สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุนทรพจน์นโยบายสหรัฐต่อภูมิภาคเอเชียขอประธานาธิบดีGeorgeW.Bushที่กรุงเทพฯ

สุนทรพจน์นโยบายสหรัฐต่อภูมิภาคเอเชียขอประธานาธิบดีGeorgeW.Bushที่กรุงเทพฯ


สาโรจน์ ชวนะวิรัช

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 51 เวลา 09.30-10.00 น. ประธานาธิบดี George W. Bush ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสการเยือนไทย โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และกล่าวถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 12 ส.ค. 2551
      
สาระสำคัญของสุนทรพจน์เป็นการสรุปผลงานและนโยบายสหรัฐ ต่อภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งสุดท้ายก่อน ปธน. สหรัฐจะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งในปลายปีนี้ โดย  ย้ำเป้าหมาย 4 ประการต่อเอเชียซึ่งรัฐบาลสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีบุชได้ดำเนินมาโดยตลอด คือ 1) กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่มีอยู่เดิม 2) สร้างหุ้นส่วนใหม่กับประเทศที่มีค่านิยมประชาธิปไตยร่วมกับสหรัฐ 3) เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ 4) ร่วมมือกับมิตรประเทศจัดการกับสิ่งท้าทายใหม่ พร้อมทั้งแสดงวิสัยทัศน์เรื่องการดำเนินนโยบายต่อภูมิภาคภายใต้เป้าหมายดัง กล่าว โดยหัวใจสำคัญของนโยบายยังคงเป็นประเด็นการส่งเสริม ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักเสรีนิยม และส่งเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายกับประเทศในภูมิภาค สรุปประเด็นสำคัญจากสุนทรพจน์ได้ ดังนี้
     
1.กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่มีอยู่เดิม-กล่าวถึงผลงานการกระชับความ ร่วมมือโดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการทหารกับพันธมิตรดั้งเดิมในภูมิภาค 5 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
        
2.สร้างหุ้นส่วนใหม่กับประเทศที่มีค่านิยมประชาธิปไตยและเสรีนิยมร่วมกับ สหรัฐ-อ้างถึงความเชื่อมโยงของค่านิยมเอเชีย (Asian Values) กับหลักเสรีภาพและประชาธิปไตย และย้ำความสำคัญของค่านิยมหลักดังกล่าวในการดำเนินนโยบายต่อภูมิภาค โดยกล่าวถึงผลงานการสนับสนุนอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมสายกลางซึ่ง เป็นประชาธิปไตย การผลักดันพัฒนาการประชาธิปไตยในมองโกเลีย การส่งเสริมความร่วมมือกับอินเดีย โดยเฉพาะด้านพลังงาน ตลอดจนร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคจัดตั้ง Asia-Pacific Democracy Partnership ขึ้นเพื่อส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยด้วย
     
3.เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-เชื่อมโยงการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบ เสรีนิยมกับการนำมาซึ่งเสรีภาพของประชาชนในภูมิภาคโดยกล่าวถึงผลงานการส่ง เสริมการค้าเสรีของรัฐบาล โดยเฉพาะการจัดทำ คตล. เขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ (ปัจจุบันมี 14 ประเทศจากเดิมเพียง 3 ประเทศ) ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ส่วนเกาหลีใต้ยังอยู่ในระหว่างรอผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาสหรัฐ และได้เริ่มเจรจา FTA กับมาเลเซียและคตล. ด้านการลงทุนกับเวียดนาม ทั้งนี้ ปธน. บุช ได้แสดงความหวังจะสานต่อการเจรจาการค้าหรืออีกนัยหนึ่งคือ FTA กับไทยด้วย (We look forward to resuming trade negotiations with Thailand.)
    
4.ร่วมมือกับมิตรประเทศเพื่อจัดการกับสิ่งท้าทายใหม่
     
4.1 ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย-ย้ำการส่งเสริมความร่วมมือใน ภูมิภาค และขอบคุณมิตรประเทศในเอเชียที่ร่วมสนับสนุนสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของ สหรัฐ โดยเฉพาะสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน และได้ยกตัวอย่างประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเป็นประชาธิปไตยและเป็นประเทศที่มีประชาชนมุสลิมและที่นับถือศาสนาอื่น ๆ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์
    
4.2 ประเด็นท้าทายใหม่-กล่าวถึงผลงานความร่วมมือในการป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคไข้หวัดนก การป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ (สึนามิและพายุนาร์กีส) ความร่วมมือด้านการป้องกันภาวะโลกร้อนโดยสนับสนุนการขยายความร่วมมือดัง กล่าวต่อไป
    
