สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไอเดีย(ไม่)ตกผลึกของ กรณ์ อุตสาหกรรมแบงกิ้งไม่ได้แข่งขันแท้จริง เป็นยิ่งกว่าโบรกเกอร์

จากประชาชาติธุรกิจ
มีคนชื่นชม"กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เพราะพูดจาตรงไปตรงมา ไม่วกวน ตอแหลแบบนักการเมืองที่เห็นกันทั่วไป และข้อดีอีกประการคือ ไปพูดในเวทีระดับประเทศดูน่าเชื่อถือ ไม่อายใคร แต่นักข่าวพบว่า ยังมีแนวคิดอีกหลายเรื่องของ"กรณ์"ที่ยังไม่ตกผลึก แต่น่าสนใจ

สัปดาห์ที่ผ่านมา "นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นประธานเปิดโครงการก้าวที่ยั่งยืนสู่ชีวิตใหม่ปลอดหนี้นอกระบบ จากที่ลงทะเบียนไว้ 1,183,355 คน เป็นวงเงินหนี้ 122,672 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติ 6 แบงก์รัฐเข้ามาอยู่ในระบบได้ 412,741 ราย


ระบบธนาคารมีไว้รับใช้คนรวย  

"กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการนี้เล่าว่า คนที่เข้ามาในวัฏจักรหนี้นอกระบบส่วนใหญ่มีร้อยแปดพันเก้าเหตุผล คำตอบสุดท้ายเขาเข้าถึงระบบธนาคารไม่ได้ เพราะระบบ ธนาคารมีไว้รับใช้คนรวย ยิ่งรวยยิ่งกู้ได้ ยิ่งจนยิ่งกู้ไม่ได้ ตัวเลขแบงก์ชาติบอกว่า 15% ของประชากรไม่มีบัญชีเงินฝาก ถ้าถามว่ากี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถกู้ได้ ผมว่า 30% หรือมากกว่านั้น  

ดังนั้นการถลำเข้าไปเพราะชีวิตสะดุด เช่น ตั้งครรภ์ แม่ป่วย มีภาระลูกเรียน เป็นจุดที่เข้าสู่หนี้นอกระบบ เราจึงต้องจัดให้เขามีที่พึ่ง และโครงการนี้พร้อมจะช่วยคนที่พร้อมจะช่วยตัวเอง คาดว่าจนถึงสิ้นเดือนกันยายนน่าจะประมาณ 450,000 ราย โดยมีหนี้เฉลี่ย 100,000 บาท/คน คิดเป็นวงเงินหนี้ที่รีไฟแนนซ์ 40,000-45,000 ล้านบาท เมื่อคำนวณต่อคนประหยัดดอกเบี้ยได้ 1,000 บาท/คน/เดือน   "ถือว่าเยอะมากสำหรับคนกลุ่มนี้ เป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าโดยไม่เป็นภาระงบประมาณ เป็นการใช้กลไกธนาคารรัฐ อาศัยกลไกตลาดที่ไม่ใช่เงินภาษี 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน เท่ากับ 4 หมื่นกว่าล้านที่อยู่ในมือคน 4 แสนราย ซึ่งมีผลในระดับเศรษฐกิจ เพราะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้เขา"   "กรณ์" ย้ำว่า เราตระหนักว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาหนี้ให้เขาครั้งเดียวแล้วจะไม่มี ปัญหาอีก ดังนั้นเพื่อให้เขาเข้าถึงแหล่งเงินในอนาคต เราตอบโจทย์ให้ 4 แสนคนนี้ ด้วยการออกแบบนวัตกรรมคือบัตรลดหนี้ โดยมี 2 เป้าหมาย

1.ต้องการให้คนกลุ่มนี้มีวงเงินในอนาคตที่จะเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมในระบบ ธนาคารได้โดยไม่กลับไปที่เจ้าหนี้นอกระบบ

2.มาตรการช่วยกระตุ้นมีวินัยทางการเงิน ทุกบาทที่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย จะได้คืนเป็นวงเงินครึ่งหนึ่ง สะสมไปเรื่อย ๆ สมมติมีหนี้แสนบาท คุณชำระเงินต้นบวกดอกเบี้ย ณ สิ้นปีแรกจะได้วงเงิน 6,000 บาท เป็นฟรีเครดิตไลน์ วงเงินนี้เป็นของเขากดเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม และเราเก็บวงเงินเครดิตไลน์ให้เขา 4 ปี รวมทั้งทุกรายมีประกันชีวิตฟรีด้วย ซึ่งแบงก์รับภาระต่อราย 35 สตางค์"  

"กรณ์" กล่าวว่า เราไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้เขาทำได้อย่างไร ที่ต้องรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน แต่เวลาไปกู้กับแบงก์ แบงก์มองไม่เห็นความสามารถเขา ทั้ง ๆ ที่เขาทำได้ ปากกัดตีนถีบ ผมพยายามกล่อมแบงก์ว่า ถ้าเขาเคยจ่ายร้อยละ 10 ต่อเดือนได้ คุณต้องมีจุดเริ่มต้นว่าเขาทำได้ แบงก์ต้องเข้าไปดู เรามานั่งคำนวณว่าภาระหนี้ที่มี หากเขาเป็นลูกค้าที่ดี 1 ปี หรือมากกว่า ผมมั่นใจว่าแบงก์จะปรับโครงสร้างหนี้ให้เขาเอง เพราะเราคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1% ต่อเดือน แบงก์อาจจะให้วงเงินเขาเพิ่มขึ้นเอง  

