สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปู แจงเหตุใช้กม.มั่นคงหวั่นม็อบรุนแรง

ปู"แจงเหตุใช้กม.มั่นคงหวั่นม็อบรุนแรง

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกฯแจงเหตุประกาศใช้พ.ร.บ.มั่นคงฯ ระบุม็อบระดมคนชุมนุม เตรียมใช้ความรุนแรง-มีแนวคิดบุกรุกสถานที่สำคัญ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงการณืเรื่อง การประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยระบุว่า

"กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพ

วันนี้ดิฉันขอใช้เวลาของพี่น้องประชาชน  เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในประเด็นที่รัฐบาลได้ตัดสินใจประกาศใช้มาตรการ ตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555

ดิฉันขอเริ่มด้วยการเน้นย้ำว่า รัฐบาลยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เชื่อมั่นในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเชื่อมั่นว่าการใช้เวทีรัฐสภาที่ ประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากประชาชนมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย  ทั้งนี้ รัฐสภายังมีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล  ดังที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในอีกไม่กี่วันนี้ ซึ่งดิฉันก็พร้อมที่จะรับฟังและชี้แจงตามวิถีทางประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

และด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาโดยการเลือกตั้งจากประชาชนตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ดิฉันยืนยันว่าทุกเรื่องที่ดิฉันและรัฐบาลได้ตัดสินใจ จะยึดถือผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง ทั้งจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทุกคน

อย่างไรก็ตาม ความเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่การมีสิทธิเสรีภาพเพียงเท่านั้น แต่ต้องมีระบบระเบียบความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม และการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันได้  ย่อมมีกฎกติกาขอบเขตของสิทธิเสรีภาพโดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น  ทั้งยังมีหน้าที่จะต้องช่วยกันรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยไม่ให้ถูกคุกคาม

สำหรับการชุมนุม ประท้วง เรียกร้องใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีพื้นฐานมาจากความเดือดร้อนของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดนั้น สามารถทำได้เป็นสิทธิเสรีภาพที่รับประกันไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยที่การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบสันติปราศจากอาวุธ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย  ซึ่งดิฉันก็พร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเรียกร้อง และพร้อมที่จะร่วมแก้ปัญหาความเดือดร้อนนั้นๆ ให้หมดสิ้นไป

แต่หากการรวมตัวชุมนุมกัน  ซึ่งจากรายงานของฝ่ายความมั่นคงว่า เป็นการระดมผู้คนจำนวนมากภายใต้แกนนำที่มีท่าทีที่ต้องการจะล้มล้างรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งพร้อมที่จะใช้ความรุนแรง มีแนวคิดที่จะบุกรุกสถานที่สำคัญ และสร้างความวุ่นวายกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นปกติของสาธารณชนเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ซึ่งเมื่อเป็นภัยต่อความมั่นคงและสันติสุขของประชาชน   ดิฉันไม่ต้องการให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น แต่รัฐบาลย่อมต้องมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลใด ทั้งผู้ที่มาชุมนุมและประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง และที่สำคัญรัฐบาลจะต้องรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว กลไกการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตามปกติไม่สามารถรองรับได้  จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรีในวันนี้

มาตรการตามกฎหมายที่กำหนดนั้น ก็เพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพ ซึ่งการมีหน่วยปฏิบัติงานหลักก็เพื่อรับผิดชอบบูรณาการและประสานการปฏิบัติ ร่วมกับทุกส่วนราชการในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อประชาชนในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง  การปฏิบัติการต่างๆ จะเป็นไปอย่างรอบคอบ ปราศจากอาวุธและเป็นไปตามมาตรฐานสากล 

ทั้งนี้ดิฉันต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางและ บริเวณการชุมนุม เพื่อความสงบเรียบร้อย ความสะดวกและความปลอดภัยของท่านเอง

มาตรการและกลไกต่างๆ จะเน้นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก และเมื่อเหตุการณ์พัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ก็จะมีการยกเลิกการใช้มาตรการเหล่านั้นทันที

ดิฉันขอยืนยันว่า เมื่อได้รับการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปีที่แล้ว ดิฉันมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาประเทศ  อีกทั้งนำความสงบสันติคืนให้กับประเทศไทย  ดิฉันเชื่อว่าการลดความขัดแย้งทางการเมืองและการปรองดอง เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่ น้องประชาชนทุกคนโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือสีเสื้อใด ๆ

ขอขอบคุณสำหรับการให้โอกาสดิฉันทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมา และขอขอบคุณผู้ที่สนับสนุนและให้กำลังใจมา ณ ที่นี้  ดิฉันขอให้คำมั่นว่าจะไม่ย่อท้อและจะทำงานอย่างสุดความสามารถดังที่ตั้งใจ และสัญญากับพี่น้องประชาชน


นายกฯแจงใช้พ.ร.บ.มั่นคงเพราะม็อบคิดล้มล้างรัฐบาล

"ยิ่งลักษณ์"แจงเหตุผลที่ครม.ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง ระบุม็อบมีพฤติกรรมรุนแรงคิดล้มล้างรัฐบาล
22 พ.ย. 55 เมื่อเวลา 20.35 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศได้นำ เทปบันทึกภาพที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชี้แจงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยนายกฯ กล่าวว่า

กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพ

วันนี้ดิฉันขอใช้เวลาของพี่น้องประชาชน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในประเด็นที่รัฐบาลได้ตัดสินใจประกาศใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 22-30 พฤศจิกายน 2555

ดิฉันขอเริ่มด้วยการเน้นย้ำว่า รัฐบาลยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เชื่อมั่นในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเชื่อมั่นว่าการใช้เวทีรัฐสภาที่ประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากประชาชนมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ รัฐสภายังมีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ดังที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในอีกไม่กี่วันนี้ ซึ่งดิฉันก็พร้อมที่จะรับฟังและชี้แจงตามวิถีทางประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

และด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาโดยการเลือกตั้งจากประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดิฉันยืนยันว่าทุกเรื่องที่ดิฉันและรัฐบาลได้ตัดสินใจ จะยึดถือผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง ทั้งจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทุกคน

