สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สตง.วุ่น! คำสั่งจารุวรรณแต่งตั้งซี 9 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฝืนมติกรรมการ -ศาลปกครองตัดสินเพิกถอน

จากประชาชาติธุรกิจ



ศาล ปกครองพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง"คุณหญิงจารุวรรณ" ใช้ดุลพินิจไม่ชอบในการแต่งตั้งซี 9 สตง. ฝืนมติคณะกรรมการ-ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ทบทวนใหม่ภายใน 30 วัน เผยคำให้การผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินอ้างอดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมายขาด คุณสมบัติ ตั้งคนใหม่เสียบแทน

ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ให้เพิกถอนคำสั่งของคุณหญิงจารุวรรณ  เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินในการแต่งตั้งนายอภิชัย ล้อไพบูลย์ จากผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานการตรวจเเงินแผ่นดิน(สตง.)ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2 ระดับ 9 เนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบเพราะไม่ทำตามมติคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ที่เสนอให้แต่งตั้งนายอภิชัย ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย  จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีดังกล่าว นายอภิชัย ล้อไพบูลย์ ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง สตง.ที่ 1 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา)ที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง (มีนายชูวิทย์ นุชถาวร ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักกฎหมายแทนนายอภิชัย ล้อไพบูลย์ เป็นผู้ร้องสอด)ว่า  สตง.โดยคุณหญิงจารุวรรณได้ออกคำสั่ง สตง.ที่ 40/2549 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 แต่ง ตั้งผู้ฟ้องคดี(นายอภิชัย ล้อไพบูลย์)ให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในและการจัด อัตรากำลังของ สตง.ใหม่โดยให้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2  (สายนักวิชาการ) จากเดิมที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย(นักบริหาร 9)ทำ ให้มีผลกระทบต่อสถานะและสิทธิอื่นๆของผู้ฟ้องคดีที่ควรได้รับโดยชอบและได้ รับเงินประจำตำแหน่งลดลง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเลือกปฏิบัติ ขณะเดียวกันได้แต่งตั้งนายชูวิทย์ นุชถาวร ผู้ร้องสอดเป็นผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย
ประเด็นที่ศาลปกครองต้องวินิจฉัยคือ การ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2(คุณหญิงจารุวรรณ)พิจารณาแต่งตั้งผู้ฟ้องคดี(นายอภิชัย)ให้ดำรงตำแหน่งผู้ ตรวจเงินแผ่นดิน 2 ระดับ 9 โดยไม่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งอยู่เดิมตามที่คณะกรรมการพิจารณา แต่งตั้งบุคคลฯเสนอ และได้แต่งตั้งนายชูวิทย์ผู้ร้องสอดให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นการใช้ ดุลพินิจโดยชอบหรือไม่
จากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่(มีนายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นประธาน) ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งผู้ฟ้องคดี(นายอภิชัย) เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและมีบันทึกข้อความเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2(คุณหญิงจารุวรรณ) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งต่อไป
กรณีจึงฟังได้ว่า คณะกรรมการดังกล่าวมีมติให้แต่งตั้งผู้ฟ้องคดี(นายอภิชัย)ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดคนลงตามโครงสร้างใหม่ที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยคุณหญิงจารุวรรณ แม้จะมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วน ราชการตามมาตรา 55 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ก็ตาม แต่ก็ควรพิจารณาแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเข้าดำรงตำแหน่งตามที่คณะกรรมการดังกล่าวเสนอ หรือหากพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว จะแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น จะต้องมีเหตุผลที่ชอบธรรมและมีน้ำหนักเพียงพอ ซึ่งกรณีของผู้ฟ้องคดีนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2(คุณหญิงจารุวรรณ) มิได้แต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ตามโครงสร้างใหม่ตามที่คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลเสนอ แต่ได้แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2  และแต่งตั้งผู้ร้องสอดให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย  ตามโครงสร้างใหม่ดังกล่าว
ศาลได้ตรวจพิจารณาข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คุณหญิงจารุวรรณ)ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดี(นายอภิชัย)สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.2531 และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ มาโดยลำดับ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (นักบริหาร 9) ตามโครงสร้างเดิม ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 193/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจพิจารณาวิเคราะห์กฎหมายและดำเนินการเกี่ยวกับคดีของคณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการให้เหมาะสม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวถึงวันที่ 9 มีนาคม 2549
