สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นายกรัฐมนตรีไทย ถูกฟ้องปมสัญชาติอังกฤษ!

นายกรัฐมนตรีไทย ถูกฟ้องปมสัญชาติอังกฤษ!


พันธมิตรฯกดดัน รัฐบาลก็ไม่เบา แดงนปช.ม็อบเดือนละ2หนจนแกนนำได้ปล่อยตัว ทั้งแสบยื่นฟ้องต่อศาลไอซีซีเอาผิด"นายกอภิสิทธิ์" ปมถือสัญชาติอังกฤษ!
"ผมสัญชาติไทย ถือเกิดที่โน่นครับ"
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ซึ่งซักต่อว่า ท่านได้สละสัญชาติอังกฤษแล้วใช่หรือไม่? นายกอภิสิทธิ์ ไม่ตอบ เลี่ยงเดินขึ้นรถไปออกจากรัฐสภาไปทำเนียบทันที (11 ก.พ.54)

เรื่องของเรื่อง คือ นปช.ร่วมกับ สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ยื่นฟ้องเอาผิดนายกอภิสิทธิ์ กรณีสั่งสลายการชุมนุมระหว่างเดือน เม.ย. ถึง พ.ค.2553 เป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต 91 คน บาดเจ็บจำนวนมาก ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (The International Criminal Court’s Statue : ICC) ณ เมืองเรงเก้ เมืองบริวาร กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

31 ม.ค.54 นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม แถลงข่าวกับสื่อมวลชนในญี่ปุ่น ถ่ายทอดวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ มาห้องแถลงข่าวห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว ล่ามแปลภาษาไทย พอสรุปได้ดังนี้ ;

"เมื่อ 30 มกราคม ได้ยื่นคำร้องกว่า 100 หน้ากระดาษต่ออัยการประจำศาลไอซีซี ให้พิจารณา ตามมาตรา 17 ( 2 เอ, ซี) ของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ นายโรเบิร์ตได้ยกเรื่องการถือสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ประกอบการร้อง ด้วย ภายใต้กฎบัญญัติของศาลสามารถดำเนินคดีได้ทันทีกับผู้ถือสัญชาติของประเทศ อังกฤษที่ลงสัตยาบัน ซึ่งกฎหมายอังกฤษให้ถือว่าผู้เกิดในประเทศอังกฤษได้สัญชาติอังกฤษ...แม้ขอ ไม่ใช้สัญชาติอังกฤษก็ต้องดูวันขอถอนสัญชาติอังกฤษ หลังเกิดเหตุฆ่าประชาชนหรือไม่..."

พรรคฝ่ายค้านรับลูก...แซะเก้าอี้
วัน ที่ 2 ม.ค. นายอดิศร ปกมนตรี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร (ประธาน กมธ. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย) สรุปความว่า;

"แม้ประเทศไทยได้ร่วมลงนามความตกลงปี 2541 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี แต่ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันยืนยันพันธะ และต้องรอขั้นตอนตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน จึงไม่ถือว่าไทยเป็นรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ และเขตอำนาจเหนือคดีของศาลไอซีซี จึงไม่ผูกพันกับไทย...ประเด็นเรื่องสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ แม้จะเกิดประเทศอังกฤษ แต่ก็ไปจดสูติบัตรที่สถานทูตเพื่อเป็นสัญชาติไทยแล้ว เอกสารการเดินทางต่าง ๆ ก่อนอายุ 20 ปีที่ต้องเลือกสัญชาติตามกฎหมายไทยก็เป็นเอกสารของไทยทั้งหมด อีกทั้งเมื่อเข้ารับราชการก็บ่งบอกสัญชาติไทย และถ้าศาลไอซีซีรับฟ้อง ต้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดมาช่วยคดี เพราะนายกฯถือเป็นบุคลากรของรัฐ"

วันถัดมา นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์ สรุปว่า... "ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีของศาลไอซีซี ส่วนเรื่องสัญชาตินายอภิสิทธิ์ ไม่เกี่ยวกัน ศาลจะดูเฉพาะเนื้อหาที่ฟ้องไปเท่านั้น"