อย่างไรก็ตาม ความเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่การมีสิทธิเสรีภาพเพียงเท่านั้น แต่ต้องมีระบบระเบียบความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม และการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันได้ ย่อมมีกฎกติกาขอบเขตของสิทธิเสรีภาพโดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ทั้งยังมีหน้าที่จะต้องช่วยกันรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยไม่ให้ถูกคุกคาม

สำหรับการชุมนุม ประท้วง เรียกร้องใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีพื้นฐานมาจากความเดือดร้อนของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดนั้น สามารถทำได้เป็นสิทธิเสรีภาพที่รับประกันไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยที่การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบสันติปราศจากอาวุธ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งดิฉันก็พร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเรียกร้อง และพร้อมที่จะร่วมแก้ปัญหาความเดือดร้อนนั้นๆ ให้หมดสิ้นไป

แต่หากการรวมตัวชุมนุมกัน ซึ่งจากรายงานของฝ่ายความมั่นคง เป็นการระดมผู้คนจำนวนมากภายใต้แกนนำที่มีท่าทีที่ต้องการจะล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งพร้อมที่จะใช้ความรุนแรง มีแนวคิดที่จะบุกรุกสถานที่สำคัญ และสร้างความวุ่นวายกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นปกติของสาธารณชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อเป็นภัยต่อความมั่นคงและสันติสุขของประชาชน ซึ่งดิฉันไม่ต้องการให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น แต่รัฐบาลย่อมต้องมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลใด ทั้งผู้ที่มาชุมนุมและประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง และที่สำคัญรัฐบาลจะต้องรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว กลไกการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตามปกติไม่สามารถรองรับได้ จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรีในวันนี้

มาตรการตามกฎหมายที่กำหนดนั้น ก็เพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการมีหน่วยปฏิบัติงานหลักก็เพื่อรับผิดชอบบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง การปฏิบัติการต่างๆ จะเป็นไปอย่างรอบคอบ ปราศจากอาวุธและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ดิฉันต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางและบริเวณการชุมนุม เพื่อความสงบเรียบร้อย ความสะดวกและความปลอดภัยของท่านเอง

มาตรการและกลไกต่างๆ จะเน้นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก และเมื่อเหตุการณ์พัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ก็จะมีการยกเลิกการใช้มาตรการเหล่านั้นทันที

ดิฉันขอยืนยันว่า เมื่อได้รับการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปีที่แล้ว ดิฉันมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาประเทศ อีกทั้งนำความสงบสันติคืนให้กับประเทศไทย ดิฉันเชื่อว่าการลดความขัดแย้งทางการเมืองและการปรองดอง เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนทุกคนโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือสีเสื้อใด ๆ

ขอขอบคุณสำหรับการให้โอกาสดิฉันทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมา และขอขอบคุณผู้ที่สนับสนุนและให้กำลังใจมา ณ ที่นี้ ดิฉันขอให้คำมั่นว่าจะไม่ย่อท้อและจะทำงานอย่างสุดความสามารถดังที่ตั้งใจและสัญญากับพี่น้องประชาชน

สวัสดีค่ะ


เปิดขั้นตอนใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง

เปิดขั้นตอนใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง ออกประกาศ 3 ฉบับ กำหนดพื้นที่ ตั้งศูนย์อำนวยการและกำหนดเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เผย"อภิสิทธิ์"เคยประกาศก่อนช
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครม.ชุดย่อย ในวันนี้นั้น ในวันนี้นั้นเป็นไปตามมาตรา 8 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ที่ระบุว่า การประชุมครม.ในกรณีปกติให้ดําเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนครม.ทั้งหมดที่มีอยู่

ครม.ชุดเล็กที่เรียกประชุมในวันนี้ ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ และนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสธนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)

ทั้งนี้ภายหลังจากครม.มีมติให้ประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรใน 3 เขต กทม. คือ เขตดุสิต เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในระหว่างวันที่ 22-30พ.ย. 255 นั้น โดยขั้นตอนต่อไปนั้นจะมีการออกประกาศ 3 ฉบับ คือ

1.ประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

2.ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในฯ ซึ่งมาตรา18 ระบุว่า “มาตรา18 เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา 15 ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

(๑) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด

(๒) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(๓) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด

(๔) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน

(๕) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(๖) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน

ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การกำหนดดังกล่าวต้องไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

ส่วนประกาศฉบับที่ 3 นั้นจะ เป็นประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย” โดยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งสิ้น 18 ฉบับ

และนอกจากนี้ตามมาตรา17ของพ.ร.บ. ระบุด้วยว่า ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 16 ในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้สมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เคยประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ก่อนการชุมนุมจะเกิดขึ้นเช่นกัน โดยประกาศใช้ระหว่างวันที่ 11 มี.ค. - 23 มี.ค. 2553


“คำนูณ” ชี้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ออกการ์ดเชิญคนไม่พอใจรัฐเข้าร่วม “ม็อบ เสธ.อ้าย”

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ส.ว.สรรหา ชี้ รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะกังวลในทางการข่าว อีกด้านเสมือนส่ง “การ์ดเชิญ” ให้คนออกมาชุมนุมมากขึ้น ยอมรับประเมินการชุมนุมยาก เพราะท่าที เสธ.อ้าย และขบวนไม่บอกให้ชัดเจน อีกทั้งบางวิธีเป็นไปไม่ได้ ส่งผลดีคือยั่วให้คนอยากรู้ แต่ผลเสียจะถูกตีความชนิดเสียมากกว่าได้ ห่วงการบริหารจัดการมวลชน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน-ระมัดระวังให้สูง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการกระทบกระทั่ง
              วันนี้ (22 พ.ย.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวในรายการนิวส์อาว ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ถึงการที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ว่า รัฐบาลก็คงประเมินสถานการณ์ในทำนองว่ากังวล ไม่ทราบว่า รัฐบาลได้ประเมินผลดีผลเสีย ชั่งน้ำหนักกันอย่างไร เพราะการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ก่อนการชุมนุม โดยที่การชุมนุมไม่ได้บ่งบอกว่าจะมีอะไรที่เกินกว่ากฎหมายปกติ สิ่งที่รัฐบาลอ้าง เนื่องจากในทางการข่าวทั้งนั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เราไม่รู้
       
