สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แร้งทึ้งโกงลดหย่อนภาษี งบประมาณแก้ไขน้ำท่วม

จาก โพสต์ทูเดย์

นํ้าท่วมฉับพลันทั่วทุกภาคของประเทศ ก่อให้เกิดการตื่นตัวของประชาชนที่จะช่วยกันทั้งบริจาคเงินและสิ่งของให้กับ ผู้ประสบภัย โดยในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่เข้ามามีบทบาท แต่เอกชนกลับเข้ามามีบทบาทมากกว่า ทำให้รัฐต้องกลับมาคิดว่า หากผู้บริจาคเงินให้เอกชนช่วยผู้ประสบภัยนั้นไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ตอบแทน ก็คงจะไม่สนับสนุนคนทำดี

โดย...ทีมข่าวการเงิน

 

นํ้าท่วมฉับพลันทั่วทุกภาคของประเทศ ก่อให้เกิดการตื่นตัวของประชาชนที่จะช่วยกันทั้งบริจาคเงินและสิ่งของให้กับ ผู้ประสบภัย โดยในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้นที่เข้ามามีบทบาท แต่เอกชนกลับเข้ามามีบทบาทมากกว่า ทำให้รัฐต้องกลับมาคิดว่า หากผู้บริจาคเงินให้เอกชนช่วยผู้ประสบภัยนั้นไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ตอบแทน ก็คงจะไม่สนับสนุนคนทำดี

ว่าแล้วคณะรัฐมนตรีก็มีมติเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ให้ประชาชนและนิติบุคคลที่บริจาคเงินและสิ่งของสามารถนำเงินบริจาคมาหักลด หย่อนภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ มีผลสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.นี้ โดยผู้บริจาคเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านศูนย์ความช่วยเหลือต่างๆ สามารถนำยอดไปใช้หักลดหย่อนได้ตามจริง

นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การหักลดหย่อนภาษีนั้น ประชาชน คือบุคคลธรรมดา ที่เสียภาษีตาม ภ.ง.ด.9 นั้น จะหักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะที่บริจาคเงินช่วยเหลือเป็นเงินสดเท่านั้น แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

และหน่วยงานที่ไปบริจาคจะต้องมายื่นเรื่องที่กรมสรรพากรให้ถูกต้องว่าได้ รับอนุญาตให้เป็นผู้รับบริจาคเงินได้ หากไปบริจาคกับหน่วยงานที่กรมสรรพากรไม่รับรองก็หักลดหย่อนภาษีไม่ได้

สำหรับกรณีของนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน สามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินที่บริจาคนำมาหักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค

นอกจากนี้ กรณีทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษีแวต โดยไม่ถือเป็นการขาย ด้านผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้นๆ

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้ รับจากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือน ก.ย.-ธ.ค.นี้ ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธ.ค. ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดในภายหลัง

แนวทางการขอหักลดหย่อนภาษีที่ชัดเจนออกมาแล้ว แต่คำถามต่อมาที่น่าจะวิเคราะห์ก็คือ จะมีการรั่วไหลของการขอคืนค่าลดหย่อนภาษีเงินได้หรือไม่

เพราะแค่ในสถานการณ์ปกติยังพบว่ามีการโกงภาษีโดยการสำแดงใบกำกับภาษีปลอมมากมาย สร้างความเสียหายปีละหลายร้อยล้านบาท

ฉะนั้น กรณีให้หักค่าลดหย่อนภาษีนี้ คาดว่าจะมีรายการมั่วเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ยืนยันว่าองค์กรที่จะเป็นคนกลางรับบริจาคจะต้องมาจดทะเบียนกับกรมสรรพากรให้ ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นประชาชนไปบริจาคเงินก็หักลดหย่อนภาษีไม่ได้

นอกจากนั้น พื้นที่ที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วม จะมามั่วขอหักลดหย่อนภาษีไม่ได้ กรมสรรพากรอาจจะต้องกำหนดเป็นโซนๆ ที่ได้รับสิทธิหักลดหย่อนภาษีและโซนที่ไม่ได้หักลดหย่อนภาษี

สำหรับคนที่บริจาคเงินไปก่อนที่เกณฑ์ของ ครม.จะออกมา ทางกรมสรรพากรจะให้มีผลย้อนหลังเพื่อไม่ให้เสียประโยชน์

อย่างไรก็ดี แม้อธิบดีกรมสรรพากรจะมองโลกในแง่ดีว่า จะไม่มีการโกงการหักค่าลดหย่อนภาษี แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่มีพวกฉวยโอกาส

แหล่งข่าวจากรมสรรพากร กล่าวว่า การโกงภาษีนั้นจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการสมยอมระหว่างผู้ให้และผู้รับ เช่น มูลนิธิรับบริจาคเงินมาเพียง 1 หมื่นบาท แต่ออกใบเสร็จว่าได้รับเงินบริจาค 1 แสนบาท เป็นต้น ซึ่งก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ เพราะมูลนิธิไม่ต้องถูกตรวจสอบภาษีและสามารถเอาใบเสร็จอะไรก็ได้มาแสดงเป็น ค่าใช้จ่าย

