สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เคนวูด ท้าทาย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อ้างชำระค่าหุ้น25 % ทำธุรกิจได้แล้ว ไม่ต้องชำระ100%

จากประชาชาติธุรกิจ


     ผู้สื่อข่าว ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ใช้บังคับมากว่าทศวรรษแล้ว แต่ก็มีปัญหาการตีความและแนวการปฏิบัติมาโดยต่อเนื่อง
 ล่าสุด บริษัท เคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด   โต้แย้ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  โดย บริษัท เคนวูด ฯ อ้างว่า  มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามคำว่า
" ทุนขั้นต่ำ " หมายความว่า ทุนของคนต่างด้าวในกรณีที่คนต่างด้าวเป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียน  ในประเทศไทย
  และ "ทุน"  หมายความว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด หรือทุนชำระแล้ว  ของบริษัทมหาชนจำกัด 
   ดังนั้น ในกรณีที่บริษัทเป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ในประเทศไทยและประกอบธุรกิจค้าส่งโดยมีทุนจดทะเบียนหนึ่งร้อยล้านบาท เมื่อบริษัท
เรียกชำระค่าหุ้นร้อยละยี่สิบห้าเป็นทุนชำระแล้วยี่สิบห้า ล้านบาท บริษัทจึงสามารถประกอบธุรกิจค้าส่งได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเรียก ชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมให้ครบหนึ่งร้อยล้านบาท  แต่อย่างใด และเนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ  เป็นกฎหมายมหาชนจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ทุนขั้นต่ำของบริษัทจำกัดจึงหมายถึง ทุนจดทะเบียนของบริษัทเท่านั้น จะตีความว่าเป็นทุนที่ได้ชำระค่าหุ้นแล้วไม่ได้
   หากกฎหมายประสงค์ให้ทุนขั้นต่ำของบริษัทจำกัด หมายความรวมถึงทุนที่ได้เรียกชำระจากผู้ถือหุ้นแล้ว พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฯจะต้องบัญญัติคำนิยามคำว่า "ทุน"  ของบริษัทจำกัด หมายความว่า ทุนชำระแล้วเช่นเดียวกับกรณีบริษัทมหาชนจำกัด
     กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ โดนลูบคม  อย่างแรง จากบริษัทเอกชน
    แต่ก็ยังยืนยัน นอนยันว่า  เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่กำหนดให้คน ต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำตามจำนวนที่กำหนดเพื่อใช้ในการเริ่มต้นประกอบ ธุรกิจในประเทศไทยก็เพื่อคุ้มครองปกป้องประโยชน์ของคนไทยมิให้คนต่างด้าว เข้ามาแย่งประโยชน์จากการประกอบธุรกิจโดยที่ไม่มีการนำเงินเข้ามาลงทุนจริง
   ดังนั้น ทุนขั้นต่ำตามจำนวนที่กำหนดในกฎหมายจึงต้องเป็นทุนที่มีอยู่ตามความเป็น จริง 
    นอกจากนี้ การเรียกชำระค่าหุ้นบางส่วนซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ยี่สิบห้านั้นเป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท) และเป็นความตกลงระหว่างเอกชนกับเอกชน  ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถนำวิธีการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวมาใช้โดยขัดกับกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนได้
    แต่เพื่อความมั่นใจ เพราะหวั่นเกรงว่า อาจถูกฟ้องร้องได้ จึงหาหน่วยงานมารับผิดชอบร่วม นั่นคือ การส่งเรื่องไปหารือยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สิ้นเรื่องสิ้นราว
กระทรวง พาณิชย์จึงขอหารือในประเด็นทุนขั้นต่ำที่คนต่างด้าวต้องมีเพื่อนำมาใช้
    ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ประชุมหารือกันอย่างรอบคอบ โดยเรียกกรมพัฒนาธุรกิจ มาชี้แจง
    ก่อนจะวินิจฉัย ฟันธงว่า   การกำหนดจำนวนทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าไว้  ทุนขั้นต่ำจึงต้องเป็นเงินทุนจริง  มิใช่ทุนจดทะเบียนของนิติบุคคล และเมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 14  แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่เป็นบทบังคับให้คนต่างด้าวต้องนำหรือส่งทุน ขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจของตนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยการนำหรือส่งทุนขั้นต่ำดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยไม่ใช้บังคับกับกรณีที่ คนต่างด้าวนำเงินหรือทรัพย์สิน อันเกิดจากรายได้ที่ได้มาจากการประกอบธุรกิจเดิมที่เริ่มดำเนินการมาก่อน แล้วในประเทศไทย ไปเริ่มประกอบธุรกิจรายอื่นหรือนำไปลงหุ้นหรือลงทุนในกิจการหรือในนิติบุคคล อื่น
    ดังนั้น  ทุนขั้นต่ำต้องเป็นเงินซึ่งคนต่างด้าวมีอยู่ตามความเป็นจริง และมีการนำหรือส่ง เงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยจริงสำหรับใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การพิจารณาทุนขั้นต่ำจึงต้องพิจารณาจากเงินทุนตามความเป็นจริงที่คนต่างด้าว นำหรือส่งเข้ามาเพื่อใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย  มิใช่ทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัดตามที่กำหนดในนิยามคำว่า "ทุน" แต่อย่างใด
   ผลที่ออกมาเช่นนี้ ย่อมทำให้ เคนวูด ต้องใส่ทุนจนครบ 100 %

view