5. นโยบายต่อประเทศในภูมิภาค
      
5.1 จีน-สุนทรพจน์เน้นประเด็นจีนอย่างละเอียด โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ “สลับซับซ้อน” ระหว่างสหรัฐ กับจีน และย้ำว่าสหรัฐ จะมุ่ง “engage” และกระชับความสัมพันธ์กับจีนให้มั่นคงและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อนำพาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไปสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง โดยเน้น 3 ประเด็น- เศรษฐกิจและการค้า-กล่าวถึงพัฒนาการการเมืองและเศรษฐกิจของจีนซึ่งเอื้อให้ จีนมีศักยภาพในการเป็นตลาดส่งออกแห่งใหม่ พร้อมแสดงความหวังว่าจีนจะปฏิสัมพันธ์ภายใต้กรอบกติกาโลก-การป้องกันการแพร่ ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง (Weapons of Mass Destruction-WMDs) กล่าวถึงบทบาทนำของจีนในการเจรจาหกฝ่ายกับเกาหลีเหนือ และย้ำถึงนโยบาย “จีนเดียว” (One-China Policy) ของสหรัฐ ในประเด็นไต้หวัน ซึ่งขอให้ทั้งสองฝ่ายงดการดำเนินการฝ่ายเดียวที่จะเป็นการกระทบกระเทือนต่อ สถานความเป็นจริงในปัจจุบัน (status quo)-การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการนับถือศาสนา-วิพากษ์การกักตัว กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการนับถือศาสนาในจีน
       
5.2 เกาหลีเหนือ-กล่าวถึงภัยคุกคามจากโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ และเรียกร้องให้เกาหลีเหนือเปิดเผยกิจกรรมแพร่ขยายขีปนาวุธ โดยย้ำว่าสหรัฐ และประเทศภาคีการเจรจาหกฝ่ายจะยึดถือการบรรลุเป้าหมายให้คาบสมุทรเกาหลีปลอด จากนิวเคลียร์และระบอบการปกครองซึ่งกดขี่ประชาชน
       
5.3 พม่า-เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติระบบเผด็จการ โดยย้ำข้อเรียกร้องของสหรัฐ ให้ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และนักโทษการเมืองอื่น ๆ พร้อมทั้งกล่าวว่าสหรัฐ จะมุ่งผลักดันส่งเสริมเสรีภาพและกระบวนการประชาธิปไตย ในพม่า
       
5.4 ไทย-กล่าวถึงความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับ ไทยโดยละเอียด ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ในฐานะพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียซึ่งความ สัมพันธ์ครบรอบ 175 ปีในปีนี้ โดยความสัมพันธ์ริเริ่มจากการส่งทูตมายังสยามในยุค ปธน. Andrew Jackson การทำสนธิสัญญาไมตรีฯ การที่ไทย   ส่งทหารไปร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลี เวียดนาม อัฟกานิสถานและอิรัก ไปจนถึงการที่มีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ในสหรัฐกว่า 2 แสนคนในปัจจุบัน ตลอดจนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวซึ่งเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังกล่าวว่าสหรัฐ มองไทยในฐานะ “ผู้นำ” ของภูมิภาค และหนึ่งในหุ้นส่วนในเวทีโลก โดย ปธน. บุชมีความภูมิใจที่ได้มอบสถานะ Major Non-NATO Ally ให้ไทย และได้แสดงความยินดีกับประชาชนไทยที่สามารถฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยได้ ตลอดจนได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและขอบคุณต่อบทบาทของเสรีไทย ปธน. บุชยังย้ำด้วยว่าการดำเนินการตามเป้าหมาย 4 ประการข้างต้นของตนประสบความสำเร็จ โดยปัจจุบันสหรัฐ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในภูมิภาค และเห็นว่าทุกประเทศในภูมิภาคมีความรับผิดชอบที่จะต้องประกันให้ภูมิภาคนี้ เติบโตงอกงามทั้งในแง่เสรีภาพ ความมั่งคั่ง และความหวัง (liberty, prosperity and hope)
     
ผลดีจากการที่ประธานาธิบดีบุชได้เลือกประเทศไทยให้เป็นสถานที่สำหรับการแถลง สรุปผลงานและนโยบายสหรัฐที่มีต่อภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งสุดท้ายก่อนพ้นจาก ตำแหน่งก็คือความสำคัญที่สหรัฐได้ให้ต่อประเทศไทย ในการเริ่มสุนทรพจน์ เขาก็ได้กล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” เป็นภาษาไทย และแม้จะมีการออกเสียงคำว่า “เสรีไทย” ผิดเพี้ยนไปบ้างก็ตาม แต่รวมแล้วก็เป็นการกลับมา “รับรู้” และให้ความสำคัญกับประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้แสดงท่าทีเฉยเมยต่อ ไทยไปพักใหญ่หลังการรัฐประหารเมื่อเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตามผลเสียก็มีตามมาด้วยเช่นกัน เพราะในหลักการดำเนินการต่างประเทศแล้ว ประเทศหนึ่งไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้ดินแดนของอีกประเทศหนึ่งในการโจมตี ประเทศที่สาม ซึ่งครั้งนี้ ประธานาธิบดีบุชได้ตั้งใจโจมตีจีนในเรื่องสิทธิมนุษยชนและพม่าในเรื่องของ ประชาธิปไตยโดยเปิดเผย ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าทั้งจีนและพม่าต้องไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ ในการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ไม่มีการเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ซึ่งดูออกจะเป็นการผิดธรรมเนียมของผู้มาเยือนในระดับผู้นำอยู่ไม่น้อยที เดียว.


จากเดลินิวส์ ออนไลน์

view