สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า ใครคือผู้รับผิดชอบ?

จาก LOGISTIC DIGEST

ปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า ใครคือผู้รับผิดชอบ?

09 Aug 10 ,  Editorial

การคาดการณ์ปริมาณสินค้าจะต้องอาศัยความร่วม มือจากผู้ส่งสินค้า (shippers) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) และสายเรือ (carriers)

67_th_3_001


ความสามารถในการคาดการณ์ดีมานด์และซัพพลายที่แม่นยำจะช่วยป้องกันไม่ ให้เกิดความยุ่งเหยิงในการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะช่วงพีคเหมือนอย่างปีที่ผ่าน มาได้หรือไม่


ครึ่งหลังปี 2552 ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความติดขัดเรื่องการขนส่งสินค้า เหตุการณ์นี้เป็นการบ่งบอกว่าขาดการสื่อสารระหว่างผู้ต้องการส่งสินค้า (shippers) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) และสายเรือ (carriers) ส่งผลให้สินค้ามาไม่ตรงกำหนด


ผู้บริหารระดับสูงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ต่าง ออกมาชี้แจงว่า ปัญหาที่ในปีที่ผ่านมากำลังได้รับแก้ไขและป้องกันว่าจะไม่เกิดอีก


Diederick de Vroet รองประธานอาวุโสบริษัท Kuehne+Nagel บริษัทผู้ให้บริการขนส่งทางเรือในภูมิภาคยุโรปเหนือ-ตะวันตกกล่าวว่า ประเด็นที่จะต้องมุ่งเน้นในปีนี้คือ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสายเรือ (carriers) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) และลูกค้า ว่าได้รับการคาดการณ์อย่างถูกต้อง


เขายังกล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทจะให้ความสำคัญกับลูกค้าแต่ละรายเพื่อคาดการณ์ความต้องการ อย่างถูกต้อง โรงงานบางแห่งมีการผลิตสินค้าล่าช้าอยู่บ้าง แต่ถ้าการคาดการณ์เป็นไปอย่างแม่นยำก็จะช่วยทั้งการขนส่งทางอากาศและทางทะเล เป็นไปอย่างราบรื่น


ถึงแม้ว่าผู้ส่งสินค้า (shippers) กำลังประสบปัญหาเรื่องความแม่นยำในคาดการณ์ปริมาณสินค้า แต่พวกเขาพยายามปรับปรุง Tim Scharwathประธานบริษัท Kuehne+Nagel กล่าวว่า ลูกค้าบางรายสามารถคาดการณ์ได้ดีกว่ารายอื่น ถึงแม้ว่าจะมีแหล่งวัตถุดิบที่มาจากโรงงานเดียวกัน การคาดการณ์ถูกต้อง 100% ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จ แต่อยู่ที่การคาดการณ์ล่วงหน้าแปดสัปดาห์ก่อนวันที่ลูกค้าสั่งออเดอร์สินค้า ตามจริง จะทำให้มีเวลาเหลืออีกสี่สัปดาห์ที่สามารถตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับมาแม่น ยำเพียงใด


ผู้บริหารจากบริษัท Kuehne+Nagel แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าในปีนี้การคาดการณ์จำเป็นต้องเน้นในเรื่องการขนส่งทุกภาคส่วน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงการขนส่งติดขัด เหมือนอย่างปีที่แล้วได้


de Vroet เชื่อว่าผู้ส่งสินค้า (shippers) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) และสายเรือ (carriers) ต่างกล่าวหาซึ่งกันและกันในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ในที่สุดบริษัทสายเรือซึ่งเป็นผู้เอาตัวรอดจะเป็นคนรับผิดชอบ “เรื่องทั้งหมดเกิดจากการลดปริมาณการรองรับสินค้าของสายเรือ สายเรือต่างปรับปรุงเรื่องปริมาณการรองรับสินค้าในครึ่งปีหลังปี 2552 แม้ว่าการคาดการณ์จะแม่นยำแต่ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะสายเรือกำลังแสวงผลกำไรก่อนที่จะสูญเงินไป” เขายังกล่าวต่อว่า ปริมาณการรองรับสินค้าจากเอเชียสู่ฝั่งตะวันตกลดลงไปประมาณ 23%


John Pattullo CEO แห่ง CEVA Logistics กล่าวว่าการสื่อสารและการคาดการณ์เป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุงระหว่างผู้ส่ง สินค้า ผู้ขนส่งสินค้า และบริษัทสายเรือ เขาเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่เกิดปัญหาเมื่อปีที่แล้วคือการลดจำนวนเที่ยวการขน ส่งอย่างกะทันหันของสายเรือ


“สายเรือต่างลดปริมาณการรองรับสินค้าลงเนื่องจากประสบปัญหาในครึ่งปี แรก ขณะที่ระดับของดีมานด์ในครึ่งปีหลังมีมากกว่าหลายคนได้คาดการณ์ไว้ จะเรียกได้ว่าเกิดจากการคาดการณ์ที่ไม่แม่นยำก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้คาดการณ์ต่างอยู่ในภาวะจำยอมเหมือนกัน”


สำหรับสถานการณ์การขนส่งทางอากาศเมื่อปีที่แล้ว Scharwathกล่าวว่าเป็นความผิดร่วมกัน “ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์ได้ว่าจำนวนสินค้าจะเพิ่มขึ้นเท่าไร ผู้ส่งสินค้า (shippers) ต่างขอพื้นที่ระวางสินค้า และอัตราค่าระวาง เมื่อจำนวนสินค้ามาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงครึ่งปีหลังโดยเฉพาะไตรมาส สุดท้าย สายการบินตัดการรองรับสินค้าลงเพื่อให้ได้เรตราคาตามกำหนด ส่วนผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) ซึ่งเป็นคนกลางพยายามที่จะสร้างความสมดุลเพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้”


ถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่พอใจเรื่องการรองรับสินค้าและอัตราค่าระวางที่ พวกเขาต้องจ่าย แต่ Scharwath กล่าวว่าผู้ขนส่งสินค้าทางเรือต่างได้รับการแจ้งล่วงหน้าแล้วว่าค่าระวางจะ เพิ่มสูงขึ้น


“การปรึกษาถึงเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น การขนส่งสินค้าทางเรือหรือทางอากาศไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราต้องเปิดเผยกับลูกค้า และบอกพวกเขาว่าค่าระวางที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปีไม่ใช่ราคาที่จะใช้ตลอดทั้ง ปี ซึ่งลูกค้าบางรายก็รับได้ แต่บางรายก็รับไม่ได้”


Scharwath แสดงความคิดเห็นว่าปัญหาเรื่องการรองรับสินค้าในรอบครึ่งปีที่แล้ว ย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (forwarders) และสายเรือ (carriers) “เรามีสัญญาระหว่าง carriers ที่แตกต่างกัน จุดแข็งของเราคือในหลายๆ ปีที่ผ่านมาเราได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสายเรือ ทำให้เราสามารถก้าวหน้าต่อไปได้ในปีนี้ และยังรับประกันได้ว่าจะสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้”


ข้อมูลจาก “Getting the prediction right” by Will Waters, www.ifw-net.com

Tags : ปัญหาการขนส่ง สินค้าล่าช้า ใครคือผู้รับผิดชอบ

view