สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาล รธน.ตัดสิน กม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว

(อ่าน 1583/ ตอบ 0)

108acc (Member)

จากประชาชาติธุรกิจ

มติชนออนไลน์ได้เปิดประเด็นและเกาะติด ปัญหาภาษีสรรพากรที่ล้าหลังและไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชาย จากกรณีที่ผู้หญิงมีสามีในการยื่นเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถยื่นได้เอง ต้องนำไปรวมกับสามี ทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น เมื่อเทียบกับหญิงไม่มีสามี หลายกรณีทำให้ผู้หญิงหลายคนแก้ปัญหาด้วยการหย่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะที่กรมสรรพากรก็ทราบปัญหาแต่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย เรื่อง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ(8) ประกอบมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 ประกอบมาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 36/2553)

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรี และ มาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และกำหนดให้เฉพาะภริยาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตามาตรา 57 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยาในกรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่ากรณีของสามีภริยาที่ภริยามีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้หญิงที่มีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าหญิงโสดที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ทั้ง ยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว ชายหญิงจึงไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ที่สมรสกันอยู่แล้วก็ต้องวางแผนภาษีโดยการจดทะเบียนหย่าเพื่อที่จะไม่ต้องนำ เอาเงินได้พึงประเมินของทั้งสองฝ่ายมารวมกันให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง ขึ้น

บท บัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฎิบัต ิโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะบุคคล และมิได้เป็นมาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6

ที่มา : มติชนออนไลน์

________________________________________________________________

สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน


Link: คลิ๊กที่นี่

Lock Reply
view