       “ผลที่เกิดขึ้นก็ทำให้เหมือนเป็นการส่งการ์ดเชิญให้คนออกมาชุมนุมมาก ขึ้น จากรูปแบบการแถลงที่จะบอกว่า มีแผนจับตัวนายกรัฐมนตรีบ้าง แต่ที่แปลก ก็คือ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นผู้หญิง กล่าวว่า จะห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าร่วมการชุมนุมเด็ดขาด จริงอยู่ที่อาจจะอ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ปี 2516 ได้ แต่การชุมนุมตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่เคยมีการใช้มาตรการนี้ เหมือนเป็นการดิสเครดิตการชุมนุมครั้งนี้ ว่า จะมีความปลอดภัย หรือจะมีมือที่สาม หรือแผนการที่จะเกิดความไม่สงบ โดยปกติแล้วมันก็จะให้ผลในทางตรงกันข้าม เป็นผลข้างเคียงออกมาด้วย ผลในเชิงบวกของรัฐบาล ก็อาจจะเป็นการป้องกันไว้ก่อน เตรียมการไว้ก่อน เป็นการเคลื่อนย้ายกำลังได้สะดวก แต่ผลในทางลบ ผลข้างเคียงก็ทำให้คนไม่พอใจรัฐบาลยิ่งขึ้น ก็คือ จะออกมาร่วมชุมนุมมากขึ้น” นายคำนูณ กล่าว
       
       เมื่อถามว่า ถ้าประเมินจากบรรยากาศตอนนี้ การชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย.จะมีพลังหรือเกิดผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และจะชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ยอมรับว่า ประเมินยาก เพราะ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ แกนนำกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ก็พูดแปลกๆ ตอนต้นก็บอกว่าไม่ยืดเยื้อ ไม่เกิน 2 วัน 1 คืน แต่พอแถลงข่าวล่าสุดก็บอกว่าถ้า 11 โมงเช้าผู้ชุมนุมมาไม่ตามเป้า คล้ายๆ กับ ว่า ถ้ามีคนมาน้อย 11 นาฬิกา ก็จะประกาศเลิกเลย ถ้าดูในโซเชียลมีเดีย คนที่พร้อมไปร่วมชุมนุมก็งงๆ บางทีเขาก็ใจเสีย เพราะบางทีเรามีประสบการณ์ในการชุมนุมมา ทราบว่า บางทีนัดเวลาเช้า และงานนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าจะอยู่กันอย่างต่ำๆ 1 คืน ฉะนั้น ช่วงที่ผู้คนจะมาเยอะที่สุดก็จะเป็นช่วงเย็น ช่วงค่ำ ไปจนถึงช่วงดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านัดชุมนุมในวันเสาร์-อาทิตย์ ด้วย คืนวันเสร์ก็น่าจะเป็นจุดพีคที่สุด
       
       “แต่ทีนี้พอท่านประกาศออกมาว่า 11 โมง ถ้าคนไม่เยอะ ท่านก็พร้อมประกาศเลิก มองในเชิงหนึ่งก็อาจเป็นจิตวิทยาที่ต้องการให้คนมาแต่เช้า เขาก็มองได้ นอกจากนั้น มันก็มีบุคคลที่อยู่ในคณะนำก็ออกมาให้สัมภาษณ์ก็ดูแปร่งๆ เปล่าๆ ยังไงพิกล บางท่านก็เป็นโหรใหญ่ คุณกรหริศ บัวสรวง ท่านก็ให้สัมภาษณ์คล้ายๆ กับบอกไม้เด็ด ไม้ตายออกมาหมด ผมว่า มันเป็นที่ 6 ปีมาแล้วมันไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ พอท่านประกาศออกมาดูในโซเชียลมีเดีย ก็มีผู้ร่วมขบวนบางท่าน คือ คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ท่านก็บอกว่า วิธีการที่บางคนพูดออกมาอย่างนั้น มันไม่ใช่ มันเป็นไปไม่ได้แล้ว ก็เลยค่อนข้างที่จะไม่มีใครเดาออกว่าสิ่งที่เรียกว่าหมัดเด็ด หรือเป็นวิธีการที่ท่านบอกว่าท่านมีตกลงแล้วมันคืออะไร ถ้าประชาชนมามากจะมีวิธีอย่างไรที่ทำให้รัฐบาลพ้นไปจากตำแหน่ง อันนี้ก็ต้องยอมรับว่ามองไม่ออก เมื่อมองไม่ออกก็ไม่สามารถคาดการณ์ว่าสถานการณ์จะเป็นไปอย่างไร” นายคำนูณ กล่าว
       
       เมื่อถามว่า การไม่บอกเป้าหมายการชุมนุมที่ชัดเจน จะมีผลดีผลเสียอย่างไร นายคำนูณ กล่าวว่า ผลดีก็อาจจะเป็นเหมือนการยั่วยุให้คนอยากรู้ เมื่ออยากรู้ก็ให้คนมามากๆ จะได้เห็นด้วยตาตัวเอง แต่ผลเสีย ก็คือ มันก็นำไปสู่การตีความหลากหลาย ที่สำคัญ ถึงแม้จะมีโฆษกออกมาแล้ว แต่ตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางโฆษกก็ยังไม่สามารถที่จะให้ภาพรวมในรายละเอียดได้ว่า การให้นักการเมืองหยุดยุ่งเกี่ยวกับการบริหารประเทศสักระยะหนึ่ง จะทำอย่างไร เมื่อหยุดการบริหารประเทศแล้ว ใครจะบริหารประเทศ และจะบริหารประเทศไปในทิศทางใด ที่เรียกว่าพิมพ์เขียวประเทศ หลังจากนี้ทำในรูปแบบใด ก็ยังไม่มีการพูดออกมา
       
