สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สัมภาษณ์พิเศษ : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและผู้สอบบัญชีภาษีอากร

สรรพากรสาส์น : เนื่อง จากช่วงนี้เป็นระยะเวลาสำคัญของผู้เสียภาษีที่จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับปีภาษี 2551 จึงขอถือโอกาสนี้พูดคุยกับท่าน ผอ. ในประเด็นที่สำคัญๆ ค่ะ
ผอ.มบ. : ขอบ คุณครับ และก็เห็นด้วยว่าน่าจะได้พูดคุยในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 โดยเฉพาะในประเด็น ที่ท่านต้องแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ บัญชีกำไรขาดทุน ที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฏากร ตรวจสอบและรับรอง บัญชี เนื่องจากว่าอาจยังมีความไม่เข้าใจของ ผู้ประกอบการอยู่บ้าง

สำหรับบุคคลซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวล-รัษฏากร ประกอบไปด้วย

1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) หรือ TA จะมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจด ทะเบียนขนาดเล็ก ซึ่งหมายถึงห้างหุ้นส่วนที่มี ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant) หรือ CPA จะมีสิทธิ ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของบริษัท และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

เพราะ ฉะนั้นไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 แล้ว งบการเงินของท่านต้องได้รับการตรวจสอบโดย ผู้สอบบัญชีภาษีอากรหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามเงื่อนไขที่ได้เรียนข้างต้น

สรรพากรสาส์น : สำหรับ การกำกับและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด รวมตลอดถึงการพิจารณาลงโทษ มีแนวทาง การดำเนินการอย่างไรบ้างคะ

ผอ.มบ. : กรม สรรพากรมีนโยบายในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสด้วยการ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและ รับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฏากร โดยคณะกรรมการดังกล่าว จะแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและภายในกรมสรรพากร เพื่อทำหน้าที่พิจารณาการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีรวม ตลอดถึงการพิจารณาลงโทษด้วย

สรรพากรสาส์น : ได้มีการพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอย่างไรหรือไม่คะ

ผอ.มบ. : ใน ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปี 2551 คณะกรรมการพิจารณาการปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ได้พิจารณาการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี จำนวน 87 ราย เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร 50 ราย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 28 ราย และเป็นทั้งผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 9 ราย โดยสรุปผลการพิจารณาแยกออกเป็น 1) ยุติเรื่อง จำนวน 2 ราย 2) ระดับการพิจารณาเตือน 23 ราย 3) ระดับการพิจารณาภาคทัณฑ์ จำนวน 41 ราย 4) ระดับการพิจารณาพักใบอนุญาต จำนวน 15 ราย 5) ระดับการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต 5 ราย และ 6) ปฏิบัติงานเกินกว่า 300 รายต่อปี จำนวน 1 ราย ซึ่งก็ถือได้ว่าคณะกรรมการฯ ได้มีความเข้มงวดในการพิจารณาอย่างเต็มที่

สรรพากรสาส์น : ส่วนใหญ่มีประเด็นความผิดอะไรบ้างคะ

ผอ.มบ. : สำหรับประเด็นความผิดที่มักพบบ่อยๆ จากการตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ พอจะสรุปได้ออกเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้

1. การจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

• ทางด้านงบดุล

(1) สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินไม่มีรายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ

(2) กิจการประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างให้แก่หน่วยราชการแต่ในงบการเงิน ไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งโดยลักษณะของธุรกิจประกอบกับระเบียบของทางราชการ กิจการควรมีบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับรับค่าตอบแทนจากส่วนราชการ

(3) บันทึกรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของหุ้นส่วนฯ/กรรมการ เป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือไม่บันทึกรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการเป็นสินทรัพย์ของกิจการ

(4) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น จัดประเภทรายการเจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเจ้าหนี้การค้า แสดงรายการลูกหนี้กรม-สรรพากรเป็นลูกหนี้การค้า แสดงรายการสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จัดประเภทสินค้าคงเหลือรวมอยู่ในรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ไม่แยกรายการที่มีสาระสำคัญออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และจัดประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นต้น

(5) แสดงรายการลูกหนี้ เจ้าหนี้ และเงินกู้ยืมซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันโดยแยกรายการบัญชีซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด

• ทางด้านงบกำไรขาดทุน

(1) ไม่แสดงรายการต้นทุนขาย / บริการ ซึ่งผิดปกติของการประกอบธุรกิจ

(2) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น จัดประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดต้นทุนขาย/ บริการไปไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แสดงค่าอากรขาเข้าเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่แสดงเป็นต้นทุนหรือไม่มีการปันส่วน ต้นทุนขาย/บริการและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นต้น

(3) งบการเงินมีรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แต่ไม่ปรากฏรายการค่าเสื่อมราคาหรือคำนวณค่าเสื่อมราคาเพียงบางรายการหรือ ไม่ได้คำนวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ได้มาของทรัพย์สิน

(4) รายการค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนมีจำนวนเงินไม่ตรงกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน

• หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(1) ไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบ-การเงิน

(2) เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ เกณฑ์พึงรับพึงจ่าย เกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย ซึ่งไม่เป็นไปตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี

(3) เปิดเผยรายละเอียดของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ โดยมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานการบัญชี เช่น อายุการใช้งาน อัตราการคิดค่าเสื่อมราคา ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคา ไม่แสดงรายการกระทบยอดราคาตามบัญชีระหว่างวันต้นงวดจนถึงวันสิ้นงวด

(4) ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาหรือเปิดเผยวิธี คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงประมวลรัษฎา-กรซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการ บัญชี

(5) เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่ตรงกับการบันทึกบัญชี

(6) เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับประเภทสินค้าคงเหลือ

(7) ไม่เปิดเผยรายการข้อมูลที่สำคัญตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด เช่น ภาระผูกพันข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงาน ต่อเนื่อง

2. การปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

2.1 ไม่มีการแจ้งรายชื่อนิติบุคคลที่คาดว่าจะลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินตามแบบ บภ. 07/08 หรือแจ้งเกินกำหนดเวลา

2.2 แผนการสอบบัญชีและประเมินความเสี่ยง

(1) ไม่มีการจัดทำแผนการสอบบัญชีและการประเมินความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร

(2) แผนการสอบบัญชีมีรูปแบบไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่ได้กำหนดช่วงเวลาในการตรวจสอบและเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ

2.3 แนวทางการสอบบัญชี

(1) ไม่มีการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับรายการที่มีสาระสำคัญในงบดุล งบกำไรขาดทุนและด้านภาษีอากร

(2) แนวทางการสอบบัญชีมีรูปแบบ ไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ วิธีการตรวจสอบ ดัชนีกระดาษทำการอ้างอิง การมอบหมายงานให้ผู้ช่วยฯ ปฏิบัติงาน ผู้จัดทำ วันที่จัดทำ

(3) แนวทางการสอบบัญชีกำหนดวิธีการตรวจสอบไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การตรวจสอบ

(4) แนวทางการสอบบัญชีไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ในการตรวจสอบและรับรอง บัญชีตามที่อธิบดีกำหนดไว้ในแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการ ตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร เช่น ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ การยืนยันยอดลูกหนี้ เจ้าหนี้

2.4 กระดาษทำการ

(1) ไม่มีการจัดทำกระดาษทำการเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญ

(2) จำนวนและข้อมูลในกระดาษทำการไม่สอดคล้องกับแนวทางการสอบบัญชี เช่น ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบตามแนวทางการสอบบัญชี ไม่พบหลักฐานการตรวจสอบตามที่ระบุดัชนีอ้างอิงในแนวทางการสอบบัญชี

(3) กระดาษทำการมีรูปแบบไม่สมบูรณ์หรือมี แต่บันทึกรายละเอียดไม่ครบ เช่น ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้จัดทำ วันที่ปฏิบัติงาน ลายมือชื่อผู้สอบทาน วันที่ปฏิบัติงานตรวจสอบ ลายมือชื่อผู้ช่วยฯ

(4) กระดาษทำการไม่สมบูรณ์สำหรับรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญ เช่น กระดาษทำการรายได้ไม่ครอบคลุมถึงวิธีการรับรู้รายได้ ไม่แสดงการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ไม่มีรายละเอียดสินค้าคงเหลือ ไม่มีการทดสอบการ ตีราคาสินค้าคงเหลือ

(5) กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบตามวิธีการตรวจสอบที่อธิบดีกำหนดไว้ใน แนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้ สอบบัญชีภาษีอากร เช่น ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ไม่ปรากฏหลักฐานการขอคำยืนยันยอดจากลูกหนี้/เจ้าหนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานการขอข้อมูลธนาคาร ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ ไม่ยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ

2.5 ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีเป็น กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร เช่น ไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยรายการเงินให้ กู้ยืมแก่หุ้นส่วนหรือคำนวณไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

2.6 ไม่มีกระดาษทำการแสดงการ ตรวจสอบการจัดทำบัญชีพิเศษและการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2.7 รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีมีข้อความไม่ครบถ้วนและใช้รูปแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่ถูกต้อง

2.8 ไม่มีการทดสอบรายการตามที่นิติบุคคลแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกิจการตามแบบแจ้งข้อ ความของกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือ ผู้จัดการที่แนบพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

3. จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

3.1 มีสถิติการรับงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกว่า 300 รายต่อปี

3.2 มีสถิติการรับงานเป็นจำนวนมากซึ่งเกินความรู้ความสามารถที่ตนจะปฏิบัติงาน ได้และไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ช่วยฯ ที่ได้แจ้งต่อกรมสรรพากร

3.3 ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด ว่ามีผู้ช่วยฯ ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจริง

3.4 ไม่ได้ใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบ วิชาชีพโดยทั่วไป เช่น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงลายมือชื่อตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุน 6 ล้านบาทซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก เอกสารที่อ้างอิงประกอบการตรวจสอบได้รับมาภายหลังวันที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น

4. ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียภาษีอากรของตนเองไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

สรรพากรสาส์น : เพราะ ฉะนั้นจริงๆ แล้ว บทบาทของผู้สอบบัญชีภาษีอากรก็มีความสำคัญต่อผู้ประกอบกิจการ ตรงนี้ท่านมองบทบาทของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในปัจจุบันอย่างไร
ผอ.มบ. : ใน ความคิดเห็นส่วนตัวมีมุมมองว่าผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่ควรมีบทบาทเพียงการ ตรวจสอบและรับรองงบการเงินที่จัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เท่านั้น และไม่จำเป็นต้องมีลักษณะเดียวกับ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เนื่องจากความรับผิดชอบสำหรับธุรกิจมีขนาดแตกต่างกัน แต่ควรมีบทบาทในลักษณะการเป็น PRE AUDIT ให้กับกรมสรรพากรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อ กรมสรรพากรซึ่งจะได้ผู้ตรวจสอบและรับรอง งบการเงิน และผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กับกรม-สรรพากร สามารถแนะนำให้แก่ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็กได้เพราะผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้อง เป็นผู้รับรองความถูกต้องด้านภาษีอากรด้วย เสมือนเป็นตัวแทนกรมสรรพากรในการ PRE AUDIT เบื้องต้นให้กับกรมสรรพากรก่อน

ส่วน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเอง ก็จะได้รับประโยชน์จากการได้รับความรู้ด้านภาษีอากร ซึ่งกรมสรรพากรได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาและจัดอบรมในหลักสูตรต่างๆ อย่าง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในประมวลรัษฎากรและมาตรการภาษีใหม่ๆ และที่สำคัญ นิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไป ก็จะมีที่ปรึกษาหรือตัวแทนในการติดต่อกรม-สรรพากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้าน ภาษีเป็นอย่างดี ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือความเข้าใจผิดใน ข้อกฎหมาย ก็จะทำให้เสียภาษีได้ถูกต้องครบถ้วน

เพราะ ฉะนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรควรจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบและ รับรองบัญชีในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอจะสรุปออกได้เป็น

• ความรับผิดชอบต่อลูกค้า จะต้องไม่เปิดเผยความลับของกิจการที่ตนรับงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เว้นแต่เป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยใช้ความระมัดระวังและความสามารถอย่างเต็มที่ รับผิดชอบในรายงานผลการตรวจสอบและรับรองบัญชีโดยคำนึงถึงความ ถูกต้อง และเปิดเผยรายการและข้อมูลในงบการเงินให้เพียงพอ

• ความรับผิดชอบต่อตนเอง ชำระภาษีของตนเองให้ถูกต้อง ครบถ้วน

• ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ไม่รายงานผลการตรวจสอบอันเป็นเท็จ และเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญต่อการตัดสินใจ และ

• ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ช่วยให้การเสียภาษีอากรของกิจการถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อนำเงินภาษิอากรไปพัฒนาประเทศชาติ

ใน ส่วนของสำนักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร หรือ มบ. นั้น ก็ได้มีกรอบการทำงานที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน ทั้งในส่วนของการสรรหา ผู้สอบบัญชีภาษีอากร กำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติงานรวมทั้งระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี กำกับ ติดตาม และควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ กำหนดรวมตลอดถึงการพิจารณาลงโทษ และยังได้จัดให้มีการอบรมและพัฒนาหลักสูตรการอบรมสำหรับผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ร่วมกัน

สรรพากรสาส์น : สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านฝากข้อเสนอแนะหรือข้อพึงระวังแก่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีค่ะ
ผอ.มบ. : ปัญหา ข้อผิดพลาดที่พึงระวัง ในการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ก็มีหลายประเด็น อย่างเช่น รับงานตรวจสอบผ่านตัวแทนหรือสำนักงานบัญชีโดยไม่ได้ติดต่อกับผู้ประกอบการ หรือมิได้รับมอบเอกสารทางบัญชีจากกิจการ ไม่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น ไม่จัดทำแนวทางการสอบบัญชี ไม่จัดทำกระดาษทำการในระหว่างการตรวจสอบ จำนวนรายกิจการที่รับตรวจสอบเกินกว่าที่กำหนด การเลือกผู้ช่วยฯ ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ที่จะต้องยึดมั่น ในหลักตามจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและความสามารถทางวิชาชีพที่พึงมี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่รับผิดชอบด้วยความระมัดระวัง

หาก ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังจะไม่เกิดข้อผิดพลาด ดังกล่าวข้างต้น สามารถปฏิบัติงานในการเป็น ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่ดี ซึ่ง จะได้รับประโยชน์จากการได้รับการยอมรับจากลูกค้าและบุคคลทั่วไปรวมทั้งกรม สรรพากรว่าเป็น ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดี เป็นที่ไว้วางใจจากกรมสรรพากร รวมถึงได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าว่าสามารถ ลดความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีย้อนหลัง

view