สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รัฐกางโชว์สินค้าราคาลด ไม่ห่วงเงินเฟ้อ

รัฐกางโชว์สินค้าราคาลด ไม่ห่วงเงินเฟ้อ

รัฐบาลกางข้อมูลโชว์ยันราคาสินค้าเริ่มปรับลดแล้ว! ไม่ห่วง"เงินเฟ้อ"ทะยาน อ้างต้นปีสินค้าราคาขยับ ผลพวงมหาอุทกภัย
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะราคาสินค้า แนวโน้มราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อว่า ข้อมูลทั้งจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงพลังงาน ซึ่งพบว่ามีความสอดคล้องกันทั้งหมดว่าขณะนี้ราคาสินค้าเริ่มปรับลงและไม่มีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นรุนแรง

การประชุมในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องราคาสินค้า รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นของราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการหลายกลุ่มเริ่มเรียกร้องขอขึ้นค่าบริการ เช่น ภาคขนส่ง

ในช่วงเดือนม.ค. ที่ผ่านมา ภาวะเงินเฟ้อค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากอยู่ในช่วงหลังอุทกภัย การผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ขณะที่ความต้องการของประชาชนกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ จึงเกิดภาวะกดดันต่อราคาสินค้าในกลุ่มหมวดอาหารสด อาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตามช่วงปลายเดือนก.พ.-เดือนมี.ค. ราคาสินค้าได้ปรับตัวลดลงอย่างน่าพอใจ เป็นผลมาจากภาคการผลิตและขนส่งเข้าสู่ภาวะปกติ จึงไม่มีความกังวลว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวรุนแรง นายกิตติรัตน์ กล่าว

เขากล่าวว่า จากรายงานของ ธปท. ระบุว่า ปัจจัยกดดันในขณะนี้คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ปรับตัวขึ้นจากที่อยู่ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่จากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทำให้ราคาขยับขึ้นไปที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกและพลังงานอย่างอื่นปรับตัวขึ้นมา

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า นายกฯ ได้กำชับให้ติดตามราคาสินค้าเป็นรายตัวในห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ขั้นการผลิต ขนส่ง จนถึงขั้นประกอบเป็นอาหารขายปลายทางให้ผู้บริโภค ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือผิดปกติหรือไม่อย่างไร ขณะเดียวกันนายกฯ ยังได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกหน่วยลดการใช้พลังงานลงตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 10% จะช่วยลดการนำเข้าพลังงาน และประหยัดงบประมาณ พร้อมทั้งจะรณรงค์ให้ภาคเอกชนตระหนักถึงความสำคัญในการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนลงและมีผลดีต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศด้วย

"ภักดีหาญส์" ชี้ยุค "อภิสิทธิ์" ของแพงกว่า "ยิ่งลักษณ์"


ยิ่งลักษณ์อ้างน้ำท่วมสินค้าขาดตลาดทำของแพง

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกรัฐมนตรี จัดรายการสด ชี้น้ำท่วม สินค้าขาดตลาดทำราคาแพงขึ้น สั่ง ยืดโครงการรถไฟ-เมล์ฟรี ขายธงฟ้า ช่วยประชาชน คาด มิ.ย. ราคาปกติ

น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน โดยเป็นการจัดรายการสดจากบ้านพิษณุโลก ถึงปัญหาสินค้าราคาแพง ที่กระทบกับค่าครองชีพ ว่า  ปัญหาราคาสินค้าแพงส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์ อุทกภัยในปลายปีที่ผ่านมา ที่ทำให้กำลังการผลิตสินค้าบางประเภทยังไม่กลับมาสู่ระดับปกติ จึงทำให้ความต้องการสินค้ามีมากกว่ากำลังการผลิต แต่ทั้งนี้คาดว่าประมาณเดือนมิ.ย.นี้ แต่ละโรงงานที่ถูกน้ำท่วมจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตสินค้าได้เต็มที่