       “ท่านอาจจะมองว่าเป็นข้อที่ทำให้คนอยากรู้ ก็เลยต้องเข้าไปร่วมมากขึ้น ผมก็อาจจะมองต่างได้ มันก็ทำให้เกิดข้อสงสัย และก่อให้เกิดการตีความกันไปต่างๆ นานา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนในขบวนของท่านเอง ออกมาพูดในลักษณะที่บางท่านก็พูดแล้วก็อาจจะเสียมากกว่าได้ พอพูดออกมาแล้ว ก็มีคนในขบวนเหมือนกันออกมาบอกว่า อันนี้ไม่ใช่ มันก็เลยยังค่อนข้างจะสับสน แต่นาทีนี้ก็คงไม่สำคัญเท่าไหร่แล้ว เพราะว่าผู้คนที่ออกไปร่วมก็พร้อมที่จะออกไปเต็มที่ เพราะว่าเขาก็มีอารมณ์ร่วมอยู่ที่ความอึดอัด ความคับข้อง ความไม่พอใจในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เพิ่งเกิดในวันนี้ แต่ว่าก็เกิดมาเป็นปีๆ แล้ว” นายคำนูณ กล่าว
       
       ส.ว.สรรหา กล่าวอีกว่า พัฒนาการจะไปในทางไหนไม่สามารถที่จะวิจารณ์ไปมากกว่านี้ได้จริงๆ เพราะว่าเท่าที่ติดตามข่าวมายังไม่เห็นภาพชัดเจนว่าจะไปยังไง แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ตนเป็นห่วงมาโดยตลอด คือ การที่มีแนวโน้มจะมีผู้คนจำนวนมากออกไปร่วมกันแล้วผู้คนจำนวนมากมีเป้าหมาย มีจุดร่วมกันเล็กนิดเดียว แต่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ก็คือ ไม่พอใจรัฐบาลปัจจุบัน แต่ว่าผู้คนที่จะมาจากหลากกลุ่มความคิด และไม่ได้มีลักษณะมีการจัดตั้งที่ชัดเจน การที่มีผู้คนจำนวนมากมายมหาศาลจากหลากหลายกลุ่ม หลากหลายความคิดเข้ามารวมกันในเวลาเดียวกัน มันไม่ใช่ว่านึกจะเรียกมาก็เรียกมา เลิกก็เลิกได้ มันก็ต้องมีการบริหารจัดการมวลชนว่า ตกลงแล้วที่มาข้อเรียกร้องที่จะมีต่อรัฐบาลคืออะไร เป้าหมายที่จะต่อสู้บรรลุผลนั้นสูงสุดคืออะไร รองลงมาคืออะไร รองลงมาอีกคืออะไร แค่ไหนที่จะสร้างความพอใจ และยุติการชุมนุม และยุติการชุมนุมจะทำอย่างไร นัดชุมนุมใหม่ หรือจะก่อองค์กรนำเป็นรูปแบบถาวร มีคณะนำขึ้นมา เหล่านี้มันเป็นเรื่องที่ต้องคิด แล้วก็ต้องบอกกับมวลชน เพราะว่าเมื่อเกิดการชุมนุมขึ้นมาแล้ว ก่อนหน้าการชุมนุมอาจจะเป็น เสธ.อ้าย เรียกชุมนุม แต่ว่าเมื่อชุมนุมขึ้นมาแล้ว การนำในทางปฏิบัติจะไปอยู่ที่มวลชน คือ ไม่ใช่ท่านบอกว่าเลิกแล้วมวลชนจะเลิกได้ ตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องระมัดระวังให้สูง เพราะบางครั้งมันก็จะเกิดสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิด ขึ้นจากการกระทบกระทั่งกัน มันมีโอกาสเป็นไปได้


ผบ.ตร.อ้างใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เหตุม็อบมีแผนจับ “ปู” เป็นตัวประกัน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผบ.ตร.ระบุการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือรองรับการปฏิบัติงาน ดูแลสถานที่ราชการ หลังการข่าวพบข้อมูลน่าเป็นห่วง ทั้งการระดมคนเข้าร่วมชุมนุมหวังให้เกิดความรุนแรง ขณะเดียวกันยังพบมีแผนจับ “นายกฯ ปู” เป็นตัวประกัน บุกยึดสถานที่ราชการ
         พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ถึงการประกาศใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายใน ควบคุมการชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามในวันเสาร์ที่ 24 พ.ย.นี้ว่า ตนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ โดยจะใช้ 20 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นที่ทำการ เบื้องต้นฝ่ายความมั่นคงประเมินจะมีผู้เข้าร่วมชุมนุมมากกว่า 5 หมื่นคน แต่ไม่ถึงล้านคน การประกาศใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ มีวัตถุประสงค์ดูแลผู้ชุมนุมให้ปลอดภัยและทำให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือรอง รับการปฏิบัติงาน รวมถึงการดูแลสถานที่ราชการ ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบสิทธิ์ของประชาชน โดยเจ้าหน้าจะยึดหลักกฎหมายในการปฏิบัติการพร้อมจะมีการแจ้งเตือนก่อนดำเนิน การ
       
       ทั้งนี้ ยอมรับว่าการข่าวมีข้อมูลบางอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการระดมผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก หวังให้เกิดความรุนแรง ส่วนกระแสข่าวการจับตัวนายกรัฐมนตรีเป็นตัวประกันรวมทั้งการบุกยึดสถานที่ ราชการนั้น ยอมรับทางเจ้าหน้าที่กังวลและทราบข้อมูลของกลุ่มที่จะก่อความวุ่นวาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลด้านการข่าว ดังนั้นจึงได้ประกาศให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการทำงาน สำหรับกำลังเจ้าหน้าที่เบื้องต้นจะใช้หนึ่งร้อยกองร้อยและจะปรับตาม สถานการณ์


ด่าขรมม็อบตำรวจปิดถนน จราจรทั่วกรุงติดสาหัส

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ASTVผู้จัดการรายวัน-คนกรุงสวดยับ รัฐบาลตื่นตูมระดมกำลังตำรวจคุมม็อบมาโอเวอร์ทำรถติดวินาศสันตะโร
       
       เมื่อเวลา 17.00 น.ที่ผ่านมาวิทยุ สวพ.FM91 รายการข่าวจราจรและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (FM91 MHz) แจ้งว่า ถนนพิษณุโลกช่วงระหว่างแยกวังแดงถึงสวนมิกสวัน มีรถตู้และรถควบคุมผู้ต้องหาจอดทั้ง 2 ฝั่ง เหลือรถวิ่งสวนไปมาได้ฝั่งละ 1 เลนแนะนำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
       
