สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คุกการเมือง-คดีปมทุจริต จาก สฤษดิ์ ถึง วีระ และ ทักษิณ

จากประชาชาติธุรกิจ



คดีการเมืองที่ครึกโครมหลายคดี ล้วนมีราก-เงามาจากสมัยที่ปมผลประโยชน์ทับซ้อนบานสะพรั่งราวดอกเห็ดหน้าฝน

ทั้ง 15 คดีมีนักการเมือง-ข้าราชการ-นักธุรกิจพัวพันไม่ต่ำกว่า 100 คน

อดีตรัฐมนตรีที่เป็น "ลูกน้อง" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บางคนมีคดีติดตัวไม่น้อยกว่า 2 คดี

ทุกคดีล้วนเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่มี ผลต่อกระดานอำนาจของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล คณะที่ 59

หลายคดีอยู่ในกระบวนการสอบสวนพยานเพิ่มเติม

หลายคดีอยู่ในระหว่างรอวันพิพากษา

ปัญหา คอร์รัปชั่นหรือการทุจริตโดยตรง-การทุจริตเชิงนโยบาย กำลังส่งผลต่อ "กรรม" ที่นักการเมืองเคยก่อไว้ จนเป็นสถิติว่าประเทศไทยยังคงติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศในทวีปเอเชียที่ยังมีปัญหาการ "คอร์รัปชั่น" ในวงราชการ-การเมือง

เมื่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตกล้ายาง ในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 จึงมีอนาคตทางการเมืองของนายเนวิน ชิดชอบ 1 ในจำเลยทั้งหมด 44 คนเป็นเดิมพัน

แต่คนลิขิต ย่อมมิสู้ฟ้าลิขิต เมื่อศาลแถลงเลื่อนการตัดสินคดีนี้ออกไปเป็นวันที่ 21 กันยายน 2552

ทำให้อุณหภูมิการเมืองที่ร้อนแทบปรอทแตกด้วยคดีการเมืองและฎีกาการเมือง ลดความดุเดือดลงหลายองศา

และแน่นอนว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีทุจริตของนักการเมืองคดีแรก อีกทั้งย่อมไม่ใช่คดีสุดท้าย

ย้อน รอยไปค้นคดีนักการเมืองทุจริตคดีแรกที่ศาลตัดสินให้นักการเมืองติดคุก เกิดขึ้นในยุคของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 11

โดย ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกพลเอกสุรจิต จารุเศรณี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร แม้ว่าขณะที่มีคำพิพากษาของศาลออกมานั้น พลเอกสุรจิตจะได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วก็ตาม

เพราะ พลเอกสุรจิตเป็นรัฐมนตรีที่มีข่าวคราวที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฉ้อราษฎร์ บังหลวงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้มีการรับสินบนจากพ่อค้าในคดีกินป่าอัน โด่งดัง แต่ตกม้าตายจากพ่อค้าผู้ให้สินบนฟ้องร้อง

ผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ตัดสินคดีสร้างประวัติศาสตร์และมาตรฐานให้กับระบบยุติธรรมในครั้งนั้น คือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์

ไม่นานหลังจากนั้นพลเอกสุรจิตเสียชีวิตในคุก

นักการ เมืองคนต่อมาที่ถูกศาลตัดสินให้จำคุก คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

แต่ด้วยความช่วยเหลือจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษและพ้นคุกในที่สุด

ทำ ให้ "วีระ" มีชีวิตนอกคุก และยังคงวนเวียนอยู่ในกระดานการเมือง แล้วย้อนรอยมา "ขอพระราชทานอภัยโทษ" ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุด-ร่ำรวยที่สุด ในคดีปมทุจริตการซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาฯ ซึ่งไม่ยอมรับการตัดสินคดี และใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ

แต่คดีที่ทำให้นักการเมืองติดคุกโดย ไม่ใช่คดีทุจริต คือ คดีพรากผู้เยาว์ อันมาจากกามวิตถารของ "ป๋าเหลิม" นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตสมาชิกวุฒิสภา

ปัจจุบัน "เฉลิม" เป็นนักการเมืองที่ติดคุกอยู่เรือนจำกลางคลองเปรมเพียงคนเดียวที่ไม่ได้มาจากคดีทุจริต

จาก นั้นเมื่อ 19 กันยายน 2546 ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งทำให้นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ที่ถูกศาลตัดสินให้จำคุก แต่นายรักเกียรติ ตัดสินใจหนีคำพิพากษา

