สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จ้างนักศึกษาทำงาน แต่จ่ายเงินต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงค์ศักดิ์ คงคาสวัสดิ์


วันนี้ผมมีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผลในวันที่ 1 เมษายน 2555 นี้ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเด่นประเด็นร้อนในขณะนี้เลยนะครับ

เรื่อง มีอยู่ว่าเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ผมได้ไปบรรยายเรื่องของค่าตอบแทนเป็น public training ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง แล้วมีคำถามจากผู้เข้าอบรมถามว่า ถ้าบริษัทจะจ้างนักศึกษาฝึกงาน (ระดับ ปวช.หรือ ปวส.) เข้ามาทำงานเหมือนพนักงานประจำ โดยเริ่มงาน 08.00-17.00 น. โดยทำสัญญาเป็นเวลา 1 ปี มีการให้ทำงานล่วงเวลา

(ที่เราเรียกกันว่า ทำโอทีนั่นแหละครับ) แล้วให้ค่าฝึกงานวันละ 200 บาท โดยลักษณะการทำงานก็ทำงานเหมือนกับพนักงานทั่วไป แถมถ้าวันไหนหยุดงานจะตัดค่าฝึกงาน และทำงานเกินกว่า 120 วัน จะได้หรือไม่ ?

ผม ถามว่าวัตถุประสงค์ของบริษัทต้องการจะรับนักศึกษาเหล่านี้มาทำงานกับบริษัท เพื่อจะได้ลดต้นทุนคือ ไม่ต้องจ่าย 300 บาท (แต่จ่ายเพียง 200 บาท) ใช่หรือไม่ ?

ก็ได้รับคำตอบว่า...ใช่

และบอกว่ามีหลายบริษัท กำลังบอก ๆ กันว่า จะใช้วิธีนี้เพื่อรับมือกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะมาถึงในวันที่ 1 เมษายนนี้ ผมก็ยังแปลกใจว่าในส่วนของนักศึกษาเองจะเอาเวลาไปเรียนอย่างไร ไม่ต้องเข้าห้องเรียนได้เป็นเวลานานขนาดนั้นเลยหรือ ถึงได้เอาเวลามาทำงานได้เต็มเวลา

แต่เขาก็บอกว่าคุยกับทางอาจารย์ได้ เหมือนกับช่วยให้นักศึกษามีรายได้มาใช้ในการเรียน ?

เอาละครับ เราตัดประเด็นเรื่องเวลาเรียนกับเวลาทำงานออกไปก่อน

แม้บริษัทจะทำสัญญาการฝึกงาน 1 ปี แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่า

1.ให้ นักศึกษาทำงานโดยมีลักษณะงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ มีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดชัดเจน (ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของการฝึกงาน) แต่มีการให้ทำงานล่วงเวลาแล้วจ่ายค่าล่วงเวลาเช่นเดียวกับพนักงานประจำ

2.มีการบังคับบัญชา เช่น การลาป่วย, ลากิจ ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา มีการควบคุมดูแลสั่งการให้ปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา

3.มีการให้สวัสดิการต่าง ๆ เช่นเดียวกับพนักงานประจำทั่วไป

4.จำนวนการรับนักศึกษาเข้ามาทำงานมากขึ้น ในลักษณะของการรับเข้ามาทำงานแทนพนักงานประจำในตำแหน่งงานเดิมที่ลาออกไป

ผม ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมีพนักงานในสายการผลิตอยู่ 100 คน แล้วต่อมามีการลาออกไป 30 คน บริษัทไปหานักศึกษาเข้ามาทำงานในสายการผลิตจำนวน 30 คน โดยงานที่ทำมีลักษณะงานเหมือนกับพนักงานในสายการผลิตทุกอย่าง มีการบังคับบัญชาควบคุมการปฏิบัติงาน

มีการให้สวัสดิการต่าง ๆ เช่น ให้ค่าอาหาร, ยูนิฟอร์ม, รถรับส่งพนักงาน ฯลฯ มีการสั่งการให้ทำงานล่วงเวลาและจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเดียวกับพนักงานประจำใน สายการผลิตอื่น ๆ