       ทั้งนี้ยังมีปัญหา กระทบอีกหลายเส้นทาง อยู่ในเส้นทางดังต่อไปนี้
       1) ถ.นครสวรรค์ จากแยกผ่านฟ้า ไปแยกนางเลิ้ง หยุดนาน 2) ถ.ราชดำเนินกลาง ลงมาจากสะพานปิ่นเกล้า ติดเข้า ถ.นครสวรรค์ ท้ายอยู่แยกอรุณอัมรินทร์ 3) สะพานพระราม 8 ลงไปฝั่งพระนคร ติด ท้ายนิ่งแยกอรุณอัมรินทร์ 4) บนด่วนขั้นที่ 2 (แจ้งวัฒนะ -บางโคล้) มีปัญหา ลงยมราช ท้ายต่อเนื่อง ด่านประชาชื่น 5) ด่วนพระราม 9ศรีนครินทร์ มาต่างระดับพญาไท (ลงยมราช) ท้ายยาวถึงด่านศรีนครินทร์
       
       ก่อนหน้านี้มีหลายเส้นทางรอบๆบริเวณดังกล่าวก็ติดขัด เนื่องจากตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ระดมกำลัง ตำรวจที่จะปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุมทั้ง 112 กองร้อย เดินทางมาจากทั่วประเทศเข้าสู่จุดรวมพลขั้นต้น เข้าสู่จุดที่พักเช่น สโมสรตำรวจ กองบินตำรวจ ศูนย์ฝึกอบมต่างๆ เพื่อเตรียมเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการต่อไป ทั้งนี้ บช.น.ได้ตังศปก.ส่วนหน้า 3 จุด ด้วยกันคือสนามเสือป่า รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพจราจรที่ติดขัดเนื่องจากตำรวจเดินทางเข้ากรุงเทพฯประกอบกับเป็นช่วง เวลาที่หน่วยงานราชการ โรงเรียน และ เอกชน กำลังทยอยเลิกงานยิ่งส่งผลให้ลุกลามไปทั่วบริเวณเขตดุสิต เขตพระนคร และ เขตใกล้เคียง ไปเกือบจะทั่วกรุง ซี่งปรากฎว่า มีผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งส่วนตัวและสาธารณะก่นด่าการกระทำที่เกินเหตุของตำรวจใน ครั้งนี้ด้วยการการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่ายสังคมวิพากษ์วิจารณ์แลก เปลี่ยนกัน
       
       ทั้งนี้ จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจเฉพาะอารักขาทำเนียบฯ มีจำนวน 5,000 นายที่มาถึงแล้ว ส่วนยอดรวมตำรวจที่ใช้สำหรับงานนี้น่าจะประมาณ 15,000 คน
       
       ด้านจส.100 รายงานเมื่อเวลา 18.20น. ถนนราชดำเนินกลาง รถหนาแน่นทั้งสองฝั่งการจราจรติดขัดหยุดนิ่งนาน ขณะที่ สะพานปิ่นเกล้า มาทางคู๋ขนานลอยฟ้าบรมฯ ยังติดขัดลงตลิ่งชัน


“ถาวร” ชี้ใช้ พ.ร.บ.มั่นคง เกินจำเป็น แฉรัฐเตรียมแดงไว้พร้อมอาละวาด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ฉะรัฐบาลใช้ พ.ร.บ.มั่นคง เกินความจำเป็น เหตุผู้ชุมนุมยังไม่แสดงออกถึงความไม่สงบ เตือนมีการเตรียมเสื้อแดงไว้พร้อมป่วน หากเวทีองค์การพิทักษ์สยาม เปิดโปงรัฐบาลมากเกินจนทนไม่ได้
       
       วันนี้ (22 พ.ย.) นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในพื้นที่เขตดุสิต เขตพระนคร และ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย.นี้ เพื่อควบคุมการชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ว่า เรื่องนี้เกินความจำเป็น เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่ได้แสดงออกจะไปก่อความไม่สงบ หรือไปทำลายความมั่นคง สร้างความเดือดร้อน ซึ่งการประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง เป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซัน ซึ่งต้องรอดูการกระทำของรัฐบาล ว่า จะใช้อำนาจเพียงใด หรือจะจำกัดสิทธิผู้แสดงออกทางการเมืองที่ไม่พอใจรัฐบาลขนาดไหน และจะใช้ความรุนแรง ใช้อำนาจเกินความจำเป็นหรือไม่
       
       ซึ่งการที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมการชุมนุมกว่า 100 กองร้อยนั้น เห็นว่า การที่เอาที่ตำรวจมาเป็นจำนวนมาก ไม่รู้ว่าจะเอาทำร้ายประชาชนหรือคุ้มครองประชาชนที่มาชุมนุม หรือจะเป็นการอำนวยความสะดวกไม่ให้กลุ่ม นปช.มาอาละวาดทุบตีประชาชน หรือยิงปืนเอ็ม 79 หรือไม่ก็ต้องรอดูพฤติกรรม ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์เห็นว่าประชาชนไม่มีความรุนแร งแต่ต้องติดตามกลุ่มเสื้อแดง หรือที่คนของรัฐบาลระบุว่าเป็นเสื้อแดงเทียม จะเปิดไฟเขียวให้กลุ่มนี้ออกมาหรือไม่ ก็ต้องรอดูบรรยากาศบนเวทีการชุมนุม ว่า จะเปิดโปงความชั่วร้ายได้มากเพียงใด เพราะหากเปิดโปงได้มากจนทนไม่ได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มเสื้อแดงจะออกมาอาละวาดให้การชุมนุมสลายตัว ซึ่งมีการเตรียมการไว้แล้ว


สตช.ขนกำลัง ตร. 112 กองร้อยทั่วประเทศคุมม็อบ เสธ.อ้าย ลั่นพื้นที่ชุมนุม "เขตปลอดเด็ก"