สาเหตุของราคาสินค้าแพงยังมาจากการคาดการณ์ล่วงหน้าของผู้บริโภคว่า สินค้าจะขาดตลาด จึงทำให้เกิดการเก็งราคาขึ้น แต่จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า ระดับราคาสินค้าในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วไม่ได้แพง ขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อนอาจจะสูงขึ้นจริง เพราะเป็นผลกระทบจากเหตุอุทกภัย และระดับราคาสินค้าได้เริ่มปรับตัวลดลงมาตามลำดับแล้วหลังจากที่กำลังการ ผลิตสินค้าของแต่ละโรงงานทยอยเข้าสู่ระดับปกติ

"การที่บอกว่าสินค้าแพงเกิดจาก 3 ส่วนก็เห็นชอบตรงกันตามที่ผู้ว่าธปท.พูด คือ ความต้องการมากแต่สินค้าขาดตลาด แต่ที่เราดูก็น่าจะเป็นปกติได้เดือนมิถุนายน ที่จะกลับมาผลิตปกติได้เต็มที่ ตอนนี้บางโรงงานผลิตแล้วแต่ยังไม่เต็มที่ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่าสินค้าต่างๆเมื่อเทียบปีที่ผ่านมาเริ่ม ปรับสู่ราคาลดลง แต่ก็ไม่นิ่งนอนใจในเรื่องเงินเฟ้อ และความความหวังของประชาชนว่าจะเห็นราคาสินค้าที่ปรับลดลงกว่านี้"นายกฯ กล่าว

จากที่หารือกันโจทย์ที่ยังเห็นว่าราคายังแพงคือสินค้าสำเร็จรูป เช่น ไข่ การแก้ปัญหาก็จะแก้เป็นส่วนๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ประกาศราคาแนะนำ ใช้ธงฟ้าเป็นตัวเทียบหรือเป็นทางเลือกให้ประชาชน ที่ดิฉันอยากเห็น คือ หนึ่งชุมชนหนึ่งธงฟ้า เราไม่ต้องการเป็นผู้ขายเอง แต่ต้องการสร้างมาตรฐานราคาตลาดที่เป็นธรรมให้ประชาชน ส่วนในช่วงระหว่างกลางก่อนเป็นราคาสินค้าสำเร็จรูป ต้องเป็นธรรมในเรื่องห่วงโซ่อุปทาน ต้องทำในรายผลิตภัณฑ์ และสุดท้ายคือต้นทาง ราคาวัตถุดิบ เช่น ไข่ ปัญหาคือราคาไข่ดิบถูกมากก็ต้องย้อนดูว่าสาเหตุนำเข้าพันธุ์แม่ไก่เสรีมา มากกว่าปริมาณที่จะใช้บริโภคในประเทศ เมื่อแม่ไก่มาแล้วไข่ก็ต้องมากกว่าการบริโภค ระยะสั้นก็ต้องดูในเรื่องแปรรูป ส่วนระยะยาวก็ดูปริมาณที่จะใช้ถ้าเกินก็จะแปรรูปไม่ให้เกิดการล้นตลาด ให้ทุกห่วงโซ่เป็นไปตามกลไกตลาด ในเรื่องสินค้าแพงก็จะดูเร่งทำในทุกแขนง

กรณีน้ำมันปาล์มก็เริ่มดูในหลักการนี้ เราดูว่าอาจจะมีปัญหา 1 เดือน ก็จะแก้ปัญหาให้มีปริมาณลงมาในท้องตลาดมากขึ้น แต่อีก 1 เดือนต่อไปอาจไม่มีปัญหาแล้ว เราก็ใช้วิธีการแก้ปัญหาระยะสั้นไปก่อน จากนั้นก็จะดูว่าในระยะยาวจะแก้ปัญหาอย่างไร

ในส่วนของต้นทุน จะดูว่าจากสินค้าสำเร็จรูปและการทำอาหารในบ้าน ที่อาจะเกิดจากราคาพลังงาน และต้นทุนที่ทำในบ้าน นโยบายพลังงานจะดูในเรื่องรักษาสมดุล และดึงเท่าที่จะรับภาระไหว เพราะสุดท้ายก็ต้องปรับทุกอย่างไปตามกลไกตลาด แต่ช่วงนี้เป็นรอยต่อจากการปรับตัวในช่วงวิกฤติ คิดว่าครึ่งปีหลังสถานการณ์จะดีกว่านี้