ต่อมา 9 ก.พ. คณะกรรมาธิการ การกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร(ประธานกมธ. นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ) เชิญรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ มาชี้แจง แต่มอบให้ นางสุพรรณวงษา โชติกญาณ ถัง ที่ปรึกษากรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มาชี้แจงแทน สรุปได้ว่า;

"...ไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญากรุงโรม เป็นประเทศแรก ๆ แต่ปัจจุบันติดข้อกฎหมายของไทยหลายประการ จึงยังไม่สามารถลงสัตยาบันได้ ไทยจึงยังไม่เป็นภาคี หากมีการทำความผิดในดินแดนรัฐภาคี รวมถึงผู้ทำผิดเป็นผู้มีสัญชาติในประเทศภาคี ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีเขตอำนาจเหนือผู้นั้น...กรณียื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ อัยการศาลไอซีซีเมื่อพิจารณาถ้ามีข้อมูลเพียงพอก็จะเริ่มกระบวนการสืบสวนสอบ สวน ถ้าไม่มีมูลก็ไม่เริ่มคดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายจะเอาคดีไปสู่ศาลไอซีซีได้...กรณีเกิดใน คองโก้ เคนย่า ซูดาน เป็นต้น เป็นคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมมวลมนุษย์ มีการฆ่าอย่างทรมาน การฆ่าเชลยศึก เช่น อิรักบุกคูเวต ซึ่งประเทศไทยไม่น่าจะเข้าข่ายประเทศเหล่านี้"

ที่ปรึกษากรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กล่าวด้วยว่า การเกิดคดีอาชญากรรมถ้าเกิดที่ประเทศไหน ประเทศนั้นต้องทำการเยียวยาในประเทศก่อน โดยศาลไอซีซีไม่มีอำนาจมาก้าวล่วง ถ้าการเยียวยานั้นๆ ดำเนินคดีตามหลักกฎหมายแล้ว ศาลไอซีซีจะไม่มีอำนาจดำเนินคดี...คนถูกดำเนินคดีไปแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่ดำเนินการซ้ำซ้อนอีก

คำถามจาก กมธ. ในข้อเท็จจริงนายอภิสิทธิ์สละสัญชาติโดยการเกิดหรือยัง นางสุพรรณวงษา ตอบว่า ไม่ทราบ แต่ถ้าจะสละต้องไปสละสัญชาติที่กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ...การค้นข้อมูลจะ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่จะมีหนังสือแจ้งมาทางกระทรวงการต่างประเทศให้ตรวจสอบ จึงจะทำได้

ข้อกฎหมายระหว่างประเทศและกรณีศึกษา
ข้อ ความต่อไปนี้ เป็นข้อกฎหมายระหว่างประเทศที่บังคับใช้ และกรณีศึกษาเคยเกิดขึ้นในโลกนี้ ซึ่งผู้รู้กฎหมายได้จัดทำไว้เป็นวิทยาทานแก่คนไทย
บทบัญญัติที่ 17 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ;
[Article 17
        Issues of admissibility
        1. Having regard to paragraph 10 of the Preamble and article 1, the Court shall determine that a case is inadmissible where:
             (a) The case is being investigated or prosecuted by a State which has jurisdiction over it, unless the State is unwilling or unable genuinely to carry out the investigation or prosecution;
        2. In order to determine unwillingness in a particular case, the Court shall consider, having regard to the principles of due process recognized by international law, whether one or more of the following exist, as applicable:
             (a) The proceedings were or are being undertaken or the national decision was made for the purpose of shielding the person concerned from criminal responsibility for crimes within the jurisdiction of the Court referred to in article 5;
             (c)The proceedings were not or are not being conducted independently or impartially, and they were or are being conducted in a manner which, in the circumstances, is inconsistent with an intent to bring the person concerned to justice.]