ผมกำลังคิดว่าในอนาคตลูกค้ากลุ่มนี้หากรักษาไว้ได้ เป็นกลุ่มที่มีค่า จะรักษาอย่างไรค่อยว่ากัน อนาคตหากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินคงทำธนาคารรากหญ้าที่จะทำไมโครไฟแนนซ์ ก็มี 4 แสนรายนี้เป็นเชื้ออยู่แล้ว  

แนวคิด ธนาคารคนจน ธนาคารรากหญ้า

แต่โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรไม่ให้คนเข้าสู่การเป็นหนี้นอกระบบตั้งแต่แรก ต้องมีธนาคารคนจน ธนาคารรากหญ้า จากประสบการณ์ 9 เดือนที่ทำเรื่องนี้ มีบทเรียนว่าหนึ่งในอุปสรรคที่พบคือวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารรัฐ ยังไงก็ยัง "เป็นธนาคาร" และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ซึ่งสำคัญมาก ตั้งแต่เปิดสายด่วน 1689 มาที่กระทรวงการคลัง มีคนโทรศัพท์เข้ามา 400-500 คนทุกวัน มีคนร้องเรียนจำนวนมาก อาทิ เจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่าคนค้ำประกันต้องเป็นข้าราชการ ซึ่งคน 70% ที่โทร.เข้ามาเป็นเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่ประกาศไปแล้ว ทำให้เรารู้ว่าทุกเรื่องหากจะทำให้ได้ ต้องลงมาขันเอง และวัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยน  

การทำธนาคารคนจนหรือธนาคารรากหญ้า ไม่จำเป็นต้องแยกองค์กรออกมาดูแลต่างหาก ใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ เช่น สัจจะออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ หน่วยงานเหล่านี้มีสมาชิกเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารรากหญ้าอยู่แล้ว โมเดลที่เราคิดอยู่คือให้ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสินซึ่งมีหน้าที่ดูแลลูกค้าอยู่แล้ว แต่ให้มีอีกหน้าที่คือ "โฮลเซล" เอากลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพวก กู้เงินจาก ธ.ก.ส.และออมสินเพื่อไปปล่อยกู้ต่อโดยมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ให้เขาบริหาร ดูแลลูกค้าของเขา แทนที่ออมสิน ธ.ก.ส.ต้องไปดูแลเอง   หรือแม้แต่กลุ่มมอเตอร์ไซค์ เจ้าหนี้นอกระบบ ให้เขามาขึ้นทะเบียน เป็นนิติบุคคล เป็นเหมือนเอเย่นต์ของ ธ.ก.ส. ออมสิน กลุ่มเหล่านี้เขารู้วิถีชาวบ้าน ให้เขาไปดูแลกันเอง นี่คือสิ่งที่ต้องทำต่อไป


เจ้าหนี้นอกระบบ 60% เป็นคนอุทัยธานี

"กรณ์" เล่าเบื้องหลังว่า การได้มาทำโครงการหนี้นอกระบบได้พบอะไรแปลก ๆ ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าเจ้าหนี้นอกระบบกระจุกตัวเหมือนกัน หมายความว่าเจ้าหนี้นอกระบบ 60% ของวงเงินหนี้ทั้งหมดเป็นคนอุทัยธานี คือวันดีคืนดีที่ประกาศโครงการนี้ไป มีคนกระซิบบอกว่าหากผมอยากทำเรื่องนี้ให้สำเร็จต้องคุยกับ ส.ส.คนหนึ่งคือ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทย ซึ่งผมเชิญมานั่งคุยด้วย เขาบอกว่าหากรัฐมนตรีอยากทำเรื่องนี้จริง ๆ เขาจะช่วย ให้ผมส่งทีมงานไปที่บ้านเขาและเขานัดเจ้าหนี้มาคุย หากคุยกับเจ้าหนี้กลุ่มนี้ได้ก็จบแล้ว  

ผมให้เจ้าหน้าที่ไปพบเจ้าหนี้กว่า 200 คน เริ่มเข้าใจวัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติ การแก้ปัญหา เราในฐานะนักการเงินเอาข้อมูลเขาคำนวณว่าเขาคิดดอกเบี้ย มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รวมถึงส่วยที่ต้องส่ง หนี้เสีย ค่าจ้างนักเลง ฯลฯ คำนวณออกมาผลตอบแทนสุดท้ายเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเพดานแบงก์ชาติ 28% (ดอกเบี้ยบวกค่าธรรมเนียมด้วย) เมื่อเราถามว่าหากเราให้คุณทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายแบบนี้ เอาไหม เขาเอาเพราะชีวิตเขาต้องคอยหลบหลีก คือได้มา 100 บาท เหลือในมือเขาแค่ 10 บาท เขารันทด เก็บกดด้วย ทำให้เราคิดว่าโครงการนี้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้    

