สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

3 บิ๊กเนม ทีดีอาร์ไอ สังเคราะห์ ศก.-การเมืองไทย ยังเป็นทรงพีระมิด

3 บิ๊กเนม ทีดีอาร์ไอ สังเคราะห์ ศก.-การเมืองไทย ยังเป็นทรงพีระมิด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“อัมมาร” แนะภาครัฐเร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทาง ศก.คนระดับล่าง “นิพนธ์” มองการเมืองเปลี่ยน กระทบ ศก.เล็กน้อย “โฆสิต” เชื่อยุบพรรค ปชป.ไม่น่ากังวล คาดปี 54 จีดีพีโตได้ 4%
       
       นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนา “การลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ” โดยระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมาไทยให้ความสำคัญพึ่งพาการส่งออก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะหวังสร้างรายได้ และการดูแลแรงงาน จึงพยายามรักษาค่าเงินบาทให้อ่อนค่า แต่ยังมีการกดค่าจ้างแรงงานให้อยู่ระดับต่ำ ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎีที่สมบูรณ์ และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีพื้นฐานที่ยั่งยืนได้
       
       นายอัมมาร กล่าวว่า ควรจะมีการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อพัฒนาตลาดในประเทศด้านการส่งเสริมความรู้แหล่งทุนให้กับผู้ประกอบการ โดยเห็นสอดคล้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยเน้นย้ำลดการพึ่งพาการส่งออก เพื่อหันมาดูแลเอสเอ็มอีในประเทศ แต่เพียงประกาศนโยบายจากนั้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลอื่นก็ไม่มีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนดูแล
       
       นอกจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะแม้จะมีงบประมาณด้านการศึกษาสูงมาก แต่ยังไม่สามารถเพิ่มค่าจ้างแรงงานให้สอดคล้องกับคุณภาพของค่าแรงได้ เพราะในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยของระดับประถม ถึงอุดมศึกษา เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 และยอมรับว่า อุตสาหกรรมของไทยยังหวังพึ่งแรงงานราคาถูกในปริมาณสูงมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
       
       ขณะที่ นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองเกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น จะต้องเร่งลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนระดับล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยการดำเนินนโยบายเร่งด่วนในการปฏิรูปประเทศ ไทย เพื่อยกระดับคนระดับล่างให้กินดีอยู่ดีและขยับขึ้นมาเป็นคนชนชั้นกลางในที่ สุด
       
       โดยรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการใน 3 ด้าน คือ การจัดระบบสวัสดิการให้เท่าเทียมกัน เพราะปัจจุบันระบบประกันสุขภาพมีทั้งรูปแบบข้าราชการ การประกันสังคมของพนักงานบริษัท และการประกันสุขภาพทั่วหน้าของประชาชนทั่วไป แต่คุณภาพการบริการยังมีความแตกต่างกัน จึงต้องเร่งทำทั้ง 3 ระบบให้เท่าเทียมกันด้วยการปฏิรูประบบภาษี เพราะหากหารายได้จากภาษีในช่วง 20 ปีข้างหน้าให้เติบโตประมาณร้อยละ 4-5 ก็จะมีเงินปฏิรูประบบต่างๆ โดยไม่ต้องกู้เงินจากแหล่งใด
       
       ขณะเดียวกัน ควรมีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนฐานความรู้ เพื่อยกระดับแรงงานที่จบการศึกษาชั้นมัธยมให้เป็นกลุ่มคนระดับกลางได้ เพื่อสร้างฐานคนระดับล่างให้มีโอกาสทางด้านการศึกษาให้สามารถเข้าถึง ทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม เพราะยอมรับว่าการจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องการเช่าที่ดินและเก็งกำไร เพราะนำไปจัดสรรให้คนรวย ผู้มีอำนาจ ไม่ถึงมือเกษตรกรที่ใช้ที่ดินอย่างแท้จริง และการดูแลผู้ประกอบการขนาดย่อมให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานโครงสร้างหลักและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้น ฐานของประเทศ
       
       ประธานทีดีอาร์ไอ ยอมรับว่า ผู้มีอายุ 10-25 ปี ในปี 2552 มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยต่อหัวระดับผู้เรียนจบมัธยมปลาย 4,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้จบมหาวิทยาลัยมีรายได้ 7,500 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ต่ำนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะมีช่องว่างค่าจ้างเฉลี่ยของผู้จบปริญญาตรีกับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มขึ้นจาก 1 เท่าในปี 2529 เป็น 1.5 เท่าในปี 2552 สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีอยู่สูง
       
       ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ตนเองยังเชื่อมั่นระบบประชาธิปไตยของไทย ว่า มีความมั่นคง เพราะแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองก็คงมีผลกระทบเพียงระยะสั้นเท่านั้น เพราะระยะปานกลางและระยะยาวยังมีรัฐบาลบริหารดูแลดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ แม้ผลจะการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร จะมีผู้ที่พอใจและไม่พอใจ จึงอยากให้ทุกฝ่ายใช้สติไม่ใช้ความรุนแรงต่อการพิจารณาคดี
       
       นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพิจารณาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า คดียุบพรรคประชาธิปัตย์นับว่าเป็นการพิจารณาคดีตามกติกาของระบบ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามกรอบสังคมที่กำหนดขึ้นร่วมกัน จึงไม่น่าเป็นห่วง
       
       นายโฆสิต กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องรับฟังด้วยเหตุผลจากการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้น การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจึงไม่น่าสะดุด และคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีหน้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 4

 


 

ทีดีอาร์ไอ แนะรัฐ ยกระดับคนระดับล่างให้กินดีอยู่ดีและขยับขึ้นมาเป็นคนชนชั้นกลาง

จากประชาชาติธุรกิจ

ดร.   อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนา “การลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ” ว่า ในช่วงที่ผ่านมาไทยให้ความสำคัญพึ่งพาการส่งออก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะหวังสร้างรายได้และการดูแลแรงงาน จึงพยายามรักษาค่าเงินบาทให้อ่อนค่า แต่ยังมีการกดค่าจ้างแรงงานให้อยู่ระดับต่ำ ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎีที่สมบูรณ์และเป็นการส่ง เสริมเศรษฐกิจให้มีพื้นฐานที่ยั่งยืนได้    

ดร.   อัมมาร กล่าวว่า ควรจะมีการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อพัฒนาตลาดในประเทศด้านการส่งเสริมความรู้แหล่งทุนให้กับผู้ประกอบการ โดยเห็นสอดคล้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยเน้นย้ำลดการพึ่งพาการส่งออกเพื่อหันมาดูแลเอสเอ็มอีในประเทศ แต่เพียงประกาศนโยบายจากนั้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลอื่นก็ไม่มีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนดูแล         นอกจากนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะแม้จะมีงบประมาณด้านการศึกษาสูงมาก แต่ยังไม่สามารถเพิ่มค่าจ้างแรงงานให้สอดคล้องกับคุณภาพของค่าแรงได้ เพราะในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยของระดับประถมถึงอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 2.8 และยอมรับว่าอุตสาหกรรมของไทยยังหวังพึ่งแรงงานราคาถูกในปริมาณสูงมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร      

ขณะที่นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองเกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น จะต้องเร่งลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนระดับล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยการดำเนินนโยบายเร่งด่วนในการปฏิรูปประเทศ ไทย เพื่อยกระดับคนระดับล่างให้กินดีอยู่ดีและขยับขึ้นมาเป็นคนชนชั้นกลางในที่ สุด โดยรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการใน 3 ด้าน คือ การจัดระบบสวัสดิการให้เท่าเทียมกัน เพราะปัจจุบันระบบประกันสุขภาพมีทั้งรูปแบบข้าราชการ การประกันสังคมของพนักงานบริษัท และการประกันสุขภาพทั่วหน้าของประชาชนทั่วไป แต่คุณภาพการบริการยังมีความแตกต่างกัน จึงต้องเร่งทำทั้ง 3 ระบบให้เท่าเทียมกันด้วยการปฏิรูประบบภาษี เพราะหากหารายได้จากภาษีในช่วง 20 ปีข้างหน้าให้เติบโตประมาณร้อยละ 4-5 ก็จะมีเงินปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยไม่ต้องกู้เงินจากแหล่งใด    

ขณะเดียวกัน ควรมีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนฐานความรู้ เพื่อยกระดับแรงงานที่จบการศึกษาชั้นมัธยมให้เป็นกลุ่มคนระดับกลางได้ เพื่อสร้างฐานคนระดับล่างให้มีโอกาสทางด้านการศึกษาให้สามารถเข้าถึง ทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม เพราะยอมรับว่าการจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการเช่า ที่ดินและเก็งกำไร เพราะนำไปจัดสรรให้คนรวย ผู้มีอำนาจ ไม่ถึงมือเกษตรกรที่ใช้ที่ดินอย่างแท้จริง และการดูแลผู้ประกอบการขนาดย่อมให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานโครงสร้างหลักและเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้น ฐานของประเทศ      

