สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แสงสุธรรม ลูกไม้ที่มหาดไทย ส่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรองดอง พกแผนเพื่อไทยใช้อำมาตย์ ล้มอำมาตย์

จากประชาชาติธุรกิจ

ความพยายามในการต่อสายกับกลุ่มชนชั้นนำ ยังอยู่ในวาระของฝ่ายพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้คนในพรรคและคนในตระกูล "ชินวัตร" และเครือข่าย จะพยายาม "เข้าถึง เข้าใจ" มาหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม

แผนการขั้นต่อไป จึงต้องสร้างบารมีให้อำมาตย์ที่เป็นลูกหม้อ เนื้อแท้ของฝ่ายเพื่อไทยและเสื้อแดงขึ้นมาด้วยตัวเอง

จึงเกิดปรากฏการณ์ใช้อดีตนายทหาร นายพลเกษียณราชการ ตบเท้าเข้าพรรคเพื่อไทย พร้อมส่งสัญญาณดัง ๆ มีนัยว่า "พรรคนี้ก็มีอำมาตย์"

เป้าหมายสุดท้าย หวังใช้เถาถั่วต้มเม็ดถั่วให้ทั่วถึงเครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นอุปสรรคกับ "พ.ต.ท.ทักษิณ" และเครือข่ายฝ่ายเพื่อไทย

อย่าง น้อยเครือข่ายอำมาตย์แดงที่แฝงตัวอยู่ในองค์กรอิสระ ฝ่ายตุลาการอาจช่วยลดความเป็นปฏิปักษ์ลงได้บ้างในเฟดแรก โดยมีเป้าหมายที่เฟดสุดท้ายเจรจากับอำมาตย์ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญ ได้

ปฏิบัติการนำอำมาตย์เข้าพรรค ควบคู่ใช้คนเดือนตุลาสายเหยี่ยวขับเคลื่อนแผนแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมสร้างเวทีเปิดแผลม็อบการเมืองเพื่อเปิดทางไปสู่การปรองดองจึงอุบัติ ขึ้น

หลังทหารนอกราชการทั้งบก-เรือ-อากาศ และตำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 10 อันเป็นรุ่นเดียวกับ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ตบเท้าเข้าสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย เกือบ 30 นาย นำทัพโดย "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ "พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์" รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้เหตุผลการตบเท้าของกลุ่ม ตท.10 ที่ตัดสินใจยกทัพสวมเสื้อคลุมพรรคเพื่อไทย เพราะต้องการลบข้อครหาจากศัตรูฝ่ายตรงข้าม ที่กล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยไม่จงรักภักดี

"ทุกคนเคยรับใช้เบื้องพระ ยุคลบาทอย่างใกล้ชิด เคยถวายงานด้านความปลอดภัย ทุกคนถูกหล่อหลอมเรื่องความจงรักภักดีตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อย เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพรรคเพื่อไทยมีอุดมคติ อุดมการณ์ชัดเจนเรื่องความจงรักภักดี"

สำทับโอวาทของ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ในการมอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเมื่อ 12 ตุลาคม ที่กระทรวงมหาดไทย ว่า "ที่กล่าวหาพรรคเพื่อไทยไม่จงรักภักดี ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปเดินตลาด บอกว่าพรรคเพื่อไทยมีนายตำรวจ นายทหาร ที่เป็นราชองครักษ์เต็มพรรค" เหตุที่ "พล.ต.ท.วิโรจน์" และ "ร.ต.อ.เฉลิม" ต้องยกภาพความจงรักภักดีมาเป็นเครื่องการันตีเจตนาของพรรคเพื่อไทย

เพราะ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะขั้วตรงข้าม ชงเรื่องต่อองค์กรอิสระ อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน-สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ยื่นข้อหาเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้กับพรรคเพื่อไทย จากการขึ้นเวทีปราศรัยคนเสื้อแดงของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย หลายกรรมหลายวาระ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มองว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญมิได้" โดยบางสำนวนยังอยู่ในชั้นสอบสวนของ กกต.

รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจ "แตะเบรก" ทำให้กระบวนการแก้ไขทั้งองคาพยพต้องหยุดชะงัก

จึงต้องถอยกลับไปตั้ง หลัก ตั้งคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล 1 คณะ 11 คน จาก 4 พรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหาทางออก-สร้างความชอบธรรมให้แก่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพื่อขยายความขบวนการขับเคลื่อนอำมาตย์แทรกอำมาตย์ คนเดือนตุลานำขบวนไพร่แก้ไขรัฐธรรมนูญ "ประชาชาติธุรกิจ" สนทนาเพิ่มเติมกับ "สุธรรม แสงประทุม" อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 คนเบื้องหลังที่คอยให้คำแนะนำแก่คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เคยเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในช่วงเหตุการณ์ล้อมปราบ 6 ตุลาคม 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูก "ร.ต.อ.เฉลิม" ดึงตัวมาช่วยเป็นวิทยากรคู่กับ "อดิศร เพียงเกษ" แกนนำคนเสื้อแดง บนเวที "ประชาเสวนา" สร้างความปรองดอง+การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อฉายภาพความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน

"สุธรรม" กล่าวว่า สิ่งที่จะไปบอกประชาชนคือ 1.ต้นเหตุของปัญหาเกิดจากความผิดพลาดของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นำมาสู่กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 2.ปัจจัยใดที่นำไปสู่ทางออกของวิกฤตขัดแย้งเพื่อทำให้เกิดความปรองดอง

"สิ่ง ที่จะไปชี้แจงประชาชนเพื่อให้ผู้คนเห็นว่า หนทางไปสู่ความปรองดองของบ้านเมืองนำไปสู่ปัจจัยอะไรบ้าง เราจะไปเล่าประสบการณ์ชีวิตเราให้ฟังว่า วันหนึ่งเราเป็นผู้ถูกกระทำย่ำยีอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อวันหนึ่งเราถูกหยุดกระทำและคลี่คลายลงมา เรารู้สึกอย่างไร และบ้านเมืองจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการคลี่คลายนั้น"

"ผมกับอดิศร เราเป็นผลพวงของการปรองดองในบ้านเมืองครั้งใหญ่ หลัง 6 ตุลาคม 2519 ผมถูกขังคุกอยู่ที่เรือนจำบางขวาง 2 ปี ถูกนำขึ้นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ อดิศรหนีการจับกุมไปอยู่ในป่าเขา จนบ้านเมืองเริ่มสรุปว่า ถ้าปล่อยให้บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ไปไม่รอด จึงมีการปรองดองครั้งสำคัญ มีการนิรโทษกรรมให้กับผมในคดี 6 ตุลา และผ่อนปรนให้อดิศรและเพื่อน ๆ กลับเข้าสู่ในเมืองได้ เราล้วนแต่เป็นผลพวงของความปรองดองในบ้านเมือง"

"ส่วน เรื่องรัฐธรรมนูญจะชี้ว่า ตอนรัฐธรรมนูญ 40 ทุกองค์กรมีความเป็นอิสระ แต่วันนี้กลไกต่าง ๆ ตามกติกา ไม่อิสระ ตั้งขึ้นมาเพื่อเล่นงานฝ่ายการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เล่นพรรคประชาธิปัตย์ มีธง มาเล่นฝ่ายเราฝ่ายเดียว ประชาชนรู้ เขาอ่านออก เพราะรู้ว่าไม่ยุติธรรม เขาไม่ยอม มันคาอยู่อย่างนี้ ไม่มีความลงตัว ถ้าเป็นรถก็ไม่เต็มสูบ สองล้อหน้าหมุนไปข้างหน้า แต่สองล้อหลังหมุนไปข้างหลัง ดึงกันไป" หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา "สุธรรม" กลายเป็นผู้ถูกย่ำยีจากการรัฐประหารในค่ำคืนนั้น แต่สำหรับการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 เขาบอกว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นแค่ "เหยื่อ" คนหนึ่งในข้อเท็จจริงที่ถูกย่ำยี

"คุณทักษิณเป็นหนึ่งใน เหตุการณ์ข้อเท็จจริง ชาวบ้านถูกจับกุมคุมขังเยอะแยะ คดียึดสนามบินของเสื้อเหลืองทำไมไม่คืบหน้าเลย แต่พอคดีของคนเสื้อสีแดงกลับ โอ้โฮ...ทำเอา ทำเอา ชาวบ้านก็เห็นว่าความอยุติธรรมเกิด ความไม่เป็นธรรมเป็นที่มาของปัญหาบ้านเมือง"