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

โฆษก ตร.แถลงขนกำลัง 112 กองร้อยทั่วประเทศคุมม็อบ เสธ.อ้าย ด้าน รองโฆษกศปก.ตร. ลั่น พื้นที่การชุมนุมเป็น "เขตปลอดเด็ก" สั่งห้ามหอบลูก - จูงหลานเข้าร่วมชุมนุม ชี้ละเมิดสิทธิเด็ก!!!
       วันนี้(22 พ.ย.)ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ธนา ชูวงศ์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษกตร. พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล รองโฆษกศปก.ตร. รวมกันแถลงข่าวกรณีการชุมขององค์การพิทักษ์สยาม
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า วันนี้กำลังตำรวจที่ปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุมทั้ง 112 กองร้อยกำลังเดินทางมาจากทั่วประเทศเข้าสู่จุดรวมพลขั้นต้น เข้าสู่จุดที่พักเช่น สโมสรตำรวจ กองบินตำรวจ ศูนย์ฝึกอบมต่างๆ เพื่อเตรียมเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการต่อไป
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้ตรวจความพร้อมของกำลังและรับฟังการเตรียมความพร้อมของกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. ซึ่งบช.น.ได้เตรีมความพร้อม คือ 1.บช.น.เจ้าของพื้นที่ได้กำหนดพื้นที่ชุมนุมที่เหมาะสะดวกในการรักษาความ ปลอดภัย ไม่ให้กระทบต่อประชาชนทั่วไปให้อยู่ลานพระรูปและพื้นที่โดยรอบไม่ให้กระจาย ไปในพื้นที่อื่น กำลังที่เข้าปฏิบัติหน้าที่จากต่างจังหวัดในแต่ละจุดจะทำงานร่วมกับกำลังขอ งบช.น. เช่น จุดถ.อู่ทองใน ใช้กำลังของภาค 6 มาอยู่ ก็จะมีกำลังของบช.น.น.มาร่วมเพื่อรวามเข้าในที่ตรงกัน ผู้คุมกำลังทั้งหมดตอนนี้รับทราบภาระกิจแล้ว
       2.บช.น.ได้ตังศปก.ส่วนหน้า 3 จุด ด้วยกันคือสนามเสือป่า รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาลโดยมีรองผบช.น.เป็นผู้กำกับดูแล มีผบก.40 นายทั่วประเทศที่คัดมาร่วมดูแล โดยศปก.ส่วนหน้า มีหน้าที่หลักคือรักษาพื้นที่และดูแลความสงบเรียบร้อย แต่ละศปก.ส่วนหน้าก็จะมีที่ทำการส่วนหน้าย่อย (ทก.สน.) อีก 5-6 จุด มีภาระกิจตั้งจุดตรวจเข้มแข็งตรวจตราอาวุธ คัดกรองบุคคล ณ จุดตรวจร่วมจะมีการ์ดของผู้ชุมนุมร่วมตรวจกับตำรวจด้วยช่วยดูคัดกรองบุคคล และอาวุธ
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า ในวันนี้จากการตรวจสอบสถานการณ์ มีเหตุบงชี้หลายอย่างที่จำเป็นเสนอใช้กฎหมายที่สูงขึ้นคือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ จาการข่าวการชุมนุมจะมีการยกระดับสถานการณ์ไม่ได้อยู่ที่เดียว มีการระดมคนมากขึ้น ตรวจสอบโครงข่ายผู้ชุมนุมมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ อาจจะมีเข้าไปในพื้นที่สำคัญ อาจมีการยั่วยุให้เกิดความวุ่นวาย กฏหมายปกติอาจจะไม่สามารถควบคุมดูแลด้วย ต้องกำหนดพื้นที่ห้ามเข้าเด็ดขาด เช่น ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา หากใครฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฎหมายต้องถูกจับกุมซึ่งตำรวจได้เตรียมสถานที่ควบ คุมตัวไว้แล้ว ประการสำคัญภาระกิจนี้เฉพาะตำรวจอาจไม่เพียงพออาจต้องของกำลังจากหน่วยอื่นๆ มาร่วมหากประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ผบ.ตร.จะสามารถบูรณาการกำลังได้
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ผบ.ตร.ได้กำชับให้จุดปฏิบัติการทุกจุดจะทำงานอย่างโปร่งใส สื่อสามารถติดตามการทำงานได้ตลอดเวลา จะมีชุดเจรจาต่อรองที่จุดตรวจเข้มแข็งทุกจุดนอกจากนั้น ผบ.ตร.ได้สั่งให้ผบช.น.และหน่วยปฏิบัติจัดทำแผนการดูแลสถานที่สำคัญ เช่นสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ ที่ทำการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ประปา ไฟฟ้า และระบบคมนาคมทุกแห่งให้เตรียมกำลังเข้าไปดูแล ผบ.ตร.ได้มีหนังสือถึงผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งสามเหล่าทัพ ให้จัดกำลังมาร่วมทำงานกับตำรวจเพื่อให้ข้อแนะนำประสานงานที่ศปก.ตร.
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ในส่วนของฝ่ายสอบสวนได้ตั้งพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ที่ปรึกษาสบ.10 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ในส่วนของบช.น.ก็จะมีพล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น.เป็นหัวหน้า โดยมีพนักงานสอบสวนจากหน่วยต่างๆ ทั้งบช.ก และนครบาล และภูธร มีการจัดชุดถอดเทป วิเคราะห์ข้อมูลคำต่อคำภาพต่อภาพ
       
       ด้านพล.ต.ต.ธนา กล่าวว่า ผบ.ตร.ได้ สั่งผบก.จว.จัดกำลังตำรวจบ้านออกตรวจตราเพื่อป้องกันเหตุ ขอให้ประชาชนมั่นใจแม้จะมีกำลังมาทำงานดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมที่กทม.ในพื้นที่ ก็จะมรอาสาสมัครร่วมกับตำรวจคอยดูแลประชาชนเหมือนเดิม
       
       ขณะที่พ.ต.ท.หญิงอัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล รองโฆษกศปก.ตร. กล่าวว่า โรงพยาบาลตำรวจจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแล 24 ชม.ดูแลผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจี่ปฏิบัติหน้าที่ หากเจ็บไข้ได้ป่วยก็มาใช้บริการได้ มีการจัดเตรียมรถพยาบาลให้การดูแลหากต้องส่งต่อไปรพ.ต่าง ๆ ได้มีเตรียมแผนกรณีฉุกเฉินไว้แล้วโดยเป็นการร่วมมือระหว่างรพ.รัฐและเอกชน
       
