สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดมติกนง.เสียงแตก!คงดอกเบี้ยนโยบาย3%

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิดมติกนง.เสียงแตก! 5: 2 คงดอกเบี้ยนโยบาย 3.0% เสียงส่วนใหญ่ต้องการกันกระสุนไว้รับมือศก.โลกทรุด เสียงส่วนน้อยอยากให้ลด 0.25% ห่วงส่งออกทรุด
ธนาคารแห่งประเทสไทย เปิดเผย รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2555 วันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2555

คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม : นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ประธานและผู้ว่าการ), นางสุชาดา กิระกุล (รองประธานและรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน), นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ (รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร), นายอาพน กิตติอาพน, นายศิริ การเจริญดี, นายณรงค์ชัย อัครเศรณี และนายอัศวิน คงสิริ

ภาวะตลาดการเงิน

ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกทาให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น และยังเลือกถือครองสินทรัพย์ที่มี ความเสี่ยงต่า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักอยู่ในระดับต่ามาก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศในยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดเกิดใหม่ก็ค่อนข้างผันผวน เพราะถือเป็นสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งอ่อนไหวต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทาให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรในภูมิภาคผันผวนไปด้วย เงินสกุลภูมิภาครวมทั้งเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เช่น ดอลลาร์ สรอ. และเยน

ตลาดการเงินไทยได้รับผลกระทบไม่มากจากตลาดการเงินโลกที่ผันผวน สภาพคล่องเงินบาทและเงินตราต่างประเทศยังมีเพียงพอ แม้สภาพคล่องเงินตราต่างประเทศตึงตัวขึ้นบ้างในบางช่วงตามความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก แต่ตลาดสามารถปรับตัวได้ดี อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและตลาดพันธบัตรระยะสั้นทรงตัวใกล้เคียงกับระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สะท้อนการคาดการณ์ของตลาดว่าคณะกรรมการฯ จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะปานกลางถึงระยะยาวปรับลดลงตามความต้องการของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แม้จะค่อนข้างผันผวนก็ตาม สอดคล้องกับความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย ส่วนหนึ่งเพราะการฟื้นตัวที่ดีของเศรษฐกิจไทยหลังเหตุการณ์ น้าท่วม

ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน เพราะ (1) วิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรยังมีความไม่แน่นอนสูง จากลักษณะปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยืดเยื้อ และการแก้ไขปัญหาที่ยังคงมีอุปสรรคในทางปฏิบัติอยู่มาก อาทิ การจัดตั้งองค์กรกลางกากับดูแลสถาบันการเงินของกลุ่มประเทศยูโรที่ยังต้องผ่านการอนุมัติจากสภาฯ ของประเทศสมาชิก (2) ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานและการบริโภคที่ยังอ่อนแอและต่ากว่าที่ตลาดคาดไว้ รวมทั้งมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นด้านการคลังที่จะหมดอายุสิ้นปีนี้ และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถต่ออายุออกไปได้หรือไม่

ความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกส่งผลถึงเศรษฐกิจเอเชียและจีนผ่านภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวกว่าที่เคยประเมินไว้ ในประเด็นนี้ กรรมการฯ บางส่วนเห็นว่าการส่งออกที่ชะลอลงสะท้อนถึงข้อจากัดของประเทศในเอเชียในการเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป

ภายใต้สภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้อโลกลดลงตามแนวโน้มอุปสงค์โลกที่อ่อนแอลง ธนาคารกลางในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ จีน รวมถึงกลุ่มประเทศยูโร สามารถดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อดูแลความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังจากมีสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน

ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้าท่วมและกลับเข้าสู่ระดับปกติแล้ว โดยอุปสงค์ในประเทศได้รับแรงสนับสนุนจากภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย สินเชื่อภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง ภาวะการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเอื้อให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังสามารถขยายตัวได้ในระยะต่อไป อย่างไรก็ดี กรรมการบางส่วนมีความเห็นว่า ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะแรงงานในบางภาคอุตสาหกรรม จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของภาคการผลิตของประเทศในระยะยาว

ในภาพรวมคณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวใกล้เคียงศักยภาพ โดยอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากกว่าที่เคยประเมินไว้ โดยคาดว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ากว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนที่ร้อยละ 8.3 คณะกรรมการฯ จึงปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของไทยในปี 2555 และ 2556 ลงจากร้อยละ 6.0 และ 5.4 ในการประชุมครั้งที่แล้ว เป็นร้อยละ 5.7 และ 5.0 ตามลาดับ สาหรับแรงกดดันเงินเฟ้อปรับลดลงสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนลงกว่าเดิม โดยอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวเข้าใกล้ค่ากลางของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเร็วขึ้น

คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาประเด็นสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่สูงต่อเนื่อง โดยเห็นว่าสินเชื่อที่เติบโตสูงส่วนหนึ่งมาจากการขยายบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ขณะที่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) แม้ขยายตัวดีแต่ก็ไม่สูงเท่า ทั้งนี้ การขยายสินเชื่อของ ธพ. สอดคล้องกับวัฏจักร การลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในช่วงขาขึ้นและเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญของเศรษฐกิจ ในช่วงที่ผ่านมา ธพ. เองก็มีความพร้อมและมีฐานะการเงินที่เอื้อต่อการขยายสินเชื่อ

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า การขยายตัวของสินเชื่อมีความร้อนแรงเกินไป และอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังอยู่ในระดับต่า แต่กรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามภาวะการปล่อยสินเชื่อทั้งของ ธพ. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐต่อเนื่องไป

การพิจารณานโยบายการเงินที่เหมาะสม

คณะกรรมการฯ เห็นพ้องกันว่า เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูงและอ่อนแอกว่าที่เคยประเมินไว้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวใกล้เคียงกับศักยภาพและแรงกดดันเงินเฟ้อมีน้อยลง ภายใต้ภาวะที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวมีมากกว่าความเสี่ยง ด้านเงินเฟ้ออย่างชัดเจน นโยบายการเงินสามารถมีบทบาทช่วยดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจหากจำเป็น อย่างไรก็ดี กรรมการฯ ประเมินน้าหนักความเสี่ยงแตกต่างกันบ้าง ดังนี้

กรรมการฯ 2 ท่านเห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี เพราะประเมินว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่คาดและทาให้ภาคการส่งออกชะลอตัว อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่แรงกระตุ้นด้านการคลังอาจล่าช้าและไม่สามารถส่งผลสนับสนุนเศรษฐกิจได้เต็มที่ ดังนั้น นโยบายการเงินจึงควรผ่อนคลายเพิ่มเติมแต่เนิ่นๆ เพื่อประคับประคองความเชื่อมั่นและสนับสนุน การลงทุนภาคเอกชนให้สามารถขยายตัวได้ต่อไป

กรรมการฯ 5 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยประเมินว่า นโยบายมหภาคของประเทศยังเหมาะสมและเพียงพอต่อการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ รวมทั้งสามารถรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกได้ในระดับหนึ่ง โดยพิจารณาจากเศรษฐกิจในภาพรวมที่ขยายตัวได้ใกล้เคียงกับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบเป้าหมาย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่าและการขยายตัวของสินเชื่อในระดับสูงสะท้อนภาวะการเงินของประเทศที่ยังผ่อนปรน

นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งจะต้องใช้เวลานานในการแก้ไข จึงควรสงวนทางเลือกในการกระตุ้นผ่านนโยบายการเงินไว้ก่อน เพื่อรอดูความชัดเจนของผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทยต่อไป

คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 5 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยจะติดตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ในประเทศอย่างใกล้ชิด และพร้อมดาเนินนโยบายที่เหมาะสมตามความจำเป็น


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดมติกนง. เสียงแตก คงดอกเบี้ยนโยบาย3%

view