แม้ในห้วงที่พรรคเพื่อ ไทยครองเสียงข้างมากในสภา มี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น้องสาว "พ.ต.ท.ทักษิณ" เป็นนายกฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจเต็ม ไปช่วยเหลือ "เหยื่อ" การเมืองระดับ "รากหญ้า" ที่ยังถูกขังคุกจากการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหลายราย

"รัฐบาล ช่วย แต่ว่าช่วยได้ระดับหนึ่ง ช่วยไปเยี่ยม ช่วยประกันตัว ช่วยหาทนายสู้ เป็นการช่วยปลายเหตุ ถ้าช่วยจริงต้องช่วยต้นเหตุว่าที่มาของความไม่ถูกต้องอยู่ตรงไหน ต้องลดที่มาของความไม่ถูกต้อง ที่มาของการถูกจับ ถูกจับทำไม เพราะการจับกุมคุมขังก็ไม่ถูกต้อง แค่คุณประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ไม่ถูกต้อง ชาวบ้านไม่เชื่อฟัง คุณก็ไปจับกุมเขา ชาวบ้านลุกขึ้นสู้กับความไม่ถูกต้องอย่างสันติ คุณก็ไปยัดเยียดข้อหาให้เขา แบบเดียวกับที่เคยเกิดกับชีวิตพวกผมยังไง ก็เกิดกับพี่น้องเช่นเดียวกัน"

ถึง "สุธรรม" ยืนยันว่า รัฐบาลช่วยเหลือ "เหยื่อ" การเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็ถูกนักวิชาการฝ่ายซ้าย ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ตราหน้าว่า "ลืมเพื่อน" แต่เขากลับแย้งว่า ทุกคนมีสิทธิ์พูด แต่รัฐบาลต้องดูแลประชาชนทุกคนภายใต้ "กติกา" และ "ข้อจำกัด" ที่ไม่สามารถทำอะไรบุ่มบ่ามได้ เพราะมีกลไกที่คอยจ้องล้มรัฐบาล

"รัฐบาล จะบุ่มบ่ามทำอะไรไม่ได้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่น มีสติสัมปชัญญะ ตอนเราหนุ่มเราคิดอย่างหนึ่ง พอเรามีอายุ เราก็มีวิธีจัดการปัญหาที่แตกต่างกันไป ไม่มีใครผิดใครถูกร้อยเปอร์เซ็นต์"

ถาม เขาว่า-พรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบก่อนหน้านี้ เป็นวัยหนุ่มยังคิดไม่รอบคอบ แต่พรรคเพื่อไทยวันนี้มีประสบการณ์ก็รู้จักว่าสิ่งไหนควรทำ "สุธรรม" ตอบ "วันเวลาบอกเรา หลายคนบอกชนเลย แต่อีกฝ่ายบอกว่าการชนไม่เกิดประโยชน์ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญเบรกการแก้รัฐธรรมนูญไว้ บางคนบอกเดี๋ยวคุยกันก่อน เพราะศาลขวางเต็มที่ เพราะถ้าชนพอเราล้มก็เลือกตั้งใหม่ แล้วก็ได้แบบเดิมอีก เดินแบบเดิมอีก"

สุธรรม" เชื่อว่า ทั้งพรรคเพื่อไทย และ ฝ่ายอำมาตย์ ต่างฝ่ายต่างมีบทเรียนด้วยกันทั้งคู่ ไม่ยอมผลีผลาม เพลี้ยงพล้ำบนกระดานอำนาจ

"ไม่ คิดว่าฝ่ายพรรคเพื่อไทยมีบทเรียนฝ่ายเดียว ฝ่ายเขาก็เจ็บเหมือนกัน พอท้ายที่สุดประชาชนก็มาเอากับเรา ไม่ได้เอากับเขา ทั้งที่เขามีอำนาจ มาก ฝ่ายเขาก็มีบทเรียน เขาทำแบบเดิมไม่ได้อีก เขาก็ต้องรอจังหวะของเขาเหมือนกัน แม้เขาไม่ยอมแพ้ แต่ก็ถือว่าเขาจะบุกง่ายๆ ไม่ได้"

