สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรมวิชาการฯขอโทษทำคนสับสนขึ้นบัญชี 13 สมุนไพร / สมุนไพรอันตรายส่อแววผลประโยชน์ทับซ้อน

โพสต์ทูเดย์


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขอโทษประชาชน ทำให้สับสน หลังขึ้นบัญชี 13 สมุนไพรเป็นวัตถุอันตราย เตรียมเสนอทบทวนวิธีประกาศ

นาย สมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดแถลงข่าวขอโทษประชาชนที่ทำให้เกิดความสับสนกับการออกประกาศของคณะ กรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นวัตถุอันตราย จนเกิดความตื่นตระหนก ทั้งนี้ เป็นเพราะขาดการทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน แต่ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ เป็นการควบคุมเฉพาะการนำพืชสมุนไพรมาแปรรูปเป็นสารกำจัด ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชเพื่อการค้าเท่านั้น ไม่รวมถึงการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน กลุ่มเกษตรกรหรือชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรโดนหลอกลวง จากผู้จำหน่ายสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เข้มงวดมากขึ้น เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์กว่าร้อยละ 90 ที่วางจำหน่ายทั่วไปไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อลดการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง เกือบ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังยืนยันว่า ประกาศฉบับนี้ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนหรือบริษัทต่าง ชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความสับสนของสังคม วันนี้ได้ทำหนังสือเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ทบทวนวิธีการประกาศโดยมีข้อเสนอให้ถอนรายชื่อพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดออกมาก่อน หรือให้ขยายรายละเอียดของวัตถุออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรแต่ละชนิดให้มากขึ้น หรือประกาศในลักษณะของกลุ่มพืช เพราะการใช้คำว่า ได้แก่ ในประกาศ อาจจะมีพืชมากกว่า 13 ชนิดก็ได้

ขณะเดียวกัน ก็จะมีการถอนร่างประกาศของกรมวิชาการเกษตรที่เสนอไปยังกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เพื่อรองรับประกาศฉบับนี้ ซึ่งกำหนดวิธีการแจ้งการผลิต กลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งด้วย


กรมวิชาการเกษตรฯรับ13สมุนไพรอันตรายทำปชช.สับสน

ประชาชาติธุรกิจ

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถลงข่าวว่า ขอโทษประชาชนที่ทำให้เกิดความสับสนจากการออกประกาศของคณะกรรมการวัตถุ อันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นวัตถุอันตรายจนเกิดความตื่นตระหนก สืบเนื่องมาจากการขาดความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน แต่ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้เป็นการควบคุมเฉพาะการนำพืชสมุนไพรไปแปรรูป เป็นสารกำจัดควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อการค้าเท่านั้น ซึ่งไม่รวมถึงการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน กลุ่มเกษตรกรหรือชุมชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันเกษตรกรถูกหลอกลวง จากผู้จำหน่ายสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้น เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์กว่าร้อยละ 90 ที่วางจำหน่ายทั่วไป พบว่าไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายลดการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง เกือบ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี
นายสมชาย กล่าวว่า ประกาศฉบับนี้ไม่เอื้อประโยชน์กับบริษัทเอกชนหรือบริษัทต่างชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความสับสนของสังคม จึงได้ทำหนังสือเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย ให้ทบทวนวิธีการประกาศ โดยมีข้อเสนอให้ถอนรายชื่อพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดออกมาก่อน หรือให้ขยายรายละเอียดของวัตถุออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรแต่ละชนิดให้มากขึ้น หรือประกาศในลักษณะของกลุ่มพืช เพราะการใช้คำว่า ได้แก่ ในประกาศ อาจจะมีพืชมากกว่า 13 ชนิดก็ได้ ขณะเดียวกัน จะถอนร่างประกาศของกรมวิชาการเกษตรที่เสนอไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับประกาศฉบับนี้ ซึ่งกำหนดวิธีการแจ้งการผลิต กลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งด้วย