นอกจากนี้ "กรณ์" กล่าวว่า อีกมิติที่สำคัญมาก คือการสร้างวัฒนธรรม สร้างวินัยทางการเงิน งานนี้ได้ประสานหลายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าผมอยากให้มี "หมอหนี้" เป็นอาสาสมัครที่อยู่ทุกหมู่บ้าน 70,000 หมู่บ้าน ฝึกอบรมโดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.ซึ่งมีโครงการบัญชีครัวเรือนที่แข็งแรงมากอยู่แล้ว มีหน้าที่คอยติดตาม ประสานระหว่างธนาคารกับหมู่บ้านและพัฒนาไปสู่บัญชีหมู่บ้าน มันจะเป็นภูมิคุ้มกันได้ ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ออมสิน หลังโอนลูกหนี้มาเป็นลูกหนี้เขาแล้ว เขามีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จัดตามวัดให้คนกลุ่มนี้ ผมว่าดีมาก ปัจจุบันเรามี "อสม." ดูแลสุขภาพอนามัย ต่อไปเราจะมีหมอหนี้ดูแลสุขภาพทางการเงิน  

อยากให้ทำงบประมาณ 4 ปี แต่รัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี  

นอกจากนี้ "กรณ์" ได้ตอบคำถามเรื่องงบประมาณที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาขณะนี้ว่าการ ทำงบประมาณปัจจุบันไม่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  

ผมเรียนท่านนายกฯว่าแทนที่จะทำงบประมาณปีต่อปี หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้ทำงบประมาณ 4 ปีสอดคล้องกับยุทธศาสตร์รัฐบาล แต่รัฐบาลมักอยู่ไม่ครบ 4 ปี ดังนั้นต้องยืดหยุ่นให้โอกาสรัฐบาลใหม่ปรับเปลี่ยนได้ นั่นคืองบฯกลางของนายกรัฐมนตรี โดยนำเฉพาะส่วนนั้นเข้าสภาพิจารณาในแต่ละปี   ปัจจุบันการใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ จากการที่ได้พบกับหอการค้า อุตสาหกรรมจังหวัด ผมหารือกับเขาว่าอยากเห็นยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ของเขา โดยเสนอผ่านมาที่รัฐบาล หลังจากนั้นจะได้กำหนดงบประมาณที่จะได้ตอบโจทย์ของเขาได้ อย่างภาคใต้ อุตสาหกรรมยางรวมตัวกัน ยุทธศาสตร์ยางของประเทศคืออะไร รัฐบาลควรสนับสนุนอะไร ตอนนี้งบประมาณคิดจากส่วนกลาง ไม่ได้เป็นสิ่งที่เขาต้องการที่แท้จริง ดังนั้นหากทำเป็นคลัสเตอร์และทำแมทริกซ์ คนทั้งประเทศมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย   กรณ์กล่าวถึงงบประมาณปีนี้ที่รายรับกับรายจ่ายประจำที่เท่ากัน 1.6 ล้านล้านบาท ถ้ารัฐต้องลงทุนจะต้องใช้เงินกู้ ว่าเรื่องนี้คือสาเหตุที่ยังต้องทำงบประมาณขาดดุล พร้อมอธิบายว่าถ้าไม่ขาดดุล นั่นคือ 1.ลดรายจ่ายได้ไหม...ยาก 2.เพิ่มรายได้ไหม...ก็ไม่ง่าย ดังนั้นหากจะให้รัฐบาลลงทุนเพิ่มก็ต้องขาดดุล ความจริงคนทั่วไปกลัวเรื่องการขาดดุลมากเกินไป สำหรับผมไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือถ้าขาดดุลแล้วเศรษฐกิจมีการเติบโตหรือไม่ ถ้าเติบโตก็ไม่มีปัญหา  

ดังนั้นถ้ารัฐไม่มีเงินลงทุนและไม่ขึ้นภาษี ตรรกะมันพาไปคือให้เอกชนลงทุน แต่เราจะพึ่งพาการลงทุนของเอกชนไทยอย่างเดียวหมายถึง "การผูกขาด" ไม่มีการแข่งขัน หากให้เอกชนลงทุนก็ต้องให้ต่างชาติมาลงทุน  

กรณ์กล่าวว่า ถ้าจะต้องคุยกันจริง ๆ เรื่องนี้แบบเป็นวาระแห่งชาติ ต้องถอดเรื่องการเมืองออกไป เพราะสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องที่การเมืองไม่กล้าแตะ เช่น สิทธิการถือหุ้น รวมถึงสิทธิการครองที่ดิน ขนาดผู้บริหารมาประมูล 3G ยังเป็นต่างประเทศไม่ได้เลย มันจึงยังอีกไกล...  