"สุธรรม" เปรียบเทียบวันที่เขาถูกย่ำยี ต้องขึ้นศาลทหาร ถูกติดคุก 2 ปี กับวันที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ถูกเล่นงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และพิพากษาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า

"ศาล ต่าง ๆ ไปเกี่ยวข้องอะไรกับการยึดอำนาจ วันนี้ก็มาเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่ยึดมา แต่รักษาไม่ได้เท่านั้นเอง" ก่อนจบสนทนา "สุธรรม" มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน กับการออก

คำ สั่ง 66/23 ในอดีต เปรียบเสมือนการ "ลดเงื่อนไข" ความขัดแย้ง "ภาษาสมัยก่อนคือลดเงื่อนไขของความรุนแรง เมื่อก่อนสู้กันสองฝ่ายระหว่างฝ่ายบ้านเมืองกับคอมมิวนิสต์ ภาษาที่บิ๊กจิ๋ว (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) เคยใช้คือ ลดเงื่อนไขให้ฝ่ายตรงข้ามนำมาอ้างเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วม เงื่อนไขนั้นคือความยากจน ลดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม"

เมื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญ คือ ทางออกถาวรของปัญหา ขณะที่บางฝ่ายเชื่อว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง "สุธรรม" ตอบว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกติกาหลัก ถ้ากติกาหลักของบ้านเมืองผิดเสียแล้ว มันจะทำให้การดำเนินการของบ้านเมืองผิดพลาดไปด้วย เมื่อห้องหับไม่ปกติ การอาศัยอยู่ของผู้คนในบ้านก็มีปัญหาตามมา จึงนำมาสู่การแก้ไขรากฐานน่าจะถูกต้องกว่า"

ทุกบรรทัดเป็นความ คิด-อ่านของ "สุธรรม แสงประทุม" ผู้ที่มีหน้าที่จุดไฟแก้ไขรัฐธรรมนูญในระดับรากหญ้า หวังให้ขบวนรากหญ้าสร้างพลังกดดันขบวนอำมาตย์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

ความ พยายามในการต่อสายกับกลุ่มชนชั้นนำ ยังอยู่ในวาระของฝ่ายพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้คนในพรรคและคนในตระกูล "ชินวัตร" และเครือข่าย จะพยายาม "เข้าถึง เข้าใจ" มาหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม

แผนการขั้นต่อไป จึงต้องสร้างบารมีให้อำมาตย์ที่เป็นลูกหม้อ เนื้อแท้ของฝ่ายเพื่อไทยและเสื้อแดงขึ้นมาด้วยตัวเอง

จึงเกิดปรากฏการณ์ใช้อดีตนายทหาร นายพลเกษียณราชการ ตบเท้าเข้าพรรคเพื่อไทย พร้อมส่งสัญญาณดัง ๆ มีนัยว่า "พรรคนี้ก็มีอำมาตย์"

เป้าหมายสุดท้าย หวังใช้เถาถั่วต้มเม็ดถั่วให้ทั่วถึงเครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นอุปสรรคกับ "พ.ต.ท.ทักษิณ" และเครือข่ายฝ่ายเพื่อไทย

อย่าง น้อยเครือข่ายอำมาตย์แดงที่แฝงตัวอยู่ในองค์กรอิสระ ฝ่ายตุลาการอาจช่วยลดความเป็นปฏิปักษ์ลงได้บ้างในเฟดแรก โดยมีเป้าหมายที่เฟดสุดท้ายเจรจากับอำมาตย์ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญ ได้

ปฏิบัติการนำอำมาตย์เข้าพรรค ควบคู่ใช้คนเดือนตุลาสายเหยี่ยวขับเคลื่อนแผนแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมสร้างเวทีเปิดแผลม็อบการเมืองเพื่อเปิดทางไปสู่การปรองดองจึงอุบัติ ขึ้น