แต่เรื่องนี้ทางกรมสรรพากรก็ไม่เป็นห่วงเพราะการโกงภาษีทำไม่ได้เยอะ เนื่องจากทางกรมสรรพากรจะมีสถิติการบริจาคของบุคคลธรรมดาอยู่ เช่น หากเคยบริจาคปีละ 5 หมื่นบาท แต่จู่ๆ ก็งอกออกมาบริจาคเป็น 2 แสนบาท ก็จะต้องสอบถามว่าความเป็นมาของการบริจาคเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ดี ทางกรมสรรพากรก็ไม่เคยเก็บสถิติว่า การหักลดหย่อนเงินบริจาคและขอคืนภาษีเป็นจำนวนเท่าใด

สำหรับนิติบุคคลนั้น กฎหมายระบุว่านิติบุคคลจะสามารถหักภาษีได้เพียง 2% ของกำไรสุทธิ ดังนั้นได้แค่ไหนก็แค่นั้น

“การยืนยันว่าจะไม่มีการมาโกงภาษีเป็นไปไม่ได้ คนเสียภาษีมีเป็นล้านคนก็อาจจะมีการรั่วไหลออกไปบ้าง แต่คงไม่มากจนน่าเป็นห่วง นอกจากนี้การบริจาคนี้เป็นการทำบุญร่วมทุกข์ร่วมสุขของคนในชาติ ไม่ควรจะมาโกงกัน” แหล่งข่าวกล่าว

การยอมรับของกรมสรรพากรว่าไม่อาจยืนยันว่าจะไม่มีการมามั่วขอลดหย่อนภาษี นั้น แสดงให้เห็นว่าการมั่วอาจจะมีเกิดขึ้นแน่นอน และหากตรวจสอบไม่ทั่วถึงก็คงจะจับไม่ได้

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวกล่าวว่า การโกงการขอหักลดหย่อนภาษีนั้น นับแล้วยังเล็กน้อยกว่าการคอร์รัปชันงบประมาณของรัฐที่ใช้ในเรื่องน้ำท่วม ที่มีข่าวว่ามีการหักหัวคิวถึง 30% ตรงนั้นเงินรั่วไหลมากกว่า และน่าเกลียดกว่า เนื่องจากหากินกับความเดือดร้อนของประชาชน

“สื่อและประชาชนควรจะเอาใจใส่ติดตามการใช้เงินงบประมาณมากกว่าจะมาจับตาดูการโกงการหักลดหย่อนภาษีที่เป็นเงินเล็กน้อย” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งการโกงงบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือการโกงการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ หากเกิดขึ้นก็สร้างความเสียหายแก่รัฐและประเทศไม่แพ้กัน เพราะเงินที่หายไปควรจะนำไปพัฒนาประเทศ ไม่ใช่นำไปเข้ากระเป๋าของใคร โดยเฉพาะนักการเมือง ไม่งั้นก็ถือว่าล้มเหลวในเจตนาช่วยเหลือประชาชน

นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้เสนอมาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และผู้บริจาคเงินสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้เดือดร้อน ให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาและอนุมัติแล้ว ถือเป็นมาตรการที่ใช้และได้รับการกลั่นกรองอย่างครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายแล้ว ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้หักลดหย่อนหรือหักค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดขึ้นในระหว่างภัยพิบัติได้ และเป็นมาตรการชั่วคราว มีผลสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.ที่จะถึงนี้ โดยผู้บริจาคเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านศูนย์ความช่วยเหลือต่าง ๆ สามารถนำยอดไปใช้หักลดหย่อนได้ตามจริง

ส่วนทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) โดยไม่ถือเป็นการขาย สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับการยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย ไม่ต้องนำไปคำนวณ เพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้น ๆ ด้านบุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัยเมื่อได้รับความช่วยเหลือ หรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น มีรายได้ 100,000 บาท แต่เสียหายจากน้ำท่วม 30,000 บาท ให้ยื่นแสดงรายได้เสียภาษีเพียงแค่ 70,000 บาท

“กรมสรรพากรให้หักลดหย่อนภาษีได้เต็มตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคผ่านหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชนโดย กรณีเงินบริจาค ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้จ่ายเงินหรือโอนเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดโดย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นตัวแทนรับเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท. หรือกองทุนภาคเอกชน เป็นต้น สามารถนำเงินบริจาคนั้นหักลดหย่อนได้ตามจริง รวมกับเงินบริจาคอื่น ๆ ด้วย แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว”

ผู้บริจาคที่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคนำมาหักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค นอกจากนี้กรณีทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษีแวต โดยไม่ถือเป็นการขาย ด้านผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้นๆ

บุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัย เมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงิน/ทรัพย์สินที่ได้รับจริงเพื่อการนี้ รวมถึงกรณีที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐก็ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้ด้วย รวมทั้งผู้รับบริจาคหรือผู้รับเงินชดเชยจากภาครัฐที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่ประสบอุทกภัย ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้นเช่น เดียวกัน

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้ รับจากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือนก.ย.ธ.ค. นี้ ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธ.ค.ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดในภายหลัง

Tags : แร้งทึ้ง โกง ลดหย่อนภาษี งบประมาณ แก้ไขน้ำท่วม

view