สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 7) อัตราผลตอบแทนที่ควรเป็น

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์


ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดย บอร์ด บมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้

       อัตราผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3
       

       การแก้ไขวิธีการจ่ายค่าตอบแทนจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ ไปเป็นจำนวนตายตัว ทำให้ค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทราบถึงอัตราผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง ภายหลังการแก้ไขวิธีการจ่ายค่าตอบแทน โดยการคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อรายได้ในระหว่างปี 2533 ถึง 2548 ปรากฏว่าหลังจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ครั้งที่ 3 อสมท ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.41 จากรายได้ (เมื่อคำนวณจากรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว) และร้อยละ 1.44 จากรายได้ทั้งสิ้น (เมื่อคำนวณจากรายได้ที่แสดงในงบการเงินของบีอีซีบวกกับ รายได้ค่าโฆษณาที่แสดงในงบการเงินของ รังสิโรตม์ และนิวเวิลด์) เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากรายได้ที่เคยได้รับจำนวนร้อยละ 6.5 จะเห็นว่า อสมท ได้รับอัตราผลตอบแทนลดลงเป็นจำนวนร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับรายได้ของบีอีซี และร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งสินของ บีอีซี รังสิโรตม์ และ นิวเวิลด์)
       
       การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาได้รับ
       
       ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำธุรกิจสามารถวัดได้ในหลายลักษณะ เช่น ผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของกำไร (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของเงินสด (เงินปันผลรับหรือค่าตอบแทนรับ) ฯลฯ ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการ อสมท และ บีอีซี (โดยกลุ่มมาลีนนท์) ควรได้รับผลตอบแทนที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งรายละเอียดต่อจากนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราผลตอบแทนที่ อสมท และ บีอีซี ได้รับในหลายลักษณะเพื่อประโยชน์ของการเปรียบเทียบ โดยคำนวณจากผลตอแทนที่เกิดขึ้นภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 (ปี 2533-2548)
       
       ผลตอบแทน/อัตราผลตอบแทน ปี 2533-2548
       
       โดยผลตอบแทนที่เป็นเงินสด (ตอบแทน/เงินปันผล) อสมท ได้ 609 ล้านบาท ส่วนกลุ่มมาลีนนท์ คือ บีอีซี ทำได้ 5,742 ล้านบาท บีอีซี รังสิโรตม์ และ นิวเวิลด์ ได้ 11,492 ล้านบาท
       
       อัตราผลตอบแทนที่เป็นเงินสดต่อรายได้ของบีอีซี โดย อสมท เท่ากับ 2.41% บีอีซี เท่ากับ 22.69%
       
       อัตราผลตอบแทนที่เป็นเงินสดต่อรายได้ของ บีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ โดย อสมท ได้รับ 1.44% บีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ ได้รับ 27.26% ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน บีอีซีได้มากถึง 46.77% ส่วน บีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ ได้รับ 56.46%
       
       ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาควรได้รับ
       

       ข้อมูลที่มีอยู่นั้นตามผลตอบแทนที่ระบุข้างต้น ทำให้เห็นชดเจนว่า ผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับในระหว่างปี 2533-2548 มีจำนวน (อัตรา) น้อยมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่กลุ่มมาลีนนท์ได้รับจากการทำสัญญาร่วม ดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี กับ อสมท ทั้งที่สัญญาร่วมดำเนินกิจการเป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ควรแบ่งผลประโยชน์ และร่วมรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจ หากสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง อสมท กับ บีอีซี เป็นสัญญาร่วมดำเนินกิจการอย่างแท้จริงแล้ว บีอีซีในฐานะผู้ลงทุนควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่เหมาะสม ในขณะที่ อสมท ในฐานะผู้ให้สัมปทานควรรับค่าตอบแทนที่ผันแปรตามผลประกอบการของผู้ลงทุน
       
       เนื่องจากการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมจะทำให้การแบ่งปันผล ประโยชน์ของสัญญาร่วมดำเนินกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม การสอบสัญญานี้จึงได้ทำการศึกษาอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาควรได้รับดังนี้
       
       (1) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่บีอีซีควรได้รับ
       
       (2) อัตราผลตอบแทนจากรายได้ที่ อสมท ควรได้รับ
       
       อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่บีอีซีควรได้รับ
       
       อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Equity) คือ ผลตอบแทนสุทธิจากค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ผู้ถือหุ้นควรได้รับจากการลงทุนใน บริษัท ในการศึกษานี้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับปี (กำไรสุทธิ เป็นกำไรที่ได้หักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นซึ่งรวมถึง ค่าสัมปทาน ดอกเบี้ยจ่าย และวิธีเงินกู้) หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยในระหว่างปี (ส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยสำหรับงวดคำนวณโดยใช้ผลรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น ต้นปีกับปลายปีหารด้วย 2)
       
       ตามหลักความจริง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ที่บริษัทได้รับ หากคำนวณหาค่าเฉลี่ยในระยะยาว ควรใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทชั้นนำ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (หรือที่เรียกว่าอัตราอ้างอิง (Reference Rate)) เว้นแต่บริษัทนั้นจะมีปัจจัยบวกที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูง กว่าอัตราอ้างอิงอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งผู้บริหารของบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ บริษัททำธุรกิจในตลาดผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด หรือบริษัทได้ถ่ายโอนผลประโยชน์ของผู้อื่น เช่น คู่สัญญา มาเป็นของตนเอง ฯลฯ
       
       ตามปกติอัตราอ้างอิงกำหนดขึ้นจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ได้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกให้รวมอยู่ในการคำนวณ SET 50 Index (บริษัท SET50 ที่นำมาใช้ในการศึกษาถือเป็นตัวแทนที่เที่ยงธรรม เพราะเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อ วันย้อนหลัง 12 เดือน สูงสุด 50 อันดับแรก และมีมูลค่าซื้อขายสม่ำเสมอ) (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัท SET50”) โดยการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดอัตราอ้างอิงจาก บริษัท SET50 หลังจากที่ได้ตัดบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินออกจำนวน 10 บริษัท
       
       (บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินมีลักษณะเป็นธุรกิจเฉพาะและต้องดำเนิน งานภายใต้กฎหมายเฉพาะจึงไม่ถือเป็นตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณอัตราผล ตอบแทนอ้างอิงสำหรับบริษัททั่วไป เช่น บีอีซี) และบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ อีก 6 บริษัท (บริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐไม่ควรนำมารวมในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนอ้าง อิงด้วยสาเหตุที่ว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานมักมีการดำเนินกิจการในลักษณะผูกขาดหรือได้รับสิทธิ พิเศษตามสัญญาไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง การแยกบริษัทที่ได้รับสัมปทานรัฐออกจากการคำนวณจะทำให้ อัตราผลตอบแทนอ้างอิงที่คำนวณได้ถือเป็นตัวแทนที่เที่ยงธรรมของบริษัทชั้นนำ ทั่วไปที่ประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของบริษัทเอง)
       
       ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัท SET34” (อ่านต่อวันพรุ่งนี้)

view