หลังทหารนอกราชการทั้งบก-เรือ-อากาศ และตำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 10 อันเป็นรุ่นเดียวกับ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ตบเท้าเข้าสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย เกือบ 30 นาย นำทัพโดย "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ "พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์" รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้เหตุผลการตบเท้าของกลุ่ม ตท.10 ที่ตัดสินใจยกทัพสวมเสื้อคลุมพรรคเพื่อไทย เพราะต้องการลบข้อครหาจากศัตรูฝ่ายตรงข้าม ที่กล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยไม่จงรักภักดี

"ทุกคนเคยรับใช้เบื้องพระ ยุคลบาทอย่างใกล้ชิด เคยถวายงานด้านความปลอดภัย ทุกคนถูกหล่อหลอมเรื่องความจงรักภักดีตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อย เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพรรคเพื่อไทยมีอุดมคติ อุดมการณ์ชัดเจนเรื่องความจงรักภักดี"

สำทับโอวาทของ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ในการมอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศเมื่อ 12 ตุลาคม ที่กระทรวงมหาดไทย ว่า "ที่กล่าวหาพรรคเพื่อไทยไม่จงรักภักดี ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปเดินตลาด บอกว่าพรรคเพื่อไทยมีนายตำรวจ นายทหาร ที่เป็นราชองครักษ์เต็มพรรค" เหตุที่ "พล.ต.ท.วิโรจน์" และ "ร.ต.อ.เฉลิม" ต้องยกภาพความจงรักภักดีมาเป็นเครื่องการันตีเจตนาของพรรคเพื่อไทย

เพราะ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะขั้วตรงข้าม ชงเรื่องต่อองค์กรอิสระ อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน-สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ยื่นข้อหาเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้กับพรรคเพื่อไทย จากการขึ้นเวทีปราศรัยคนเสื้อแดงของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย หลายกรรมหลายวาระ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มองว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญมิได้" โดยบางสำนวนยังอยู่ในชั้นสอบสวนของ กกต.

รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจ "แตะเบรก" ทำให้กระบวนการแก้ไขทั้งองคาพยพต้องหยุดชะงัก

จึงต้องถอยกลับไปตั้ง หลัก ตั้งคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล 1 คณะ 11 คน จาก 4 พรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหาทางออก-สร้างความชอบธรรมให้แก่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพื่อขยายความขบวนการขับเคลื่อนอำมาตย์แทรกอำมาตย์ คนเดือนตุลานำขบวนไพร่แก้ไขรัฐธรรมนูญ "ประชาชาติธุรกิจ" สนทนาเพิ่มเติมกับ "สุธรรม แสงประทุม" อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 คนเบื้องหลังที่คอยให้คำแนะนำแก่คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เคยเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในช่วงเหตุการณ์ล้อมปราบ 6 ตุลาคม 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูก "ร.ต.อ.เฉลิม" ดึงตัวมาช่วยเป็นวิทยากรคู่กับ "อดิศร เพียงเกษ" แกนนำคนเสื้อแดง บนเวที "ประชาเสวนา" สร้างความปรองดอง+การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อฉายภาพความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน

"สุธรรม" กล่าวว่า สิ่งที่จะไปบอกประชาชนคือ 1.ต้นเหตุของปัญหาเกิดจากความผิดพลาดของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นำมาสู่กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 2.ปัจจัยใดที่นำไปสู่ทางออกของวิกฤตขัดแย้งเพื่อทำให้เกิดความปรองดอง

"สิ่ง ที่จะไปชี้แจงประชาชนเพื่อให้ผู้คนเห็นว่า หนทางไปสู่ความปรองดองของบ้านเมืองนำไปสู่ปัจจัยอะไรบ้าง เราจะไปเล่าประสบการณ์ชีวิตเราให้ฟังว่า วันหนึ่งเราเป็นผู้ถูกกระทำย่ำยีอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อวันหนึ่งเราถูกหยุดกระทำและคลี่คลายลงมา เรารู้สึกอย่างไร และบ้านเมืองจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการคลี่คลายนั้น"

