สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แบงก์อย่าเอาเปรียบคนซื้อบ้าน/คอลัมน์ส่องความคิด

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :นายตะปู:



บทบาทของธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์นั้น จัดได้ว่า เป็นผู้ ชี้เป็นชี้ตายให้กับธุรกิจได้เลยทีเดียว เพราะธนาคารคือ ผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ แต่ที่แตกต่างกัน คือ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ธนาคารยังต้องเป็นผู้สนับสนุนการเงินให้กับคนซื้อด้วยอีกต่อหนึ่ง

หากธนาคารไม่สนับสนุนเงินกู้ให้กับ ผู้ประกอบการ หรือคนซื้อ โครงการก็ไปไม่รอด ธนาคาร คือ ผู้ทรงอิทธิพลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างจริงแท้แน่นอน

แต่บทบาทของธนาคารในระยะหลังๆ ทำเอาชาวประชาดูหงุดหงิดใจไม่น้อย เริ่มกันตั้งแต่ การถ่างส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยฝากกับดอกเบี้ยกู้จนดูเกินงาม ธนาคารใหญ่ๆ มีส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิที่หักต้นทุนดำเนินการออกไปแล้วอยู่ที่ 3-4% ส่วนธนาคารเล็กๆ ก็ไม่เบามีดอกเบี้ยส่วนต่างสุทธิอยู่ที่ 2% ปลายๆ จนถึง 3%

แม้จะถูกทางการกดดันให้ลดช่องว่างลง ด้วยการลดดอกเบี้ยกู้ลงมาบ้าง เพื่อกระตุ้นการจับจ่าย ก็ลดให้พอเป็นพิธี ด้วยเหตุผลงามๆ ว่า ลดไปตอนนี้ก็ใช่ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ หรือธนาคารต้องกันส่วนต่างบางส่วนเผื่อไว้รองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก หนี้เสีย

มองดูแล้วมันไม่แฟร์เอาเสียเลยกับการทำธุรกิจของธนาคารที่โยนเอา ความเสี่ยงออกจากตัวไปให้ลูกค้ารับแทน ทั้งๆ ที่ในตอนกู้ก็มีการพิจารณากันอย่างละเอียดคัดแล้วคัดอีก เลือกแล้วเลือกอีก ใครเสี่ยงก็ ไม่ปล่อยกู้ หรือใครเสี่ยงก็ชาร์จดอกเบี้ย เพิ่ม ถ้าหากเกิดความผิดพลาดก็ต้องถือเป็นความผิดของตัวเอง ต้องยอมรับผิดชอบเองไม่ใช่โยนความเสี่ยงไปให้คนอื่นรับผิดชอบแทน แต่ตัวเองนั่งกินผลกำไรเป็นหมื่นๆ ล้านต่อปี

การลดดอกเบี้ยกู้ เพิ่มดอกเบี้ยฝากทำให้ส่วนต่างอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกว่านี้ เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หมุนเร็วขึ้น เพราะคนยังต้องการมีบ้านอยู่อีกมาก ส่วนแบงก์จะสกรีนความเสี่ยงเข้มงวดแค่ไหน ไม่มีใครว่าหรอกครับถ้าเป็นการรับความเสี่ยงนั้นไว้เอง

อีกเรื่องที่หงุดหงิดใจไม่แพ้กัน และจำเป็นต้องพูดถึง นั่นคือ การขายสินทรัพย์รอการขายของธนาคารและสถาบันการ เงินต่างๆ มีคนซื้อหลายคนที่สงสัยและสอบถามมามากว่า ทำไมหลายแบงก์ หรือโดยส่วนใหญ่ มักจะโยนความรับผิดชอบค่าโอน และค่าใช้จ่ายในการซื้อขายทั้งหมดให้คนซื้อ ทั้งที่บางเรื่องต้องแบ่งกันจ่ายคนละครึ่ง บางเรื่องอย่างภาษี ธนาคารต้องรับผิดชอบในฐานะคนขาย

หรืออย่างกรณีของการขายคอนโด มิเนียมที่เป็นสินทรัพย์รอการขาย ซึ่งมีการค้างชำระค่าส่วนกลางกับนิติบุคคลอาคารชุด ตามกฎหมายอาคารชุด ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องเงินมาชำระหนี้กองทุนให้หมดเสียก่อน นิติบุคคลอาคารชุดนั้นๆ ถึงจะออกใบปลอดจำนองให้เอาไปโอนได้

ที่ผ่านมาติดปัญหา เพราะไม่มีใครอยากรับภาระส่วนนี้ แม้แต่แบงก์ผู้ยึดสินทรัพย์จากลูกหนี้เก่ามาขายทอดตลาด แถมยังไปตามหนี้ส่วนขาดทบต้นทบดอกบวกกำไรจากการขายเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่อยากจะจ่ายค่าเงินกองทุน จนมีความพยายามจะ ให้แก้กฎหมายแพ่ง ให้การขายทอดตลาด ไม่ต้องชำระหนี้ส่วนกลางกันทีเดียว แต่ถูกค้านจากผู้บริหาร นิติบุคคลอาคารชุดว่า ไม่เหมาะและขัดกับกฎหมายอาคารชุด จนที่สุดก็ต้องถอยไปตั้งลำกันใหม่

เรื่องนี้หากทุกฝ่ายยอมที่จะรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งแบงก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์ก็ต้องยอมจ่าย นิติบุคคลเจ้าของหนี้ก็ต้องยอมลดหนี้ ก็น่าจะมีทางออกที่ดีได้ แต่ ที่หยิบมาพูดเพราะเจ้าของทรัพย์เองก็ไม่อยากรับภาระทั้งๆ ที่เป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่ต้องรับผิดชอบ ขณะที่นิติบุคคลเองก็ต้องยึดกฎหมายเป็นที่ตั้ง แม้กรมที่ดินจะมาเป็นตัวกลางแก้ปัญหาให้ แต่ก็ต้องพิจารณากันไปเป็นรายกรณี

ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวถึงการทำธุรกิจของแบงก์ ก็เพียงต้องการให้ผู้รับผิดชอบกิจการของแบงก์โดยตรงอย่างธนาคาร แห่งประเทศไทย น่าจะมีแนวทางที่ให้แบงก์ปฏิบัติอย่างชัดเจน และที่สำคัญ จะต้องสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับ ผู้บริโภคด้วย หรือว่าคนมีเงินอย่างแบงก์ ทำอะไรย่อมไม่น่าเกลียด จะได้ปลงเสีย ตั้งแต่วันนี้

view