สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บิ๊กเนม การเงิน แนะช่อง ธปท.ฝ่ามรสุม ศก.โลก ต้องใช้กรอบเงินเฟ้อ ผสมอัตราแลกเปลี่ยน

บิ๊กเนม “การเงิน” แนะช่อง ธปท.ฝ่ามรสุม ศก.โลก ต้องใช้กรอบเงินเฟ้อ ผสมอัตราแลกเปลี่ยน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

เปิดมุมมอง 3 บิ๊กเนม “หม่อมอุ๋ย-ธีระชัย-ณรงค์ชัย” ฝ่ามรสุม ศก.โลก แนะแบงก์ชาติ ควรใช้กรอบเงินเฟ้อผสมอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อดูแล ศก.ไทย “อัมมาร” ย้ำ ธปท.ต้องประสาน รบ.เพื่อดูแลเงินบาท
       
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของ ธปท. โดยระบุว่า ท่ามกลางความผันผวนของระบบการเงินและปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวจากปัญหา วิกฤตหนี้ยุโรป แนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เหมาะสมของ ธปท. ควรใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นนโยบายหลักในการดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการวางกรอบนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อสามารถรักษาสถานะแข่งขันของผู้ประกอบการผู้ส่งออกที่จะได้รับผลกระทบ จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดโลก
       
       “อย่าไปเถียงกันเลยว่าการใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ หรือการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไหนดีกว่ากัน เพราะดีทั้ง 2 อย่าง ควรนำมาผสมผสานกัน เพราะผู้ส่งออกไม่ได้ต้องการแค่เสถียรภาพด้านราคาในการดูแลเศรษฐกิจ แต่ต้องการเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่กันไป แม้ ธปท.จะกำหนดกรอบเป้าหมาย เงินเฟ้อเป็นนโยบายหลักในการดูแลเศรษฐกิจของประเทศ แต่เห็นว่าควรจะต้องทำควบคู่กับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย”
       
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการให้ ธปท.มีบทบาทในการทำหน้าที่ธนาคารกลาง ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ได้แก่ 1. เป็นองค์กรที่พึ่งพาได้ในเรื่องเศรษฐกิจ ติดตามปัญหาเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และเตรียมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า 2. การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมา ธปท.ทำหน้าที่นี้ได้ดีมาโดยตลอด แต่น่าจะเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้น คำนึงถึงอัตราการเติบโตของประเทศ และควรเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง แต่ยังต้องรักษาสัมพันธ์ที่ดีต่อกระทรวงการคลัง เพราะทั้ง 2 หน่วยงานจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
       
       3. การดูแลรักษาสถาบันการเงิน ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และมีการออกกฎให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อดูแลให้ครอบคลุม แต่ขณะเดียวกันต้องไม่เข้มงวดจนทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อ ได้ และเมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา ธปท.ต้องแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว และ 4. การกำกับดูแลสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อวัฒนธรรม การเงิน และสังคม เช่น กรณีการออกบัตรเครดิตที่ต้องคำนึงถึงการออมก่อนใช้
       
       ด้าน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า แม้ทาง ธปท.จะใช้การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นหลักในการบริหารนโยบายการเงิน แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธถึงความสำคัญที่จะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่กัน เนื่องจากสภาวะแวดล้อมทางการเงินไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งตลาดเงินและตลาดทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ขณะที่ยังมีข้อจำกัดของการจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แม้ผู้ประกอบการได้ทำประกันความเสี่ยงไว้ล่วงหน้าแล้ว
       
       ส่วน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายการเงินมีเป้าหมายหลักคือการรักษาเสถียรภาพทั้งด้านราคา อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ใช่คำนึงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้นำทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาการดำเนินนโยบายอยู่แล้ว โดยไม่ได้ยึดติดในเรื่องของการดำเนินนโยบายการเงินผ่านกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เพียงอย่างเดียว
       
