู่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ต้องทำอะไร เช่น ความสามารถในการจัดการ มีการศึกษาคนที่เริ่มต้นธุรกิจ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากผลวิจัยคือไม่ต้องมีความสามารถการจัดการที่สูงมาก และเมื่อ 10 ปีที่แล้วพบว่าต้องมีบ้าง และในปัจจุบันถ้าต้องการจะอยู่ใน Top 8 ของธุรกิจนี้จะต้องมีความสามารถในการจัดการที่สูงมาก

2.การรู้จักตัว ตน การสร้างให้คนที่จะมาแทนจะต้องมี self awareness ที่สูงกว่า และต้องยอมรับว่า ตนเองมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน ถ้าไม่สามารถสร้างคนที่มีจุดนี้ได้ ก็ยากที่จะไปแก้ในจุดอ่อน เพื่อพัฒนาต่อไปได้




ยก ตัวอย่าง บริษัทชั้นนำในประเทศเกาหลี ก่อนที่จะมีการพัฒนา เขาจะต้องให้ self awareness ให้มีการรู้จักตัวตนของตัวเองก่อน ถ้าไม่มีตรงนี้ก็จะไปเป็นผู้ถือหุ้น เพราะถ้ายังไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนยังไง อาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงเกินไป

3.ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจนั้น ๆ ทั้งในเชิงลึกอย่างแท้จริงและความเข้าใจด้วย เพราะการที่จะทำให้ผู้นำยุคใหม่ที่เป็นเจ้าของกิจการสามารถนำธุรกิจได้ สำเร็จอย่างดี ผู้นำต้องเริ่มเข้าใจเรื่องทักษะการจัดการ, มีความรู้จักตนเอง และเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เพราะเวลาจะสร้างคนให้ขึ้นมาเป็น Next generation leader เขาจะต้องถูกพัฒนา ขณะเดียวกันตัวผู้นำคนปัจจุบันก็จะต้องเล่นบทบาทเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้คนมารับช่วงต่อมีเวทีได้เล่น ได้ลอง

แต่ต้องไม่ลืมว่า คนที่จะมารับช่วงต่อก็ต้องรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเองอย่างดีด้วยเช่นกัน

ถึง ตรงนี้ "อริญญา" จึงมองเสริมว่า การจะนำ family business จะต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง และอะไรที่จะต้องเหมือนกับบริษัททั่วไป หรืออะไรที่จะต้องมีมากกว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมี system structure และ process คือต้องยอมรับความจริงในภาพขององค์กร โลกธุรกิจ และการใส่ระบบที่แข็งแกร่ง เหมือนองค์กรทั่วไป ที่ไม่ใช่ family business เพียงอย่างเดียว

"ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้มีความมั่นคงสูง บวกกับการลงทุนกับระบบ เพราะไม่แน่ใจว่าวันหนึ่งใครจะขึ้นเป็นผู้นำ ฉะนั้นบริษัททั่วไปจึงขึ้นอยู่กับระบบ ซึ่งต่างจากธุรกิจครอบครัวที่พึ่งกำลังคนเยอะ เพราะวันหนึ่งพอเปลี่ยนคนก็อาจกระทบเยอะ ไม่ว่า leader จะเก่งแค่ไหนก็ตาม"

"กลับ กัน ถ้าองค์กรวางระบบดี ๆ แม้ leader ไม่เก่งมาก แต่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ในยุคนี้ การทำธุรกิจ family ต้องมีอะไรมากกว่าแต่ก่อน ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะวันนี้การเป็นผู้นำไม่ใช่แค่คำว่าเจ้าของเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้นำที่มีวิธีทำงานร่วมกับคน มีวิธีการพูด วิธีการสื่อสาร เพื่อทำอย่างไรจะให้ได้ใจคน และไปในทิศทางเดียวกับเราด้วยใจ"

นอกจาก นั้น "อริญญา" ยังอ้างถึงผลวิจัยที่ชี้ชัดออกมาว่า องค์กรธุรกิจครอบครัวมักไม่ค่อยมีการวางกลยุทธ์ ซึ่งอันนี้ต่างจากการวางแผนทั่วไป และต่างกับบริษัทที่เป็นมืออาชีพที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว ประเด็นที่สำคัญคือ ทุกวันนี้ธุรกิจครอบครัวไม่ใช่แต่คิดได้ แต่จะต้องลงมือทำเลย และต้องมาย่อยเพื่อทำกลยุทธ์ เพราะบางทีการลงมาทำแค่แผน แต่ไม่ได้ลงไปเป็นกลยุทธ์อย่างแท้จริงอาจไม่ประสบความสำเร็จ

