สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฟ้อง...วินด์มิลล์ อาร์คิเท็ค ผิดสัญญาสร้างบ้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

กลายเป็นกรณีศึกษาล่าสุดของวงการรับสร้างบ้าน เมื่อ "ชัชวดี (หงสกุล) อุชุปาละนันท์" หลานสาว "ปวีณา หงสกุล" เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สน.บางซื่อ เมื่อ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังบริษัทรับสร้างบ้านชื่อดัง "วินด์มิลล์ อาร์คิเท็ค" เบี้ยวเงินชดใช้กรณีสร้างบ้านผิดแบบและไม่ได้มาตรฐาน

ปัจจุบัน "วินด์มิลล์ อาร์คิเท็ค" มี "สมศักดิ์ โรจน์ดรงค์กุล" เป็นกรรมการบริษัท และเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบควบคุมงาน

ความเดือดร้อนเคสผู้บริโภครายนี้ เริ่มต้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 "ชัชวดี" ได้จ้างบริษัทวินด์มิลล์ฯสร้างบ้านพักอาศัยสูง

3 ชั้น พหลโยธิน ซอย 8 ราคาจ้าง 14.674 ล้านบาท กำหนดเสร็จเดือนมกราคม 2555 แต่แล้ว "ปัญหา" ก็เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ขณะที่งานก่อสร้างคืบหน้าถึงหลังคาและก่อผนังบางส่วน ผู้ว่าจ้างได้จ่ายค่างวดไปแล้วเบ็ดเสร็จ 8.8 ล้านบาท แต่พบว่าบริษัทสร้างบ้านผิดจากแบบ

 

จึงเชิญวิศวกรมาตรวจสอบ ปรากฏว่างานก่อสร้างบกพร่องหลายจุด เช่น เสา/ฉาก/อาคารไม่ได้ตรงตามแนว ผู้ว่าจ้างกลัวว่าเมื่อสร้างต่อไปหรืออยู่อาศัยแล้วอาจเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเสาโครงสร้างห่างจากศูนย์กลางก็กลัวอีกว่าอาจจะรับน้ำหนักไม่ได้มาก ฯลฯ สุดท้ายวิศวกรได้แนะนำให้รื้อทิ้งและสร้างใหม่เพื่อความปลอดภัย

ผู้ ว่าจ้างรีบนำปัญหานี้เข้าหารือกับผู้แทนบริษัทวินด์มิลล์ฯ จนได้ข้อยุติว่าบริษัทวินด์มิลล์ฯยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย วงเงินรวมทั้งหมด 12 ล้านบาท แต่จนถึงปัจจุบันบริษัทยังชำระเงินไม่ครบตามที่ตกลง

จากวันนั้นถึงวันนี้ ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายได้รับเงินมาเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น

เมื่อความอดทนของมนุษย์ถึงจุดแตกหัก "ชัชวดี" จึงตัดสินใจเข้าแจ้งความเตรียมฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา

ขณะ ที่ "สมศักดิ์ โรจน์ดรงค์กุล"ผู้บริหารบริษัทวินด์มิลล์ฯ ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบบ้านที่ก่อสร้างชำรุดบกพร่องไม่เกิน 10% ของงานก่อสร้างทั้งหมด

ยังสามารถซ่อมแซมได้โดยไม่ต้องรื้อถอน พร้อมประเมินค่าเสียหายจริง พบว่าอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านบาท เมื่อสรุปมูลค่าความเสียหายแตกต่างกัน เรื่องจึงบานปลาย ตกลงกันไม่ได้ เรื่องจึงถึงชั้นศาล ซึ่งบริษัทเสนอให้มีวิศวกรคนกลางมาร่วมตรวจสอบว่า บ้านหลังนี้ถึงขั้นต้องรื้อถอนจริงหรือไม่ ?

อนันดาฯแจงถอนหุ้นวินด์มิลล์ฯ

และ เมื่อเร็ว ๆ นี้ "ชานนท์ เรืองกฤตยา" ซีอีโอ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทำหนังสือชี้แจงถึงความเกี่ยวข้องกับบริษัท วินด์มิลล์ ฯ ระบุว่า กรณีความขัดแย้งระหว่าง นางชัชวดี (หงสกุล) อุชุปาละนันท์ กับบริษัทวินด์มิลล์ฯเรื่องสร้างบ้านผิดแบบ และได้กล่าวอ้างความเกี่ยวข้องทางธุรกิจระหว่างบริษัทวินด์มิลล์ฯ กับ บมจ.อนันดาฯ โดยเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนนั้นได้สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกิดความ เข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมาก

จึงขอชี้แจงข้อมูลว่า ตั้งแต่เริ่มต้นบริษัทเป็นเพียงผู้ร่วมลงทุนกับบริษัทวินด์มิลล์ฯ ไม่มีส่วนด้านการบริหาร และเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2553 ได้ถอนหุ้นจากบริษัทวินด์มิลล์ฯที่เคยถืออยู่ทั้งหมด 49% ทำให้บริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัทวินด์มิลล์ฯแล้ว

ย้อนรอยปัญหาวินด์มิลล์-ไอดิโอ

จะ ว่าไปแล้ว กรณีของ "วินด์มิลล์ฯ" ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้เมื่อกลางปีที่ผ่านมา "ณกรณ์ กรณ์หิรัญ" ผู้บริหาร "วุฒิ-ศักดิ์ คลินิก" ที่ว่าจ้างบริษัทวินด์มิลล์ฯปลูกสร้างบ้านราคา 46 ล้านบาท เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประเด็นสร้างบ้านไม่เสร็จตามกำหนด และจบลงที่บริษัทวินด์มิลล์ฯจ่ายเงินชดเชยให้ 4 ล้านบาท

ขณะที่ "บริษัทอนันดาฯ" เมื่อต้นปีนี้มีข้อพิพาทระหว่างเจ้าของร่วมโครงการคอนโดมิเนียม "ไอดีโอ คิว พญาไท" กับ บจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู (ผู้พัฒนาโครงการ) ในเครือ บมจ.อนันดา ดีเวลอปเม้นท์ เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์และจำนวนที่จอดรถในโครงการไม่เป็นไปตามสัญญา

หลัง โครงการระบุว่า ถ้าซื้อห้องชุดที่เป็นห้องใหญ่จะได้สิทธิ์ "ที่จอดรถประจำ" โดยห้องแบบ 2 ห้องนอนจะได้สิทธิ์จอดรถแบบประจำ 1 คัน และแบบไม่ประจำ 1 คัน แต่ เจ้าของโครงการกลับนำพื้นที่ส่วนนี้ไปจดเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง ทำให้สิทธิ์ที่จอดรถประจำไม่ปรากฏอยู่ในโฉนด

ส่วนประเด็นที่จอดรถ สัญญาระบุว่า โครงการต้องจัดที่จอดรถ 391 คัน แยกเป็นจอดแบบตีช่อง 285 คัน และจอดซ้อนคัน 106 คัน กระทั่งเมื่อ สคบ.ลงพื้นที่ตรวจสอบก็พบว่า ที่จอดรถขาดไป 12 คันจริง ทำให้ สคบ.นำเรื่องนี้เข้าสู่การนัดไกล่เกลี่ย

โดย ข้อสรุปที่ได้ในการไกล่เกลี่ยคือ ผู้ร้องต้องการให้บริษัทอนันดาฯเตรียมเงิน 30 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนว่าจ้าง รปภ.เข็นรถที่จอดซ้อนคัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่จอดไม่เพียงพอ ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุป


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ฟ้อง วินด์มิลล์ อาร์คิเท็ค ผิดสัญญาสร้างบ้าน

view