สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดใจ! อานันท์ เหตุผลลาออก กก.ปฏิรูป

เปิดใจ!'อานันท์'เหตุผลลาออก กก.ปฏิรูป



"อานันท์"อ้างมารยาท เหตุผล"ลาออก"จากกก.ปฎิรูป ตามรัฐบาล ระบุ 'ความไม่ยุติธรรม' คือ ปัญหาใหญ่ของสังคมไทย

 นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) เปิดใจเตรียมเสนอพิมพ์เขียววางกรอบ 'ปฏิรูป' ก่อนประกาศลาออกหลังรัฐบาลยุบสภาตาม 'มารยาท' เตือนสติสังคมไทยอย่ากลัว "การปฏิรูป" และยอมรับ "การเปลี่ยนแปลง" ระบุ 'ความไม่ยุติธรรม' คือ ปัญหาใหญ่ของสังคมไทย มีรายละเอียดดังนี้ คือ

@ การทำงานในช่วงที่ผ่านมาของคณะกรรมการปฏิรูปมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร
 ไม่ ว่าจะทำงานอะไรก็มีอุปสรรคทั้งนั้น ผมว่าเรื่องนี้มันอยู่ที่วิธีคิดของคนมากกว่า และผมเองเป็นคนมองโลกในแง่ดี ไม่มีปัญหากับการมีอุปสรรค หรือถ้ามีก็จะบอกว่า ยังคิดไม่ออกว่าจะข้ามพ้นไปได้อย่างไร ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีว่าอะไรที่เป็นปัญหาที่สร้างด้วยคน คนก็น่าจะแก้ได้ แต่คนๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผม หรือคณะกรรมการปฏิรูป เพราะคณะกรรมการปฏิรูปไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ที่จะเข้ามาแล้วตรัสรู้ได้เลยว่า ตรงนั้น ตรงนี้คือปัญหา
 วิธีการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป คือ พิจารณาว่าสิ่งที่เป็นปัญหานั้น เป็นปัญหาจริงหรือไม่ ถึงแม้เราจะคิดว่าเป็นปัญหาจริง แล้วมันเป็นเฉพาะกลุ่มเราหรือไม่ หรือเป็นทั้งสังคม ถ้าเป็นปัญหาของสังคมจริงๆ ก็ต้องดูว่ามีเหตุมาจากอะไร
 เรื่อง การปฏิรูปเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมในขั้นพื้นฐาน ไม่เช่นนั้นก็จะเรียกว่าการปรับปรุง แต่เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการปฏิรูป จะต้องมีอะไรที่กระทบกระเทือนถึงพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทางด้านโครงสร้าง หรือวิธีคิดก็ดี ฉะนั้นเรื่องนี้จึงยากกว่า การปรับปรุง
 ในช่วง 2-3 เดือนแรก คปร.ได้ประชุมหารือถึงต้นเหตุของปัญหา สุดท้ายค้นพบว่าต้นเหตุอยู่ที่ความไม่ยุติธรรมของสังคม ตอนแรกๆ เราคิดว่าต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่ความเหลื่อมล้ำ แต่จริงๆ แล้วความเหลื่อมล้ำ มันมาจากความไม่ยุติธรรม เมื่อความยุติธรรมไม่มีเราจึงต้องสร้างความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นเราจึงเริ่มแก้ไขปัญหาจากความไม่ยุติธรรมในสังคม แต่เราก็ไม่ได้ฝันหวานว่าจะสร้างประเทศไทยให้มีความยุติธรรมเท่าเทียมกันหมด มันเป็นไปไม่ได้ เราอาจจะใช้คำว่าลดความไม่ยุติธรรมหรือสร้างความยุติธรรมให้มันทัดเทียมกัน มากขึ้น


