สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Lean Accounting 4

เทคนิคที่ใช้กับลีน (ต่อ)

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล
ฺB.A.(accounting),H.D.(Auditing)
M.S.(Accounting),CPA_Thailand



11 การปรับเรียบการผลิต
    ทำให้เกิดการไหลของงานอย่างสม่ำเสมอ ราบเรียบ ตลอดช่วงการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ลดความผันแปรในการผลิต กระบวนการนี้จะต้องปรับก่อนใช้คัมบัง เนื่องจากถ้าไม่ราบเรียบ ระบบคัมบังจะไม่เกิดการไหลของงาน การจะผลิตจะผลิตแบบผสมเป็นรุ่นๆ ไม่เป็นจำนวนใหญ่ๆ การจัดลำดับงานจะดูจากน้อยไปมาก จากกระบวนการผลิตแรก ไป กระบวนการผลิตสุดท้ายตามระยะเวลา

12 การผลิตแบบดึง และ คัมบัง
    - ผลิตตามความต้องการของลูกค้า ลูกค้าจะต้องเป็นผู้ดึงงานจากสายการผลิต ไม่ใช้ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งมอบสินค้า
    - แต่ละสถานีการผลิตจะเชื่อมโยงกัน จะทำงานเป็นจังหวะตามความต้องการ
    - การสื่อสารดี / ไม่ซ่อนปัญหา มีการระบุปัญหาอย่างชัดเจน เนื่องจากถ้าทำไม่ได้การผลิตจะต้องหยุด สินค้าคงเหลือจะต่ำ ระยะเวลาการส่งมอบจะต่ำ
คัมบัง คือ บัตรการผลิต จะออกแบบให้เน้นการผลิตเป็น LOT เป็นการทำให้แผนกหลังเบิกงานจากแผนกหน้าได้ เท่ากับจำนวนที่ระบุในคัมบัง และจะระบุความต้องการชัดเจน
ระบบคัมบัง จะมีประสิทธิผลเมื่อ
    ลูกค้าส่งชิ้นงานด้วยจำนวนตามคัมบังที่แน่นอน
    การผลิตจะจัดตามคัมบังที่ได้รับ
    ห้ามผลิต ห้ามเคลื่อนย้ายถ้าไม่มีคัมบัง
    ชิ้นงาน / LOT ต้องมีคัมบังแนบเสมอ
    ชิ้นงานที่เสียจะต้องไม่ถูกส่งไปขบวนการถัดไป
    จำนวนบัตรจะลดลงเพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลัง ทำให้เห็นปัญหาทันทีไม่ต้องรอ


13 ดัชนีวัดผลการปฎิบัติงาน (Performance Metric)
    เพื่อให้ทราบว่า การดำเนินงานต้องบรรลุไปทางใด จะต้องจัดบรรลุเป้าหมาย การวัดที่ดีจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฎิบัติงาน ลักษณะคล้าย KPI ทางบริหาร ตัวชี้วัดที่ดีควรจะ
    1 เฉพาะเจาะจง  ว่าจะวัดอะไร ที่ไหน อย่างเจาะจง ไม่ใช้วัดอย่างกว้างๆเมื่อวัดแล้วยังมีคำถามตามมาอีกมากมาย
    2 วัดผลได้จริง เกิดการติดตามผล โปร่งใส เกิดกำลังใจในการทำงาน
    3 บรรลุผลได้ เกิดการกระตุ้นการทำงาน เกิดกำลังใจให้ท้าทายความสามารถ
    4 ตรงประเด็น สนับสนุนเป้าหมายบริษัท
    5 เวลาแน่นอน ถ้าไม่กำหนดจะขาดการเอาใจใส่
    6 มีการพิจารณาผลที่เกิดขึ้น จาก 1-5 จริง ไม่ปล่อยทิ้งโดยไม่ทำอะไร
หลักการวัดที่สำคัญ ที่ต้องได้มาซึ่งเรื่องต่อไปนี้อย่างเท่าๆกัน คือ เงิน , กำลังใจ , ความปลอดภัย , ความบกพร่องที่เกิดขึ้น (สังเกตุว่าจะไม่มีผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบริษัท มาพิจารณาเป็นตัวหลักเนื่องจาก ถ้าได้ตามเรื่องที่ต้องการหลัก ผลประโยชน์บริษัทจะตามมาเอง)
    ความบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น
    1 โฟกัสแคบ ไม่สนใจเรื่องสำคัญบางเรื่องหรืออาจมองข้าม
    2 วัดเฉพาะที่มีข้อมูลที่ไม่มีข้อมูลไม่วัด
    3 ตัวชี้วัดมากไป ทำให้การปรับปรุงไม่ทั่วถึง ข้อมูลกระจายไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี
    4 ขัดแย้งกับเป้าหมายองค์กรหรือขัดแย้งกันเองระหว่างตัวชี้วัด
การชี้วัดจะเน้นเกี่ยวกับ
    1 Productivity
    2 Quality
    3 Cost
    4 Delivery
    5 Morale
    6 Safety
ทั้งหมดจะต้องสมดุลย์กันไม่มีการเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากไป

14 ไคเซน (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง)
    เน้นความมีส่วนร่วมของทุกคนเป็นหลัก เชื่อในปริมาณของที่ปรับปรุงมากกว่าผลลัพธ์ เนื่องจากถ้าปรับปรุงหลายอย่างแต่ถ้าทำไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ ในทางที่กว้างกว่าและนานไปจะยิ่งใหญ่กว่า
    ไม่จำเป็นต้องวัดเป็นตัวเงิน
    อาจทำโดยคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ (เป็นกลุ่มง่ายกว่า เร็วกว่า ยอมรับมากกว่า)
ทัศนคติที่ต้องปรับถ้าต้องการทำไคเซน
    1 ต้องคิดว่า Can Do
    2 ต้องคิดว่าจะทำอะไรใหม่ๆให้สำเร็จ
    3 ไม่ยอมรับการแก้ตัว
    4 ไม่ต้อง 100 %
    5 แก้ไขข้อผิดพลาดโดยไม่ต้องรอ
    6 ไม่ใช้เงินมาก
    7 คิดว่าปัญหาช่วยฝีกสมอง ช่วยสร้างปัญญา
    8 ถามว่าทำไมจนกว่าจะพบรากของปัญหา
    9 คิดหลายคนดีกว่าคนเดียว
    10 การปรับปรุงไม่มีจุดสิ้นสุด
   