นายกฯสั่งแจงขึ้น13พืชอันตราย-อุตฯส่อถอน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สั่งรองนายกฯ หาข้อมูลชี้แจงเหตุขึ้นทะเบียน13สมุนไพรอันตราย กระทรวงอุตฯ เสี่ยงอ่อนส่อทบทวน อ้างไม่กระทบครัวโลก ภาคประชาชนรอดูท่าทีก่อนประท้ว

ตามที่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย จัดประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551 เพื่อเสนอให้ขึ้นทะเบียนพืชทั้ง 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย และในวันที่ 3 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ขึ้นทะเบียนพืชทั้ง 13 ชนิด ประกอบด้วย 1.สะเดา 2.ตะไคร้หอม 3.ขมิ้นชัน 4.ขิง 5.ข่า 6.ดาวเรือง 7.สาบเสือ 8.กากเมล็ดชา 9.พริก 10.คื่นฉ่าย 11.ชุมเห็ดเทศ 12.ดองดึง และ 13.หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. ลำดับที่ 103 ซึ่งกำหนดว่าสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลง ศัตรูพืชและสัตว์ ผู้ผลิตจะต้องแจ้ง ขึ้นทะเบียน และเสียค่าธรรมเนียมปีละ 5,000 บาท

วันนี้(12 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นพืชอันตรายว่า ได้ขอให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ไปหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมมีที่มาอย่างไร 

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้อ่อนไหวส่งผลกระทบต่อวิถีชาวบ้าน นายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับว่า ใช่ครับ ความจริงมีปัญหาเป็นระยะๆ ในแง่ของวัตถุที่ถูกกำหนดโดยอุตสาหกรรมและด้านการเกษตรบ้างจึงขอให้นาย กอร์ปศักดิ์รีบไปดู 

เมื่อถามว่าจะมีการทบทวนหรือไม่ เพราะมีการระบุว่าฝ่ายการเมืองเข้าไปมีผลประโยชน์เรื่องการผลิตยาฆ่าแมลง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "กำลังขอให้เขาชี้แจงมา ซึ่งคงไม่ช้า"

ส.แพทย์แผนไทยฯ ชี้ส่อมีผลประโยชน์ทับซ้อน 

ดร.สุชาดา มารวาฮา ผู้อำนวยการจัดงาน "สัมมนาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมนานาชาติ 2552" กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 20 - 22 ก.พ.ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยังงงกับประกาศดังกล่าว เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดล้วนมีประโยชน์และมีคุณสมบัติดีต่อสุขภาพ หลายชนิดใช้รักษาโรคนานกว่า 1,000 ปี ตำราการรักษาโรคแบบโบราณในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ใช้สมุนไพรทั้ง ขมิ้น และขิง รักษาโรคมานานเช่นกัน

ทั้งนี้ ประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าใจว่าอาจเป็นผลจากการตรวจสอบในห้องทดลองพบมีสารเคมีตกค้าง เพราะการเพาะปลูกไม่ใช้ระบบออร์แกนิค แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ได้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และหากต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องเคร่งครัดกับระบบการตรวจสอบและชี้แจง ได้ แต่เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบกลับทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น

นายวัลลภ เผ่าพนัส นายกสมาคมแพทย์แผนไทยเชียงใหม่ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิด คือ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. พืชสมุนไพรทั้งหมดไม่น่าจะใช้วัตถุอันตราย แต่สิ่งที่เป็นอันตรายอีกหลายชนิดกระทรวงฯ กลับไม่ประกาศให้เป็นวัตถุอันตราย

พืชสมุนไพรทั้งหมดส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากสกัดเป็นยารักษาโรค ยังใช้ปรุงอาหาร เช่น ข่า ซึ่งก็ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่เป็นอันตราย สมุนไพรหลายชนิดก็ใช้กันมานานกว่า 1,000 ปี หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืช แต่การนำมาใช้กับคนนั้นต่างกัน ทั้งวิธีการสกัดและการรับประทานซึ่งมีวิธีที่เหมาะสมจึงไม่เป็นพิษต่อร่าง กาย จึงไม่เข้าใจว่าประกาศดังกล่าวมีวัถุประสงค์เพื่ออะไร มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ต้องดูรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม การที่หลายหน่วยงานออกมาโต้แย้ง เพราะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และเป็นการกีดกันสมุนไพรไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น  หากเป้าหมายหรือรายละเอียดและเหตุผลในการประกาศครั้งนี้ไม่ถูกต้อง สมาคมฯจะหารือกันว่า จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป เบื้องต้นเหตุผลที่กระทรวงอุตสาหกรรมฯประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายนั้น ยังเป็นข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจมาจากผลการวิจัย ยอมรับว่าหลายเรื่องมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่สิ่งที่หยิบมา อาจเป็นข้อมูลด้านลบ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

