สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กินกุ้งอย่างไร? ห่างไกลอาการแพ้

จากประชาชาติธุรกิจ

หนึ่งในอาหารทะเลยอดฮิตที่คนนิยมกินคือกุ้ง เพราะรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ถึงอย่างนั้นกุ้งก็เป็นอาหารต้องห้ามของบางคน เนื่องจากกินแล้วจะเกิดอาการแพ้

วิธีกินกุ้งอย่างมีความสุข ห่างไกลจากอาการแพ้ จึงได้รวบรวมวิธีสังเกตอาการแพ้ และการกินที่ถูกต้องมาฝากกัน

รู้สาเหตุ+สังเกตอาการแพ้กุ้ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า

อาการแพ้กุ้งคือหนึ่งในกลุ่มอาการแพ้อาหาร (food allergy) มีสาเหตุจากสารในอาหาร (antigen) หรือสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยอาหาร (breakdown product) กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้สร้างภูมิคุ้มกัน (antibody) ขึ้นมาต่อต้าน อาการแพ้จึงปรากฏ

อาการแพ้จะแสดงออกใน 3 ระบบ คือ
1.ระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นขึ้น

2.ระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง
3. ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

สำหรับคนที่มีอาการแพ้เมื่ออายุมากขึ้น แม้ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันภายในร่างกายบกพร่อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก กินอาหารไม่ถูกสัดส่วน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน
 
แพ้สารอะไรในตัวกุ้ง

โครงการวิจัยล่าสุดตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2553 เรื่อง "การศึกษาหาสารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะที่เป็นสาเหตุของการแพ้กุ้งน้ำจืดและกุ้ง ทะเลที่นิยมบริโภคในคนไทย" ชี้ให้เห้นว่า กุ้งน้ำจืดที่พบรายงานการแพ้มากที่สุดคือ กุ้งก้ามกราม ส่วนกุ้งทะเลคือกุ้งกุลาดำ ทั้งนี้อาการแพ้อาจเกิดจากกุ้งเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่าหนึ่งชนิด

ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ นักวิจัยผู้ควบคุมโครงการจากสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครที่แพ้กุ้งมาทดสอบและวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้ จึงค้นพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อคนไทยในกุ้งก้ามกราม คือ โปรตีนเฮโมไซยานิน (hemocyanin protein) ส่วนสารก่อภูมิแพ้ในกุ้งกุลาดำ คือ โปรตีนลิพิดไบน์ดิง (hpid binding protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน (alpha actinin protein)

ใครบ้างที่มีโอกาสแพ้กุ้ง

สำหรับวิธีสังเกตเบื้องต้น มูลนิธิมาโยเพื่อการศึกษาทางการแพทย์และการวิจัย ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดอาการแพ้กุ้งส่วนใหญ่บุคคลในครอบครัวจะมี ประวัติการแพ้ และผู้ที่แพ้อาหารทะเล เช่น ปู หอย ปลาหมึก มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะแพ้กุ้งร่วมด้วย

หาคุณหมอ ทดสอบอาการแพ้

อาการแพ้ไม่อาจเดาสุ่มได้ ควรทดสอบให้ทราบแน่ชัดว่าร่างกายแพ้กุ้งหรือไม่การทดสอบอาการแพ้ทำบริเวณผิวหนัง โดยหยดน้ำยาที่สกัดจากสารภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหารลงบนผิวหนังที่แขนและใช ช้เข็มสะกิดผิวหนังเพื่อทดสอบการแพ้ (skin prick test) หรือฉีดน้ำยาเข้าผิวหนัง (intradermal test) ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที หากเกิดรอยนูน ผื่นแดง หรือรู้สึกคัน แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น

การป้องกันอาการแพ้ทุกชนิด ไม่ว่าจะแพ้กุ้ง แพ้อากาศ หรือแพ้ขนสัตว์ เราป้องกันได้ด้วยการกิน นอน ผักผ่อน ออกกำลังกาย และทำงานให้สมดุลค่ะ

ฉลาดกินกุ้งให้ดีต่อสุขภาพ

อาจารย์สาทิต อินทรกำแหง กูรู้ต้นตำรับชีวจิตแนะนำการกินกุ้งว่า

ควรกินอย่างพอดี คือไม่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากกินมากกว่านั้นไม่แนะนำ เพราะกุ้งมีคอเลสเตอรอลสูง แนะนำให้กินปลาเป็นหลักดีที่สุด


ที่มา : ชีวจิต


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กินกุ้งอย่างไร ห่างไกลอาการแพ้

view