แปลเป็นไทยได้ความว่า;
[บทบัญญัติที่  17
           ปัญหาของการรับคำร้องไว้พิจารณา
           1.เมื่อนำวรรคที่สิบของคำปรารภ และบทบัญญัติที่ 1 มาพิจารณาร่วม ศาลจะวินิจฉัยว่าคดีนั้น ไม่สมควรรับไว้พิจารณาเป็นคดีในศาลก็ต่อเมื่อ ;
                   (a) เมื่อคดีนั้นได้รับการสอบสวนหรือฟ้องคดีโดยรัฐ (อาจหมายถึงรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญานี้ด้วย) ที่มีเขตอำนาจศาลเหนือคดี, เว้นแต่ว่ารัฐ (รัฐคู่ภาคีสนธิสัญญานี้ด้วย) ไม่เต็มใจ หรือไม่สามารถอย่างแท้จริง ที่จะดำเนินการสอบสวนคดี หรือฟ้องคดี;
            2. กรณีจะวินิจฉัยว่า เกิดความไม่เต็มใจในคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะได้เกิดขึ้นแล้ว, ศาลจะต้องพิจารณาว่า, เมื่อได้นำเอาหลักการว่าด้วย การต้องปฏิบัติตามครรลองของกฎหมาย อันเป็นที่ยอมรับกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ, ไม่ว่าจะมีอยู่ดังต่อไปนี้แม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดมาพิจารณาบังคับใช้แก่คดี:
                (a) เมื่อการพิจารณา (หรือกระบวนพิจารณาคดี) ได้กระทำไป หรือได้ดำเนินการไป หรือคำวินิจฉัยของศาลในชาติ ได้วินิจฉัยไปโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องมีความรับผิดในทางอาญา ที่อยู่ในเขตอำนาจเหนือคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่อ้างถึงตามบทบัญญัติที่ 5;
                (c) กระบวนพิจารณาคดีไม่ได้กระทำ หรือ ไม่กระทำโดยเป็นไปอย่างอิสสระและเที่ยงธรรม และกระบวนพิจารณานั้น ได้ดำเนินกระบวนพิจารณา หรือดำเนินกระบวนพิจารณาในลักษณะ, โดยสภาพ, ที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่จะให้บุคคลเกี่ยวข้องดังกล่าวได้รับความ ยุติธรรมตามกฎหมาย (ตามครรลองแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ) ]
             กรณีการฟ้องนายกอภิสิทธิ์เรื่องสัญชาติอังกฤษนั้น ตามกฎหมายสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ให้ถือว่าผู้เกิดในประเทศอังกฤษได้สัญชาติอังกฤษทันที ถ้าเป็นการได้สัญชาติตามหลักดินแดนหากผู้นั้นเกิดหลัง ค.ศ.1971 (2514) และที่เกิดในช่วงเวลาก่อน ค.ศ.1981 (2524) แม้การสละสัญชาติอังกฤษ (ขอยกเลิกสัญชาติอังกฤษ) ก็ต้องดูวันที่ขอสละสัญชาติอังกฤษกับ กระทรวงมหาดไทย (Home Secretary) เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการเหตุการณ์ช่วงเมษา-พฤษภา 2553

ตอนนี้ไม่มีใครตัดสินได้ว่าจะ รับหรือไม่ยอมรับคำฟ้อง กรณีนายอภิสิทธิ์ฯนายกรัฐมนตรีไทย และจนกว่าจะได้เอกสารการสละสัญชาติเสียก่อนจากกระทรวงมหาดไทยอังกฤษ

ส่วนเรื่องเขตอำนาจเหนือคดีของศาลไอซี ซี (The ICC Court’s Jurisdiction) ในเรื่องนี้ต้องพิจารณาภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีหลักเกณฑ์สูงสุดเรียกว่า "Jus Cogens" หรือข้อห้ามขาด ที่รัฐใดรัฐหนึ่งในโลกนี้ต้องยึดถือปฏิบัติ (The State - Practiced) ก็คือ ;
สิ่ง ที่คัดลอกจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์สหรัฐอเมริกา เขตดิสตริค ออฟ โคลัมเบีย ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีในปัญหาข้อกฎหมายอย่างศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา (The Supreme Court) ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญในตัวเอง ในคดีระหว่าง Hanoch TEL-OREN (แฮนน็อค เทล-โอเร็น) โจทก์อุทธรณ์กับพวก ปรปักษ์กับสาธารณรัฐอาหรับลิเบีย กับพวกจำเลยผู้อุทธรณ์ (LIBYAN ARAB REPUBLIC, et al.) [ค้นคว้าได้จากหนังสือรวมคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ทางอินเตอร์เน็ต  Open Jurist เล่มที่ 776 หน้าที่ 774 (726 F.2d 774) ] ที่ทำให้โลกที่เจริญแล้วทั้งโลก (the Civilized Nations) ต้องปฏิบัติตาม มีข้อความดังนี้;