กระทรวงอุตฯ เสียงอ่อยพร้อมทบทวนหากก.เกษตรฯร้องขอ 

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกให้ผลิตภัณฑ์จาก พืช 13 ชนิด ที่ใช้เพื่อปราบศัตรูพืชออกจากบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 กระทรวงอุตสาหกรรมก็พร้อมจะเรียกประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ทันที ซึ่งขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับหนังสือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า หากมีการขอยกเลิกให้ผลิตภัณฑ์จากพืชทั้ง 13 ชนิด ออกจากบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากพืชดังกล่าว จะถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 บัญชี ข ลำดับที่ 103 ซึ่งกำหนดว่าสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลง ศัตรูพืชและสัตว์ ผู้ผลิตจะต้องแจ้ง ขึ้นทะเบียน และเสียค่าธรรมเนียมปีละ 5,000 บาทตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 ฉบับเดิม โดยจะทำให้ผู้ผลิต จำหน่าย นำเข้าและส่งออกมีความยุ่งยาก

ทั้งนี้ การกำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากพืช 13 ชนิด อยู่ในบัญชีวัตถุอันตราย เพราะที่ผ่านมามีการนำมาผลิตยาฆ่าแมลงความเข้มข้นสูงที่เป็นอันตรายต่อสิ่ง แวดล้อม และถ้ามองในระยะยาว จะเป็นการส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพร มาผลิตเป็นสารกำจัดศัตรูพืชในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เนื่องจากจะมีการผลิตที่ได้มาตรฐานและไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ประกาศวัตถุอันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นประกาศที่ไม่เกี่ยวข้อง กับผลิตภัณฑ์จากพืช 13 ชนิดที่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหาร ซึ่งทำให้สถาบันอาหารเชื่อว่าการออกประกาศดังกล่าว จะไม่กระทบกับการส่งออกสมุนไพรหรืออาหารไทยที่มีส่วนประกอบจากพืชทั้ง 13 ชนิด และจะไม่กระทบกับโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก


แฉคุม13พืชเอื้อทุนเกษตร

ASTVผู้จัดการออนไลน์
       ปชป.ยื่นหนังสือนายกฯ จี้ รมว.อุตสาหกรรมยกเลิกประกาศ "13 พืชอันตราย" เชื่อมีเงื่อนงำ เอื้อข้าราชการใช้อำนาจมิชอบ หนุนกลุ่มทุนเกษตร ด้าน"ชาญชัย" รับลูกเตรียมเชิญ รมว.อุตฯ- ขรก. ชี้แจงต่อ กมธ.ป.ป.ช. ฝ่าย นายกฯ สั่ง"กอร์ปศักด์" คุยอุตฯจัดการ ไม่นานรู้ผล
       

       จากกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงทางเคมี 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉาย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. นั้น ได้สร้างความสับสนให้กับประชาชน และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกประกาศฉบับนี้ น่าจะมีเงื่อนงำ หรือความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนด้านเกษตร ซ่อนเร้นอยู่
       
       วานนี้ (12 ก.พ.) สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ พล.อ.วินัย สมพงษ์ นางรัชดาภรณ์ แก้วสนิท และนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ร่วมกันแถลงข่าว ว่าได้ยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเรียกร้องให้ทบทวน และยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับดังกล่าว
       
       เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 (สิทธิชุมชน), มาตรา 79 (อนุรักษ์ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น) มาตรา 82 (แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) และ มาตรา 85 (ทรัพย์สินทางปัญญา และรักษาพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น) อีกทั้งส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตทางเกษตร อุตสาหกรรมครัวเรือน และอุตสาหกรรมการส่งออก ทำลายและตัดตอนองค์ความรู้ในวิถีชาวบ้านที่สั่งสมและมีวิวัฒนาการมาช้านาน แต่ในทางกลับกัน ประกาศดังกล่าว ส่งผลดีต่อเกษตรเคมี และระบบทุนเกษตรผูกขาด แบบครบวงจร
       
       พ.อ.วินัย กล่าวว่า จากการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพก็เห็นด้วย และได้โทรศัพท์ถึง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าว
       
       ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การออกประกาศดังกล่าว จะกลายเป็นเครื่องมือให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ เพราะมีการตีความอย่างกว้าง โดยประกาศดังกล่าว จะต้องมีต้นสายปลายเหตุ ขณะนี้แต่ละฝ่ายต่างออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง เรื่องนี้รัฐมนตรีมีความบกพร่องซึ่งหากไม่ดำเนินการแก้ไข ทางคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐสภา จะเชิญ รมว.อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงว่า การออกประกาศมีผลประโยชน์ใดแอบแฝง ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องนี้จะมีหน่วยงานระดับกรม ของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว แต่กลับมีการประกาศโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการทำลายกระทรวงสาธารณสุข อย่างชัดเจน
       
       ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าได้มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ไปคุยกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ทั้งนี้ยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว กระทบกับเกษตรกร ทำให้มีปัญหาอยู่เป็นระยะๆ ในแง่ของวัตถุที่ถูกกำหนดโดยอุตสาหกรรม โดยเกษตรบ้าง จึงต้องขอให้นายกอร์ปศักดิ์ไปดูแล้ว และขอให้ชี้แจงมา
       
       ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า มีฝ่ายการเมืองมีผลประโยชน์กับพวกยาฆ่าแมลงนั้น ก็กำลังหาข้อมูลเพื่อชี้แจง ซึ่งคงไม่ช้าเพราะไม่ใช่เรื่องซับซ้อน
       
       **จี้ยกเลิกประกาศฉบับนี้โดยด่วน
       
       ด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องยกเลิกประกาศฉบับนี้ เพราะหากยังคงอยู่ จะเป็นปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่องเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศ ส่วนที่มีการอ้างกันว่า ผลิตภัณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องออกประกาศเพื่อเข้ามาควบคุมการใช้ภูมิปัญญาระดับชาวบ้านที่ทำใช้เอง หรือขายกันเองในกลุ่มเล็กๆ ถือว่าไม่ถูกต้องภาครัฐควรเข้าไปดูแลการสารสกัดในระดับอุตสาหกรรมใหญ่ โดยให้สารสกัดเหล่านี้อยู่ในบัญชีที่ 2 แทน
       
       "หากกรมวิชาการเกษตรต้องการควบคุมพืชสมุนไพรที่แปรรูปเป็นสารกำจัด ควบคุม โรค และแมลงศัตรูพืชเพื่อการค้าจริงตามที่ได้แถลง ก็ควรจะเน้นการควบคุมอุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพราะเป็นต้นเหตุปัญหา สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อีกทั้งมีเม็ดเงินมหาศาลโดยในปี2551 มียอดการจำหน่าย 1.8 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่เหวี่ยงแหคลุมสมุนไพรทั้งหมดเช่นนี้ และควรระบุให้สารสกัดของสมุนไพรที่จะนำมากำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น อยู่ในวัตถุอันตราย บัญชีที่ 2 เพราะบัญชีที่ 2 คือ การต้องขออนุญาตก่อนดำเนินการ แต่บัญชีที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรอ้างว่า ขึ้นสมุนไพร 13 รายการนั้น เป็นการจดแจ้งให้ทางการทราบภายใต้กฎระเบียบเท่านั้น" นายวิฑูรย์กล่าว
       
       นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า ก่อนอื่นคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะต้องถอนประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในเรื่องดังกล่าวก่อน และกรมวิชาการเกษตรก็ถอนประกาศอีกรายการ ที่กำลังดำเนินการร่างอยู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งหากจะดำเนินการทำประกาศที่ต้องการควบคุมสารสกัดจากสมุนไพรใน อุตสาหกรรม จะต้องมีกระบวนการที่โปร่งใส โดยมีคณะกรรมการที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงานตามที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม 2551 ระบุไว้ ดำเนินการทำประกาศใหม่ด้วยความมีธรรมาภิบาล

สมุนไพรอันตรายส่อแววผลประโยชน์ทับซ้อน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
แพทย์แผนไทยอึ้งประกาศขึ้นทะเบียนสมุนไพรอันตราย หวั่นผลประโยชน์ทับซ้อน กีดกันสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลุ่ม ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ยอมรับงง หลังกระทรวงอุตสาหกรรมฯประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรไทย 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ระบุคุณสมบัติล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ  แนะหน่วยงานรับผิดชอบเร่งชี้แจง ด้านสมาคมแพทย์แผนไทย เชียงใหม่ ระบุพืชสมุนไพรใช้รักษาโรคมานานกว่า 1,000 ปี  ตั้งข้อสังเกตอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน โวยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เผยเฉพาะข้อมูลด้านลบ

ดร.สุชาดา มารวาฮา ผู้อำนวยการจัดงาน "สัมมนาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมนานาชาติ 2552" กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 20 - 22 ก.พ.นี้ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ขึ้นทะเบียนพืชสนุมนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ว่า ยังงงกับประกาศดังกล่าว เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดล้วนมีประโยชน์และมีคุณสมบัติดีต่อสุขภาพ หลายชนิดมีการใช้รักษาโรคมานานกว่า 1,000 ปี เช่น ขมิ้น ขิง  ตำราการรักษาโรคแบบโบราณในหลายประเทศ เช่น อินเดีย มีการใช้สมุนไพรทั้ง ขมิ้น และขิง รักษาโรคมานานเช่นกัน

ทั้งนี้ประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าใจว่าอาจเป็นผลจากการตรวจสอบในห้องทดลองพบมีสารเคมีตกค้าง เพราะการเพาะปลูกไม่ใช้ระบบออร์แกนิค แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ได้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ  และหากต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องเคร่งครัดกับระบบการตรวจสอบและชี้แจง ได้ แต่เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบกลับทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น

ด้านนายวัลลภ เผ่าพนัส นายกสมาคมแพทย์แผนไทย เชียงใหม่ กล่าวว่า  โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิด คือ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข. พืชสมุนไพรทั้งหมดไม่น่าจะใช้วัตถุอันตราย แต่สิ่งที่เป็นอันตรายอีกหลายชนิดกระทรวงฯกลับไม่ประกาศให้เป็นวัตถุอันตราย

พืชสมุนไพรทั้งหมดส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากสกัดเป็นยารักษาโรค ยังใช้ปรุงอาหาร เช่น ข่า ซึ่งก็ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่เป็นอันตราย  สมุนไพรหลายชนิดก็ใช้กันมานานกว่า 1,000 ปี  หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืช  แต่การนำมาใช้กับคนนั้นต่างกัน ทั้งวิธีการสกัดและการรับประทานซึ่งมีวิธีที่เหมาะสมจึงไม่เป็นพิษต่อร่าง กาย จึงไม่เข้าใจว่าประกาศดังกล่าวมีวัถุประสงค์เพื่ออะไร  มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ต้องดูรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามการที่หลายหน่วยงานออกมาโต้แย้ง เพราะเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเป็นการกีดกันสมุนไพรไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  หากเป้าหมายหรือรายละเอียดและเหตุผลในการประกาศครั้งนี้ไม่ถูกต้อง สมาคมฯจะหารือกันว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป

แต่เบื้องต้นเหตุผลที่กระทรวงอุตสาหกรรมฯประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายนั้น ยังเป็นข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจมาจากผลการวิจัย ยอมรับว่าหลายเรื่องมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่สิ่งที่หยิบมาอาจเป็นข้อมูลด้านลบจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

view