สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คอร์รัปชัน ไทยแลนด์ สนิมร้ายของนักลงทุน

จาก โพสต์ทูเดย์

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ตลาดตะวันตกอย่างยุโรปและสหรัฐอาจจะต้องรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ กลัวว่าเศรษฐกิจจะซบเซาหรือถดถอย ทว่าตลาดในเอเชียกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะนอกจากจะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจ

 

ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียที่มีอัตราการเติบโตในช่วงครึ่งปีแรกถึงเกือบ 6% เกาหลีใต้ 7.6% สิงคโปร์ 17.9% หรือมาเลเซียที่มีอัตราการเติบโตในช่วงไตรมาส 2 ถึง 10%

อเล็ก ยัง นักวิเคราะห์จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ระบุว่า สาเหตุที่ตลาดในประเทศในเอเชียทั้งหลายไม่ต้องเผชิญกับภาวะซบเซาเหงาซึม เหมือนอย่างในยุโรปและสหรัฐ ก็เนื่องมาจากตลาดเหล่านั้นพึ่งพาการขยายตัวของจีนมากกว่า

ด้าน ซิโมนา โมคูตา นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซด์ เห็นว่าเป็นเพราะบรรดาเขตเศรษฐกิจในเอเชียมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ ช่วงปี 2540 มาครั้งหนึ่งแล้ว

ทางฟากฝั่งของไทยก็ได้รับอานิสงส์จากการอยู่ภายใต้ร่มไม้ใหญ่ของจีนด้วย เช่นกัน โดยเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 มีการขยายตัวถึง 12% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจตลอดทั้งปีจะขยายตัวถึง 8%

นอกเหนือจากตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมแล้ว ข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็ยังชี้ชัดว่านักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และยังคงมีบริษัทต่างชาติสนใจยื่นขอส่งเสริมการลงทุนแบบพุ่งกระฉูด

ในช่วงครึ่งปีแรกตั้งแต่เดือน ม.ค-.มิ.ย. ของปีนี้ พบว่านักลงทุนยื่นขอส่งเสริมการลงทุนมากถึง 375 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 33.4% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 98,332 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 96.7%

ถึงแม้ว่าตัวเลขการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่สุดแสนจะสดใสนี้ จะทำให้หลายฝ่ายยิ้มแก้มปริ และภูมิอกภูมิใจว่าปัญหาความไม่สงบของการเมืองภายในแทบจะไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อการลงทุนหรือการตัดสินใจจะย้ายการลงทุนออกจากประเทศอย่างที่เคยวิตกกังวล กันก่อนหน้านี้

แต่คำถามสำคัญก็คือว่า ไทยเรามีความแข็งแกร่งและความพร้อมเพียงพอที่จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่าง ชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศโดยปลอดภัยไร้กังวลหรือไม่

คำตอบอาจจะได้ว่า “ไม่” เพราะถึงแม้ว่าไทยจะมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ดี และมีความเหมาะสมในการเป็นฐานสำหรับการลงทุนของต่างชาติ แต่ทว่าปัญหาใหญ่ที่บรรดานักลงทุนยังคงตะขิดตะขวงใจ และอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่สกัดกั้นการลงทุนจากต่างชาติในประเทศไทยก็คือ “ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน”

ท่าทีล่าสุดของนักลงทุนจากต่างชาติที่สนใจและต้องการจะเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทย แต่ทว่ายังคงมีความกังวลกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ปรากฏชัดเจนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

 

เมื่อคณะนักลงทุนจากประเทศออสเตรเลียซึ่งให้ความสนใจที่อยากจะเข้ามาทำ การลงทุนเกี่ยวกับพลังงานทดแทน และการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย ได้เดินทางเข้าพบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และได้สอบถามเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย รวมทั้งเรียกร้องถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหา

การเอื้อนเอ่ยให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันจากปากคำของนัก ลงทุนต่างชาติด้วยตนเองในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หรือเรื่องธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนคิด หรืออย่างที่หลายคนยอมรับ

ย้อนกลับไปที่ผลสำรวจของธนาคารโลกก่อนหน้านี้ ระบุว่า สภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังไม่สามารถดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ผลการสำรวจความคิดเห็นของสถาบันให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการ เมืองและธุรกิจ (Political and Economic Risk Consultancy  PERC) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนเกี่ยวกับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันก็ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการคอร์รัปชันมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 จากบรรดา 16 ชาติในเอเชียแปซิฟิก รองจากอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์

สภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันไม่ได้ถูกให้ความสำคัญเฉพาะจากสายตาของต่าง ชาติเท่านั้น ผลการศึกษาวิจัยของไทยเองก็ยังยืนยันถึงความคาราคาซังที่แก้ไม่ตกของปัญหา นี้

ย้อนกลับไปที่ผลการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับสภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยเมื่อปี ก่อน ระบุว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของไทยไม่ได้ถูกแก้ไขหรือปรับปรุงพัฒนาไปในทิศทาง ที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย

ผลการวิจัยระบุว่า กรมที่ดิน กรมศุลกากร และบรรดานักการเมือง ยังคงเป็นกลุ่มตัวแสดงหลักที่เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันขึ้นมากที่สุด โดยประชาชนมักจะติดสินบนหรือเงินใต้โต๊ะไปให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน โดยเฉลี่ยกรณีละ 8,933 บาท กรมศุลกากร โดยเฉลี่ยกรณีละ 111,948 บาท และนักการเมือง โดยเฉลี่ยกรณีละ 314,050 บาท

ที่สุดแล้ว ถึงแม้ว่าการลงทุนทางตรงจากต่างชาติจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวาย ทางการเมือง แต่ทว่าจากท่าทีของคณะนักลงทุนจากออสเตรเลียที่แจ้งเตือน และสะท้อนให้รัฐบาลตระหนักถึงสภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เรื้อรังมายาว นานและยากจะแก้ไขได้นั้น ก็อาจจะเป็นการส่งสัญญาณบอกเป็นนัยได้ว่า

หากรัฐบาลไทยยังคงนิ่งเฉย และไม่ดำเนินมาตรการอย่างเด็ดขาดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อให้ไทยดีพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งลงทุนมากเพียงใด แต่การคอร์รัปชันก็พร้อมเป็นสนิมกัดกร่อนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากตามไปด้วย เช่นกัน

Tags : คอร์รัปชัน ไทยแลนด์ สนิมร้าย นักลงทุน

view