สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เด็กกรุงเทพอ้วนกว่าเด็กชนบท 2เท่า

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)



คนไทยเผชิญภาวะ โรคอยู่ดีกินดี เป็นเบาหวาน/ความดันสูง ผู้สูงวัยเสี่ยงโรคอ้วนและเด็กในเมืองอ้วนกว่าเด็กชนบทถึง 2เท่าเร่งค้นหาและคัดกรองก่อนสาย

นายแพทย์วินัย  สวัสดิสวร   เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กล่าวว่า    โรคเรื้อรัง เป็นภัยเงียบที่คุกคามคนในสังคมและกำลังเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นในประเทศของเรา

 ประชาชนของประเทศกำลังเผชิญกับโรคของการกินดีอยู่ดี   ซึ่งพบว่าประชาชนที่เป็นผู้ใหญ่เกือบร้อยละ 30 หรือราว  15 ล้านคนมีรูปร่างท้วมและอ้วน  ยิ่งไปกว่านั้นเด็กชั้นประถมศึกษาที่เป็นอนาคตของชาติเกือบ 1 ใน 5 เป็นโรคอ้วน เด็กๆ ชั้นอนุบาลและประถมต้นประมาณร้อยละ 15 อ้วนมาก เด็กในเมืองอ้วนจำนวนมากกว่าเด็กชนบทเกือบ 2 เท่า เฉพาะเด็กกรุงเทพอ้วนมากถึงร้อยละ 25 

 ประเทศของเราก็เหมือนกับทั่วโลกที่กำลังประสบกับปัญหากล่าวคือมีผู้ใหญ่ ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานประมาณ 1,000 ล้านคน และอ้วนอย่างต่ำ 300 ล้านคน  น้ำหนักเกินและอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม และออกกำลังที่ใช้แรงน้อย เป็นสาเหตุของเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และยังเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

 “ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ  และยังเป็นเรื่องที่น่าตกใจมากที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท และหากรวมการรักษาโรคแทรกซ้อน อาทิ เบาหวานขึ้นตา  ไตวาย โรคหัวใจ ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มสูงถึงแสนล้านบาทต่อปี  โรคอัมพาตอัมพฤกษ์เพิ่มขึ้นปีละ 150,000 คน เสียค่าใช้จ่ายดูรักษาประมาณ 75,000 ล้านบาท  ซึ่งเป็นภาระแก่ประเทศและครอบครัวของผู้ป่วยเองที่ค่อนข้างสูงมาก” นายแพทย์วินัยกล่าว

 สปสช.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและ ภาคีต่างๆ ได้เน้นให้มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แต่เมื่อป่วยแล้วก็ต้องให้บริการและรักษาที่มีคุณภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ทั่วทุกหมู่บ้านและชุมชนน่าจะมีบทบาทช่วยใน เรื่องนี้ได้โดยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 กิจกรรมจะทำตั้งแต่การส่งเสริมให้มีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการ ดูแลสุขภาพในระดับครอบครัว การพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานโดยใช้อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. ที่มีอยู่กว่า 9 แสนคนทั่วประเทศ และทีมผู้ปฏิบัติงานใน รพ. สต. ซึ่งจะดำเนินการ ตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การรณรงค์ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง การรักษาพยาบาลและส่งต่อผู้ป่วยเมื่อเกินขีดความสามารถ

  ดังนั้น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)  สถานีอนามัยและกองทุนสุขภาพอบต./เทศบาลจึงเป็นกลไกลที่สำคัญในการดำเนินการ เรื่องนี้   เพราะนอกจากมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแล้ว ยังจะเป็นฐานที่สำคัญในการดูแลโรคเรื้อรังในชุมชน

 ด้านคุณภาพการรักษาและการบริการนั้นควรสะท้อนจากการลดภาวะแทรกซ้อนโดย ตั้งเป้าหมายการตัดขาลดลงร้อยละ 50 ตาบอดจากเบาหวานลดลงร้อยละ 30 และโรคหลอดเลือดสมองลดลงร้อยละ 10 ในระยะเวลา 3 ปีจากนี้ไป

   และที่สำคัญเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อรัง ที่กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นจริงได้ โดยความร่วมมือร่วมใจจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับอย่างเป็นน้ำ หนึ่งใจเดียวกัน  โดยเฉพาะสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดถือว่าเป็นหน่วยงานสำคัญเป็น Key of Success Factor ที่จะทำให้การดำเนินงานนี้ประสบความสำเร็จ ลำดับถัดมาก็คือ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

  ทั้งนี้    การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังมีปัญหาอยู่  จากข้อมูลระบุว่า มีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าร้อยละ 30 ยังเข้าไม่ถึงบริการและร้อยละ 50 สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

   ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการและควบคุมได้มีเพียงร้อยละ 35 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดและร้อยละ 20 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด   สาเหตุเกิดจากประชาชนไม่รู้ว่าตนเองป่วย  และระบบบริการทางการแพทย์ปัจจุบันออกแบบมาเพื่อการรักษาโรคติดต่อหรือปัญหา สุขภาพแบบเฉียบพลัน ไม่สอดรับกับการบริการโรคเรื้อรังซึ่งต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และในการดูแลรักษา เน้นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์มากกว่าบทบาทของผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน

 เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2553 สปสช.ได้จัดงบประมาณเพิ่มเติมและ พัฒนาแนวทางในการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยจัดตั้งกองทุนบริหารจัดการ โรคเรื้อรังบริหารงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อควบคุมป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเป็นการเฉพาะ

 เน้นบทบาทของกองทุนสุขภาพท้องถิ่นในการคัดกรองสุขภาพและคัดกรองโรค พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้รอง รับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ส่งกลับมาในชุมชน เพิ่มคุณภาพหน่วยบริการประจำในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ส่งเสริมบทบาทของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งชุมชนเพื่อสนับสนุนการจัดการดูแล ตนเองรวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 ทั้งนี้ การดำเนินงานในพื้นที่จะปรากฏเป็นจริงก็ด้วยการบริหารจัดการของสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด

view