สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดีเอสไอ แห้ว! กฤษฎีกาฟันธงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดเลี่ยงภาษี ต้องให้สรรพากรร้องทุกข์ก่อน

ประชาชาติธุรกิจ


" กฤษฎีกา"ฟันธง ดีเอสไอ ไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดเลี่ยงภาษี ต้องให้สรรพากรร้องทุกข์ก่อน ดีเอสไอ. อ้างคดีใกล้หมดอายุความ และท้วงกรมสรรพากรไปแล้ว แต่เรื่องนิ่ง และไม่ยอมร้องทุกข์ ต้องรีบทำหวั่นราชการเสียหาย

ผู้สื่อข่าว"ประชาชาติธุรกิจ" รายงาน  เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ คำวินิจฉัย เรื่องที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หารือเป็น หนังสือด่วนมาก เรื่อง อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (เรื่องเสร็จที่ ๖๓/๒๕๕๒ )
   
คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกาล่าสุด ยืนยันว่า  ความผิดเกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีอากร เป็นความผิดที่ ต้องให้เจ้าพนักงานสรรพากรร้องทุกข์เสียก่อน   ดีเอสไอ. จึงดำเนินการคดีกับผู้ต้องหาได้  
 
ก่อนหน้า ดีเอสไอ  อ้างว่า  ปัจจุบัน มีความรับผิดชอบที่ใกล้จะหมดอายุความฟ้องคดี และได้มีหนังสือถึงกรมสรรพากรไปหลายครั้งแล้ว แต่กรมสรรพากรยังไม่ทำการประเมินภาษีผู้ต้องหาและกรมสรรพากร ไม่ยอมมาร้องทุกข์
 
ดีเอสไอ. ต้องการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหาโดยเร็ว  เพราะหากล่าช้า  อาจเกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้  ดีเอสไอ.จึงขอให้มีการทบทวนความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง  โดยก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วว่า ดีเอสไอ. ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเลี่ยงภาษีได้ หากพนักงานสรรพากรไม่ร้องทุกข์เสียก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ยธ ๐๘๑๑/๒๘๑๓ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ตามที่คณะกรรมการ  กฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๑ และคณะที่ ๑๒) ได้มีความเห็นว่า   การดำเนินคดีพิเศษที่เป็นคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรของ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ กำหนดไว้ โดยต้องมีคำขอของเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกา(ประชุมใหญ่) ที่ ๔๒๗/๒๕๒๕ กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาความเห็นดังกล่าวแล้ว   ไม่เห็นพ้องด้วย จึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนความเห็น
 
ทั้งนี้   ดีเอสไอ.  สรุปเหตุผล ไว้ดังนี้
 
๑. เนื่องจากความผิดอาญาตามประมวลรัษฎากรถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งไม่จำ เป็นต้องมีการร้องทุกข์โดยผู้เสียหาย เจ้าพนักงานมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้  ดังนั้น แม้ผู้เสียหายจะไม่ระบุชื่อผู้กระทำความผิด เจ้าพนักงานตำรวจมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้อื่นได้
 
๒. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗  และกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดี พิเศษ  พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยไม่น่าจะอยู่ภายใต้บังคับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ แต่อย่างใด
 
๓. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ ขัดหรือแย้งกับมาตรา ๖ ประกอบกับ มาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้รัฐต้องต้องดำเนินตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม โดยตามมาตรา ๘๑ (๑) ได้กำหนดให้รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง
   
เมื่อพิจารณาตามข้อเท็จ จริงในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า การกระทำความผิดในลักษณะนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดส่วนตัวที่จะต้องให้ผู้เสียหายร้องทุกข์เสียก่อน แต่เป็นอำนาจ ของพนักงานสอบสวนที่สามารถดำเนินคดีได้โดยลำพัง การที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ ได้บัญญัติให้การกระทำความผิดดังกล่าวต้องให้เจ้าพนักงานสรรพากรร้องทุกข์ เสียก่อนนั้น จึงเป็นการออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่กระทบกระเทือนสาระสำคัญ แห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเป็นการออกกฎหมายที่ให้มีผลใช้บังคับเป็นการ เฉพาะ ไม่ใช่เป็นการทั่วไปจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๖ และมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
ดังนั้น การที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ ได้บัญญัติให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรต้องให้เจ้าพนักงานสรรพากร ร้องทุกข์เสียก่อน จึงเป็นการบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  โดยที่กรมสอบสวนคดีพิเศษมีคดีความผิดตามมาตรา ๓๗ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในความรับผิดชอบที่ใกล้จะหมดอายุความฟ้องคดี และได้มีหนังสือถึงกรมสรรพากรไปหลายครั้งแล้ว แต่กรมสรรพากรยังไม่ทำการประเมินภาษีผู้ต้องหาและไม่ยอมมาร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหา ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงขอให้มีการทบทวนความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง
  
คณะ กรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๑ และคณะที่ ๑๒) ได้พิจารณาทบทวนปัญหาตามข้อหารือของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยได้รับฟัง คำชี้แจงข้อเท็จจริงจากผู้แทนกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร) ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม(กรมสอบสวนคดีพิเศษ) และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้ว เห็นว่า ข้อ ๒๑ ของประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงื่อนไขที่กำหนดให้พนักงานตำรวจดำเนินการเกี่ยว กับภาษีอากรได้โดยต้องมีคำขอของเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรนั้น มีเจตนารมณ์ให้การดำเนินการเกี่ยวกับภาษีอากรได้รับการตรวจสอบ กลั่นกรองโดยผู้มีความรู้ความชำนาญเสียก่อน มิฉะนั้น อาจส่งผลเสียต่อประโยชน์ของรัฐหรือรูปคดีได้ ประกอบกับได้เคยให้ความเห็นไว้แล้วว่า พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีลักษณะเช่นเดียวกันกับเจ้าพนักงานตำรวจตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ เช่นกัน
 
ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา(ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๑ และคณะที่ ๑๒) จึงมีความเห็นยืนยันตามความเห็นเดิมว่า การดำเนินคดีพิเศษที่เป็นคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรของ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ ฯ กำหนดไว้
 
สำหรับเหตุผลทั้งสามประการที่กรมสอบสวน คดีพิเศษอ้างมาในการขอให้ทบทวนความเห็น นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๑และคณะที่ ๑๒) เห็นว่า เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ซึ่งเหตุผลบางประการกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ได้เคยชี้แจงและคณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๑ และคณะที่ ๑๒)ได้เคยพิจารณาไปแล้ว
view