สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กฎหมายระหว่างประเทศ...คดี ทักษิณ

กฎหมายระหว่างประเทศ...คดี 'ทักษิณ'

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ทัวร์ความสุข ของ "ทักษิณ ชินวัตร" เพิ่งจะผ่านพ้นไปไม่กี่วัน พร้อมทิ้งวลีเด็ด "ใครไม่ปรองดอง...ช่างแม่มัน"
  นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุน เซน" จัดเวทีให้ "ทักษิณ" ได้กล่าวความต้องการลึกๆ ในใจว่า "อยากกลับบ้าน" และนั่นย่อมเป็นความต้องการที่ไม่แตกต่างไปจาก "วีระ สมความคิด" และ "ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์" ที่กึกก้องในใจของคนทั้ง 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเปรย์ซอว์

 ถามว่าทำไมกัมพูชา ไม่ส่งตัว "ทักษิณ" ให้ประเทศไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

 กัมพูชา โดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน แต่งตั้ง ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวและที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาด้านเศรษฐกิจ กษัตริย์กัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ได้ทรงลงพระนามรับรองเป็นพระราชกฤษฎีกากัมพูชา เป็นการปฏิบัติตามตามหลัก Sovereign Immunity มีผลให้สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนใช้บังคับไม่ได้

 การได้รับการคุ้มครองทั้งในทางการทูต ในฐานะตัวแทนทูต (Diplomatic Immunity) ทำให้ทักษิณ เดินทางไปยังประเทศต่างๆ แล้วได้รับการต้อนรับในฐานะตัวแทนทางการทูต ได้เอกสิทธิ์คุ้มกันทางคดี (Immunity from Suit)

 แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีกฎหมายใดที่จะดำเนินคดีกับ "ทักษิณ" ได้ เพราะสนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดการคอร์รัปชัน ของสหประชาชาติ ค.ศ. 2003 ซึ่งเกิดตามข้อบัญญัติสหประชาชาติ ที่ 58/4 ลว. 31 ต.ค. 2003 มีผลบังคับ 14 ธ.ค. 2005 มีชาติสมาชิกลงนาม 140 ชาติมีชาติที่ให้สัตยาบันหรือประกาศเข้าร่วมเป็นภาคี 66 ชาติ และไทยเพิ่งจะเข้าเป็นชาติภาคีสมาชิก เมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา

 นอกจากนี้ ยังมีสนธิสัญญากรุงโรม ก่อตั้งโดยชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อ 17 ก.ค. 1998 มีผลบังคับ 1 ก.ค. 2002

 กฎหมายนี้พิจารณาจากรูปแบบการกระทำความผิดที่เป็นองค์กรอาชญากรรม และต้องละเมิดบัญญัติกฎหมายนี้ในลักษณะกระทำเป็นการยักยอกฉ้อโกง ฉ้อฉลทรัพย์ มีลักษณะการกระทำเป็นกลุ่มอาชญากร ทรัพย์สินของผู้ถูกฟ้องจะถูกยึด อายัด และมีบทปรับไหม แก่ผู้กระทำผิด

 เมื่อประเทศไทย ลงนามให้สัตยาบัน ก่อให้เกิดอำนาจพิจารณาแก่อัยการศาล ICC ที่จะสอบสวนและฟ้องคดีแก่ผู้กระทำความผิด-มีผลให้ศาลเข้ามาใช้อำนาจพิจารณาคดีเอากับผู้กระทำผิดได้ ในกรณีความผิดเข้าเกณฑ์ ของบทบัญญัติที่ 5 และที่ 7 ของสนธิสัญญา

 เมื่อไทยลงนามสัตยาบันในกฎหมายดังกล่าว สหประชาชาติ ย่อมเข้ามาดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชัน หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ

 อย่างไรก็ตาม ส่วนของภาคประชาชน ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมผลักดัน โดยการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ลงชื่อ 2 หมื่นคน ยื่นให้คณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและดำเนินความยุติธรรมทางอาญา สำนักงานองค์กรสหประชาชาติ ว่าด้วยการปราบปรามคอร์รัปชัน อาชญากรรม และยาเสพติด สอบสวน และส่งผลการสอบสวน ไปยังคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council - ECOSOC) ตามกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจทำข้อตกลงกับศาลอาญาระหว่างประเทศและศาลโลก

 รัฐบาลกำลังจะใช้ "รัฐสภา" ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ฟอกความผิดให้ "ทักษิณ" แต่ประชาชน ก็มีหนทางที่จะดำเนินคดี "ทักษิณ" ได้ ผ่านสหประชาชาติ และยังทำให้สิ่งที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีความหมายมากขึ้น โดยคดีที่ คตส.ทำแล้วนำไปสู่การตัดสินในศาลไทย ศาลเมืองนอกย่อมรับฟัง นั่นเพราะไทยได้ให้การรับรองให้เป็นภาคีในระดับเดียวกันกับนานาชาติ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กฎหมายระหว่างประเทศ คดี ทักษิณ

view