@ คิดว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมไทยคืออะไร
 จาก การหารือพูดคุยกับบุคคลต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ประชาชน กลุ่มนักคิด พบว่าปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันที่หนักหน่วงที่สุด เมื่อพูดออกไปแล้วคนที่อยู่ในแขนงนั้นรู้สึกกระทบโดยตรง และคนที่ไม่อยู่ในแขนงนั้นรู้ว่าเป็นเรื่องจริง คือ ปัญหาของเกษตรกร ตั้งแต่เด็กเราเล่าเรียนมาว่าเกษตรกรเป็นสันหลังของชาติ ปัจจุบันก็ยังเป็นสันหลังอยู่ ไม่ได้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเลย อย่าลืมว่าเมืองไทยเป็นเมืองเกษตร ชาวนาเป็นสันหลังของชาติ แต่ชาวนาก็ยังเป็นสันหลังอยู่ ไม่ได้เป็นคนขึ้นมาเลย   ปัจจุบัน เกษตรกรรายย่อยก็น้อยลงไป พื้นที่ทำมาหากินส่วนตัวก็น้อยลง รายได้ไม่ได้สูงขึ้น
 ในสังคมไทย 60 ปีที่ผ่านมา เราเห็นความทะเยอทะยานของคนเยอะแยะในกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการผลิต ธุรกิจการค้า ขณะนี้ทุกภาคส่วนเจริญเติบโต หากินคล่องตัว มีรายได้มากขึ้น แต่ชาวนาก็ยังเป็นชาวนา ชาวไร่ก็ยังคงเป็นชาวไร่ สาละวันเตี้ยลง เสร็จแล้วหนี้ก็พอกพูนเข้ามา และก็มีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก เราจึงเลือกทำเรื่องการเกษตรก่อน


@ คปร.วางกรอบการแก้ปฏิรูปในภาพรวมอย่างไร
 เรา หวังจะเป็นงานชิ้นสุดท้ายก่อนที่เราจะหมดหน้าที่ ตรงนี้จะเป็นข้อเสนอในภาพรวมทั้งหมด โดยภาพคร่าวๆ คือ จะเริ่มจากความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ และประเด็นปัญหาที่แยกออกแขนงต่างๆ โดยจะชี้ให้เห็นถึงภาพกว้างๆ ทั้งหมด เพื่อฝากไว้ให้สังคมเข้ามาต่อยอดกัน อันไหนที่พูดได้เราก็พูด อันไหนที่พูดไม่ได้ ก็ทิ้งประเด็นไว้


@ หวังว่ารัฐบาลจะรับข้อเสนอของ ครป.หรือไม่
 รับ หรือไม่รับ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเราเสนอต่อสาธารณชน และสิ่งที่เราเสนอก็ไม่ได้ตั้งใจว่าประชาชนจะรับหรือไม่รับ เราต้องการให้ประชาชนตระหนัก และเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ที่เราเสนอ เพราะข้อมูลที่เราให้มีมากกว่าข้อเสนอ ต้องการให้เกิดการเสวนาซึ่งกันและกัน เพื่อให้ประชาชนสนใจกับกระบวนการปฏิรูป เมื่อประชาชนสนใจและอ่านข้อเสนอของคณะกรรมการแล้ว เขาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่ใช่เรื่องใหญ่ อาจจะนำไปศึกษาต่อ เพิ่มพูนความรู้ ขยายกระบวนทัศน์ของคนแต่ละคน เมื่อคนมีกระบวนทัศน์มากขึ้น ก็จะมีการพูดจากันมากขึ้น มีเวทีเปิด เวทีปิด ทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นกิจวัตรธรรมดาของสังคมไทยที่พูดถึงเรื่องปฏิรูป คือพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลง


@ สังคมไทยตื่นตัวกับความเปลี่ยนแปลงหรือไม่
 การ เปลี่ยนแปลงมันมีมาตลอดเวลา แม้แต่เมืองไทยเองมันก็เกิดขึ้นมาเสมอ แต่หลายครั้งหลายคราวที่มีการนำคำว่าปฏิรูปมาใช้ มันไม่ได้ทำให้เกิดการปฏิรูปจริงๆ เช่น เมื่อมีการรัฐประหารครั้งหนึ่งแล้วตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมา ซึ่งผมเองก็มองไม่ออกวิธีการรัฐประหารเพื่อมาปฏิรูปเป็นอย่างไร
 ต้อง เข้าใจว่าการปฏิรูปไม่ใช่เรื่องน่ากลัว สิ่งที่ต้องใส่ใจ คือ ต้องทำให้วิธีคิดของสังคมไทยเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะข้อมูล ข้อเท็จจริง สถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นจึงอย่าไปกลัวกับคำว่าปฏิรูป และอย่าไปคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นการไปแย่งอำนาจกลับคืนมา เลิกคิดถึงเรื่องพวกนั้นได้แล้ว


@ ของไทยเองก็พยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น
 ที่ผ่านมาของเราไม่ได้กระจายอำนาจ แต่เป็นการเอาหน่วยงานกลางย้ายไปอยู่ในภูมิภาค ไปอยู่ในจังหวัด แต่ยังเป็นหน่วยงานกลางอยู่