"ดัง นั้นวันนี้ผู้นำรุ่นใหม่จะต้องรู้ว่าธุรกิจเราอยู่ตรงไหน และจากวันนี้จะไปอีกจุดหนึ่งที่ดีกว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทั้งยังจะต้องเข้าใจในอุตสาหกรรมธุรกิจด้วยว่าจะ movement ไปทางไหน อนาคตจะไปทิศทางใด เนื่องจากหลาย ๆ ธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถเข้าใจ movement ของธุรกิจ หรือไม่ก็ไปหามืออาชีพมาบริหารดีกว่า"

"ฉะนั้นถ้ารุ่นลูกหรือรุ่น หลานไม่มีใจที่อยากจะประสบความสำเร็จจะเสี่ยงกับธุรกิจมาก สู้ไปหามืออาชีพข้างนอกมาจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะการทำธุรกิจครอบครัวไม่ใช่มีแค่ทุนอย่างเดียว ต้องเข้าใจ มองลึก และมีใจรักจริง ๆ เพราะจะต้องมาบริหารต่อจากรุ่นของคนที่สร้างมา ดังนั้นหลาย ๆ คนไม่ได้มีใจอยากจะทำเพราะไม่ชอบหรือไม่ได้สร้างมา"

"ถ้า รุ่นลูกไม่อยากทำแบบเดิม และอยากเปลี่ยนภาพธุรกิจก็ต้องยอมเขา เพราะถ้าไม่ยอมจะไม่ทำให้รุ่นลูกเกิดความปรารถนาที่จะทำจริง ๆ เพราะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการทำตั้งแต่ต้น ฉะนั้นในหลาย ๆ รุ่นตอนนี้จึงพบความเปลี่ยนแปลงในรุ่นลูกมากมาย และนี่คือภาพที่เปลี่ยนไป"

ที่ สำคัญผลวิจัยยังพบอีกว่า การที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จจะต้องมีจิตวิญญาณที่เป็นเจ้า ของ และเวลาพูดถึงจิตวิญญาณที่เป็นเจ้าของ ไม่ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้ในทุกกรณี เพราะประเด็นวันนี้ธุรกิจครอบครัวต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน คือหนึ่ง เมื่อไหร่จะทำแบบมืออาชีพ และสอง เมื่อไหร่จะทำแบบความเป็นเจ้าของ

"ดัง นั้นเวลาที่เราใช้ความคิด ก็ใช้แบบวิญญาณความเป็นเจ้าของ แต่เวลาที่จะลงมือทำใช้ความคิดแบบบริษัทมืออาชีพ ไม่ใช่ว่าคิดอย่างไรแล้วเดินมาสั่งการเลย ถ้าเจ้าของธุรกิจวันนี้รู้ว่าเวลาไหนหยิบบทบาทไหนมาใช้ จะได้เปรียบมาก เพราะคนทุกคนในองค์กรไม่ใช่เจ้าของจะมาเสี่ยงแบบเราไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องทำแบบมืออาชีพ ต้องรู้ว่าเรื่องไหนให้ใครทำ กระบวนการทำงานจะต้องเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าคนไม่กี่คนทำทุกเรื่อง ต้องทำเป็นระบบในภาพของตรงนี้"

"เพราะการเป็นผู้นำต้องมองแบบองค์รวม (systemic view) สไตล์ที่แตกต่างเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ อย่างทั้งวิธีแก้ปัญหาและการทำงาน การที่จะประสบความสำเร็จต้องมองว่าอะไรที่เป็นแบบเดิมไม่ได้ก็ต้องตัดทิ้งไป และอีกประเด็นคือภาพของการนำของผู้นำรุ่นต่อรุ่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ แต่ละยุคก็มีสไตล์แบบหนึ่งซึ่งพ่อลูกก็ไม่เหมือนกัน"