       ขณะเดียวกัน นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในตอนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปีของ ธปท. โดยมองว่า ปัจจุบัน ธปท.มีความเป็นอิสระในการทำงานมากเกินไป และไม่มีการประสานงานกับรัฐบาล เนื่องมีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป แต่การทำนโยบายการเงินต้องเชื่อมโยงไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ และต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมของเศรษฐกิจประเทศอย่างรอบคอบด้วย จึงสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี
       
       ดังนั้น ธปท.ควรที่จะมีการหารือร่วมกับรัฐบาล แต่ไม่ใช่เป็นการรับคำสั่งจากฝ่ายการเมือง เพราะ ธปท.ก็ยังต้องมีความเป็นอิสระ ซึ่งตนเองเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนความเป็นอิสระของ ธปท. เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมายของ ธปท. ยกตัวอย่างเช่น การใช้นโยบายการเงินในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งที่ผ่านมาแม้คนใน ธปท.จะปฏิเสธ แต่เมื่อความจริงปรากฏจากระดับทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นถึง 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นหลักฐานที่ฟ้อง และ ธปท.ไม่อาจปฎิเสธได้ว่าเข้าไปกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาลที่ต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า เพื่อสนับสนุนการส่งออก และหากค่าเงินบาทแข็งค่ามาก การขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวันก็เป็นเพียงนโยบายเท่านั้น
       
       นายอัมมารกล่าวว่า เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าอัตราดอกเบี้ย เพราะแม้อัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดค่าของเงินในรูปเงินบาท แต่อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวกำหนดค่าของเงินที่เทียบกับเงินตราต่างประเทศทั้ง หมดในกรณีที่เราทำการค้าต่างประเทศ ซึ่งแรงกดดันต่อการขยายตัวเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของไทย และ ความรับผิดชอบเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุกครั้งที่แบงก์ชาติต้องเปลี่ยนตัวผู้ว่าการ ก็มาจากเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
       
       “ถ้าจะเปรียบเทียบการทำนโยบายของแบงก์ชาติ ก็เปรียบได้ว่าแบงก์ชาติเป็นคนวาดรูปช้างและวาดแต่บั้นท้ายของช้างเท่านั้น พอนึกจะทำอะไรเพื่อจะชักจูงช้างก็จะนึกออกได้อย่างเดียวว่าคือการลากหางช้าง เพื่อจูงเขาไป แต่ลองคิดดูการลากช้างอย่างนั้น มัน make sense หรือเปล่า มันต้องทำความเข้าใจว่าช้างในที่นี้มันก็คือเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น หากจะลากช้างก็ต้องจูงไปทั้งตัวอย่าลากไปเฉพาะหาง” นายอัมมารกล่าว
       
       ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ชี้แจงว่า ธปท.ได้มีการประสานการทำงานด้านอัตราแลกเปลี่ยนกับรัฐบาลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าขณะนี้จะไม่มีการประชุมทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็มีการหารือร่วมกันทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งในการประชุมคณะ รัฐมนตรี ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน


"อัมมาร"กระทุ้ง ธปท.ใช้อัตราแลกเปลี่ยนดูแลเศรษฐกิจ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    กล่าวระหว่างการร่วมงานสัมมนาประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ทุนสำรองที่สูงถึง 2 แสนล้านเหรียญแสดงให้เห็นชัดว่า ธปท. ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อดูแลการส่งออก ซึ่งในการใช้นโยบายนี้ ธปท. ควรพิจารณาด้วยว่าได้ทำให้ภาคส่งออกได้ทำหน้าที่ตามระบบเศรษฐกิจ(function) หรือไม่   เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่าภาคส่งออกยังเรียกร้องการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและยัง เรียกร้องที่จะจ่ายค่าแรงต่ำ โดยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท สามารถเกิดขึ้นได้เพราะรัฐบาลประกาศเท่านั้น และยิ่งหากไม่มีนโยบายอื่นมาเสริม ก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจเพิ่มเติม  
 