ประธานทีดีอาร์ไอ ยอมรับว่าผู้มีอายุ 10-25 ปี ในปี 2552 มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยต่อหัวระดับผู้เรียนจบมัธยมปลาย 4,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้จบมหาวิทยาลัยมีรายได้ 7,500 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ต่ำนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะมีช่องว่างค่าจ้างเฉลี่ยของผู้จบปริญญาตรีกับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มขึ้นจาก 1 เท่าในปี 2529 เป็น 1.5 เท่าในปี 2552 สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีอยู่สูง


 

ทีดีอาร์ไอ ชี้เศรษฐกิจไทย ยังวังวนปัญหาความเหลื่อมล้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

ทีดีอาร์ไอ ชี้เศรษฐกิจไทย ยังวังวนปัญหาความเหลื่อมล้ำ แนะรัฐจัดระบบสวัสดิการแบบเท่าเทียม 

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ  กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2553 หัวข้อ "การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ" ที่จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่เกิดจาก   1.นโยบายภาครัฐเพิ่มช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สะท้อนจากหลายนโยบาย เช่น การให้สิทธิพิเศษ มีการแบ่งเค้กก้อนโตให้นายทุน และการคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง เพื่อให้คนรวยสามารถกวาดเงินเข้ากระเป๋า

ขณะที่ 2. การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทำให้เกิดการจ้างงานที่ประสิทธิภาพ ทำให้เกิดแรงงานนอดระบบมาก ทำให้มีผู้ที่เสียภาษีน้อย ฐานภาษีแคบ และมีการลดหย่อนภาษีอย่างไม่เป็นธรรม , 3. การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเจริญในอดีตยังไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่มีการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม และ 4. ไทยยังขาดการจัดสวัสดิการพื้นฐาน สะท้อนจากยังมีแรงงานอนกระบบอีกเป็นจำนวนมาก  สวัสดิการของรัฐที่มีอยู่ก็ยังไม่ถึงมือประชาชนที่ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง สำหรับเรื่องที่สำคัญที่สุดในอนาคตคือ ปัญหาเรื่องโอกาสทางด้านการศึกษา และการฝึกอบรม มีผลต่อการพัฒนาเรื่องระดับรายได้ที่สูงขึ้น

"เศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา ต้องถือว่ารุดหน้าไปมาก ประเทศมีความมั่งคั่งขึ้น และคนยากจนก็ลดลง แต่ปัญหาขณะนี้ไม่ใช่เรื่องความยากจนอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องคุณภาพของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับประเทศแถบ ลาตินอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลกระทบ เป็นปัญหาทางการเมืองบั่นทอนประเทศจนทุกวันนี้ " นายโฆสิตกล่าว


ทีดีอาร์ไอถอดรหัส แก้เศรษฐกิจเหลื่อมล้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ชำแหละสารพัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจในงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2553 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

โดย...ทีมข่าวการเงิน

อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า แนวคิดการปรับค่าจ้างแรงงานของรัฐบาลนั้น ควรทำมากกว่าแค่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแค่ 10 บาท เพราะหากค่าจ้างขั้นต่ำสูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้นหากจะให้ดี ควรดูแลค่าเงินบาทให้ต่ำไว้ เพื่อจะขึ้นค่าแรงให้มากขึ้นได้

อัมมาร

แต่สิ่งที่รัฐบาลทำมาตลอดคือ นโยบายสองต่ำ คือค่าเงินบาทต่ำ และค่าแรงต่ำ ทั้งที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพาภาคการส่งออก เพราะมีสัดส่วนในจีดีพีถึง 70% แต่การส่งออกจะต้องเริ่มทำให้เป็นการส่งออกที่ใช้ขีดความสามารถของไทยเองมาก ขึ้น ไม่ใช่ใช้ความรู้ของฝรั่ง และใช้แรงงานพม่า

โดยการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขาดทุนทางบัญชีมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับ ผลขาดทุนที่จะเกิดขึ้น

“เงินทุนไหลเข้าขณะนี้เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนอย่างเข้มงวดทุกประเภท ยกเว้นการลงทุนโดยตรง” อัมมาร กล่าว

โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่เกิดจาก 1.นโยบายภาครัฐเพิ่มช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สะท้อนจากหลายนโยบาย เช่น การให้สิทธิพิเศษมีการแบ่งเค้กก้อนโตให้นายทุน และการคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้คนรวยสามารถกวาดเงินเข้ากระเป๋า