    หมดแล้วครับสำหรับ แนวคิดแบบลีน คร่าวๆ จะเห็นว่าเป็นการนำวิธีต่างๆมารวมกันเพื่อนำมาใช้ในการปรับระบบการผลิตเป็นการรีดไขมันที่ทำให้ไม่อุ้ยอ้าย องค์กรธุรกิจกระชับขึ้น (อย่าคิดว่าเป็นโฆษณาสินค้าขายตรงทาง ทีวี น่ะครับ) หากจะทำ Lean Accounting  ไม่เข้าใจว่า แนวคิดเป็นอย่างไรคงยากเนื่องจากการทำบัญชีจะต้องรวมแนวคิดทั้งหมด และทำเป็นเรื่องเดียวตามการผลิตเพื่อการบริหาร จะต้องมีการปรับปรุงทางวิธีการอย่างสม่ำเสมอตามกระบวนการผลิต การที่จะทำบัญชีต้นทุนแบบเดิมจะไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตตามแนวคิดใหม่
    หลายคนอาจมีคำถามว่างบการเงินเป็นเครื่องแสดงฐานะการเงินและการดำเนินงานของบริษัท แนวคิดแบบลีนไปเกี่ยวอะไรกับงบการเงิน บัญชีต้นทุนเพียงเป็นการทำให้ทราบว่า ต้นทุนที่ทำเป็นเท่าไหร่ วิเคราะห์ VARIANCE ให้ฝ่ายผลิตก็เพียงพอแล้ว ไม่มีอะไรที่จะเป็นการบ่งบอกว่าเรื่องพวกนี้จะต้องไปอยู่ในงบการเงิน ตามที่ได้เคยกล่าวไว้แต่ต้นว่า ต่อไปการบริหารบนการแข่งขัน วิธีการต่างๆทางการบริหารจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่การตลาด , การผลิต , ระบบโลจิสติก , การพัฒนาบุคคลากร , เครื่องมือทางการเงิน แล้วบัญชีจะเหมือนเดิมเป็นไปไม่ได้  และ แนวคิด แบบลีนเองคงต้องมีการนำมาใช้ในแผนกบัญชีด้วย เพราะคงต้องมีการปรับหลักการทำงานใหม่ให้กระชับและง่ายขึ้น ทั้งขั้นตอนการทำงานและการรายงาน ซึ่งจะเกี่ยวกับแนวคิดนี้ ผมเคยเห็นงบการเงินและรายงานทางการเงินหลายบริษัท มีข้อมูลตามตำราหรือตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นห่วงว่าการบริหารที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอาจจะไม่ทันหรือผิดพลาด ลองคิดดูครับ รายงานทางการเงินเป็นบทสรุปของการดำเนินงานของบริษัท คือข้อมูลในการตัดสินใจทางการบริหารสำหรับผู้บริหาร แล้วข้อมูลคืออะไร สำหรับผมข้อมูลหากแบ่งแบบหยาบจะแยกออกได้ ๓ ระดับ คือ
    - ข้อมูล (DATA) เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปถือว่าเป็นข้อมูลดิบ ที่บอกว่าพบได้ทั่วไปเนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ตามส่วนงานต่างๆ หลายอย่างเป็นข้อมูลที่แต่ละแผนกจัดทำขึ้น เพื่อใช้งานในส่วนตัวผู้เก็บข้อมูลเอง หรือ สำหรับหน่วยงานนั้นๆ
    - ข่าวสาร (INFORMATION) คือข้อมูลดิบ ที่ผ่านการรวบรวมจัดหมวดหมู่เป็นเรื่องเป็นราวง่ายต่อการใช้งานและการนำไปวิเคราะห์ของคนที่มีหน้าที่ที่ต้อง ทำงานหรือต้องการทราบ
    - รายงานที่วิเคราะห์แล้ว(ANALYTICAL REPORT) คือการนำข่าวสารที่วิเคราะห์แล้วมาจัดทำเป็นสรุป เพื่อให้ผู้อื่นใช้ในการตัดสินใจร่วมกับรายงานจากแหล่งอื่น หากเป็นเช่นนั้น งบการเงินหรือ รายงานทางการเงิน ก็เป็นรายงานประเภทหนึ่งที่ต้องวิเคราะห์ หากไม่วิเคราะห์ย่อมไม่ใช่รายงานเป็นเพียงข่าวสารฉบับหนึ่ง รายงานทางการเงินจะมีข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ (ลูกค้าของแผนกบัญชี) อาจมีความยาวมาก หรือไม่มากก็ได้ (แล้วแต่ลูกค้าของแผนกบัญชีอีกนั่นแหละ) จะบอกว่าควรมีแค่หนึ่งหน้าหรือสองหน้าคงไม่ได้ เพราะความต้องการคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้ายาวมากมัก เป็นรายละเอียดแนบเพื่อไม่ให้รายงานสูญเสียจุดเด่น ในเรื่องที่คนรายงานต้องการจะบอกแก่ผู้บริหาร(ลูกค้าอีกนั่นแหละ) รูปแบบการรายงานก็แตกต่างไปตามลูกค้า เนื่องจากผู้บริหารบางคนอ่านรายงานแล้วสงสัยอาจเรียกถามที่มาที่ไปของข้อมูล บางคนขี้เกียจอ่านรายงาน ชอบให้สรุปให้ฟังพร้อมถามข้อมูลที่ต้องการและสอบถามความเห็นไปในตัว ตรงนี้แหละที่การทำ Lean Accounting จำเป็นเนื่องจากการทำบัญชีต้นทุนลักษณะอย่างนี้จะทำให้ทราบรายละเอียดของแต่ละส่วน งานเป็นส่วนๆ หน่วยงานใด(ไม่ได้เฉพาะแต่หน่วยงานผลิต)มีผลสรุปการทำงานอย่างไรคร่าวๆ (หากต้องการ ละเอียดค่อยทำเพิ่มเติมหากต้องการทราบรายละเอียดที่มากไปกว่านั้น) ตรงนี้จะทำให้แผนกบัญชี มีบทบาท ในการทำงานมากขึ้นและมีความสำคัญมากกว่าที่จะเป็นแค่คนจ่ายเงินหรือคนลงบัญชี บัญชีจะเป็นส่วนหนึ่ง ของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของส่วนงานต่างๆในบริษัท จากนี้ไปเป็น LEAN ACCOUNTING คงมาแบบช้าๆ หน่อย ต้องค่อยๆเขียน รออ่านน่ะจ๊ะ (ไม่นานมาหรอก)

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล

Tags : Lean Accounting 4 บัญชี ภาษี สอบบัญชี ที่ปรึกษา 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view