ในแง่การลงทุน "กรณ์" มองว่า ส่วนหนึ่งรัฐไปสร้างเงื่อนไขให้เขาเยอะมาก เช่นใบอนุญาต กฎระเบียบต่าง ๆ ไม่สามารถตัดสินใจในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดูตั้งแต่สมัยไหน ๆ เช่นบริษัทใหญ่ ๆ 20-30 บริษัทของไทย ล้วนมีส่วนหากินกับรัฐทั้งสิ้น ทั้งสัมปทาน ธุรกิจใบอนุญาต กรณ์กล่าวว่า ในแง่มุมหนึ่งผมชื่นชมพวกอสังหาริมทรัพย์มากสุด เพราะเขาแข่งขันกันจริง ๆ เขาไม่มีใบอนุญาต ไม่มีสัมปทาน นอกนั้นธนาคารพาณิชย์ โทรคมนาคม ปตท. ต่างมีสัมปทาน ผูกขาด เราถึงไปแข่งต่างประเทศไม่เป็น  

อุตสาหกรรมแบงกิ้ง...ยิ่งกว่าโบรกเกอร์
ส่วนเรื่องสเปรดดอกเบี้ย "กรณ์" กล่าวว่า "ผมคุยกับ ดร.ประสาร (ไตรรัตน์วรกุล ว่าที่ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่) ผมว่าต้องแยก 2 ส่วน เรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคคือ 1.สเปรดดอกเบี้ย 2.ค่าธรรมเนียม เช่นค่าโอนข้ามเขต เดี๋ยวนี้ระบบไม่มีต้นทุนแล้ว แบงก์เถียงว่าเขามีกำไรเกินควรเพราะมีไว้ซับซิไดซ์เรื่องการรับเช็ค ซึ่งต้นทุนสูงมาก เราก็ฟังและบอกว่าต้องโปร่งใสในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยต้องแยกส่วนระหว่างลูกค้ารายใหญ่ เอสเอ็มอี ลูกค้ารายบุคคล มันมีการซับซิดี้กันอยู่ ลูกค้ารายใหญ่ ๆ แบงก์ขาดทุนในแง่สเปรด แต่ไปได้อย่างอื่นเช่นทรานแซ็กชั่น แคชแมเนจเมนต์ เป็นต้น   เวลาแบงก์ชาติอ้างส่วนต่างดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเทียบกับวงเงินกู้โดยรวมว่าไม่ ได้สูงเกินไป ผมว่า...ใช่ แต่ส่วนต่างดอกเบี้ยที่คิดกับคอนซูเมอร์โลน มันกว้างมาก คิดเฉลี่ยไม่ได้ ต้องคิดแยกส่วน ซึ่ง ดร.ประสารเข้าใจเรื่องนี้ ผมว่าอุตสาหกรรมแบงกิ้งไม่ได้เป็นการแข่งขันที่แท้จริง มันเป็นคลับมากกว่า ยิ่งกว่าโบรกเกอร์อีก
 
จริง ๆ ต้นทุนของแบงก์สูง ทำให้เขาอ้างว่าสเปรดต้องกว้าง ประเด็นคือหากเราไปปรับสเปรด ก็ทำให้เขาต้องลดต้นทุนเอง ตอนนี้เขาไม่ต้องลดต้นทุนเพราะสเปรดมันกว้างอยู่ ที่น่าห่วงมากคือค่าธรรมเนียม ปีที่จีดีพีติดลบที่ผ่านมา ค่าธรรมเนียมแบงก์ขยายตัวมากสุดในเอเชีย เขาถึงไม่ปล่อยกู้ เราเอาแบงก์รัฐมาปล่อยกู้แทน เขาหากินที่ค่าธรรมเนียม  

ไทเกอร์แอร์...ถ้าไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ  

ส่วนประเด็นไทเกอร์แอร์ของการบินไทย กรณ์กล่าวว่า เราคุยกับกระทรวงคมนาคมว่าเราจะให้ "การบินไทย" เป็นมืออาชีพมากสุด เพราะต้องแข่งขันกับสุดยอดของต่างประเทศ เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิค สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส หากเราไปยุ่งมาก สุดท้ายกลับมาเป็นภาระของกระทรวงการคลัง   หากฟังผู้บริหารการบินไทย บอกว่าเขาอยากปกป้องในส่วนแบ่งตลาดตรงนั้น จะลงไปทำเองก็เป็นไปไม่ได้ ต้นทุนผู้โดยสารสูงกว่ากันเยอะ แม้แต่นกแอร์เองก็สูงกว่าแอร์เอเชีย หากจะแข่งต้องแข่งบนต้นทุนที่เท่ากันหรือต่ำกว่า จึงจะแข่งกันได้ วิธีที่เขาตัดสินใจคือทำกับไทเกอร์แอร์ ผมก็ตั้งคำถามในเชิงยุทธศาสตร์ว่าทำไมไม่ทำกับนกแอร์ เขาบอกว่าต้นทุนนกแอร์สูงกว่าแอร์เอเชียเยอะ สู้ไม่ได้ ที่ผ่านมาผลักดันให้นกแอร์ไปเส้นทางอื่นมาแล้ว แต่นกแอร์เลือกที่จะบินในประเทศ การบินไทยจึงต้องหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ถ้าไปได้ดีก็เป็นเรื่องคณะผู้บริหาร ถ้าไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ

มีคนชื่นชม"กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เพราะพูดจาตรงไปตรงมา ไม่วกวน ตอแหลแบบนักการเมืองที่เห็นกันทั่วไป และข้อดีอีกประการคือ ไปพูดในเวทีระดับประเทศดูน่าเชื่อถือ ไม่อายใคร แต่นักข่าวพบว่า ยังมีแนวคิดอีกหลายเรื่องของ"กรณ์"ที่ยังไม่ตกผลึก แต่น่าสนใจ

สัปดาห์ที่ผ่านมา "นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นประธานเปิดโครงการก้าวที่ยั่งยืนสู่ชีวิตใหม่ปลอดหนี้นอกระบบ จากที่ลงทะเบียนไว้ 1,183,355 คน เป็นวงเงินหนี้ 122,672 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติ 6 แบงก์รัฐเข้ามาอยู่ในระบบได้ 412,741 ราย
ระบบธนาคารมีไว้รับใช้คนรวย   "กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการนี้เล่าว่า คนที่เข้ามาในวัฏจักรหนี้นอกระบบส่วนใหญ่มีร้อยแปดพันเก้าเหตุผล คำตอบสุดท้ายเขาเข้าถึงระบบธนาคารไม่ได้ เพราะระบบ ธนาคารมีไว้รับใช้คนรวย ยิ่งรวยยิ่งกู้ได้ ยิ่งจนยิ่งกู้ไม่ได้ ตัวเลขแบงก์ชาติบอกว่า 15% ของประชากรไม่มีบัญชีเงินฝาก ถ้าถามว่ากี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถกู้ได้ ผมว่า 30% หรือมากกว่านั้น   ดังนั้นการถลำเข้าไปเพราะชีวิตสะดุด เช่น ตั้งครรภ์ แม่ป่วย มีภาระลูกเรียน เป็นจุดที่เข้าสู่หนี้นอกระบบ เราจึงต้องจัดให้เขามีที่พึ่ง และโครงการนี้พร้อมจะช่วยคนที่พร้อมจะช่วยตัวเอง คาดว่าจนถึงสิ้นเดือนกันยายนน่าจะประมาณ 450,000 ราย โดยมีหนี้เฉลี่ย 100,000 บาท/คน คิดเป็นวงเงินหนี้ที่รีไฟแนนซ์ 40,000-45,000 ล้านบาท เมื่อคำนวณต่อคนประหยัดดอกเบี้ยได้ 1,000 บาท/คน/เดือน   "ถือว่าเยอะมากสำหรับคนกลุ่มนี้ เป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าโดยไม่เป็นภาระงบประมาณ เป็นการใช้กลไกธนาคารรัฐ อาศัยกลไกตลาดที่ไม่ใช่เงินภาษี 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน เท่ากับ 4 หมื่นกว่าล้านที่อยู่ในมือคน 4 แสนราย ซึ่งมีผลในระดับเศรษฐกิจ เพราะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้เขา"   "กรณ์" ย้ำว่า เราตระหนักว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาหนี้ให้เขาครั้งเดียวแล้วจะไม่มี ปัญหาอีก ดังนั้นเพื่อให้เขาเข้าถึงแหล่งเงินในอนาคต เราตอบโจทย์ให้ 4 แสนคนนี้ ด้วยการออกแบบนวัตกรรมคือบัตรลดหนี้ โดยมี 2 เป้าหมาย 1.ต้องการให้คนกลุ่มนี้มีวงเงินในอนาคตที่จะเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมในระบบ ธนาคารได้โดยไม่กลับไปที่เจ้าหนี้นอกระบบ 2.มาตรการช่วยกระตุ้นมีวินัยทางการเงิน ทุกบาทที่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย จะได้คืนเป็นวงเงินครึ่งหนึ่ง สะสมไปเรื่อย ๆ สมมติมีหนี้แสนบาท คุณชำระเงินต้นบวกดอกเบี้ย ณ สิ้นปีแรกจะได้วงเงิน 6,000 บาท เป็นฟรีเครดิตไลน์ วงเงินนี้เป็นของเขากดเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม และเราเก็บวงเงินเครดิตไลน์ให้เขา 4 ปี รวมทั้งทุกรายมีประกันชีวิตฟรีด้วย ซึ่งแบงก์รับภาระต่อราย 35 สตางค์"   "กรณ์" กล่าวว่า เราไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้เขาทำได้อย่างไร ที่ต้องรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน แต่เวลาไปกู้กับแบงก์ แบงก์มองไม่เห็นความสามารถเขา ทั้ง ๆ ที่เขาทำได้ ปากกัดตีนถีบ ผมพยายามกล่อมแบงก์ว่า ถ้าเขาเคยจ่ายร้อยละ 10 ต่อเดือนได้ คุณต้องมีจุดเริ่มต้นว่าเขาทำได้ แบงก์ต้องเข้าไปดู เรามานั่งคำนวณว่าภาระหนี้ที่มี หากเขาเป็นลูกค้าที่ดี 1 ปี หรือมากกว่า ผมมั่นใจว่าแบงก์จะปรับโครงสร้างหนี้ให้เขาเอง เพราะเราคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1% ต่อเดือน แบงก์อาจจะให้วงเงินเขาเพิ่มขึ้นเอง   ผมกำลังคิดว่าในอนาคตลูกค้ากลุ่มนี้หากรักษาไว้ได้ เป็นกลุ่มที่มีค่า จะรักษาอย่างไรค่อยว่ากัน อนาคตหากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินคงทำธนาคารรากหญ้าที่จะทำไมโครไฟแนนซ์ ก็มี 4 แสนรายนี้เป็นเชื้ออยู่แล้ว   แนวคิด ธนาคารคนจน ธนาคารรากหญ้า