[ the RESTATEMENT OF THE LAW OF FOREIGN RELATIONS (REVISED) Sec. 702 (Tent.Draft No. 3, 1982), which enumerates as violations of international law state-practiced, -encouraged or -condoned (a) genocide; (b) slavery or slave trade; (c) the murder or causing the disappearance of individuals; (d) torture or other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment; (e) prolonged arbitrary detention; (f) systematic racial discrimination; (g) consistent patterns of gross violations of internationally recognized human rights. See also Blum & Steinhardt, Federal Jurisdiction over International Human Rights Claims: The Alien Tort Claims Act after Filartiga v. Pena-Irala, 22 HARV.INT'L L.J. 53, 90 (1981) (focusing on genocide, summary execution, torture and slavery as core human rights violations). I, of course, need not determine whether each of these offenses in fact amounts to a law of nations violation.]

แปลเป็นภาษาไทยคงได้ความว่า:
[ ข้อบัญญัติที่ย้ำยืนยันทางกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ปฏิบัติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ที่ทบทวนแล้ว)
มาตรา 702 (ต้นร่างฉบับที่ 3, ค.ศ.1982 ), ซึ่งได้บัญญัติถึงการที่รัฐมีประเพณีปฏิบัติของรัฐเองที่ละเมิดต่อกฎหมาย ระหว่างประเทศ, - เสริมส่ง (สนับสนุน) หรือ - ได้ให้อภัยแก่การกระทำดังต่อไป ( a ) การล้างเผ่าพันธุ์ ; ( b ) การเอาคนลงเป็นทาส และการค้าทาส; ( c ) การฆาตกรรม หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลสาบสูญ; ( d ) การกระทำโดยทรมาน หรือการกระทำโดยโหดร้ายในประการอื่นๆ , การกระทำที่ผิดมนุษย์มนา หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ลดค่าความเป็นมนุษย์ลง;
( e ) การเอาคนไปกักขังโดยผิดกฎหมายตามอำเภอใจอย่างยาวนาน; ( f ) การแบ่งแยกเผ่าพันธุ์มนุษย์อย่างเป็นระบบ; ( g ) การละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิมนุษยชนที่นานาประเทศให้การยอมรับต่อสิทธิดัง กล่าวอย่างเป็นรูปแบบที่ต่อเนื่อง. ให้ศึกษาว่าด้วยในเรื่องที่ บลัม และ สไตน์ฮาร์ด, ได้เขียนไว้ในบทความ เขตอำนาจของสหรัฐ(ศาล) อันเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายกรณีสิทธิมนุษยชนนานาชาติ :

รัฐบัญญัติอันเป็นผลเนื่องจากการ เรียกร้องค่าเสียหายของชนต่างด้าวภายหลังคดี "ฟิลลาติก้า คู่ปรปักษ์กับ อิน่าพิลาล่า" ตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายระหว่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด เล่มที่ 22 หน้าที่ 53, 90 (ค.ศ.1981) ( ศึกษาเฉพาะเจาะจงเรื่อง การล้างเผ่าพันธุ์, การประหัตประหารคนโดยวิธีการรวบลัด, การทรมาน และการเอาคนลงเป็นทาส ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการละเมิดสิทธิมนุษยชน), ผม(ผู้พิพากษา)จึงไม่จำต้อง วินิจฉัยว่า ความผิดอันมีลักษณะเหล่านี้ในทางความเป็นจริง มีผลเป็นการละเมิดต่อกฎหมายแห่งนานาชาติอย่างแน่นอน. ]

จากข้อความข้างต้น ความผิดอันมีคุณลักษณะตามที่ได้นำมาแสดงนี้ทั้ง 7 ลักษณะจึงเป็นข้อห้ามขาดสูงสุด ห้ามมิให้รัฐที่เจริญแล้วนำมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือข้อห้ามสูงสุดสำหรับรัฐทุก ๆ รัฐในโลกให้ปฏิบัติ