"ผมกับอดิศร เราเป็นผลพวงของการปรองดองในบ้านเมืองครั้งใหญ่ หลัง 6 ตุลาคม 2519 ผมถูกขังคุกอยู่ที่เรือนจำบางขวาง 2 ปี ถูกนำขึ้นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ อดิศรหนีการจับกุมไปอยู่ในป่าเขา จนบ้านเมืองเริ่มสรุปว่า ถ้าปล่อยให้บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ไปไม่รอด จึงมีการปรองดองครั้งสำคัญ มีการนิรโทษกรรมให้กับผมในคดี 6 ตุลา และผ่อนปรนให้อดิศรและเพื่อน ๆ กลับเข้าสู่ในเมืองได้ เราล้วนแต่เป็นผลพวงของความปรองดองในบ้านเมือง"

"ส่วน เรื่องรัฐธรรมนูญจะชี้ว่า ตอนรัฐธรรมนูญ 40 ทุกองค์กรมีความเป็นอิสระ แต่วันนี้กลไกต่าง ๆ ตามกติกา ไม่อิสระ ตั้งขึ้นมาเพื่อเล่นงานฝ่ายการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เล่นพรรคประชาธิปัตย์ มีธง มาเล่นฝ่ายเราฝ่ายเดียว ประชาชนรู้ เขาอ่านออก เพราะรู้ว่าไม่ยุติธรรม เขาไม่ยอม มันคาอยู่อย่างนี้ ไม่มีความลงตัว ถ้าเป็นรถก็ไม่เต็มสูบ สองล้อหน้าหมุนไปข้างหน้า แต่สองล้อหลังหมุนไปข้างหลัง ดึงกันไป" หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา "สุธรรม" กลายเป็นผู้ถูกย่ำยีจากการรัฐประหารในค่ำคืนนั้น แต่สำหรับการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 เขาบอกว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นแค่ "เหยื่อ" คนหนึ่งในข้อเท็จจริงที่ถูกย่ำยี

"คุณทักษิณเป็นหนึ่งใน เหตุการณ์ข้อเท็จจริง ชาวบ้านถูกจับกุมคุมขังเยอะแยะ คดียึดสนามบินของเสื้อเหลืองทำไมไม่คืบหน้าเลย แต่พอคดีของคนเสื้อสีแดงกลับ โอ้โฮ...ทำเอา ทำเอา ชาวบ้านก็เห็นว่าความอยุติธรรมเกิด ความไม่เป็นธรรมเป็นที่มาของปัญหาบ้านเมือง"

แม้ในห้วงที่พรรคเพื่อ ไทยครองเสียงข้างมากในสภา มี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น้องสาว "พ.ต.ท.ทักษิณ" เป็นนายกฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจเต็ม ไปช่วยเหลือ "เหยื่อ" การเมืองระดับ "รากหญ้า" ที่ยังถูกขังคุกจากการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหลายราย

"รัฐบาล ช่วย แต่ว่าช่วยได้ระดับหนึ่ง ช่วยไปเยี่ยม ช่วยประกันตัว ช่วยหาทนายสู้ เป็นการช่วยปลายเหตุ ถ้าช่วยจริงต้องช่วยต้นเหตุว่าที่มาของความไม่ถูกต้องอยู่ตรงไหน ต้องลดที่มาของความไม่ถูกต้อง ที่มาของการถูกจับ ถูกจับทำไม เพราะการจับกุมคุมขังก็ไม่ถูกต้อง แค่คุณประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ไม่ถูกต้อง ชาวบ้านไม่เชื่อฟัง คุณก็ไปจับกุมเขา ชาวบ้านลุกขึ้นสู้กับความไม่ถูกต้องอย่างสันติ คุณก็ไปยัดเยียดข้อหาให้เขา แบบเดียวกับที่เคยเกิดกับชีวิตพวกผมยังไง ก็เกิดกับพี่น้องเช่นเดียวกัน"

ถึง "สุธรรม" ยืนยันว่า รัฐบาลช่วยเหลือ "เหยื่อ" การเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็ถูกนักวิชาการฝ่ายซ้าย ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ตราหน้าว่า "ลืมเพื่อน" แต่เขากลับแย้งว่า ทุกคนมีสิทธิ์พูด แต่รัฐบาลต้องดูแลประชาชนทุกคนภายใต้ "กติกา" และ "ข้อจำกัด" ที่ไม่สามารถทำอะไรบุ่มบ่ามได้ เพราะมีกลไกที่คอยจ้องล้มรัฐบาล