แต่โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรไม่ให้คนเข้าสู่การเป็นหนี้นอกระบบตั้งแต่แรก ต้องมีธนาคารคนจน ธนาคารรากหญ้า จากประสบการณ์ 9 เดือนที่ทำเรื่องนี้ มีบทเรียนว่าหนึ่งในอุปสรรคที่พบคือวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารรัฐ ยังไงก็ยัง "เป็นธนาคาร" และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ซึ่งสำคัญมาก ตั้งแต่เปิดสายด่วน 1689 มาที่กระทรวงการคลัง มีคนโทรศัพท์เข้ามา 400-500 คนทุกวัน มีคนร้องเรียนจำนวนมาก อาทิ เจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่าคนค้ำประกันต้องเป็นข้าราชการ ซึ่งคน 70% ที่โทร.เข้ามาเป็นเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่ประกาศไปแล้ว ทำให้เรารู้ว่าทุกเรื่องหากจะทำให้ได้ ต้องลงมาขันเอง และวัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยน   การทำธนาคารคนจนหรือธนาคารรากหญ้า ไม่จำเป็นต้องแยกองค์กรออกมาดูแลต่างหาก ใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ เช่น สัจจะออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ หน่วยงานเหล่านี้มีสมาชิกเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารรากหญ้าอยู่แล้ว โมเดลที่เราคิดอยู่คือให้ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสินซึ่งมีหน้าที่ดูแลลูกค้าอยู่แล้ว แต่ให้มีอีกหน้าที่คือ "โฮลเซล" เอากลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพวก กู้เงินจาก ธ.ก.ส.และออมสินเพื่อไปปล่อยกู้ต่อโดยมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ให้เขาบริหาร ดูแลลูกค้าของเขา แทนที่ออมสิน ธ.ก.ส.ต้องไปดูแลเอง   หรือแม้แต่กลุ่มมอเตอร์ไซค์ เจ้าหนี้นอกระบบ ให้เขามาขึ้นทะเบียน เป็นนิติบุคคล เป็นเหมือนเอเย่นต์ของ ธ.ก.ส. ออมสิน กลุ่มเหล่านี้เขารู้วิถีชาวบ้าน ให้เขาไปดูแลกันเอง นี่คือสิ่งที่ต้องทำต่อไป
เจ้าหนี้นอกระบบ 60% เป็นคนอุทัยธานี
"กรณ์" เล่าเบื้องหลังว่า การได้มาทำโครงการหนี้นอกระบบได้พบอะไรแปลก ๆ ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าเจ้าหนี้นอกระบบกระจุกตัวเหมือนกัน หมายความว่าเจ้าหนี้นอกระบบ 60% ของวงเงินหนี้ทั้งหมดเป็นคนอุทัยธานี คือวันดีคืนดีที่ประกาศโครงการนี้ไป มีคนกระซิบบอกว่าหากผมอยากทำเรื่องนี้ให้สำเร็จต้องคุยกับ ส.ส.คนหนึ่งคือ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทย ซึ่งผมเชิญมานั่งคุยด้วย เขาบอกว่าหากรัฐมนตรีอยากทำเรื่องนี้จริง ๆ เขาจะช่วย ให้ผมส่งทีมงานไปที่บ้านเขาและเขานัดเจ้าหนี้มาคุย หากคุยกับเจ้าหนี้กลุ่มนี้ได้ก็จบแล้ว   ผมให้เจ้าหน้าที่ไปพบเจ้าหนี้กว่า 200 คน เริ่มเข้าใจวัฒนธรรม วิธีการปฏิบัติ การแก้ปัญหา เราในฐานะนักการเงินเอาข้อมูลเขาคำนวณว่าเขาคิดดอกเบี้ย มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รวมถึงส่วยที่ต้องส่ง หนี้เสีย ค่าจ้างนักเลง ฯลฯ คำนวณออกมาผลตอบแทนสุดท้ายเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเพดานแบงก์ชาติ 28% (ดอกเบี้ยบวกค่าธรรมเนียมด้วย) เมื่อเราถามว่าหากเราให้คุณทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายแบบนี้ เอาไหม เขาเอาเพราะชีวิตเขาต้องคอยหลบหลีก คือได้มา 100 บาท เหลือในมือเขาแค่ 10 บาท เขารันทด เก็บกดด้วย ทำให้เราคิดว่าโครงการนี้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้     นอกจากนี้ "กรณ์" กล่าวว่า อีกมิติที่สำคัญมาก คือการสร้างวัฒนธรรม สร้างวินัยทางการเงิน งานนี้ได้ประสานหลายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าผมอยากให้มี "หมอหนี้" เป็นอาสาสมัครที่อยู่ทุกหมู่บ้าน 70,000 หมู่บ้าน ฝึกอบรมโดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.