คำว่า “บุคคล” ความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันมิได้หมายถึง รัฐ (State) หรือประเทศแต่เพียงอย่างเดียว นับแต่คดี Tel-Oren ได้รับการวินิจฉัยมาแต่ ค.ศ.1982 คำว่า “บุคคล” ในกฎหมายระหว่างประเทศ ให้หมายรวมถึงบุคคลธรรมดา ๆ ทั้งหลายในรัฐ ผู้ใช้อำนาจรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐด้วย ( NON - STATE ACTOR)

ที่จริงแล้วสหประชาชาติ ยอมรับหลักการนี้มาร่วม 44 ปีแล้ว ให้ดูกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิในทางการเมือง ค.ศ.1966 (พ.ศ.2509) บัญญัติเรื่องเหล่านี้ไว้ มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ.1976 ประเทศไทยประกาศขอเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญานี้ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) มีผลบังคับประเทศไทยเดือนมกราคม พ.ศ.2540

ประเด็นสัญชาติอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ แม้จะเกิดประเทศอังกฤษ แต่ก็ไปจดสูติบัตรที่สถานทูตเพื่อเป็นสัญชาติไทยแล้ว ออกเอกสารหนังสือเดินทางก่อนอายุ 20 ปีที่ต้องเลือกสัญชาติ(ตามกฎหมายไทย) ก็เป็นเอกสารของไทยทั้งหมด เมื่อรับราชการก็บ่งบอกสัญชาติไทย...
แต่ความเป็นคนมีสัญชาติอังกฤษก็มิได้สิ้นสุดลง เพราะการกระทำดังกล่าว นอกเสียจากขอสละสัญชาติอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ หลักการได้สัญชาติอังกฤษ ยังเกิดแต่การอยู่อาศัยในประเทศอังกฤษต่อเนื่องเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปอีกด้วย ประเด็นสำคัญ คือ นายอภิสิทธิ์อยู่ในอังกฤษมาตลอดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีหรือไม่

เพื่อให้เห็นแจ้งในเรื่องนี้ ผู้สนใจต้องไปค้นพระราชบัญญัติของสหราชอาณาจักร เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 1) The British Nationality and Status of Aliens Act 1914, 2) The British Nationality Act 1948, 3) The Immigration Act 1971, 4) the British Nationality Act 1981, 5) the Nationality, Immigration and Asylum Act 2002 และ 6) Borders, Citizenship and Immigration Act 2009

รวมตลอดถึง European Union law ซึ่งสหราชอาณาจักร ประกาศไว้ตาม Declaration by the United Kingdom on 31 December 1982 on the definition of the term “nationals” กับสหภาพยุโรป ในฐานะอังกฤษสังกัดกลุ่มสหภาพยุโรป(EU)

และสหภาพยุโรป ก็เป็นภาคีสนธิสัญญากรุงโรม ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย กฎหมายต่างๆ และหลักการข้างต้น นี่เองจะเป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาการถือสัญชาติอังกฤษของนายกรัฐมนตรี ไทย คนปัจจุบัน

หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า ยังถือสัญชาติอังกฤษ อัยการศาลไอซีซีก็จะพิจารณาว่าจะเข้าตามเกณฑ์การกระทำจีโนไซด์หรือการทรมาน ตามบัญญัติไว้หรือไม่ต่อไป

นี่ยังไม่พูด จะส่งผลถึงสิทธิการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ตามรัฐธรรมนูญไทยได้หรือไม่? การปกปิดสัญชาติ เป็นความผิดตามกฎหมายไทย ฉบับใด มาตราใด?

อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นย้ำว่า ขั้นตอนนี้เป็นเพียงทนายฝรั่งรับจ้างงานของ"ทักษิณ ชินวัตร" บิ๊กเสื้อแดง ยื่นคำร้องต่ออัยการศาลไอซีซีเพื่อรับไว้พิจารณาสอบสวนเท่านั้น ยังไม่ขึ้นสู่ชั้นศาลแต่อย่างใด.

*หมายเหตุ: การมีหรือการถือสัญชาติอังกฤษ อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จาก www.wikipedia.org หัวข้อ British Nationality Law


'วรวัจน์'ปูด 'อภิสิทธิ์' ถือ 2 สัญชาติ

Tags : นายกรัฐมนตรีไทย ถูกฟ้อง ปมสัญชาติอังกฤษ

view