"แม้แต่พี่กับ น้องก็กระทบถึงองค์รวม ของธุรกิจ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีที่มีความแตกต่าง หลาย ๆ องค์กรยึดแต่ภาพเดิมไม่ เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแม้ในโลกจะ เปลี่ยนแปลงไปก็ตาม สุดท้ายก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้แบบเดิม เพราะทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิม และการแข่งขันที่แตกต่างก็แข่งขันกันในเรื่องความไม่เหมือนเดิม"

สรุป จากข้อมูลผลวิจัยระบุว่า ไม่ว่ารุ่นลูกจะเก่งขนาดไหน ถ้า context ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ปัจจุบันก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเราจึงต้องมานั่งมองภาพว่าจะทำอย่างไร ถ้าองค์กรยังไม่มีผู้นำที่เหมาะสม ยังไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นเจ้าของ หรือองค์กรยังเป็นแบบเดิม context เดิม เราจะเริ่มทำอะไรได้บ้าง อะไรที่เป็นวิธีการที่ผู้นำรุ่นใหม่หรือรุ่นลูกหลานของธุรกิจครอบครัวทำมาก ที่สุด

1.หากเรายังไม่มี skill ก็ต้องหาข้อมูล ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมืองไทย อาจจะไปหา network จากต่างประเทศ ไปพูดคุย ไปผูกสัมพันธ์กับประเทศอื่น ที่ไม่ได้แข่งขันกัน เสมือนเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

2.สร้าง network ของธุรกิจที่แตกต่าง แต่เป็นธุรกิจครอบครัวเหมือนกัน ด้วยการคุยกัน ทำกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนในเรื่องเกี่ยวกับการทำกิจการ ซึ่งนิยมมากในเกาหลี และจีน

3.skill ที่ขาดสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ การพัฒนาตัวเองอย่างแรก ถ้ารู้ว่าเราอ่อนอะไรก็ยอมรับ และไปหาข้อมูลมาเสริม

4.หาคนที่มาเป็นที่ปรึกษา

ในมุมตรงข้าม ถ้าล้มเหลวล่ะ ส่วนมากเกิดจากอะไร ?

1.บาง คนไม่ใช่ผู้นำมาตั้งแต่เกิด จากผลวิจัยมี 40% ที่สุดท้ายไปหามืออาชีพมาทำ เพราะไม่ใช่ทุกคนเป็น leader มาตั้งแต่เกิด หรือเป็นไม่ได้

2.ไม่มีความอยากเป็นเจ้าของ

3.มีเป้าหมาย จุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน

4.ลูก แค่อยากทำตามที่พ่อแม่คาดหวัง ไม่ได้มาจากความตั้งใจ สุดท้ายทำได้ไม่นาน เพราะไม่มีความตั้งใจแต่ต้น ซึ่งจากผลวิจัยระบุว่าพบมากในประเทศแถบเอเชีย

5.ไม่ได้หามืออาชีพมาช่วย ถ้าไม่เก่งแล้วไม่หาคนมาช่วยก็ยากที่จะผลักดันธุรกิจต่อไป

6.เกิดปัญหาภายในครอบครัว

ฉะนั้น วันนี้ผู้นำรุ่นปัจจุบันจึงต้องมีความชัดเจน ทั้งยังจะต้องใช้เวลาในการสร้างและเตรียมคนรุ่นต่อไป พร้อมกันนั้นตัวรุ่นลูกจะต้องรู้ด้วยว่าเราอ่อนจุดไหนและแข็งจุดไหน เพื่อที่จะรู้ด้วยตัวเองว่า เราควรจะเป็นผู้บริหาร หรือจ้างมืออาชีพมา

ที่ สำคัญภายในครอบครัวจะต้องมีการสื่อสารอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันคนรุ่นแรกก็จะต้องยอมปล่อยให้คนรุ่นลูกหรือหลานพิสูจน์ตัวเอง ด้วยว่าเขาสามารถบริหารธุรกิจครอบครัวได้หรือไม่

คือยอมให้เขาลองผิด ลองถูก

เพื่อที่เขาจะก้าวไปสู่ผู้บริหารรุ่นต่อไปอย่างเต็มตัว ?

Tags : บนเส้นทางแห่งการพิสูจน์ ผู้นำใหม่ Family Business บริหารเอง จ้างมืออาชีพ

view