สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โรคลืมการเขียนตัวอักษร ระบาดในจีน และญี่ปุ่น ยุคเด็กหัวแม่โป้ง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       เอ เอฟพี- สาวน้อย หลี่ ฮั่นเหว่ย เป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวยุคไฮเทคฯในจีน และญี่ปุ่น ที่ต้องท่องจำการเขียนตัวอักษรจีนนับพันๆตัวกันแทบเป็นแทบตายตอนเรียนอยู่ใน โรงเรียน
       
       ในวันนี้ สาว หลี่ นักศึกษาวัย 21 ปี แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง พบว่า เมื่อเธอหยิบปากกาขึ้นมาจะเขียนคำง่ายๆ หน้าตาตัวอักษร หรือคำนั้น ก็กลับหายวับไปจากความทรงจำของเธอ “ฉันจำรูปทรงมันได้ราวๆ แต่ก็จำขีดต่างๆของคำนี้ไม่ได้”
       
       ในช่วงที่ผ่านมา ในจีนมีการสำรวจหลายชุดเพื่อยืนยันปรากฎการณ์ดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า “โรคความจำเสื่อมในการเขียนตัวอักษร” หรือ “โรคลืมการเขียนตัวอักษร” โรคฯนี้กำลังแพร่ระบาดในประเทศจีน จนเกิดกระแสวิตกอนาคตของระบบการเขียนแบบเก่า
       
       ในประเทศจีน ได้เรียก ปรากฎการณ์นี้ว่า “ถีปี่หวั่งจื้อ” / 提笔忘字 ซึ่งแปลตามตัวว่า “หยิบปากกา แล้วก็ลืมตัวอักษร”
       
       ในเดือนเม.ย. ไชน่า ยูธ เดลี่ ได้สำรวจปรากฎการณ์ดังกล่าว ที่ยิ่งนับวันแพร่ระบาดหนัก ก็พบว่า 83 เปอร์เซนต์ของผู้ตอบ 2,072 คน ยอมรับว่า พวกเขามีปัญหาการเขียนตัวหนังสือจีน
       
       คนรุ่นหนุ่มสาวในญี่ปุ่น ก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้เช่นกัน โดยปํญหานี้ เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบการพิมพ์พยัญชนะ

ชายจีนในกรุงปักกิ่งกำลังส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์มือถือวันที่ 20 ส.ค. (ภาพเอเอฟพี)

       ในที่สุด หลี่ก็ยอมรับว่าขณะนี้เธอต้องพึ่งโทรศัพท์มือถือลูกเดียวในการเขียนคำต่างๆ “เมื่อฉันจำไม่ได้ ก็หยิบโทรศัพท์มือถือออกมา ค้นหา และก็อปปี้ คำๆนั้นออกมา”
       
       เจิง หมิง วัย 22 ปี ในมณฑลกว่างตง บอกว่า “ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาของคนหนุ่มสาว หรืออย่างน้อยก็เป็นปัญหาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์”
       
       “มันไม่ผิดอะไร กับการลืมวัฒนธรรมของตัวเอง” เจิง กล่าว
       
       โรคลืมการเขียนตัวอักษรเกิดจากการที่ชาวจีนหันมาใช้ระบบพิมพ์พยัญชนะ อิเล็คทรอนิกในระบบพินอิน ซึ่งแปลงตัวอักษรจีนเป็นอักขระโรมัน โดยผู้ใช้จะพิมพ์พยัญชนะ และระบบก็จะให้ชุดตัวอักษรคำที่มีเสียงพ้องกันมาให้เลือก ซึ่งผู้ใช้จะจำหน้าตาคำที่ต้องการได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนคำนั้นได้
       
       ตัวอักษร และคำในภาษาจีนนั้น ซับซ้อน จนครั้งหนึ่ง ท่านประธานเหมา เจ๋อตง พูดกับนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน เอ็ดการ์ สโนว์ เมื่อปี 2479 ว่า “ไม่ช้า ก็เร็ว เราเชื่อว่าพวกเราจะต้องทิ้งตัวอักษรกัน ถ้าต้องการสร้างสังคมวัฒนธรรม ที่ฝูงชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่”
       
       ในที่สุด เหมาก็แก้ปัญหาโดย สร้างตัวอักษรจีนแบบย่อ สร้างมาตรฐานการเขียนตัวอักษรจีนใหม่ในแผ่นดินใหญ่
       
       วิคเตอร์ แมร์ (Victor Mair) อาจารย์ด้านภาษาและวรรณกรรมจีน มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย บอกว่า การลืมตัวอักษร เป็นส่วนหนึ่งของ “ขั้นตอนตามธรรมชาติในวิวัฒนาการ”

Tags : โรคลืมการเขียนตัวอักษร ระบาดในจีน ญี่ปุ่น ยุคเด็กหัวแม่โป้ง

view