       พ.ต.ท.หญิงอัญชุลี กล่าวว่า ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าร่วมชุมนุมเด็ดขาด พ่อแม่ผู้ปกครองก็ห้ามพาเด็กมาร่วมชุมนุมเพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ผู้ปกครองต้องดูแลเด็กให้เกิดความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ก็มีหน้าที่ดูแลให้เกิด ความปลอดภัยต่อเด็ก
       
       พล.ต.ต.ปิยะ ยังกล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ในการดูแลการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ว่า เนื่องจากสถานการณ์การชุมนุมจะมีผู้เข้าร่วมการชุมุนมเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันพบว่าจะมีแกนนำบางส่วนจะมีการยั่วยุเพื่อใช้ผู้ชุมนุมเป็น เครื่องมือในการยกระดับการชุมนุม เพื่อให้เกิดความรุนแรง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน รวมถึงผู้ที่มาร่วมชุมนุม รวมถึงรักษาสถานที่ราชการ หรือสถานที่สำคัญของประเทศ
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อไปว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ดังกล่าว ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนโดยทั่วไป ยกเว้นประชาชนในพื้นที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ที่อาจไม่ได้รับความสะดวกบ้าง โดยในขณะนี้มีการประกาศใช้ใน 3 เขต ได้แก่ ดุสิต พระนคร และป้อมปราบศัตรูพ่าย ซึ่งจะมีการประกาศเขตห้ามเข้า เขตควบคุมเรื่องอาวุธและยานพาหนะ ซึ่งจะบังคับใช้เฉพาะบางพื้นที่ในเขตเหล่านี้ ซึ่งไม่ได้ประกาศเป็นเขตควบคุมเต็มทั้งพื้นที่ ส่วนห้วงเวลาที่ประกาศใช้ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย.นี้ รวมเวลา 9 วัน แต่ถ้าหากสถานการณ์คลี่คลายก่อน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ก็จะขอยกเลิกการประกาศใช้ทันที
       
       “หลังประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ จะมีการบูรณาการการทำงานจากทุกกระทรวง รวมทั้งฝ่ายทหาร ซึ่งยืนยันว่า เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และความชอบธรรม การใช้กำลังจะเป็นไปตามกฎการใช้กำลังของแผนกรกฏ 52 โดยจะมีการแจ้งเตือนผู้ชุมนุมที่ละเมิดกฎหมายทราบก่อนทุกครั้ง ทั้งการแจ้งเตือนจับกุม แจ้งเตือนใช้น้ำ หรือหากจำเป็นมีการใช้แก็สน้ำตา นอกจากนี้มีป้ายเตือนเรื่องห้ามเข้าสถานที่ หรือห้ามพกพาอาวุธที่ชัดเจน ยืนยันว่าตำรวจจะใช้ความละมุนละม่อม ถ้าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธก็ไม่มีปัญหา” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
       
       พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ผู้ชุมนุมมีสิทธิในการชุมนุมอย่างเต็มที่ เพียงแต่ว่าจะกำหนดพื้นที่บางส่วน ที่ห้ามไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้า หรือพกพาอาวุธ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ตำรวจก็ต้องดำเนินการจับกุม ซึ่งการใช้กำลังของตำรวจจะเป็นตามกฎการใช้กำลัง และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือ เน้นจับกุมด้วยมือเปล่า ทั้งนี้ แม้จะมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ แต่ตำรวจยังไม่ได้มีการสั่งเพิ่มกำลังในการดูแลผู้ชุมนุม รวมทั้งไม่มีการขอกำลังจากทหารเสริมการทำงาน ในเบื้องต้นจะใช้กำลังตำรวจเป็นหลัก
       
       โฆษก.ตร. กล่าวด้วยว่า ในเวลา 16.00 น. วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.กอ.รมน. จะเรียกประชุมกอ.รมน.เพื่ออนุมัติแผนปฏิบัติการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังจากนั้นก็จะมีการปรับศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส.และคาดว่าจะมีการประชุมศอ.รส.เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป
       
       เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภาค 1 - 9 , ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจในแผนการปฏิบัติที่จะใช้ในการดูแลความสงบเรียบร้อยการ ชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555
       
       พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า การประชุมเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บังคับบัญชาที่จะต้องนำกำลังเข้ามา ดูแลผู้ชุมนุมเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีวินัย ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งการลงมา รวมทั้ง กำชับให้กำลังพลที่เข้ามาดูแลผู้ชุมนุมห้ามพกพาอาวุธอย่างเด็ดขาด และยืนยันว่าตำรวจจะไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังติดตามการข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
       
       ทางด้าน พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงศักดิ์ โฆษกบช.น. เข้าตรวจสภาพรถติดเครื่องขยายเสียงที่เตรียมไว้เพื่อดูแลความสงบในการชุมนุม และประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวให้กับผู้ชุมนุมได้รับทราบตลอดเวลาเพื่อให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
       ต่อมาเวลา 14.30 น. พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมในการดูแลความสงบเรียบร้อยผู้ชุมนุมของกลุ่ม องค์การพิทักษ์สยามและเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อเรียกร้องทางการเมือง บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ว่า ขณะนี้ทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราช อาณาจักร พ.ศ.2551 เพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุม ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย. 2555 ใน 3 เขต คือ เขตดุสิต เขตพระนคร และเขตป้อมปราศัตรูพ่าย
       พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า ในส่วนของแผนการปฏิบัติเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุมนั้น ทาง ผบช.น.ได้สั่งการให้หน่วยประชาสัมพันธ์ของบช.น. จัดทำข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะมีการนำรถ 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงและป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบการเคลื่อน ไหวของการชุมนุม ทั้งนี้ กองประชาสัมพันธ์ของบช.น.ได้จัดทำใบปลิวและป้ายห้ามกระทำผิดกฎหมายไปติดตั้ง ไว้ในจุดต่างๆ ทั้งสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญทั่วไป โดยจะไม่อนุญาตให้มีการบุกรุกอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดด้วย นอกจากนี้ สำหรับกำลังพลที่มาจากทั่วประเทศเพื่อเข้ามาดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้กำหนดจุดที่พักไว้นั้นขอปิดเป็นความลับ แต่ยืนยันว่ามีความพร้อมในการดูแลความเรียบร้อยเต็มที่
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใบปลิวที่ทางบช.น.จะแจกจ่ายให้กับประชาชน ระบุว่า “ชุมนุมโดยสงบ เคารพกฎหมาย ไม่เกิดความวุ่นวาย แยกย้ายโดยสันติ พี่น้องประชาชนที่รัก จากการชุมนุมที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนกับตำรวจนครบาลได้ร่วมมือกันจนประสบผลสำเร็จ คือ ความสงบเรียบร้อย กองบัญชาการตำรวจนครบาลขอขอบพระคุณพี่ร้องประชาชนทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้
       หวังว่า ความร่วมมือระหว่างพี่น้องประชาชนกับตำรวจนครบาล ในการชุมนุมครั้งนี้จะเป็นไปตามกรอบของกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความสงบเรียบร้อย ของบ้านเมืองต่อไป ทั้งนี้ หากมีเหตุไม่น่าไว้ว่างใจ หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจใกล้ตัวท่าน ซึ่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้จัดกำลังดูแลพี่น้องประชาชน เพื่อรักษาความเรียบร้อยและมั่นคงของประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา ด้วยรัก ห่วงใย และปราถนาดี จากตำรวจของประชาชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”
       