ในส่วนของน้ำมัน หากเป็นสินค้าเล็กๆเทียบต้นทุนจากผู้ประกอบการเป็นตัวเลขไม่สูงนัก แต่สินค้าใหญ่ๆที่ต้องใช้ก๊าซ ก็อาจจะกระทบได้มอบให้กระทรวงพลังงานไปบูรณาการและแก้ปัญหาเฉพาะจุด  ทั้งนี้ จะขอความร่วมมือหน่วยงานรัฐลดใช้พลังงานลง10เปอร์เซ็นต์ ในส่วนที่ใช้ฟุ่มเฟือย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมหาพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมโดยสรุปในแง่ของภาครัฐปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายเงินภาครัฐยังทำได้น้อยในแง่ของงบประมาณ งบประมาณเพิ่งผ่านมี.ค.ที่จะเริ่มใช้ ก็จะเห็นการใช้จ่ายเงินภาครัฐในไตรมาส ที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ก็จะเริ่มเต็มที่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น เอสเอ็มอี ตรงนี้เป็นภาพรวม ส่วนภาคย่อยก็วิเคราะห์สินค้าเป็นตัวๆ ส่วนระยะยาวก็ต้องประคองให้มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนให้น้อยที่สุด


ปูยันนักลงทุนญี่ปุ่นไม่ย้ายฐานผลิต

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกรัฐมนตรี เผย นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจแผนป้องกันน้ำท่วมไทย ไม่ย้ายฐานการผลิตหนี

น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ นายกยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ถึง ความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากที่เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น ว่า กรณีความเชื่อมั่นของเอกชน ในเรื่องของภาคอุตสาหกรรมนั้น ประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมาก คือ ญี่ปุ่น ซึ่งจากการไปเยือนญี่ปุ่น นอกจากเจรจาทวิภาคีระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นแล้ว ได้สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน เอาแผนบริหารจัดการน้ำและการป้องกันนิคมอุตสาหกรรมไปชี้แจง ผลตอบรับดี แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจก็นัดหารือในรายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เข้ามาลงทุนในไทยเยอะ ส่วนใหญ่อยากได้ความมั่นใจเรื่องมาตรการ เราก็ชี้แจงเรื่องมาตรการและเม็ดเงินที่จะทำ ซึ่งหลายบริษัทยืนยันไม่ย้ายการผลิต ก็ถือว่ามีความมั่นใจที่ดี

ส่วนแนวทางป้องกันสึนามิของญี่ปุ่นจะมีการนำมาใช้กับไทยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วิธีการที่ญี่ปุ่นใช้ในการป้องกันสึนามิ ที่เราไปดูเมืองที่อยู่ติดน้ำทะเลน้ำซัดเข้าเมือง บ้านเรือนหายหมดเหลือพื้นเปล่าๆ สิ่งที่เขาทำคือญี่ปุ่นจะสร้างผังเมืองใหม่ ยกระดับพื้นขึ้น 3 เมตร เมืองที่ติดกับน้ำทะเลก็จะเจอปัญหาเรื่องสึนามิ เขาก็สร้างเขื่อนชั้นแรก และชั้นในเขาก็ทำเขื่อนอีกชั้นหนึ่ง เป็นสิ่งที่เขาก็ปรับ กรณีของประเทศไทย ระยะยาวสิ่งที่เห็นคือ ถ้ามีผลกระทบก็ต้องปรับผังเมืองและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

นายกฯ กล่าวด้วยว่า จากการที่เดินทางนอกจากได้รับความมั่นใจจากนักลงทุนแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ให้ความช่วยเหลือ 2 ด้าน คือ ให้เงินช่วยเปล่า 8 พันล้านเยน ยกระดับถนนป้องกันนิคมอุตสาหกรรม และเขื่อนป่าสัก ส่วนที่สอง ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการป้องกันน้ำ ในส่วนของไจก้าที่จะเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นส่วนดี เพราะญี่ปุ่นมีผู้เชี่ยวชาญ คือไจก้า ถ้าไจก้ามาช่วยก็จะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจว่ามีผู้เชี่ยวชาญมาดูและออก แบบด้านวิศวกรรม

นอกจากนี้ เรามีการเพิ่มการค้าการลงทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นตอบรับ เช่น การทำวีซ่า


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รัฐกางโชว์ สินค้าราคาลด ไม่ห่วงเงินเฟ้อ

view