“แบงก์ชาติ ต้องมีการหารือกับบางหน่วยงานอย่าเชื่อมั่นในความเป็นตัวเอง (individual) มากเกินไปโดยเฉพาะในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน  แบงก์ชาติต้องลงไปดูว่าการทำให้เงินบาทต่ำลงและค่าจ้างยังต่ำอยู่เป็นนโยบาย ที่ดีหรือเปล่า” 
 นายอัมมาร กล่าวว่า  ธปท. อาจจะมีความกังวลเรื่องของความเป็นอิสระ แต่ในความเป็นอิสระนั้นโดยเฉพาะเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนอยากให้ ธปท. มีการหารือกับหน่วยงานอื่นด้วย โดยคำนึงถึงภาคเศรษฐกิจจริงทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาแต่ไมได้รับคำสั่งกับฝ่าย การเมือง  เพราะต้องยอมรับว่ามีหน่วยอื่นที่ดูเรื่องของเศรษฐกิจที่ ธปท. ไม่ได้ดูอยู่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและประสานกัน
 
ทั้งนี้  การที่กฎหมายกำหนดให้ ธปท. เป็นอิสระเพราะอยากให้ ธปท. มีความรับผิดชอบต่อค่าของเงินที่อยู่ในมือของประชาชน  แต่ตอนนี้ค่าของเงินขึ้นอยู่กับเงินดอลลาร์ค่อนข้างมาก  เพราะและภาคการค้าต่างประเทศในปัจจุบันซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวจัดสรร มูลค่าทางเศรษฐกิจ(allocate)   มีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าการบริโภคและลงทุนในประเทศที่มีดอกเบี้ยเป็น ตัว allocate  ดังนั้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญ ธปท. จึงต้องมีการประสานกับหน่วยงานอื่น   รวมถึงการเจรจากับฝ่ายการเมืองที่มีนโยบายต่างๆ ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน  


หม่อมอุ๋ยแนะใช้กรอบเงินเฟ้อ-นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนผสมผสาน อดีตรมว.คลังห่วงฟองสบู่

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะอดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในการเสวนาเรื่อง"บทบาทหน้าที่ของ ธนาคารกลางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง"ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 55 ของ ธปท.ว่า ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกปัจจุบันและมีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นการที่ ธปท.จะใช้นโยบายการเงินภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้ออย่างเดียวไม่น่าจะ เพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย จึงต้องผสมผสานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เพื่อให้สามารถรักษาสถานะแข่งขันของผู้ประกอบการผู้ส่งออกที่จะได้ รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดโลก

อย่างไร ก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องการให้ ธปท.มีบทบาทในการทำหน้าที่ธนาคารกลาง ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ได้แก่ การเป็นองค์กรที่พึ่งพาได้ในเรื่องเศรษฐกิจ ติดตามปัญหาเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และเตรียมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมา ธปท.ทำหน้าที่นี้ได้ดีมาโดยตลอด แต่น่าจะเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้น คำนึงถึงอัตราการเติบโตของประเทศ และควรเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง แต่ยังต้องรักษาสัมพันธ์ที่ดีต่อกระทรวงการคลัง เพราะทั้ง 2 หน่วยงานจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน

นอกจากนั้นต้องดูแลเสถียรภาพ สถาบันการเงินให้มีความมั่นคงแข็งแรง และมีการออกกฎเกณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันต้องไม่เข้มงวดจนทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสิน เชื่อได้ และเมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา ธปท.ก็จะต้องแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว

ขณะที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)กล่าวว่า แม้ธปท.จะใช้การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นหลักในการบริหารน โยบายการเงิน แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธถึงความสำคัญที่จะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ควบคู่กัน เนื่องจากสภาวะแวดล้อมทางการเงินไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป มาก ทั้งตลาดเงินและตลาดทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ขณะที่ยังมีข้อจำกัดของการจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แม้ผู้ประกอบการได้ทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้า แล้วก็ตาม

