สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ASEAN ROAD NETWORK การค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาค (จบ)

จาก ประชาชาติธุรกิจ


เมื่อ เร็วๆ นี้นิตยสาร Logistics Thailand ได้จัดสัมมนา "ASEAN ROAD NETWORK" : การค้าและ โลจิสติกส์ในภูมิภาค งานรวมพลคนโลจิสติกส์ปีที่ 7 ขึ้น ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากลยุทธ์เจาะตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนจากเครือ ข่ายการคมนาคมขนส่ง รูปแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบการ ส่งออกไปยังตลาดหลักและดั้งเดิมของไทยจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งฉบับนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมาดังนี้

ดร.เผ่าภักดิ์ ศิริสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า นอกจากโครงข่าย ASEAN ROAD NETWORK ตนอยากเสนอมุมมองเรื่อง 3 PL ที่จะเข้าโครงข่ายขนส่งข้ามพรมแดน เช่น การติดตั้งระบบติดตามตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์ที่วิ่งอยู่ เพื่อให้ส่งข้อมูลกลับมาได้ เราพร้อมจะลงทุนกันหรือไม่ เพราะสินค้าต้องไปกับข้อมูล เราจะดำเนินการเรื่องนี้กันอย่างไร




"หนานหนิง" ศูนย์กลางขนส่งใหม่จีน

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้มุมมองว่า เรื่อง GMS ถนน R 8 ถนน R 9 พูดกันเต็มไปหมด แต่ตนอยาก ยกตัวอย่างเรื่องน้องธรรมรัตน์ ที่ชนะเลิศกีตาร์โลกมา โดยน้องเขาจบ ม.6 แล้วไปเรียนต่อด้านนี้โดยตรง น้องเขาให้เหตุผลว่า "ผมอยากเข้าใจกีตาร์ จึงต้องไปเรียนกีตาร์"

ดังนั้น เรื่อง ASEAN ROAD NETWORK ไม่ใช่เราต้องมองเครือข่ายถนนเพียงอย่างเดียว ต้องดูเรื่องรถไฟ เครื่องบิน และอื่นๆ ด้วย อย่ามองแค่จุดเดียว ต้องมองให้เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งล่าสุดเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตนไปเมืองหนานหนิง ได้เห็นแผนที่ทางรถไฟของจีนที่จะเชื่อมกับเวียดนามมาไทยและไปไกลถึงสิงคโปร์

ถ้า อยากจะรู้อนาคต ASEAN ROAD NETWORK จะเป็นอย่างไร ต้องดูยุทธศาสตร์จีน ซึ่งยุทธศาสตร์โครงข่าย เส้นทางขนส่งของจีนที่จัดทำทุก 5 ปีจะหมดลงในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เท่าที่ตนประเมิน ศูนย์กลางการขนส่งของจีนที่จะเชื่อมกับอาเซียนที่ใหญ่ที่สุดคือหนาน หนิงอย่างแน่นอน

ดร.ธนัญญา วสุศรี ผู้เชี่ยวชาญโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ในฐานะที่คลุกคลีกับการวิจัยสินค้าเกษตรมานาน จึงอยากจะให้ผู้ประกอบการตระหนักในเรื่องนี้ให้มากขึ้น นั่นคือสินค้าเกษตรมีต้นทุนโลจิสติกส์สูงมากถึง 20-40% โดยสินค้าผักผลไม้สดที่เน่าเสียง่าย ต้นทุนความสูญเสียถึง 40% จะอยู่ภายหลัง เก็บเกี่ยวผลผลิต ฉะนั้น หากไม่วางแผนกระจายสินค้าให้ดี กำไรจะหายไปมาก อีกประการหนึ่ง คือจะมองเรื่องโลจิสติกส์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องวางแผนเรื่องการ บริหารสต๊อกสินค้าด้วย ตนมองว่า ASEAN ROAD NETWORK เป็นแค่ฮาร์ดแวร์ ผู้ประกอบการต้องรู้เขารู้เราให้มากกว่านี้ คุนหมิงไม่ติดทะเล ทำไมไทยไม่ส่งสินค้าอาหารทะเลไปขาย โจทย์ใหญ่ คือจะทำอย่างไร จึงจะรู้เขา

ดร.วีรพัฒน์ เศรษฐสมบูรณ์ ผู้วิจัย เส้นทางการค้า East West Economic Corridor มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ R 9 (มะละแหม่ง-แม่สอด-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เวียดนาม) ปริมาณรถยนต์ที่วิ่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่มุกดาหาร ปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 7 หมื่นคัน จากปีก่อนหน้านั้น 3 หมื่นคัน ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มเป็น 7,000 ตู้ ในปี 2551 จากปี 2550 ที่มี 3,200 ตู้ มีการส่งข้าวเหนียวจากอุดรธานีไปขาย

ส่วนการท่องเที่ยว คนไทยไปเที่ยวเวียดนามผ่านสะพานนี้ค่อนข้างมาก ทำรายได้ให้ไกด์ท่องเที่ยวชาวเวียดนามถึงคนละ 100 เหรียญสหรัฐต่อวัน

นาย สุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้เชี่ยวชาญโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงโจทย์ ASEAN ROAD NETWORK กับประโยชน์ต่อประเทศไทยว่า ต่อไปการวางกรอบพัฒนาประเทศไทย ควรพิจารณาถึงกลุ่มอาเซียนด้วย และต่อไปภาคเอกชนจะใช้ประโยชน์จากอาเซียนเน็ตเวิร์ก เช่น ปิโตรเคมีสนใจจะบุกเบิกตลาดอย่างไร ควรรวมกลุ่มมาหารือกับภาครัฐเพื่อช่วยเหลือด้านภาคเกษตรของไทย ถือเป็นโอกาสให้ LSP ไทยบุก GMS ใน 2-3 ปีข้างหน้า เพราะภาครัฐกำลังจะจดทะเบียนเกษตรกร เรื่อง พ.ร.บ. ความรับผิดชอบต่อความ เสียหายจากสินค้าไม่ปลอดภัย 2551 ผู้บริโภคฟ้องร้องต่อศาล และศาลพิจารณาเสร็จในวันเดียว และนโยบายของรัฐ เรื่อง GMP

ประเด็น เรื่องการสร้างคนในภาค โลจิสติกส์ให้ได้มาตรฐาน รัฐคิดโครงการนี้มา 2 ปี โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานฝึกอบรมไปแล้ว 4 หมื่นคน จะทำให้ภาคการผลิตสายนี้เห็นผลงานใน 2 ปีข้างหน้า

เรื่อง Single Window ทำมาเป็นปีที่ 6 แล้ว งบฯล่าสุด 300 ล้านบาท อยู่ที่กรมศุลกากร แต่ยังติดปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ คาดว่าอีก 2 ปี Single Window จะมีผลชัดเจนขึ้นกว่านี้

เรื่อง Single Window Entry ให้ผู้ขอ กรอกรายละเอียด ยังไม่เกิด แต่จะนำร่องสินค้า 2-3 ชนิด กับ 2-หน่วยงาน คีย์ครั้งเดียว ส่งข้อมูลถึงกันตลอด

เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน ให้ได้มาตรฐาน อาจารย์จากสถาบันการศึกษา 30 ท่าน ขณะนี้พร้อมเป็น เทรนเนอร์ได้ทั้ง 30 ท่าน เพื่อไปสอนอาจารย์อีก 150 ท่าน โดยจะมีการจัดระบบการเรียนการสอนแบบ CASE STUDY ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ ทำทางฝั่ง Productivity ก่อน เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว ไทยก็จะไปโลด

view