ซึ่งมีโครงการบัญชีครัวเรือนที่แข็งแรงมากอยู่แล้ว มีหน้าที่คอยติดตาม ประสานระหว่างธนาคารกับหมู่บ้านและพัฒนาไปสู่บัญชีหมู่บ้าน มันจะเป็นภูมิคุ้มกันได้ ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ออมสิน หลังโอนลูกหนี้มาเป็นลูกหนี้เขาแล้ว เขามีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จัดตามวัดให้คนกลุ่มนี้ ผมว่าดีมาก ปัจจุบันเรามี "อสม." ดูแลสุขภาพอนามัย ต่อไปเราจะมีหมอหนี้ดูแลสุขภาพทางการเงิน   อยากให้ทำงบประมาณ 4 ปี แต่รัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี   นอกจากนี้ "กรณ์" ได้ตอบคำถามเรื่องงบประมาณที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาขณะนี้ว่าการ ทำงบประมาณปัจจุบันไม่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ผมเรียนท่านนายกฯว่าแทนที่จะทำงบประมาณปีต่อปี หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้ทำงบประมาณ 4 ปีสอดคล้องกับยุทธศาสตร์รัฐบาล แต่รัฐบาลมักอยู่ไม่ครบ 4 ปี ดังนั้นต้องยืดหยุ่นให้โอกาสรัฐบาลใหม่ปรับเปลี่ยนได้ นั่นคืองบฯกลางของนายกรัฐมนตรี โดยนำเฉพาะส่วนนั้นเข้าสภาพิจารณาในแต่ละปี   ปัจจุบันการใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ จากการที่ได้พบกับหอการค้า อุตสาหกรรมจังหวัด ผมหารือกับเขาว่าอยากเห็นยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ของเขา โดยเสนอผ่านมาที่รัฐบาล หลังจากนั้นจะได้กำหนดงบประมาณที่จะได้ตอบโจทย์ของเขาได้ อย่างภาคใต้ อุตสาหกรรมยางรวมตัวกัน ยุทธศาสตร์ยางของประเทศคืออะไร รัฐบาลควรสนับสนุนอะไร ตอนนี้งบประมาณคิดจากส่วนกลาง ไม่ได้เป็นสิ่งที่เขาต้องการที่แท้จริง ดังนั้นหากทำเป็นคลัสเตอร์และทำแมทริกซ์ คนทั้งประเทศมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย   กรณ์กล่าวถึงงบประมาณปีนี้ที่รายรับกับรายจ่ายประจำที่เท่ากัน 1.6 ล้านล้านบาท ถ้ารัฐต้องลงทุนจะต้องใช้เงินกู้ ว่าเรื่องนี้คือสาเหตุที่ยังต้องทำงบประมาณขาดดุล พร้อมอธิบายว่าถ้าไม่ขาดดุล นั่นคือ 1.ลดรายจ่ายได้ไหม...ยาก 2.เพิ่มรายได้ไหม...ก็ไม่ง่าย ดังนั้นหากจะให้รัฐบาลลงทุนเพิ่มก็ต้องขาดดุล ความจริงคนทั่วไปกลัวเรื่องการขาดดุลมากเกินไป สำหรับผมไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือถ้าขาดดุลแล้วเศรษฐกิจมีการเติบโตหรือไม่ ถ้าเติบโตก็ไม่มีปัญหา   ดังนั้นถ้ารัฐไม่มีเงินลงทุนและไม่ขึ้นภาษี ตรรกะมันพาไปคือให้เอกชนลงทุน แต่เราจะพึ่งพาการลงทุนของเอกชนไทยอย่างเดียวหมายถึง "การผูกขาด" ไม่มีการแข่งขัน หากให้เอกชนลงทุนก็ต้องให้ต่างชาติมาลงทุน   กรณ์กล่าวว่า ถ้าจะต้องคุยกันจริง ๆ เรื่องนี้แบบเป็นวาระแห่งชาติ ต้องถอดเรื่องการเมืองออกไป เพราะสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องที่การเมืองไม่กล้าแตะ เช่น สิทธิการถือหุ้น รวมถึงสิทธิการครองที่ดิน ขนาดผู้บริหารมาประมูล 3G ยังเป็นต่างประเทศไม่ได้เลย มันจึงยังอีกไกล...   ในแง่การลงทุน "กรณ์" มองว่า ส่วนหนึ่งรัฐไปสร้างเงื่อนไขให้เขาเยอะมาก เช่นใบอนุญาต กฎระเบียบต่าง ๆ ไม่สามารถตัดสินใจในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดูตั้งแต่สมัยไหน ๆ เช่นบริษัทใหญ่ ๆ 20-30 บริษัทของไทย ล้วนมีส่วนหากินกับรัฐทั้งสิ้น ทั้งสัมปทาน ธุรกิจใบอนุญาต กรณ์กล่าวว่า ในแง่มุมหนึ่งผมชื่นชมพวกอสังหาริมทรัพย์มากสุด เพราะเขาแข่งขันกันจริง ๆ เขาไม่มีใบอนุญาต ไม่มีสัมปทาน นอกนั้นธนาคารพาณิชย์ โทรคมนาคม ปตท. ต่างมีสัมปทาน ผูกขาด เราถึงไปแข่งต่างประเทศไม่เป็น   อุตสาหกรรมแบงกิ้ง...ยิ่งกว่าโบรกเกอร์
ส่วนเรื่องสเปรดดอกเบี้ย "กรณ์" กล่าวว่า "ผมคุยกับ ดร.ประสาร (ไตรรัตน์วรกุล ว่าที่ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่) ผมว่าต้องแยก 2 ส่วน เรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคคือ 1.สเปรดดอกเบี้ย 2.ค่าธรรมเนียม เช่นค่าโอนข้ามเขต เดี๋ยวนี้ระบบไม่มีต้นทุนแล้ว แบงก์เถียงว่าเขามีกำไรเกินควรเพราะมีไว้ซับซิไดซ์เรื่องการรับเช็ค ซึ่งต้นทุนสูงมาก เราก็ฟังและบอกว่าต้องโปร่งใสในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยต้องแยกส่วนระหว่างลูกค้ารายใหญ่ เอสเอ็มอี ลูกค้ารายบุคคล มันมีการซับซิดี้กันอยู่ ลูกค้ารายใหญ่ ๆ แบงก์ขาดทุนในแง่สเปรด แต่ไปได้อย่างอื่นเช่นทรานแซ็กชั่น แคชแมเนจเมนต์ เป็นต้น   เวลาแบงก์ชาติอ้างส่วนต่างดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเทียบกับวงเงินกู้โดยรวมว่าไม่ ได้สูงเกินไป ผมว่า...ใช่ แต่ส่วนต่างดอกเบี้ยที่คิดกับคอนซูเมอร์โลน มันกว้างมาก คิดเฉลี่ยไม่ได้ ต้องคิดแยกส่วน ซึ่ง ดร.ประสารเข้าใจเรื่องนี้ ผมว่าอุตสาหกรรมแบงกิ้งไม่ได้เป็นการแข่งขันที่แท้จริง มันเป็นคลับมากกว่า ยิ่งกว่าโบรกเกอร์อีก
 