ส่วนผู้ร้องสอดซึ่งสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2548 และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ โดยลำดับ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร 9) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 10 (จังหวัดพิษณุโลก) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 193/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 และได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวถึงวันที่ 9 มีนาคม 2549 
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านกฎหมายของผู้ฟ้องคดีและผู้ร้อง สอดแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านกฎหมายโดยตรงมากกว่าผู้ร้องสอด
ข้อกล่าวอ้างที่ว่า ผู้ร้องสอดมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายมากกว่า ผู้ฟ้องคดีเนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวต้องการบุคคลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน กฎหมายโดยตรงมาบริหารราชการทุกด้านของสำนักงานกฎหมาย ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ความเห็น และดีความวินิจฉัยข้อกฎหมาย รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับคดีของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คุณหญิงจารุวรรณ)อ้าง ว่า ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ตามโครงสร้างเดิม เนื่องจากไม่ได้เข้ารับการอบรมนักบริหารระดับสูงภายใน 1 ปี ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนักบริหาร 9 และอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีไม่เคยบริหารงานในตำแหน่งผู้บริหารสำนักงานมาก่อนที่จะมาดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 จึงเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่เหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก งานกฎหมาย ตามโครงสร้างใหม่ นั้น
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนายการสำนักงานกฎหมายตามโครงสร้าง ใหม่ มาตรฐานกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่จะมาดำรง ตำแหน่งต้องผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูงมาแล้วหรือต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังกล่าวภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งแต่อย่างใด
อีกทั้งเมื่อตรวจสอบประวัติของผู้ร้องสอดแล้วปรากฏว่า ผู้ ร้องสอดก็ไม่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงมาก่อนเช่นเดียวกับผู้ ฟ้องคดี และผู้ร้องสอดก็ไม่เคยบริหารงานในตำแหน่งผู้บริหารสำนักงานมาก่อนที่ จะมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค   สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 10 (จังหวัดพิษณุโลก) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547
ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2(คุณหญิงจารุวรรณ) ดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีและผู้ร้องสอดได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 9 พร้อมกันตามคำสั่งของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ 193/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ประกอบกับในขณะที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (นักบริหาร 9) ตามโครงสร้างเดิม ก็ได้รับการพิจารณาให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ 1 ขั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีมีผลการปฏิบัติงานจากการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายในระดับดีเด่น   ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คุณหญิงจารุวรรณ)ที่เห็นว่า ผู้ร้องสอดมีความรู้ ความสามารถ และความอาวุโส ที่เหมาะสมจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย  ตามโครงสร้างใหม่มากกว่าผู้ฟ้องคดีจึงมีน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2(คุณหญิงจารุวรรณ )พิจารณา แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2 โดยไม่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย ตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งอยู่เดิมตามที่คณะกรรมการพิจารณา แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่เสมอ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 40/2549 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 ในส่วนที่แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2 ระดับ 9 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 40/2549 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 ในส่วนที่แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2 และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการจัดคนลงตามโครงสร้างใหม่ตามมติคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินในการประชุมครั้งที่ 4/2549 ลงวันที่ 18 มกราคม 2549 และมติของคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่มาประกอบในการพิจารณาแต่งตั้งด้วย โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
อนึ่ง องค์คณะที่พิพากษาคดีดังกล่าวประกอบด้วย นายสุทัศน์ ทิงทอง  ตุลาการศาลปกครองกลาง นายชูพงศ์ เศวตจินดา ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง นายอนุพงศ์ สุขเกษมตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง   .....................   ที่มา : มติชนออนไลน์ 27 ส.ค.2552


view