"รัฐบาล จะบุ่มบ่ามทำอะไรไม่ได้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่น มีสติสัมปชัญญะ ตอนเราหนุ่มเราคิดอย่างหนึ่ง พอเรามีอายุ เราก็มีวิธีจัดการปัญหาที่แตกต่างกันไป ไม่มีใครผิดใครถูกร้อยเปอร์เซ็นต์"

ถาม เขาว่า-พรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบก่อนหน้านี้ เป็นวัยหนุ่มยังคิดไม่รอบคอบ แต่พรรคเพื่อไทยวันนี้มีประสบการณ์ก็รู้จักว่าสิ่งไหนควรทำ "สุธรรม" ตอบ "วันเวลาบอกเรา หลายคนบอกชนเลย แต่อีกฝ่ายบอกว่าการชนไม่เกิดประโยชน์ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญเบรกการแก้รัฐธรรมนูญไว้ บางคนบอกเดี๋ยวคุยกันก่อน เพราะศาลขวางเต็มที่ เพราะถ้าชนพอเราล้มก็เลือกตั้งใหม่ แล้วก็ได้แบบเดิมอีก เดินแบบเดิมอีก"

สุธรรม" เชื่อว่า ทั้งพรรคเพื่อไทย และ ฝ่ายอำมาตย์ ต่างฝ่ายต่างมีบทเรียนด้วยกันทั้งคู่ ไม่ยอมผลีผลาม เพลี้ยงพล้ำบนกระดานอำนาจ

"ไม่ คิดว่าฝ่ายพรรคเพื่อไทยมีบทเรียนฝ่ายเดียว ฝ่ายเขาก็เจ็บเหมือนกัน พอท้ายที่สุดประชาชนก็มาเอากับเรา ไม่ได้เอากับเขา ทั้งที่เขามีอำนาจ มาก ฝ่ายเขาก็มีบทเรียน เขาทำแบบเดิมไม่ได้อีก เขาก็ต้องรอจังหวะของเขาเหมือนกัน แม้เขาไม่ยอมแพ้ แต่ก็ถือว่าเขาจะบุกง่ายๆ ไม่ได้"

"สุธรรม" เปรียบเทียบวันที่เขาถูกย่ำยี ต้องขึ้นศาลทหาร ถูกติดคุก 2 ปี กับวันที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ถูกเล่นงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และพิพากษาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า

"ศาล ต่าง ๆ ไปเกี่ยวข้องอะไรกับการยึดอำนาจ วันนี้ก็มาเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่ยึดมา แต่รักษาไม่ได้เท่านั้นเอง" ก่อนจบสนทนา "สุธรรม" มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน กับการออก

คำ สั่ง 66/23 ในอดีต เปรียบเสมือนการ "ลดเงื่อนไข" ความขัดแย้ง "ภาษาสมัยก่อนคือลดเงื่อนไขของความรุนแรง เมื่อก่อนสู้กันสองฝ่ายระหว่างฝ่ายบ้านเมืองกับคอมมิวนิสต์ ภาษาที่บิ๊กจิ๋ว (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) เคยใช้คือ ลดเงื่อนไขให้ฝ่ายตรงข้ามนำมาอ้างเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วม เงื่อนไขนั้นคือความยากจน ลดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม"

เมื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญ คือ ทางออกถาวรของปัญหา ขณะที่บางฝ่ายเชื่อว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง "สุธรรม" ตอบว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกติกาหลัก ถ้ากติกาหลักของบ้านเมืองผิดเสียแล้ว มันจะทำให้การดำเนินการของบ้านเมืองผิดพลาดไปด้วย เมื่อห้องหับไม่ปกติ การอาศัยอยู่ของผู้คนในบ้านก็มีปัญหาตามมา จึงนำมาสู่การแก้ไขรากฐานน่าจะถูกต้องกว่า"

ทุกบรรทัดเป็นความ คิด-อ่านของ "สุธรรม แสงประทุม" ผู้ที่มีหน้าที่จุดไฟแก้ไขรัฐธรรมนูญในระดับรากหญ้า หวังให้ขบวนรากหญ้าสร้างพลังกดดันขบวนอำมาตย์ !

Tags : แสงสุธรรม ลูกไม้ที่มหาดไทย แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรองดอง เพื่อไทย อำมาตย์

view