จริง ๆ ต้นทุนของแบงก์สูง ทำให้เขาอ้างว่าสเปรดต้องกว้าง ประเด็นคือหากเราไปปรับสเปรด ก็ทำให้เขาต้องลดต้นทุนเอง ตอนนี้เขาไม่ต้องลดต้นทุนเพราะสเปรดมันกว้างอยู่ ที่น่าห่วงมากคือค่าธรรมเนียม ปีที่จีดีพีติดลบที่ผ่านมา ค่าธรรมเนียมแบงก์ขยายตัวมากสุดในเอเชีย เขาถึงไม่ปล่อยกู้ เราเอาแบงก์รัฐมาปล่อยกู้แทน เขาหากินที่ค่าธรรมเนียม   ไทเกอร์แอร์...ถ้าไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ   ส่วนประเด็นไทเกอร์แอร์ของการบินไทย กรณ์กล่าวว่า เราคุยกับกระทรวงคมนาคมว่าเราจะให้ "การบินไทย" เป็นมืออาชีพมากสุด เพราะต้องแข่งขันกับสุดยอดของต่างประเทศ เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิค สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส หากเราไปยุ่งมาก สุดท้ายกลับมาเป็นภาระของกระทรวงการคลัง   หากฟังผู้บริหารการบินไทย บอกว่าเขาอยากปกป้องในส่วนแบ่งตลาดตรงนั้น จะลงไปทำเองก็เป็นไปไม่ได้ ต้นทุนผู้โดยสารสูงกว่ากันเยอะ แม้แต่นกแอร์เองก็สูงกว่าแอร์เอเชีย หากจะแข่งต้องแข่งบนต้นทุนที่เท่ากันหรือต่ำกว่า จึงจะแข่งกันได้ วิธีที่เขาตัดสินใจคือทำกับไทเกอร์แอร์ ผมก็ตั้งคำถามในเชิงยุทธศาสตร์ว่าทำไมไม่ทำกับนกแอร์ เขาบอกว่าต้นทุนนกแอร์สูงกว่าแอร์เอเชียเยอะ สู้ไม่ได้ ที่ผ่านมาผลักดันให้นกแอร์ไปเส้นทางอื่นมาแล้ว แต่นกแอร์เลือกที่จะบินในประเทศ การบินไทยจึงต้องหาพาร์ตเนอร์ใหม่ ถ้าไปได้ดีก็เป็นเรื่องคณะผู้บริหาร ถ้าไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ

Tags : ไอเดียตกผลึก กรณ์ อุตสาหกรรมแบงกิ้ง ไม่ได้แข่งขันแท้จริง ยิ่งกว่าโบรกเกอร์

view