2.การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทำให้เกิดการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดแรงงานนอกระบบมาก ทำให้มีผู้ที่เสียภาษีน้อย ฐานภาษีแคบ และมีการลดหย่อนภาษีอย่างไม่เป็นธรรม 3.การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเจริญในอดีตยังไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่มีการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

และ 4.ไทยยังขาดการจัดสวัสดิการพื้นฐาน สะท้อนจากยังมีแรงงานนอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก สวัสดิการของรัฐที่มีอยู่ก็ยังไม่ถึงมือประชาชนที่ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง

สำหรับเรื่องที่สำคัญที่สุดในอนาคตคือ ปัญหาเรื่องโอกาสทางด้านการศึกษา และการฝึกอบรม มีผลต่อการพัฒนาเรื่องระดับรายได้ที่สูงขึ้น

“เศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา ต้องถือว่ารุดหน้าไปมาก ประเทศมีความมั่งคั่งขึ้น และคนยากจนก็ลดลง แต่ปัญหาขณะนี้ไม่ใช่เรื่องความยากจนอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องคุณภาพของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับประเทศแถบ ละตินอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลระทบ เป็นปัญหาทางการเมืองบั่นทอนประเทศจนทุกวันนี้” โฆสิต กล่าว

ด้าน นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม คือ การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานที่เหมาะสมกับอัตภาพของประเทศ และมีวินัยทางการคลัง แต่นโยบายการกระจายรายได้อย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

การปฏิรูปจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจสองด้าน ทั้งในระดับมหภาค ซึ่งควรจะเน้นการพัฒนาที่เพิ่มพูนความมั่งคั่งของประเทศ โดยนำประโยชน์ที่ได้จากการเติบโตกระจายสู่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนฐานล่าง ให้มากที่สุด ขณะเดียวกันในด้านจุลภาค นโยบายการพัฒนาควรจะเป็นการสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจให้กับคนฐานล่าง เพื่อให้คนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ดีกินดี สามารถยกระดับขึ้นเป็นคนชั้นกลางได้ในที่สุด

ที่ผ่านมา ทีดีอาร์ไอเสนอแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำ 3 แนวทางที่สำคัญ คือ 1.ต้องจัดระบบสวัสดิการให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และต้องมีความยั่งยืนด้วย ซึ่งปัจจุบันระบบสวัสดิการด้านสุขภาพของไทยมี 3 ระบบ คือ ของข้าราชการ ประกันสังคม และบัตรทอง โดยปัจจุบันยังไม่เท่าเทียมกัน

2.ต้องทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 4-5% ต่อปี ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพื่อรักษาระดับรายได้ของประเทศให้เพียงพอต่อการจ่ายสวัสดิการ โดยไม่ต้องก่อหนี้ รวมถึงต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างภาษีด้วย และ 3.ต้องเพิ่มโอกาสให้กับคนฐานล่าง ทั้งด้านการศึกษาที่ต้องพัฒนาด้านคุณภาพ การเข้าถึงฐานทรัพยากร และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ดิลก ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษากับแนวโน้มค่าจ้างในประเทศไทยว่า ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษานำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างในอนาคต

โดยในช่วงปี 2529-2552 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยแรงงานไทยเพิ่มจาก 5.31 ต่อปี เป็น 8.15 ต่อปี ในช่วง 24 ปี สัดส่วนแรงงานที่จบระดับประถมต้นหรือต่ำกว่าลดลงจาก 68% ในปี 2529 เป็น 31% ในปี 2552 สัดส่วนแรงงานที่จบระดับ ม.6 และระดับปริญญาเพิ่มขึ้นมากที่สุดจาก 4.48% และ 2.75% ในปี 2529 เป็น 13.31% และ 11.79% ในปี 2552

โดยพบว่าผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เสียเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม หรือครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ หรือพ่อแม่มีการศึกษาต่ำจะมีโอกาสในการศึกษาระดับอุดมศึกษาน้อย และมีความเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน

รวมทั้งพบว่าผู้ที่จบระดับปริญญาตรีจะมีรายได้ประมาณ 7,500-8,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษามีรายได้ 4,500 บาทต่อเดือน หรือสูงกว่าเกือบ 1.7 เท่า

Tags : 3 บิ๊กเนม ทีดีอาร์ไอ สังเคราะห์ ศก. การเมืองไทย ทรงพีระมิด

view