สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หายนะจากผลประโยชน์ทับซ้อน (1)

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :ยุทธ วรฉัตรธาร:


หลักการกำกับดูแลเรื่องการขัดกันระหว่าง ผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นหลักการสำคัญยิ่งประการหนึ่งของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี

เพราะ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีโอกาสสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติเช่นเดียวกัน เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมีโอกาสสร้างความหายนะต่อบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำความเสียหายให้แก่ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทจดทะเบียน นักลงทุนทั้งหลายโดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันจึงให้ความสำคัญในการพิจารณาเรื่อง นี้ก่อนตัดสินใจลงทุน

การขัดกันระหว่างผลประโยชน์คืออะไร?

คำว่าการขัดกันระหว่างผลประโยชน์มีความหมายเดียวกับความขัดแย้งทางผล ประโยชน์และคำว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ภาษาอังกฤษที่ใช้กัน ทั่วไปคือ Conflict of Interest

ความหมายของการขัดกันระหว่าง ผลประโยชน์ คือ การขัดกันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือส่วนรวม หรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมนั่นเอง ผลประโยชน์ส่วนตัวในที่นี้หมายถึงผลประโยชน์ของผู้บริหารรวมถึงญาติหรือผู้ กำกับดูแลองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจและมีความรับผิดชอบต่อองค์กร

การขัดกันระหว่างผลประโยชน์กับบรรษัทภิบาลที่ดี

ก่อนที่ผมจะนำเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ ผลประโยชน์ทับซ้อนมาเล่าสู่กันฟัง ใคร่ขอทำความเข้าใจความหมายของบรรษัทภิบาลที่ดี และ บางประเด็นของกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตลาดหลักทรัพย์ให้นิยามการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ว่า “ระบบที่จัดให้มีโครงสร้าง และกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบ”

ในกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 85 กล่าวไว้ว่า “ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท”

จะเห็นว่าเนื้อหาของนิยามและกฎหมายข้างต้นชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการเป็นผู้มีหน้าที่กำกับดูแลองค์กร และมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และผู้เกี่ยวข้องหรือส่วนรวม ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน

เขาสร้างความขัดกันระหว่างผลประโยชน์กันอย่างไร?

นาย A เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นประธานกรรมการบริษัท YYY จำกัด (มหาชน) บริษัท YYY มีกรรมการ 9 คน เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นใหญ่ 6 คน รวมท่านประธานด้วย กิจการ YYY กำลังเจริญ รุ่งเรือง จึงต้องซื้อที่ดินไว้สร้างโรงงานรองรับการขยายการผลิต ผู้บริหารศึกษาแล้วเห็นว่า ทำเลที่เหมาะสมคุ้มค่าที่สุดน่าจะอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออก บังเอิญท่านประธานเคยลงทุนซื้อที่ดินในนามภรรยาแถบพระนครศรีอยุธยา อยากขายมานานแล้ว แต่ขายไม่ออก ขนาดที่ดินใกล้เคียงกับที่บริษัท YYY ต้องการซื้อ จึงใช้มติคณะกรรมการซึ่งมีเสียงส่วนใหญ่ซื้อที่ดินของตนในราคาตลาด ถามว่าบริษัทเสียหายไหมในการตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้

ในขั้นแรกต้องบอกว่ารายการนี้มีความขัดกันระหว่างประโยชน์ เพราะถือว่าภรรยาท่านประธานเป็นผู้เกี่ยวโยงกับรายการ ราคาดูเหมือนจะเป็นธรรมเพราะใช้ราคาตลาดซึ่งประเมิน โดยบุคคลภายนอก แต่บริษัทเสียประโยชน์ เพราะค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาจจะสูงกว่าการก่อสร้างในนิคม และเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า และอาจรวมถึงการหาแรงงานที่ยากกว่าด้วย กรณีนี้ทำให้บริษัทได้ประสิทธิภาพในการขยายการผลิตไม่ได้เต็มที่ กำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ผู้เสียประโยชน์ คือ ผู้ถือหุ้น เรื่องนี้ถ้าท่านประธานเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่ต้องไปสนใจภรรยา เอ้ย...ไม่ต้องสนใจที่ดินของภรรยา ท่านต้องมีบทบาทกำกับดูแลให้การตัดสินใจ เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ทุกคนก็จะได้ประโยชน์

เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนยังไม่จบ มา ติดตามกันต่อในครั้งหน้า

view