       “การชุมนุมเนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุม สาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ด้วยรัก ห่วงใย และปราถนาดี จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล”


องค์กรอิสระเมินร่วมดูรัฐคุมม็อบ

จาก โพสต์ทูเดย์

องค์กรอิสระเมินร่วมดูรัฐคุมม็อบ

องค์การอิสระปฏิเสธคำเชิญ "เฉลิม" ให้ร่วมสังเกตการณ์ปฏิบัติการ9ขั้นคุมม็อบ ชี้เป็นหน้าที่รัฐบาลที่ต้องดูแลให้สงบเรียบร้อยอยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. บรรดาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต่างออกปฏิเสธคำเชิญของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้เข้าร่วมสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และติดตามการชุมนุม ของกลุ่มมวลชนภายใต้การนำของพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ตามร่างแผนแม่บท 9 ขั้นรัฐบาล     

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเชิญกสม.ไปสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มองค์กรพิทักษ์ สยาม เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้วในการดำเนินการดูแลสถานการณ์ให้เป็นไป ด้วยความสงบเรียบร้อย  ขณะเดียวกัน กสม.เป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่ติดตามดูแลสถานการณ์ทุกด้านที่มีโอกาสหรือแนวโน้มละเมิดสิทธิมนุษย ชน

“รัฐบาลก็ควรทำงานเปิดเผยโปร่งใส  ไม่ต้องเชิญ กสม.ไปสังเกตการณ์หรอก  กสม.ก็ตรวจสอบเหมือนกับศาล เราต้องคอยดูช่วงการปฏิบัติงานจริงจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่อยู่ แล้ว” นพ.นิรันดร์กล่าว

ทั้งนี้กรณีที่รัฐบาลต้องการเชิญองค์กรอิสระต่างๆเข้าร่วมสังเกตการณ์หาก มองในแง่ดี รัฐบาลก็คงต้องการแสดงให้เห็นว่าไม่มีนอกมีในต่อการควบคุมการชุมนุม แต่อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งหากกสม.ไปร่วมกับรัฐบาลสังเกตุการณ์ ก็จะถูกมองได้ว่า เป็นการเตี๊ยมกับรัฐบาลหรือไม่

“กระบวนการทำงานของกสม.มีการพูดคุยกันโดยตลอด ได้มีการติดตามตรวจสอบ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นช่วงเวลาใด  เราได้ดูตั้งแต่การเตรียมการของรัฐบาล กระทั่งการชุมนุมกลุ่มต่างๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องบอกกับรัฐบาล บางครั้งกสม.ก็ส่งคนเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่แล้ว โดยเข้าไปเหมือนกับประชาชนทั่วไป เพื่อติดตามแนวทางการทำงานของรัฐและแนวทางต่างๆว่าจะมีการละเมิดสิทธิอะไร หรือไม่  เพื่อจะหาทางปกป้องคุ้มครองสิทธิจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง    

ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า การที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ต้องการเชิญผู้แทนองค์กรอิสระ มาร่วมสังเกตการณ์ การชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม แท้จริงทำเพื่ออะไรเพราะ กกต. ไม่มีกฏหมายไปบังคับและหน้าที่สังเกตการณ์ หรือควบคุมการชุมนุม แต่ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ตำรวจ อีกทั้งระยะนี้ไม่ได้อยู่ในช่วงใกล้การเลือกตั้ง ผู้ว่ากรุงเทพทหานคร การเลือกตั้งท้องถิ่น จึงไม่มีอะไรเกี่ยวโยงกับหน้าที่ของกกต. ดังนั้นกกต. จะไม่ส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตการณ์แน่นอน และขอถามกลับไปยังร.ต.อ.เฉลิม กำลังทำเพื่ออะไรกันแน่ สมมุติว่าเกิดเหตุการวุ่นวายขึ้น กกต. จะเข้าไปทำอะไรได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 พ.ย.  ร.ต.อ.เฉลิม เปิดเผยว่า  แผนแม่บท 9 ขั้น บริหารสถานการณ์การชุมนุม ที่ได้จัดทำไว้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเตรียมเชิญผู้แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.)  คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) องค์การสหประชาชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งในและต่างประเทศ และองค์กรอื่นๆ มาร่วมสังเกตการณ์อีกด้วย 

“กกต.ไม่ได้เชิญมาคุมม็อบ แต่เชิญมาสังเกตุการณ์เพราะต่อไปอาจมีการกล่าวหาว่าพวกเราปฏิบัติงานไม่จริง เป็นเหตุให้มีการยื่นยุบพรรค ซึ่งหากไม่มาก็เป็นหลักฐานว่าเราบริสุทธิ์ใจ  ทั้งนี้พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผบ.ตร.แห่งชาติ จะเป็นผู้แถลงขั้นตอนการทำงาน “ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปู แจงเหตุ กม.มั่นคง หวั่นม็อบ รุนแรง

view