สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ล้วงที่ประชุม กกต. เหตุใดต้องรับรอง จตุพร

จาก โพสต์ทูเดย์

อินไซด์ที่ประชุม กกต. กับข้อกฎหมายที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก่อนรับรอง "จตุพร" เป็นส.ส. 

โดย....นิติพันธุ์ สุขอรุณ

การประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้พิจารณากรณีของนายจตุพร พรหมพันธ์ ผู้สมัครสส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และมีความเห็นว่านายจตุพร ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่

ด้านข้อกฎหมาย ที่ประชุมได้หยิบยกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ,(2) อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ,(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ,(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

มาตรา 101 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ,(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ,(3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาต้องเป็นสมาชิกพรรคการ เมืองใดพรเรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ฝ่ายกฎหมายและฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง ได้เสนอข้อพิจารณาและความเห็นทางกฎหมายในที่ประชุม ไว้ตามลำดับดังนี้

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. ตามรธน. มาตรา 101 (3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่กรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

ในประเด็นนี้ นายจตุพร จะขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ และเมื่อใดนั้น เห็นว่า นายจตุพร มีคุณสมบัติครบถ้วนในขณะสมัครรับเลือกตั้งและมีคุณสมบัติครบถ้วนมาโดยตลอด ก่อนถึงวันเลือกตั้ง หากจะมีกรณีที่ทำให้นายจตุพร ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (3) โดยผลของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 20 มาตรา 19 และมาตรา 8 และจะต้องพิจารณาประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 ซึ่งมีองค์ประกอบว่าจะเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือก ตั้ง 

2. ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง สส. มาตรา 100 (1) (2) หรือ (4)

ในประเด็นนี้ ไม่มีข้อต้องพิจารณาว่านายจตุพร มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่แต่ประการใด เพราะบทบัญญัติได้ยกเว้นให้นายจตุพร ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ แม้จะถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล 

3. สนง. กกต. โดย งานด้านบริหารการเลือกตั้ง พิจารณาแล้วเห็นว่าขณะนี้ นายจตุพร ยังเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ต้องร้องขอต่อศาลฎีกาเพื่อเพิกถอนการสมัครของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา  45 พ.ร.ป. การเลือกตั้ง สส. และการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ. 2550 และแก้ไขไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554)

4. กรณีเมื่อถึงวันเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554 และนายจตุพร ยังถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลนั้น สนง. กกต. พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าองค์ประกอบครบถ้วน มาตรา 101 (3) และพ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง แล้วนายจตุพร จะพ้นจากการเป็นสมาชิพรรคเพื่อไทยในวันนั้น

แต่เนื่องจากเกิดในห้วงเวลาดังกล่าว ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจ กกต. หรือศาลฎีกาในการเพิกถอนการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นกรณีที่ กกต.อาจประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแล้วจึงส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาว่าสมาชิกสภาพของ สส. สิ้นสุดลงตาม พ.ร.ป. กกต. มาตรา 10 (11) หรือไม่ 

อย่างไรก็ตาม พ.ร.ป. กกต. มาตรา 10 (11) บัญญัติว่า ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง หรือส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของ รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง

สดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เปิดเผยว่า ความเห็นของฝ่ายกฎหมายและด้านบริหารงานเลือกตั้งของสำนักงานกกต.ได้เสนอกรณี นายจตุพรไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะทำให้ประกาศผลการเลือกตั้งให้เป็นส.ส.ได้ หรือไม่ โดยกกต.จะประกาศรับรองให้นายจตุพรเป็นสส.ไปก่อนพร้อมกับผู้สมัครที่ได้รับ เลือกตั้งรายอื่นๆ ที่ไม่มีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง  ซึ่งขณะนี้มีเรื่องร้องเรียน 236 เรื่อง เมื่อกกต.ตรวจสอบแล้วไม่มีผู้ใดถูกร้องคัดค้านก็สามารถประกาศรับรองได้ภายใน วันที่ 12 ก.ค.นี้

“กรณีของนายจตุพร กกต.จะรับรองให้เป็นส.ส.และจะยื่นเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ของนายจตุพรว่าสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยกกต.จะส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทันที และจะขึ้นอยู่กับประธานสภาฯว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเมื่อใด เนื่องจากในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาไว้” นางสดศรี กล่าว

ส่วนการได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองความเป็นสส. ก็จะได้ตั้งแต่วันที่กกต.ประกาศรับรองการเป็นส.ส.ของนายจตุพร ส่วนการปฏิญาณตนเป็นเพียงพิธีกรรม

ฉะนั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายจตุพร จะสามารถเดินเข้าสู่สภาหินอ่อนได้อย่างสบายใจ เพราะจะมีเอกสิทธิ์ความเป็นสส.คุ้มครองทันที่ และแม้ว่าจะยังถูกจำคุกอยู่ พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีต้องสั่งปล่อยทันที ถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ขอร้อง ตามมาตรา 131 วรรค4

Tags : ล้วงที่ประชุม กกต. เหตุใดต้องรับรอง จตุพร

view