สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดผลวิจัยเด็ก43%โดนรังแกผ่านโลกออนไลน์

จาก โพสต์ทูเดย์

เด็กรังแกกันใครว่าเรื่องเล็ก? ผู้ใหญ่หลายๆคนอาจมองว่าเป็นเรื่องขี้ปะติ๋วแต่สำหรับผู้ถูกกระทำเองคงไม่ คิดแบบนั้นด้วยเพราะการถูกรังแกนอกจากสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและบั่นทอน จิตใจแล้ว เด็กยังเพาะบ่มความรุนแรงในจิตใจ เป็นการสร้างพฤติกรรมใช้ความรุนแรงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เรื่อง...วิทยา ปะระมะ

ยิ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีปัจจุบันเชื่อมร้อยคนทั้งโลกผ่านมือถือและอิน เทอร์เน็ต รูปแบบการรังแกหรือแกล้งกันก็พัฒนาตามไปด้วยจากเดิมที่เด็กอาจล้อเลียนเขียน จดหมายด่าหรือข่มขู่คุกคามกัน ก็หันไปส่งข้อความรังควาญ โพสต์ด่าผ่านเฟสบุ๊ค หรือหนักกว่านั้นก็ปลอมตัวเป็นคนอื่นไปโพสต์ขายบริการทางเพศหรือเอาเรื่อง ลับๆคนอื่นมาประจานให้เสียหาย

น.ส.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ อาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคนหนึ่งที่สนใจรูปแบบการข่มเหงรังแกกันของเยาวชนในโลกออนไลน์และทำการ วิจัยเรื่อง “ทัศนคติและพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย” ซึ่งพบว่ามีข้อมูลหลายๆตัวที่น่าสนใจและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนหรือผู้ปกครองควรใส่ใจ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอสนใจทำวิจัยหัวข้อดังกล่าวเพราะว่ามีเด็กผู้หญิง ที่รู้จักคนหนึ่งถึงกับต้องลาออกจากโรงเรียนเพราะถูกเพื่อนบางคนไปโพสต์ใน อินเทอร์เน็ตว่าเธอขายบริการทางเพศจนอับอายจนต้องย้ายที่เรียนทั้งๆที่ไม่ ได้มีพฤติกรรมแบบนั้นแต่อย่างใด

“การข่มเหงรังแกผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรืออินเทอร์เน็ตหรือCyber bullying เป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับสังคมไทย เวลาไปพูดเรื่องนี้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานด้านพัฒนาสังคมยังไม่ค่อยมีคน รู้จักคำๆนี้เลย แต่อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กเพราะสิ่งเหล่านี้คือความรุนแรงและสามารถพัฒนา ไปสู่ความรุนแรงอื่นๆ”วิมลทิพย์กล่าว

ในหัวข้อการวิจัยแบ่งรูปแบบการรังแกในโลกไซเบอร์ไว้ 7 แบบประกอบด้วย 1.การนินทาด่าทอผู้อื่นผ่านมือถือ ห้องสนทนาหรือเว็บไซต์ 2.การส่งข้อความก่อกวนผู้อื่นผ่านมือถือ อีเมล์หรือเว็บไซต์ซ้ำๆกัน 3.การนำข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียไปเผยแพร่ทางมือถือหรืออินเทอร์เน็ต

4.การนำข้อมูลส่วนตัวหรือความลับผู้อื่นไปส่งต่อทางมือถือหรืออิน เทอร์เน็ต 5.การแอบอ้างชื่อผู้อื่นไปให้ร้าย ด่าทอทางมือถือหรืออินเทอร์เน็ต 6.การล้อเลียน ข่มขู่คุกคามผู้อื่นผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ 7.การลบหรือบล็อกผู้อื่นออกจากกลุ่ม สร้างข่าวลือหรือทำให้เกิดกระแสต่อต้านผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ต

และจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 12-24 ปี จำนวน 2,500 คน พบว่าเยาวชน 43.1% ยอมรับว่าเคยถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการนินทาด่าทอหรือถูกส่งข้อความก่อกวนทางโทรศัพท์มือถือ อีเมล์และเว็บไซต์

โดยผู้ถูกรังแก 19.8% เลือกที่จะเล่าให้เพื่อนฟัง ขณะที่ 1.9% เลือกที่จะเล่าให้ครูฟังและ 4.9% เล่าให้ผู้ปกครองฟังหมายความว่ามีครูและผู้ปกครองน้อยมากที่ทราบว่ามีการ รังแกในลักษณะนี้เกิดขึ้น

“มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น เด็กในเขตกทม.ที่ทำ Cyber bullying เป็นเด็กที่เรียนดีทั้งนั้นเลย หน้าใสๆกันทั้งนั้นแต่มีด้านมืดคือการใช้โลกไซเบอร์ไปทำร้ายคนอื่นหรืออัตรา ส่วน Cyber bullying ของเด็กอาชีวะมีมากกว่าเด็กที่เรียนสายสามัญ ส่วนหนึ่งเข้าใจว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันพุ่งไปที่เรื่องของความรุนแรงอยู่ แล้วด้วย”วิมลทิพย์กล่าว

โดยหากแยกรายละเอียด พบว่านักเรียนสายอาชีวะศึกษามีอัตราการรังแกผู้อื่นมากกว่านักเรียนสายสามัญ แบ่งเป็น 17.1% ยอมรับว่าเคยส่งข้อความก่อกวนผู้อื่นผ่านเว็บไซต์ (สายสามัญ12.6%), 11.1% เคยเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้คนอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงผ่านมือถือหรืออิน เทอร์เน็ต (สายสามัญ6.1%)

10.4% เคยเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวหรือความลับผู้อื่น (สายสามัญ6.7%), 10.1% เคยแอบอ้างชื่อผู้อื่นไปให้ร้ายด่าทอต่างๆ(สายสามัญ6.2%),10.5% เคยล้อเลียนข่มขู่คุกคามผู้อื่น(สายสามัญ6.0%) และ 12.7% เคยลบหรือบล็อกผู้อื่นออกจากกลุ่ม สร้างข่าวลือหรือทำให้เกิดกระแสต่อต้านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(สาย สามัญ10.9%) ขณะที่นักเรียนสายสามัญมีการนินทา ด่าผ่านมือถือหรือเว็บไซต์มากกว่านักเรียนสายอาชีวะคือ 21.3% (สายอาชีวะ 18.1%)

หรือหากดูที่อัตราส่วนผู้ถูกรังแกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและมือถือ นักเรียนสายอาชีวะก็มีอัตราการถูกรังแกมากกว่าสายสามัญคือ  22.7% เคยถูกส่งข้อความก่อกวนผ่านเว็บไซต์ (สายสามัญ19.9%), 14.7% เคยถูกเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง(สายสามัญ8.5%), 14.1% เคยถูกเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว(สายสามัญ8.8%)

11.7% เคยถูกแอบอ้างชื่อไปให้ร้ายด่าทอต่างๆ(สายสามัญ9.7%), 15.1% เคยถูกล้อเลียนข่มขู่คุกคาม(สายสามัญ12.5%) และ 15.3% เคยถูกลบหรือบล็อกผู้อื่นออกจากกลุ่ม สร้างข่าวลือหรือทำให้เกิดกระแสต่อต้านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(สาย สามัญ12.9%) ส่วนนักเรียนสายสามัญถูกนินทาด่าทอผ่านมือถือหรือเว็บไซต์มากกว่านักเรียน สายอาชีวะคือ 26.7%  (สายอาชีวะ 22.7%)

“อัตราส่วนการรังแกผู้อื่นจะมีสัดส่วนระหว่างเพศหญิงและชายพอๆกัน แต่นักเรียนหญิงจะด่าหรือโพสต์ข้อความในลักษณะทางเพศ เช่น โพสต์ว่าคนนั้นคนนี้ขายตัว โพสต์ข้อความให้ร้ายในเชิงชู้สาว ส่วนผู้ชายจะด่าทอในเรื่องเกี่ยวกับการเอาความลับคนอื่นมาเผยแพร่และพัฒนาไป สู่การใช้ความรุนแรงทางกายภาพในที่สุด” วิมลทิพย์กล่าว

หน.โครงการวิจัยฯย้ำว่าเรื่องในลักษณะนี้เพิกเฉยไม่ได้เพราะจะพัฒนาเป็น ความรุนแรงทางกายภาพในที่สุด ที่สำคัญผู้ปกครองต้องใส่ใจโลกไอทีให้มากขึ้น แค่พ่อแม่ซื้อมือถือให้ลูกแค่ 1 เครื่องก็หมายความว่ามีภาระในการกำกับดูแลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 อย่าง ไม่ใช่แค่ซื้อแล้วก็จบๆกันไป

“อย่างน้อยที่สุดก็ต้องพยายามทำให้คนเป็นพ่อแม่รู้ว่ามันมีความรุนแรงบน โลกไซเบอร์และช่วยกันใส่ใจ แค่เรื่องความรุนแรงทางการเมืองและระเบิดต่างๆก็กลายเป็นสิ่งที่คนเริ่มเคย ชินกับมันแล้ว สังคมไทยต้องตั้งคำถามว่าเราจะปล่อยให้ความรุนแรงบนโลกไซเบอร์กลายเป็นความ รุนแรงปกติในชีวิตประจำวันไปอีกเรื่องหนึ่งหรือ?”วิมลทิพย์กล่าวทิ้งท้าย

Tags : เปิดผลวิจัย เด็ก โดนรังแก ผ่านโลกออนไลน์

view