ต่อ มาวันที่ 28 ตุลาคม ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย สั่งยึดทรัพย์ 233 ล้านบาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากร่ำรวยผิดปกติ แล้วพิพากษาให้ จำคุกเป็นเวลา 15 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับเงินสินบนจำนวน 5 ล้านบาท จากบริษัทยาแห่งหนึ่ง

แต่หนีไปได้เพียง 1 ปี 1 เดือน นายรักเกียรติก็ถูกจับกุม ขณะที่ออกกำลังกายตอนเช้าอยู่ที่สวนสาธารณะ

ต่าง จากคดีของ นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นนักการเมืองคนที่ 5 ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาฯ ตัดสินคดี "ทุจริตที่ดินคลองด่าน" ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดแก่ตนเอง

และเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด

โครงการ อภิมหาโกงนี้มีการปั้นแต่งเงินลงทุนถึง 2.3 หมื่นล้านบาท โดยอ้างว่าจะทำให้ประเทศไทยมีบ่อบำบัดน้ำเสียบนพื้นที่ 1,900 ไร่ ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย

นายวัฒนาหนีคดีในวัยที่อายุเลย 70 ปีแล้ว หากกระทำผิดจริงมีโทษจำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับตั้งแต่ 20,000-40,000 บาท หรือประหารชีวิต

"นายวัฒนา" จึงตัดสินใจหนีคดีทุจริตออกไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศอย่างเงียบๆ

ราย ที่ 6 คือ "กำนันเป๊าะ" นายสมชาย คุณปลื้ม ผู้กว้างขวางแห่งภาคตะวันออก อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข จากคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ต.เขาไม้แก้ว อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยศาลฎีกาออกหมายจับเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549

"กำนันเป๊าะ" ถูกศาลฎีกาจะพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำคุก 5 ปี 4 เดือน และยังถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุก 25 ปี ในความผิดร่วมกับผู้อื่นจ้างวานฆ่านายประยูร สิทธิโชติ หรือ "กำนันยูร" อดีตกำนันตำบลเสม็ด อีกข้อหาหนึ่งด้วย

ส่วนนักโทษหนีคดีที่มี ตำแหน่งอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลฎีกา แผนกคดีอาญาฯ ฟ้องในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก แอบหลบหนีเดินทางไปต่างประเทศ โดยอ้างกับศาลไปว่าไปร่วมงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

หลัง พลาดถูกนายอนันต์ วงศ์ประภารัตน์ เลขานุการศาลฎีกา จับได้ว่านายพิชิต ชื่นบาน ทนายความประจำตัวและทีมกฎหมายอีก 2 คน เสนอสินบน 2 ล้านบาทให้เจ้าหน้าที่ศาลแผนกคดีอาญาฯ ก่อนกำหนดเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องเข้ารายงานตัว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551

ตราบใด ที่การดำเนินคดีของอดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐ (คตส.) ทั้งหมด 15 คดี ที่เป็นผลมาจากการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 ยังคงคาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม นักการเมือง อย่างน้อย 35 คนที่เคยร่วมคณะรัฐบาล "ทักษิณ" ยังคงมีมลทินติดตัว

คุกการเมือง ที่เคยขัง-และรอวันลั่นกุญแจ นอกจากจะมี "พล.อ.สุรจิต-รักเกียรติ-เฉลิม-วีระ" หรือ "กำนันเป๊าะ-วัฒนา" แล้ว ยังมี "เนวิน ชิดชอบ-สมคิด จาตุศรีพิทักษ์-อดิศัย โพธารามิก" และ ฯลฯ ที่ยังรอฟังคำพิพากษาอย่างใจจด-ใจจ่อ

เพราะ "ดาบอาญาสิทธิ์" ที่อยู่ในมือศาลฎีกาเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่นักการเมืองทุจริตไม่อยาก โคจรชีวิตไปพบเจอ นอกจากจะฟันจริง เจ็บจริงแล้ว ประเมินกันว่าถ้าไม่หนีโอกาสต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอยู่ในคุกก็มี สูง

ส่วนคดีที่คาดว่ารอจ่อคิวลงดาบอาญาสิทธิ์ต่อไป คือ คดีรถดับเพลิง มูลค่าความเสียหาย 1,900 ล้านบาท ที่มีชื่อนักการเมืองทั้งในฝ่ายค้าน-รัฐบาลพัวพัน

ประวัติศาสตร์การเมืองไทยรอจารึกชื่อ "นักการเมืองทุจริต" ด้วยใจระทึกยิ่ง

view