ซึ่งเดิมบริษัทนี้อาจไม่เคยรับนักศึกษาฝึกงานมา ก่อน หรืออาจจะเคยรับนักศึกษาฝึกงาน แต่รับปีละ 4-5 คน และในจำนวน 4-5 คนนี้จะแบ่งกันไปฝึกงานในแผนกต่าง ๆ เช่น ฝึกงานในฝ่ายบัญชีบ้าง, ฝ่ายการผลิตบ้าง, ฝ่ายบุคคลบ้าง อะไรทำนองนี้

แต่มาครั้งนี้รับมา 30 คน และเข้ามาทำงานในสายการผลิตทั้งหมด โดยมีลักษณะงานและเข้าเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างที่ผมบอกมาแล้วอย่างชัดเจน

อย่างนี้จะมาอ้างว่าเป็นการฝึกงานได้ยังไงละครับ ?

ขอ ตอบเลยนะครับว่า ถ้าบริษัทใดทำแบบนี้ก็เตรียมตัวไปชี้แจงกับทางแรงงานเขตพื้นที่ หรือเตรียมขึ้นศาลแรงงานได้เลย เพราะถ้ามีการร้องเรียนหรือฟ้องศาลแรงงานขึ้นมาวันใด บริษัทของท่านจะแพ้คดี และเสียชื่อเสียงอีกด้วยครับ

แม้ว่าจะมีสัญญาและสถานศึกษารับรองว่า เป็นการฝึกงานจริง แต่เจตนาดังกล่าวไม่ใช่การฝึกงานแล้วนะครับ และหลายครั้งที่เมื่อคดีเหล่านี้ไปถึงศาลแรงงาน สัญญาใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานจะถูกพิจารณาให้เป็นโมฆะบ่อยไป ไม่ได้แปลว่าบริษัททำสัญญาอะไรที่ขัดกับกฎหมายแรงงานแล้วจะใช้ได้ตามนั้นนะ ครับ แม้ว่าคู่สัญญาจะเซ็นสัญญาไปแล้วก็ตาม ไม่เชื่อลองไปดูคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแรงงานดูก็ได้ครับว่ากี่คดีแล้วที่ สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานจะถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ

จากคำถามใน ห้องอบรม ผมเลยนำมาบอกเล่าสู่กันฟังเพื่อที่จะได้ติงได้เตือนเพื่อนร่วมอาชีพ HR ว่า แม้ว่าบริษัทจะได้รับผลกระทบจากเรื่องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่การแก้ปัญหาที่ดีไม่ควรแก้ปัญหาแบบนี้แล้วจะสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่า นี้ในอนาคต เพราะถ้าหากบริษัทถูกฟ้องร้องแล้วแพ้คดี จะทำให้บริษัทเสียภาพลักษณ์ชื่อเสียง จะคุ้มกันหรือไม่กับภาพลักษณ์ชื่อเสียงของบริษัท ยิ่งเดี๋ยวนี้เป็นยุคออนไลน์ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้จะถูกเผยแพร่ทางสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วเสีย ด้วย

ผมเข้าใจนะครับว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมาก แต่ในเชิงจริยธรรมแล้วบริษัทก็ไม่ควรนำผลกระทบเหล่านี้ไปส่งต่อให้กับเด็ก นักศึกษาที่กำลังจะเป็นอนาคตของชาติ แล้วใช้คำว่า "ฝึกงาน" ขึ้นมาลดผลกระทบต่อบริษัท

แม้ว่าบริษัทอาจจะลดผลกระทบในเรื่องต้น ทุนลงก็จริง แต่คนที่ได้รับผลกระทบและถูกเอาเปรียบแรงงานต่อไปเป็นลูกโซ่กลับเป็นนัก ศึกษาลูกหลานของเราเองไม่ใช่หรือ แล้วเราจะพูดเรื่องจริยธรรมกับอนาคตของชาติเหล่านี้ว่ายังไงครับ

เราลองมาหาวิธีในการแก้ปัญหานี้ในวิธีการอื่นอย่างสร้างสรรค์และรอบคอบกว่านี้จะดีกว่าจริงไหมครับ ?


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จ้างนักศึกษาทำงาน จ่ายเงินต่ำกว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ

view