@ หลังจากเสนอเรื่องการถือครองที่ดิน รัฐบาลตอบรับอย่างไร
 เท่า ที่ดูหลายสิ่งรัฐบาลรับไป ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน หรืออะไรต่างๆ อาจจะมีปัญหาบ้างตรงการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกินครัวเรือนละ 50 ไร่ ซึ่งหลักคิดของ คปร.เกี่ยวกับการจำกัดการถือครองที่ดิน 50 ไร่ คือ เพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะธุรกิจภาคการเกษตรขณะนี้ไม่มีความเป็นธรรม ซึ่งตรงนี้ต้องดูว่าการทำการเกษตรในลักษณะโรงงาน กับการทำการเกษตรในลักษณะเกษตร
 แต่ไม่ใช่ว่าเราคัดค้านสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะทำอะไรให้คำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ สัญญาที่ตกลงกันและวิธีการไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบ มันก็นำไปสู่การผูกขาดในแต่ระยะของกระบวนการผลิต ซึ่งการผูกขาดก็เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงพูดในเรื่องหลักการและวิธีคิด เราไม่ได้ไปว่าใคร หรือ สิ่งนั้นผิดสิ่งนี้ถูก


@ คนคาดหวังว่าข้อเสนอ คปร.จะนำไปปฏิบัติได้จริง
 ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าเราไม่มีอำนาจในการบริหารและเราบอกอยู่ตลอดเวลาว่าเราไม่ใช้กลไกของรัฐ และการที่นายกฯแต่งตั้งนายอานันท์ก็เป็นเพียงแต่ระเบียบการเท่านั้น เสร็จแล้วผมก็มาลงนามตั้งคนอื่น ซึ่งมันไม่ใช่กลไกของรัฐ


@ รัฐบาลยุบสภา คปร. ยังทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่
 ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปมีวาระ 3 ปี แต่ถ้าจะมีเลือกตั้ง โดยมารยาท เราก็ต้องเปิดโอกาสให้รัฐบาลใหม่มีความอิสระในการตัดสินใจว่าจะมีคณะกรรมการ ปฏิรูปหรือไม่มี ถ้ามีจะเป็นรูปแบบเดิมหรือไม่ แม้ว่าตามระเบียบสำนักนายกฯจะกำหนดให้เราอยู่ได้ถึง 3 ปี ถ้าเราจะอยู่ต่อก็อยู่ได้ แต่นิสัยคนไทย ถ้าเราอยู่ต่อก็จะบอกว่าหน้าด้านอยู่ต่อไปได้อย่างไร ถ้าเราบอกว่าเราต้องให้เกียรติกับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามา เพื่อให้มีความอิสระที่จะตั้งหรือไม่ตั้ง ก็จะบอกว่าเราทิ้งงาน นี่คือวิธีคิดของสังคมไทย แล้วจะไปไหนกัน ถ้าคิดกันแบบนี้ลำบาก


@ พอใจกับกระแสตอบรับในเรื่องปฏิรูปหรือไม่
 ตอน แรกรู้สึกว่าคนไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีข้อเสนอแนะที่จับต้องได้ คนก็เริ่มวิพากษ์วิจารณ์กันในระดับที่ผมพอใจ ปัญหาคือไม่ใช่ทำเฉพาะสัปดาห์นี้แล้วหายไปอีก 3 สัปดาห์ ปัญหาคือจะทำอย่างไร ให้มีความต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ สุดท้ายการปฏิรูปจะอยู่ที่สังคม สังคมจะเคลื่อนหรือไม่เราเพียงจุดประกาย ยกประเด็นให้ถูกต้อง ยกคำถามให้ถูกต้อง เสนอส่วนหนึ่งของคำตอบ แต่คำตอบทั้งหมดก็อยู่ที่สังคม


@ ทำไมคณะกรรมการไม่แตะในเรื่องการเมือง
 การ ปฏิรูปมีหลายสิ่งหลายอย่าง ถึงแม้ว่าเราอยากจะทำหลายเรื่อง ถ้าจะปฏิรูปเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ ก็จะต้องเอาคนที่รู้เรื่องนั้นๆ มา 15-20 คนมานั่งคิดร่วมกัน ถ้าถามว่าจะปฏิรูปการเมือง ก็ต้องมองด้วยว่าเราจะทำในประเด็นไหน มันมีเยอะแยะเลย และรัฐบาลก็มีคนทำอยู่แล้ว

Tags : เปิดใจ อานันท์ เหตุผลลาออก กก.ปฏิรูป

view