“ที่ผ่านมาการใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของไทยค่อน ข้างทำออกมาได้ผลดี แต่ไม่ได้เมินเฉยต่อการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เพราะต่อให้ใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ก็คงหนีไม่พ้นที่ต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากตลาดเงินตลาดทุนไทยมีขนาดใหญ่ รวมทั้งปัญหาในยุโรปทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมาก อาจเป็นปัญหาฟองสบู่ที่หวนกลับมา รวมทั้งกระบวนการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนยังมีสภาพคล่องต่ำ และผู้ประกอบการไทยที่ต้องปรับตัว ท่ามกลางระบบการเงินไทยที่ยังมีข้อจำกัด การแข่งขันในระบบยังไม่เพียงพอ"นายธีระชัย กล่าว

นายธีรชัย กล่าวว่า ขณะนี้เกิดความกังวลกรณีที่สถาบันการเงินไทยเริ่มออกไปกู้ยืมเงิน ในต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมเงินบาทในไทย รวมทั้งซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างชาติที่ให้ผลตอบแทนสูง ดังนั้น หากในอนาคตเกิดปัญหากับสถาบันการเงินผู้ออกผลิตภัณฑ์ก็จะกระทบมาถึง สถาบันการเงินไทยที่ไปลงทุนได้ และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฟองสบู่ซ้ำรอยวิกฤตทางการเงิน ในอดีต

ด้านนายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรมว.พาณิชย์ ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ระบุว่า การดำเนินนโยบายการเงินมีเป้าหมายหลักคือการรักษาเสถียรภาพทั้ง ด้านราคา อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ใช่คำนึงถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลักเพียงอย่าง เดียว ซึ่งในปัจจุบัน กนง. ได้นำทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาการดำเนินนโยบายอยู่แล้ว โดยไม่ได้ยึดติดในเรื่องของการดำเนินนโยบายการเงินผ่านกรอบเป้า หมายเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว


'อัมมาร'จี้แบงก์ชาติเลิกป้องบาท ห่วงส่งออกไทยไม่พัฒนา

"อัมมาร"จี้แบงก์ชาติเลิกแทรกแซงค่าเงินบาท ห่วงส่งออกไทยไม่พัฒนาคุณภาพการผลิต แนะปล่อยตามกลไกตลาด
นายอัมมาร สยามวาลา ประธานที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวกำหนดนโยบายการเงิน แต่ยังคงใช้เครื่องมือนี้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มส่งออก เห็นได้จากความพยายามที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง เพื่อให้ผู้ส่งออกได้เปรียบในเรื่องของราคา เมื่อเป็นแบบนี้ยิ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่มีการพัฒนาเรื่องคุณภาพการผลิต

นอกจากนี้ การที่ธปท.เข้าดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้น ยิ่งทำให้ธปท.ต้องรับภาระการขาดทุน ที่สำคัญความพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน แม้จะขึ้นค่าแรง 300 บาท ก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นหากภาครัฐไม่มีมาตรการมาเสริม
 

นายอัมมาร กล่าวว่า แนวนโยบายที่ถูกต้องควรปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไกตลาดจากการไหลเข้าของเงินทุนเคลื่อนย้าย ขณะเดียวกันธปท.ไม่ควรสนับสนุนให้มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่มากเกินไป ซึ่งปัจจุบันมีการออกไปลงทุนรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งเขาเห็นว่านโยบายที่ภาครัฐควรทำ คือ สนับสนุนให้ค่าแรงสูงขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับหลายประเทศแล้ว อัตราค่าแรงของประเทศไทยยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ

"การบริหารเศรษฐกิจแบงก์ชาติควรต้องร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงจะผลักดันเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนไปได้ เพราะถึงวันนี้เศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวชี้แจงว่า การวางนโยบายเศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมานั้น ธปท.ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังมาโดยตลอด แม้ไม่มีคณะกรรมการทุนรักษาระดับเช่นในอดีตก็ตาม


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บิ๊กเนม การเงิน แนะช่อง ธปท. ฝ่ามรสุม ศก.โลก ต้องใช้ กรอบเงินเฟ้อ ผสมอัตราแลกเปลี่ยน

view